Group Blog
 
 
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
24 มกราคม 2551
 
All Blogs
 

ซับไพร์ม (sub-prime)...คือ..???

เกมแก้จน - คาราบาว...

















ช่วงนี้ผมหนีจากอ่านข่าวการเมืองไทย...หันไปอ่านข่าวเศรษฐกิจโลกบ้าง

และแล้ว...ก็มาเจอคำที่เคยสงสัยมานานแล้ว

กับคำว่า ซับไพร์ม(sub-prime)

แล้วมันคืออะไรหว่า

ในฐานะที่ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเงินและเศรษฐกิจเลย เลยชักงงๆล่ะซิคับทีนี้

ไปค้นๆๆมาหาอ่าน และเอามาเผื่อเพื่อนๆชาวบล็อกแก็งค์ด้วยครับ


หุ้นก็เล่นกับเขาไม่เป็น เล่นเป็นแต่หวย !!

เห็นมีข่าวทีไร ทำไม๊....ชอบเอามากระทบถึงตรูทู๊กที


มาอ่านกันคร๊าบ



------------------------------------------------------------


ซับไพร์มคืออะไร

Sub-Prime แยกออกเป็นสองคำ
Sub = ต่ำกว่า
Prime = มาจาก Prime Rate คือดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี
ดังนั้น Sub-Prime Loan ก็คือเงินกู้ที่สถาบันการเงินปล่อยกู้แก่ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมักจะถูกปฏิเสธการให้กู้เงินจากสถาบันการเงินหลัก เช่น ธนาคารพาณิชย์ เงินกู้นี้อาจจะรวมถึงบัตรเครดิต เงินกู้ซื้อบ้าน และอื่นๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้เกิดจาก เงินกู้สำหรับการซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพย์




Sub-Prime คือ รูปแบบสินเชื่อในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการให้ความสำคัญกับเรื่อง Rating หรือ Credit ของผู้ขอสินเชื่อค่อนข้างมาก จึงมีการแบ่งระดับของ Rating เป็น Prime Rate และ Sub-Prime ซึ่งมี Rating ในระดับต่ำกว่า มีเงื่อนไขด้อยกว่า Prime Rate เช่น การที่ต้องเสียอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า หรือมีเงื่อนไขของวงเงินในการผ่อนชำระที่เข้มงวดกว่า Prime Rate เพราะสินเชื่อแบบ Sub-Prime มีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ถ้าหนี้แบบนี้เหมือนสินเชื่อทั่วไป คือใครปล่อยกู้ก็รับความเสี่ยงไป ก็คงไม่ได้มีผลกระทบจนแตกตื่นกันไปทั่วโลก แต่นี่มีการแปลงสินเชื่อเป็นหลักทรัพย์ที่เรียกว่า Collateralized Debt Obligation หรือ CDO นำมาขายให้กองทุนต่างๆ ทั่วโลก ทำให้ความเสียหายกระจายออกไปทั่วโลกจนทำให้ติดตามได้ยากว่ากองทุนไหนประเทศไหนซื้อ CDO ไปบ้าง
Sub-Primeจริงๆ แล้วเป็นเพียงคำวิเศษณ์ (คำนำหน้าที่ใช้ขยายคำอื่น) แปลว่าคุณภาพเป็นรอง ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปขยายความอะไร เช่น หากเป็นสินเชื่อที่คุณภาพรองลงไปก็เรียกว่า Sub-Prime Loan หากเป็นสินเชื่อคุณภาพรองที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ก็เรียกกันว่า Sub-Prime Mortgage ในสหรัฐอเมริกา Sub-Prime Loan เป็นหนี้ที่ผู้ให้กู้ปล่อยให้กับผู้กู้ที่โดยทั่วไปไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินปกติได้ ผู้ปล่อยกู้เหล่านี้บางแห่งก็เป็นบริษัทอิสระ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงิน โดยผู้ให้กู้เหล่านี้ จะปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ที่หากไปขอสินเชื่อตามปกติก็จะไม่ผ่านการอนุมัติ อาจจะเป็นเพราะสัดส่วนของกระแสเงินสด ที่จะนำมาชำระคืนหนี้ต่ำเกินไป อันอาจเกิดจากรายจ่ายสูง รายได้จึงไม่เหลือมากพอที่จะผ่อนจ่ายคืนหนี้ในสัดส่วนที่ผู้ให้กู้พอใจ
ผู้ให้กู้ในกลุ่ม Sub-Prime Loan นี้ ก็จะให้กู้โดยมีหลักเกณฑ์ที่ผ่อนคลายกว่า แต่ก็ชดเชยความเสี่ยงด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า และอาจจะให้กู้ได้เป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับหลักประกัน นอกจากนี้ หากผู้กู้ชำระคืนก่อนกำหนดก็จะเสียค่าปรับสูงกว่าด้วย ผู้ให้กู้กลุ่มนี้มักจะให้กู้แก่ผู้กู้ที่มีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจึงเป็น Sub-Prime Loan เป็นส่วนใหญ่ เพราะมองเห็นว่า คนมักจะไม่ค่อยทิ้งบ้าน หากกู้แล้วก็มักจะต้องพยายามผ่อนส่ง และหลักประกันก็คุ้มวงเงินให้กู้ ซึ่งก็ทำให้ดูเหมือนว่าผู้ปล่อยกู้กลุ่มนี้มีความเสี่ยงไม่มากนัก
ปัญหาอยู่ที่ว่า ในช่วง 4-5 ปีมานี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มผู้ให้กู้เหล่านี้ก็แข่งกันทำตลาดด้วยการเชิญชวนผู้กู้ทั้งหลาย ทั้งผู้กู้เดิม และผู้กู้รายใหม่มาใช้บริการกับตนเอง ด้วยการเสนอวงเงินกู้ที่สูงขึ้นตามราคาประเมินของบ้านที่เพิ่มขึ้น เช่น เคยกู้ 1.8 ล้านบาท เพื่อซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาท อาจจะผ่อนไปบางส่วนจนเงินต้นเหลือ 1.5 ล้านบาท วันดีคืนดี บริษัทเหล่านี้ก็มาเสนอวงเงินกู้ให้ 2.5 ล้านบาท ตามราคาประเมินใหม่ ผู้กู้ก็รับเพราะได้เงินเพิ่มมาอีก 1 ล้านบาท และชาวอเมริกันทั้งหลาย ซึ่งเคยชินกับการใช้เงินอนาคต ก็นำเงินสินเชื่ออีก 1 ล้านบาทที่ได้เพิ่มนั้นมาใช้จ่าย ซื้อของอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ทีวี LCD เครื่องใหม่ เครื่องเสียงชุดใหม่ หรือแม้กระทั่งซื้อรถยนต์คันใหม่ เพราะอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิต หรือสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ พอเศรษฐกิจของอเมริกาไม่ค่อยดี การผ่อนชำระก็เริ่มมีปัญหา ผู้กู้ก็ผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น นอกจากนี้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ก็ตกลงมาในช่วงตั้งแต่ปีที่แล้ว ผู้ให้กู้ที่เคยคิดว่าตนเองไม่ได้เสี่ยงอะไรมาก เพราะถึงแม้ผู้กู้จะมีกระแสเงินสดไม่มากที่จะผ่อนชำระคืน แต่มูลค่าหลักประกันก็ยังคุ้มกับมูลหนี้ ตอนนี้มูลค่าหลักประกันลดลงแล้ว จึงต้องตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญมากขึ้น และเข้มงวดระมัดระวังไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับรายใหม่ๆ
ตอนแรกทุกคนก็เข้าใจว่าปัญหานี้อาจจะไม่ลุกลามมากนัก เพราะสถาบันการเงินใหญ่ๆ ต่างก็ไม่ได้ให้กู้กับลูกค้ากลุ่มนี้ แต่เรื่องก็ค่อยๆ โผล่มาทีละน้อยละน้อย สถาบันการเงินดังๆ ต่างไปลงทุนซื้อตราสารที่มีหนี้เกรดสองเป็นหลักประกันกันจำนวนมากมาย ตราสารเหล่านี้เรียกว่า Collateralized Debt Obligation (CDO) เป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือทำ Securitization แบบที่มีหลักประกัน (Asset Backed Securities) แบบหนึ่งคือ บริษัทที่ปล่อยกู้ หนี้เกรดสองเหล่านี้ ออกตราสารมาขายโดยมีหนี้เกรดสองเป็นหลักประกัน เพื่อให้มีเงินไปปล่อยกู้เพิ่มอีก
CDO เป็นตราสารหนี้อย่างหนึ่ง ซึ่งจะจ่ายคืนเงินให้กับผู้ลงทุนในตราสารในรูปของกระแสเงินสดที่ได้มาจากการเก็บหนี้ที่นำมาค้ำประกันตราสารนั้นๆ โดยอาจมีการจัดเกรดของตราสารเป็นหลายกลุ่ม กลุ่มแรก อาจจะมีการจัดอันดับเครดิตเป็น AAA ก็จะได้เงินคืนก่อน แต่ดอกเบี้ยอาจจะไม่สูงนัก และกลุ่มถัดๆ มา ก็จะมีตั้งแต่ AA, A, BBB และ BB ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยสูงขึ้น และกลุ่มท้ายสุดคือ กลุ่มทุน (Equity) กลุ่มนี้ไม่มีการจัดอันดับเครดิต แต่จะรับกระแสเงินสดส่วนที่เหลือคือ หากเหลือจากที่จ่ายให้คนอื่นก็ได้คืน ซึ่งจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ แต่หากไม่เหลือก็ไม่ได้คืน การเก็บหนี้ และการเก็บหลักประกัน ก็จะมีผู้ดำเนินการให้ คาดว่าตลาด CDO มีขนาดประมาณ 489,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2006
เมื่อตลาด Sub-Prime Loan มีปัญหา การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ประเภทนี้ก็มีปัญหา คาดว่ากลุ่มตราสารประเภทนี้จะทยอยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงไป และเมื่อความน่าเชื่อถือถูกปรับลดลง ราคาตราสารเหล่านี้ก็จะตกลงไปด้วย นั่นคือ สาเหตุที่กองทุนที่ลงทุนใน CDO 3 กองทุนของบีเอ็นพี พาริบาส์ ซึ่งเป็นผู้จัดการ CDO รายใหญ่ของยุโรป มูลค่า 3 กองทุนรวมกันกว่า 2 พันล้านยูโร ต้องหยุดการซื้อขาย เนื่องจากไม่สามารถหามูลค่ายุติธรรมของตราสารเหล่านี้ของสหรัฐ ซึ่งลงทุนไว้เป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินรวมได้ ปัญหาคือมีสถาบันการเงินใดบ้างที่ลงทุนทั้งทางตรง และทางอ้อมในหนี้เกรดสองเหล่านี้ สถาบันการเงินทั้งหลายจึงต้องทยอยออกมาชี้แจง
เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น สถาบันการเงินในสหรัฐก็ระมัดระวังการให้สินเชื่อ ผู้มีเครดิตดีก็พลอยไม่สามารถกู้เงินได้ด้วย ทำให้เกิดการตึงตัวในตลาดเงิน ต้นทุนการกู้ยืมก็เพิ่มขึ้น จนธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ต้องใส่เงินเข้าไปในระบบเพิ่มเติมกว่า 150,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้ระบบการเงินไม่สะดุด และผู้ลงทุนต่างก็หันเข้าหาแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยกว่า คือ พันธบัตรรัฐบาล ราคาหุ้นของสถาบันการเงินที่มีการลงทุน หรือให้กู้กับหนี้เกรดสองเหล่านี้ก็ตกลงไปกันหมด หุ้นของผู้ที่จะทำการขยายกิจการหรือซื้อกิจการโดยใช้เงินกู้ก็ตกลงไป เพราะตลาดกังวลว่าอาจไม่สามารถหาสินเชื่อได้ หรือถ้าหาได้ก็อาจจะแพง และเลยพลอยลามมาถึงตลาดหุ้นอื่นทั่วโลกด้วย
นั่นคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากไม่มีการลงทุนในตราสารหรือหนี้เกรดสองเหล่านี้ก็ไม่ควรกังวลจนเกินเหตุ แต่ต้องติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด



-----------------------------------------------------



อ่านไปอ่านมา...พอที่จะสรุปได้คร่าวๆจากหยิกสมองอันน้อยนิดของผม ว่า

ซับไพร์ม คือ การทำดับเบิ้ลหนี้นั่นเอง กล่าวคือ ขณะที่ตัวเองกู้เงินไปซื้อบ้านได้แล้ว แล้วยังเอาบ้าน(ที่ผ่อนยังไม่หมด)
สามารถเอาหลักทรัพย์นี้ มากู้เอาเงินไปทีวีจอยักษ์มานอนดูหนังกับอีหนูได้อีก โดยแลกกับการเสียดอกที่สูงขึ้น หรือเรียกว่าเป็นวิธีที่ทำให้
เราดูเหมือนว่ารวยขึ้นรวดเร็วอย่างทันตาเห็น แล้วทีนี้ยังไงล่ะพี่น้อง เงินที่ได้มา ดั๊นน เอาไปซื้อความสุขใส่ตัวหมด
ไม่ได้นำไปลงทุนทำการค้าให้เงินมันงอกออกมา พอต่างคนต่างรวยจนตังค์หมด หาตังค์ไม่พอต้นและดอก ก็ชักดาบซิคับทีนี้
อยากยึดอะไรก็ยึดไป นึกถึงประเทศไทย ที่ฟองสบู่แตก นั่นแค่ Prime เดียวก็ระบมทั้งประเทศ แต่นี่เจอ ซับ เข้าไปอีก
อยากจะร้องไห้จริงๆ บุคคลที่มีปัญญาเป็นเลิศทางด้านการเงิน ช่างสรรหาวิธีมายั่วกิเลสมนุษย์ด้วยกันเอง ดีจริงๆ


คล้ายกับ.. รู้ทั้งรู้ ว่าเวลาเอาสบู่เหลวมาตีในอ่างอาบน้ำแล้วมันจะเป็นฟอง
ก็ตีๆๆๆไปเรื่อย ฟองไหนแตกก็ช่างมัน ตีให้ฟองใหม่มันโตขึ้นอีก

พอเมื่อถึงเวลาสุดท้ายของมัน ....ตีจนสบู่หมดฟอง


ก็ดิ้นรนจิคับ....ไปขอยืมสบู่ข้างบ้านเอามาละเลงตีฟองกันใหม่อีก


โหย...ถ้าผมเป็นข้างบ้านนะ อยากจะด่าจริงๆเลย
ถ้าบ้านตรูผลิตแบ็งค์ได้เอง..หรือเป็นเจ้าของโรงงานสบู่...
ตรูก็จะเอามาตีฟองเล่น..ไม่สนใจใครเหมือนกันล่ะเฟ้ย !!



กรณี ซับไพร์ม ในความคิดของผม อาจจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆคือ ปัญหาที่เกิดจากการยั่วให้ใช้เงินแบบไม่รู้จัก พอเพียง ครับ



ไม่รู้คิดถูกมั๊ยน๊า































 

Create Date : 24 มกราคม 2551
10 comments
Last Update : 24 มกราคม 2551 0:00:10 น.
Counter : 2187 Pageviews.

 

อ้อ.จ้า

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 24 มกราคม 2551 0:11:24 น.  

 

ถูกต้องค่ะ...ตอนนี้ที่อเมริกามี Foreclosure สูงมาก..ก็เนื่องมาจากตัวนี้แหล่ะค่ะ..Sub- Prime Loan

ตลาดหุ้นก็ผีเข้าผีออก.งเอาแน่เอานอนไม่ได้..งเมื่อเช้าก็หล่นวูบๆ..

ตอนนี้รัฐบาล บุช..กำลังมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของคนในประเทศ..โดยจะอนุมัติเงินให้คนละ 800 เหรียญ หรือ 1600 สำหรับคนแต่งงาน..คล้ายๆเงินขวัญถุง Refund Tax..ก้ดูกันค่ะ..ว่าจะออกมายังไง..

ตนนี้ไม่แนะนำให้ลงทุนในตลาดหุ้น..ต้องรอดูสักพักค่ะ..

 

โดย: BLACK BERRIES 24 มกราคม 2551 0:31:03 น.  

 

โห นี่ขนาดไม่ค่อยรู้เรื่องนะคะนี่ ยังละเอียดขนาดนี้

ที่เมกาตอนนี้เศรษฐกิจแย่มากๆ ของก็ขึ้นราคา รอดูซิว่าบุชจะให้เงินรีฟันแทกซ์จริงๆรึเปล่า แล้วหลังเลือกตั้งอีก คอยลุ้นว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นบ้างมั้ย

 

โดย: Oshiri IP: 68.104.79.125 24 มกราคม 2551 3:25:41 น.  

 

เช คับลุง

 

โดย: เฒ่าเจ้าอุบาย 24 มกราคม 2551 9:14:26 น.  

 

เพลงมันส์มากเลยคุณออฟ

 

โดย: pat_pk 24 มกราคม 2551 10:35:25 น.  

 

ได้ความรู้จริงๆด้วยไม่ผิดหวังที่ click เข้ามา

แต่ฮาเจ้าหน้าโจวฉิงซือ มากกว่าครับ

 

โดย: redPoTatO 24 มกราคม 2551 11:17:30 น.  

 


เข้ามาขอแจมด้วยคนครับ

"ซับไพร์ม" หรือที่เรียกว่า สินเชื่อด้อยคุณภาพ ก็เป็นอย่างที่คุณหารายละเอียดมาล่ะครับ

ปัญหาของ "ซับไพร์ม" มันเริ่มต้นมาจากที่อเมริกาครับ ในประเทศอเมริกาว่ากันว่า เป็นประชากรที่ใช้เครดิตส่วนตัวสูงมาก คือว่าแทบจะไม่มีใครออมเงินกันเลยครับ ใช้เงินกู้กันเกือบทุกคน ทุกคนมีหนี้สินกันทั้งนั้น เนื่องจากวัฒนธรรมทางสังคมของอเมริกาเป็นแบบนี้มานานแล้ว

ในอเมริกาพอคนกู้ซื้อบ้าน ก็จะมีภาระหนี้เกิดขึ้น พอราคาบ้านเพิ่มสูงขึ้น ก็จะมีRoom (ส่วนต่าง) ให้สามารถกู้เพิ่มได้อีก ทำให้ภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นอีก

พวกสถาบันการเงินก็เอาภาระหนี้สินของพวกที่กู้บ้านนี้มาแปลงสินเชื่อ (ภาระหนี้) เป็นหลักทรัพย์ที่เรียกว่า Collateralized Debt Obligation หรือ CDO นำมาขายให้กองทุนต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในยุโรปหรือเอเชีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง ฯลฯ (ตามเนื้อเรื่องที่คุณไปหาข้อมูลมาล่ะครับ)

ดังนั้นความที่ไม่รู้จักพอของคนอเมริกา และความภูมิใจในระบบเศรษฐกิจที่เติบโตของคนอเมริกา เนื่องจากเงินดอลล่าร์ของอเมริกาเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้ในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน สินค้าระหว่างประเทศ ที่กว้างขวางมากที่สุดในโลก ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้นมา เรียกว่าเกิดเป็นฟองสบู่แตกขึ้นมา จนเกิดปัญหากระทบแบบโดมิโนไปทั่วโลก

ประเทศไทยของเราก็โดนหางเลขด้วยเต็ม ๆ ครับ เพราะว่าประเทศเรามีเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นจากอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งพอประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ขาดทุนจาก CDO พวกเขาก็ต้องรีบขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ในต่างประเทศ เพื่อเอาเงินสดมาชำระหนี้ (ขายหุ้นในประเทศไทย ในขณะนี้ด้วย) ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปทั่วโลก

ผมว่า ถ้าเราทุกคนยึดหลัก "เศรษฐกิจพอเพียง" ปัญหาพวกนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นแน่ ๆ ครับ

อิอิ

หมายเหตุ ... สำหรับผู้ที่สนใจเรื่อง "ซับไพร์ม" มีบทความที่น่าสนใจ ที่เขียนโดย จอร์จ โซรอส (ชื่อคุ้น ๆ ไหม?) พ่อมดทางการเงินของโลก ที่เขียนลงใน วอลสตีท เจอรัล ฉบับล่าสุด ที่วางแผงขายเมื่อวานนี้ เขียนวิเคราะห์และวิจารณ์อเมริกา เรื่องปัญหา "ซับไพร์มไว้ดีมาครับ เขาบอกว่าปัญหานี้อาจจะส่งผลกระทบไปอีก 3-10 ข้างหน้าก็เป็นได้ครับ (เข้าเว็บของวอลสตีท เจอนัล ไปอ่านดูได้ครับ)

อิอิ

 

โดย: อาคุงกล่อง (อาคุงกล่อง ) 24 มกราคม 2551 12:21:12 น.  

 

แวะมาทักทายค่ะ
ก่อนจะร่วมแจมวิจารณ์ต้องขอโทษที่รักตาสีฟ้าก่อนจ้า...
อเมริกัน (ไม่ใช่ทุกคนแต่ส่วนมาก)เป็นพวกวัตถุนิยมสูงและรักความสะดวกสบาย ประเภท shortcutนิยม จะให้มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท..แบบคนจีนหรือเอเชียนน่ะ..หายาก ดังนั้น subprime loans ที่ออกมาล่อลูกค้าจึงออกพิษสงกับคนอเมริกันไปเต็ม ๆ แม้กระทั่งฉีดยาอย่างแรง 0.75% ไปแล้วก็ยังนอนพะงาบ ๆ อยู่เลย คาดว่าอาทิตย์หน้าคงต้องเร่งฉีดยาเพิ่มอีกเข็มเป็นแน่แท้..
ขอพูดในฐานะคนไทย..เวรกรรมนั้นมีจริง ตอนต้มยำกุ้งทำกับเราไว้ยังไง ตอนนี้แฮมเบอเกอร์ก็ออกฤทธิ์แบบเจ็บนี้อีกนาน...ฉันนั้นล่ะค่ะ..
คลายเคลียด พาไปเที่ยวทะเลไทยค่ะ...


 

โดย: CindyD 24 มกราคม 2551 13:27:20 น.  

 

ขอบคุณค่ะกำลังสงสัยอยู่เหมือนกันเลย

 

โดย: AM NUCH 24 มกราคม 2551 20:01:46 น.  

 

เธ”เธตเธˆเธฑเธ‡เน€เธฅเธขเธ„เนˆเธฐ เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธ™เธฐเธ„เธฐ

เธชเธณเธซเธฃเธฑเธšเธงเธดเธ—เธขเธฒเธ—เธฒเธ™ เธ”เธตเธกเธฒเธเน€เธฅเธขเธ„เนˆเธฐ เน€เธžเธฃเธฒเธฐเธเธณเธฅเธฑเธ‡เธซเธฒเธญเธขเธนเนˆ



เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธ™เธฐเธ„เธฐ

 

โดย: เน„เธ™เธ—เนŒ IP: 125.25.192.116 17 กุมภาพันธ์ 2551 12:39:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.