Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
15 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 

ภาพวาดสีน้ำปลาสีสวยสด

รวมภาพวาดปลาสวยงามมาฝากเพื่อน ๆ ครับ

งานอดิเรกยามว่างอีกอย่างนอกจากการวาดรูปคือการเรียนสัตว์ และสัตว์ที่ผมชื่นชอบไม่แพ้่น้องหมาน้องแมวน้องนก ก็คือน้องปลา เวลาได้เห็นปลาน้อยเวียนว่ายอยู่ในตู้ปลา กินอาหารที่เราโรยมีความสุข วันเสาร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปสอนน้องหมอสัตว์แพทย์วาดรูปสีน้ำ เลยถือโอกาสแวะดูป ปลาที่ตลาดนัดสวนจตุจักร พร้อมวาดรูปสีน้ำน้องปลาสีสดใส
ภาพวาดปลามังกร ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ภาพวาดทางการแพทย์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศิริราช

ได้มีโอกาสวาดภาพปลาบู่มหิดล ตัวที่ 2 จาก 5 ชนิด ถือเป็นสัตว์น้ำที่มีวงจร วิถีชีวิต ที่น่าสนใจมากครับ วันนี้มีเวลาว่างเลยขอวาดภาพปลาบู่มหิดลอีกชนิดหนึ่งที่ค้นพบในเมืองไทย
ปลาบู่มหิดล เป็นปลาบู่ที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2475 โดย ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ และได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อเป็นการเทิ
ดพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ในฐานะที่ได้ทรงอุปถัมภ์ และพระราชทานทุนสำหรับส่งนักเรียนไปศึกษาต่อด้านการประมงในต่างประเทศ และทรงได้รับถวายสมัญญานามว่า "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย"
ในราวปี พ.ศ. 2469 ซึ่งเป็นช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการจัดตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ โดยมีชาวอเมริกัน ชื่อ ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ เข้ามาปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยง และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในประเทศไทย ในตำแหน่งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำคนแรก
ผลงานในหน้าที่รับผิดชอบของฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ที่เกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย โดยเฉพาะพันธุ์ปลา มีรวมกว่า 60 เรื่อง อีกทั้งยังได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับปลาที่ค้นพบใหม่รวม 67 ชนิด เป็นสกุลใหม่รวม 21 สกุล ในจำนวนนี้ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ปลาบู่ โดยให้ชื่อสกุลว่า Mahidolia เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ในการที่พระองค์ทรงสนพระทัย ทรงใคร่ติดตาม และเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อการประมงของประเทศไทย พระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับคนไทย เพื่อที่จะได้มาทำงานด้านการประมงต่อจากฮิว แมคคอร์มิค สมิธ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยง และการอนุรักษ์พันธุ์ปลา
ปลาบู่มหิดล ค้นพบเป็นครั้งแรกในรั้วไซมาน ณ ปากแม่น้ำจันทบุรี ในเขตพื้นที่อำเภอแหลมสิงห์จังหวัดจันทบุรี และปัจจุบันได้รับการคุ้มครองได้ในลำดับที่ 49 โดยระบุปลาบู่มหิดลทุกชนิดในสกุล Mahidolia ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับธรณีพิบัติ จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสตูล พ.ศ. 2549 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2549 โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น เพราะปลาบู่มหิดลนอกจากจะค้นพบที่จังหวัดจันทบุรีแล้ว ยังค้นพบที่จังหวัดระนอง และจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย

สถานการณ์ปลาบู่มหิดล
ปลาบู่มหิดลเป็นปลาขนาดเล็กที่หาได้ยาก ไม่สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง ในปัจจุบันป่าชายเลนเสื่อมโทรม อันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่างๆ เช่น การปล่อยน้ำทิ้ง และของเสียจากแหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และการเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นต้น นอกจากนี้แหล่งน้ำต่างๆ เกือบตลอดแขนงชายฝั่งทะเลมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะตื้นเขิน เนื่องจากมีการชะล้างหน้าดิน (soil erosion) บนพื้นที่ดินจากการประกอบกิจกรรมดังกล่าวแล้ว รวมทั้งการทำประมงที่ใช้เครื่องมือประจำที่ประเภทกางกั้นจำพวกโพงพางปีก เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาวะความเปลี่ยนแปลงของแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีผลต่อความเสื่อมโทรมของพันธุ์สัตว์น้ำสำคัญๆ อย่างปลาบู่มหิดล ที่มีให้พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก อาจเป็นผลให้ปลาชนิดนี้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต
ลักษณะสำคัญของปลาบู่มหิดล
ปลาบู่มหิดลมีลักษณะเด่น คือ หัวค่อนข้างโต และแบนข้างมาก ปากกว้างจนมีกระดูขากรรไกรที่ยื่นไปทางข้างเลยขอบหลังตา ฟันมีขนาดเล็ก และมีแถวเดียวที่ขากรรไกรบนแต่มีหลายแถวที่ขากรรไกรล่าง ลำตัวสั้น ไม่มีเกล็ดบนหัว และบนฝาเหงือกมีเกล็ดค่อนข้างใหญ่
ถิ่นอาศัยของปลาบู่มหิดล
ปลาบู่มหิดลชอบอาศัยในบริเวณปากแม่น้ำ และป่าชายเลนที่สภาพเป็นอ่าว พื้นทะเลเป็นโคลนปนทราย มักพบเสมอว่า ปลาชนิดนี้มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่กับกุ้งดีดขัน (Alpheas spp.) โดยกุ้งเป็นผู้สร้างรูเป็นที่อาศัยร่วมกันกับปลา และปลาเป็นผู้ทำความสะอาดภายในรู
แผนที่การกระจายของปลาบู่มหิดล



การกระจายของปลาบู่มหิดล
มีการพบปลาบู่มหิดลกระจายอยู่ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย อินโดนีเซีย และไต้หวัน[13] ในส่วนของแหล่งที่พบปลาบู่มหิดลในประเทศไทย จากแหล่งข้อมูลเดียวกัน พบว่า แหล่งที่พบปลาบู่ คือ ชายฝั่งจังหวัดจันทบุรี จังหวัดระนอง และจังหวัดภูเก็ต

กิจกรรมเกี่ยวกับปลาบู่มหิด
เทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ โดยความร่วมมือจาก "โครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษานิเวศวิทยาแหล่งที่พบปลาบู่มหิดล" (นำโดย ดร.ศุภกฤต โสภิกุล, ดร.ทักษ์ ทองภูเบศร์ และคณะทำงาน) ภายใต้การดำเนินการของบุคลากรประกอบด้วย อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาในคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำศูนย์การเรียนรู้เรื่อง "ปลาบู่มหิดล" ขึ้นในพื้นที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โครงการดังกล่าวมีรูปแบบเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เกี่ยวกับมิติทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาพื้นที่แหล่งกำเนิดปลาบู่มหิดล [14] ฐานข้อมูลชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในประเทศไทย[15] ได้บันทึกว่า ปัจจุบันปลาบู่มหิดลมีแนวโน้มใกล้จะสูญพันธุ์

ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูล จาก วิกิพีเดีย (ขอบคุณครับ แหล่งเรียนรู้ดีดีที่อยู่ใกล้เรา)

ภาพวาดสีน้ำปลาบู่มหิดล สีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม ภาพวาดทางการแพทย์ ภาพวาดวิทยาศาสตร์ ภาพวาดสีน้ำ สอนสีน้ำ


ได้มีโอกาสไปแสดงงานเดี่ยว นิทรรศการสีน้ำที่มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะศิษย์เก่าเลยขออนุญาตนำผลงานสีน้ำ ปลาบู่มหิดล มาฝากครับ พร้อมความรู้ดีดี
ปลาบู่มหิดล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mahidolia mystacina)

ภาพวาดสีน้ำปลาบู่มหิดล สีน้ำบนกระดาษ ภาพสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม สีน้ำ ภาพวาดทางการแพทย์ ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์


สวยแต่น่ากลัว
ได้รับ โปสการ์ดจากคุณจอม แฟนพันธ์แท้หอย ส่งมาจากแดนไกล ปานนี้คงตะเวณเก็บเปลือยหอยอยู่ ทำให้นึกขึ้นได้ว่าอยากลองวาดสัตว์ ในกลุ่มสัตว์น้ำดู ได้เปลีอยหอยจากคุณจอมมา สวยทุก ชิ้นเลย เลยลองหัดวาดภาพปลาสิงโตดู ปลาที่ดูแล้วสวยประหาร เพราะดูภายนอกสวย แต่แฝงไปด้วยพิษ บริเวณครีมจะมีเยื่อที่เป็นพิษต่อร่างกายถ้าไปสัมผัส จะทรมานมาก วิธีแก้คือการนำส่วนที่โดนพิษไปอังไฟ เพราะพิษเป็นโปรตีนจะละลายไปกับความร้อน ปล แต่ถ้าไปเจอปลาแมงป่องซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน ก็คงต้องร้องนะโมนะโม ลาก่อน ใครชอบดำน้ำ อย่าไปเผลอจับล่ะ

ภาพวาดสีน้ำปลาสิงโต สีน้ำบนกระดาษ พัลล อนุสนธิ์พรเพิ่ม ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สีน้ำ


ภาพวาดสีน้ำ วงศ์ปลาสินสมุทร (วงศ์: Pomacanthidae; อังกฤษ: Angelfish, Marine angelfish) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthidae

ปลาตัวน้อยสีสดใส มีชื่อตามคล้ายคลึงตัววรรณคดีเอกของไทย สินสมุทรสีสันสดใสโลดแล่นใต้ท้องทะเล ธรรมชาติมักมอบความสวยงามให้เราได้ดูเสมอ ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางทะเลของไทยนะครับ เราจะได้มีปลาสวย ๆ แบบนี้ให้ชมกัน

ภาพวาดสีน้ำ วงศ์ปลาสินสมุทร (วงศ์: Pomacanthidae; อังกฤษ: Angelfish, Marine angelfish) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthidae  ปลาตัวน้อยสีสดใส มีชื่อตามคล้ายคลึงตัววรรณคดีเอกของไทย สินสมุทรสีสันสดใสโลดแล่นใต้ท้องทะเล ธรรมชาติมักมอบความสวยงามให้เราได้ดูเสมอ ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางทะเลของไทยนะครับ เราจะได้มีปลาสวย ๆ แบบนี้ให้ชมกัน




 

Create Date : 15 สิงหาคม 2555
0 comments
Last Update : 15 สิงหาคม 2555 12:40:29 น.
Counter : 3025 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


nuchock
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




สนใจอยากเรียนรู้ ขอคำแนะนำในการวาดภาพวาดสีน้ำ ภาพวาดวิทยาศาสตร์ ภาพวาดทางการแพทย์ มาแลกเปลี่ยนพูดคุยแอดเมลผมได้ที่ kunkruchock@gmail.com ได้นะครับยินดีที่ได้รู้จักทุกท่านครับ
Friends' blogs
[Add nuchock's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.