***นำบทความที่น่าสนใจมาแบ่งปันกันอ่าน***

 
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
22 พฤศจิกายน 2558
 

ประโยชน์ผลของ"อายะกุรุซีย์"ที่คุณไม่ควรลืม

ข้อความที่มีการแชร์ใน โลกโซเชียล

"ประโยชน์ผลของ"อายะกุรุซีย์"ที่คุณไม่ควรลืม

1)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์ก่อนออกจากบ้าน มวลมาลาอีกะฮ.70,000ท่านจะคุ้มครองป้องกันภัยให้กับเขาตลอดทั้งวัน

2)ใครที่อ่านอายะตุลกุรุซีย์ก่อนเข้าบ้านความแห้งแล้งกันดารความยากไร้จะไม่แผ้วพานบ้านของเขา

3)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์หลังอาบน้ำนมาชทุกครั้งเกียรติประวัติของเขาจะสูงส่งณ.เอกองค์อัลลอฮ.

4)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์ก่อนเข้านอนมวลมาลาอีกะฮ.จะคุ้มครองปัองกันเขาตลอดราตรีกาล

5)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์หลังนมาซฟัรดู 5 เวลาระยะทางระหว่างเขากับสวนสวรรค์ห่างกันแค่ความตายเท่านั้น(สวรรค์จะเป็นสถานที่พำนักสำหรับเขาอย่างแน่นอน)

ใครที่ช่วยแชร์คุณประโยชน์โภชผลของ"อายะกุรุซีย์"ด้วยใจอิคลาศบริสุทธิ

อามีน ยา ร๊อบบัลอาลามีน"

**** ตอบคำถามโดย อ.กิสมัต ปาทาน

ข้อที่ 1 เชคอุษัยมีน บอกว่า ไม่มีซุนนะห์ให้อ่าน อายะห์กรุซีย์ก่อน ออกบ้าน

ข้อที่ 2 ไม่มีหลักฐาน ระบุให้กระทำ แต่นักวิชาการ บอกว่า ถ้าทำ ทำได้ เพราะมี ชาวสลัฟบางคน ทำไว้ แต่ให้รู้ไว้ว่า ไม่มีหลักฐานจากหะดีษมาบอกให้ทำ 
และที่ชาวสลัฟทำ เขาอ่านเมื่อเข้าไปยังที่หนึ่งที่ใด ไม่ได้เจาะจงแค่ เข้าบ้าน

ข้อที่ 3 
هذا حديث باطل مكذوب ، وقد رواه الديلمي في "مسند الفردوس" – كما في "كنز العمال" (9/465)  - بنحوه ، من طريق مقاتل بن سليمان حدثنا فضل بن عبيد عن
  سفيان الثوري عن عبيد الله العمري عن  نافع عن ابن عمر رفعه : ( من قرأ آية الكرسي على أثر وضوئه أعطاه الله عز وجل ثواب أربعين عالما ، ورفع له أربعين درجة ، وزوجه أربعين حوراء ) . وهذا إسناد موضوع ، ومقاتل بن سليمان كذاب مشهور ، قال النسائي : " الكذابون المعروفون بوضع 
.( الحديث: ابن أبي يحيى بالمدينة ، والواقدى ببغداد ، ومقاتل بن سليمان بخراسان ، ومحمد بن سعيد  بالشام " انتهى من "ميزان الاعتدال" (3 /562) 

ข้อนี้ ไม่ข้อแปล เพราะเป็นหะดีษ เมาฎูอฺ (เก๊)

ข้อที่ 4 

عَنْ مُحَمَّد بْن سِيرِينَ عَنْ أَبِي هُرَيْرَة قَالَ : وَكَّلَنِي رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - بِحِفْظِ زَكَاة رَمَضَان فَأَتَانِي آتٍ فَجَعَلَ يَحْثُو مِنْ الطَّعَام فَأَخَذْته وَقُلْت : لَأَرْفَعَنَّكَ إِلَى رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - قَالَ : دَعْنِي فَإِنِّي مُحْتَاجٌ وَعَلَيَّ عِيَالٌ وَلِي حَاجَةٌ شَدِيدَةٌ قَالَ فَخَلَّيْت عَنْهُ فَأَصْبَحْت فَقَالَ النَّبِيّ - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - يَا أَبَا هُرَيْرَة مَا فَعَلَ أَسِيرك الْبَارِحَة ؟ قَالَ : قُلْت يَا رَسُول اللَّه شَكَا حَاجَة شَدِيدَة وَعِيَالًا فَرَحِمْته وَخَلَّيْت سَبِيله قَالَ أَمَّا إِنَّهُ قَدْ كَذَبَك وَسَيَعُودُ فَعَرَفْت أَنَّهُ سَيَعُودُ لِقَوْلِ رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - أَنَّهُ سَيَعُودُ فَرَصَدْتُهُ فَجَاءَ يَحْثُو مِنْ الطَّعَام فَأَخَذْته فَقُلْت لَأَرْفَعَنَّكَ إِلَى رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : دَعْنِي فَإِنِّي مُحْتَاج وَعَلَيَّ عِيَال لَا أَعُود فَرَحْمَته وَخَلَّيْت سَبِيله فَأَصْبَحْت فَقَالَ لِي رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - يَا أَبَا هُرَيْرَة مَا فَعَلَ أَسِيرك الْبَارِحَة قُلْت يَا رَسُول اللَّه شَكَا حَاجَة وَعِيَالًا فَرَحْمَته فَخَلَّيْت سَبِيله قَالَ أَمَّا إِنَّهُ قَدْ كَذَبَك وَسَيَعُودُ فَرَصَدْته الثَّالِثَة فَجَاءَ يَحْثُو مِنْ الطَّعَام فَأَخَذْته فَقُلْت لَأَرْفَعَنَّكَ إِلَى رَسُول اللَّه بِهَا وَهَذَا آخِر ثَلَاث مَرَّات أَنَّك تَزْعُم أَنَّك لَا تَعُود ثُمَّ تَعُود فَقَالَ : دَعْنِي أُعَلِّمك كَلِمَات يَنْفَعك اللَّه بِهَا قُلْت وَمَا هِيَ ؟ قَالَ : إِذَا أَوَيْت إِلَى فِرَاشك فَاقْرَأْ آيَة الْكُرْسِيّ " اللَّه لَا إِلَه إِلَّا هُوَ الْحَيّ الْقَيُّوم " حَتَّى تَخْتِم الْآيَة فَإِنَّك لَنْ يَزَال عَلَيْك مِنْ اللَّه حَافِظ وَلَا يَقْرَبك شَيْطَان حَتَّى تُصْبِح فَخَلَّيْت سَبِيله فَأَصْبَحْت فَقَالَ لِي رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - مَا فَعَلَ أَسِيرك الْبَارِحَة ؟ قُلْت يَا رَسُول اللَّه زَعَمَ أَنَّهُ يُعَلِّمنِي كَلِمَات يَنْفَعنِي اللَّه بِهَا فَخَلَّيْت سَبِيله قَالَ : مَا هِيَ ؟ قَالَ : قَالَ لِي إِذَا أَوَيْت إِلَى فِرَاشك فَاقْرَأْ آيَة الْكُرْسِيّ مِنْ أَوَّلهَا حَتَّى تَخْتِم الْآيَة " اللَّه لَا إِلَه إِلَّا هُوَ الْحَيّ الْقَيُّوم" وَقَالَ لِي لَنْ يَزَال عَلَيْك مِنْ اللَّه حَافِظ وَلَا يَقْرَبك شَيْطَان حَتَّى تُصْبِح وَكَانُوا أَحْرَص شَيْء عَلَى الْخَيْر فَقَالَ النَّبِيّ - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - أَمَّا إِنَّهُ صَدَقَك وَهُوَ كَذُوب تَعْلَم مَنْ تُخَاطِبُ مِنْ ثَلَاث لَيَالٍ يَا أَبَا هُرَيْرَة قُلْت لَا قَالَ : ذَاكَ شَيْطَان رواه البخاري والنسائي .


ในการบันทึกของอิหม่ามบุคอรียฺ รายงานโดยท่านมุฮัมมัด อิบนุซีรีน (ตาบิอีน) ว่า ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ*รายงานว่า ท่านนบี  มอบหมายให้ฉันรักษาซะกาตของเดือนรอมฎอน (แสดงว่าสมัยท่านนบี มีคลังเก็บซะกาต คือ ทรัพย์สิน พืช สัตว์ น้ำมันมะกอก ฯลฯ คือบัยตุ้ลม้าล) ก็มีผู้ที่มาผู้หนึ่ง แล้วก็เริ่มตัก อบูฮุร็อยเราะฮฺก็จับเขาไว้และว่า ฉันจะยกเรื่องนี้ถึงท่านนี้ ผู้นั้นก็กล่าวว่า ฉันเป็นคนลำบากยากจนมีลูกหลานมากมาย ปล่อยฉันไปเถอะ พอตื่นเช้าละหมาดกับนบี นบี  ก็กล่าวกับอบูฮุร็อยเราะฮฺว่า เชลยที่ท่านจับเขาเมื่อคืนน่ะท่านได้ทำอะไรกับเขา อบูฮุร็อยเราะฮฺก็บอกว่า เขาบอกว่าเขายากจนมีลูกหลานมากมาย ฉันจึงปล่อยเขาไป นบี ก็บอกว่า ผู้นั้นน่ะโกหกและมันจะมาอีก อบูฮุร็อยเราะฮฺก็เชื่อว่ามันจะมาอีก คืนนั้นขณะที่อบูฮุร็อยเราะฮฺเฝ้าอยู่ ผู้นั้นก็มาอีก อบูฮุร็อยเราะฮฺจับได้และว่าเรื่องนี้จะต้องถึงท่านนบี ผู้นั้นก็บอกว่า ได้โปรดเถอะ ฉันน่ะยากจน มีครอบครัวต้องรับผิดชอบ ฉันจะไม่กลับมาอีกแล้ว สัญญา อบูฮุร็อยเราะฮฺสงสารจึงปล่อยไป พอเช้าท่านนบี ก็ถามถึงเชลยเมื่อคืนอีก ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺก็เล่าให้ฟัง ท่านนบีก็บอกว่าเขาโกหก และคืนที่สามมันก็มาอีก อบูฮุร็อยเราะฮฺจับไว้และว่า เรื่องนี้ต้องถึงท่านนบี นี่ครั้งที่สามแล้ว ทุกครั้งเจ้าก็บอกว่าจะไม่ทำอีก มันก็บอกว่า ปล่อยฉันและฉันจะสอนคำพูดที่เป็นประโยชน์ อัลลอฮฺจะให้แก่ท่าน อบูฮุร็อยเราะฮฺก็เชื่อถามว่า อะไรล่ะ มันก็บอกว่า เมื่อท่านจะนอนก็จงอ่านอายะตุลกุรซียฺจนจบ ท่านจะได้รับการคุ้มครองจากอัลลอฮฺตะอาลาตลอดไป
ไม่มีชัยฏอนใดๆจะสามารถมาอยู่ใกล้ท่านจนถึงยามเช้า อบูหุร็อยเราะฮฺก็บอกว่า ความรู้เข้าท่า และปล่อยไป พอเช้าท่านนบี  ถามว่า ขโมยเมื่อคืนทำอะไร อบูหุร็อยเราะฮฺก็บอกว่า โอ้ร่อซุล มันบอกว่าจะสอนอะไรดีๆและอัลลอฮฺจะให้เป็นประโยชน์แก่ท่าน ท่านนบี  ก็ถามว่าอะไรล่ะ อบูฮุร็อยเราะฮฺบอกว่า มันบอกให้อ่านอายะตุลกุรซียฺแล้วอัลลอฮฺจะคุ้มครองทั้งคืน (บรรดาเศาะฮาบะฮฺเป็นผู้ที่แสวงหาความดีอย่างมากเหลือเกิน) ฉันจึงปล่อยมันไป ท่านนบี ก็บอกว่า คราวนี้มันพูดจริง แต่มันช่างโกหกเสียนี่กระไร โอ้อบูหุร็อยเราะฮฺท่านรู้ไหมว่าสามคืนน่ะท่านพูดกับใคร แท้จริงมันเป็นชัยฏอน

อิหม่ามบุคคอรี บอกว่า ศอเฮียะห์ 

ข้อที่ 5 

จากท่านอบีอุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า


«مَنْ قَرَأَ آيَةَ الْكُرْسِيِّ دُبُرَ كُلِّ صَلاةٍ مَكْتُوبَةٍ لَمْ يَمْنَعْهُ مِنْ دُخُولِ الْجَنَّةِ ، إلا أَنْ يَمُوتَ» [أخرجه النسائي في سننه الكبرى (رقم 9848) وصححه المنذري في الترغيب والترهيب وصححه الألباني في صحيح الجامع (رقم 6464)]  

“ผู้ใดอ่านอายะฮฺ อัล-กุรสียฺ (อายะฮฺที่ 255 ของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ) ทุก ๆ หลังละหมาดฟัรฎู ก็ไม่มีสิ่งใดขัดขวางไม่ให้เขาเข้าสวนสวรรค์ได้นอกจากความตายเท่านั้น(กล่าวคือ เมื่อเขาตายก็จะได้เข้าสวรรค์อย่างแน่นอน)” (บันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ ใน “สุนัน อัล-กุบรอ” หมายเลข 9848 และชัยคฺอัล-อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺใน “เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ” หมายเลข 6464)

*** สรุป

"ประโยชน์ผลของ"อายะกุรุซีย์"ที่คุณไม่ควรลืม

1)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์ก่อนออกจากบ้าน มวลมาลาอีกะฮ.70,000ท่านจะคุ้มครองป้องกันภัยให้กับเขาตลอดทั้งวัน   
ไม่มีซุนนะห์ให้อ่าน

2)ใครที่อ่านอายะตุลกุรุซีย์ก่อนเข้าบ้านความแห้งแล้งกันดารความยากไร้จะไม่แผ้วพานบ้านของเขา  อ่านก็ได้ไม่อ่าน
ทำได้ เพราะมี ชาวสลัฟบางคน ทำไว้ แต่ให้รู้ไว้ว่า ไม่มีหลักฐานจากหะดีษมาบอกให้ทำ และที่ชาวสลัฟทำ เขาอ่านเมื่อเข้าไปยังที่หนึ่งที่ใด ไม่ได้เจาะจงแค่ เข้าบ้าน

3)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์หลังอาบน้ำนมาชทุกครั้งเกียรติประวัติของเขาจะสูงส่งณ.เอกองค์อัลลอฮ.
ไมีมี เพราะเป็นหะดีษ เมาฎูอฺ (เก๊)

4)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์ก่อนเข้านอนมวลมาลาอีกะฮ.จะคุ้มครองปัองกันเขาตลอดราตรีกาล
ควรอ่านก่อนนอนทุกวัน

5)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์หลังนมาซฟัรดู 5 เวลาระยะทางระหว่างเขากับสวนสวรรค์ห่างกันแค่ความตายเท่านั้น(สวรรค์จะเป็นสถานที่พำนักสำหรับเขาอย่างแน่นอน)
ควรอ่านทุกๆหลังละหมาดฟัรดู 

วัลลอฮุอะอฺลัม 
นักเรียนมุสลิม



Create Date : 22 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2558 16:16:09 น. 0 comments
Counter : 5146 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

KPNA
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add KPNA's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com