Google

Narinph
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
9 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Narinph's blog to your web]
Links
 

 

กลยุทธ์การเล่นหุ้นให้รวย

Credit blog นายแว่นธรรมดา //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=greenpluss&month=05-2011&date=02&group=32&gblog=1

กลยุทธ์ที่ 1 “สร้างภาพการลงทุนแห่งความสำเร็จในใจ”
ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นลงทุนในตลาดหลักทรัพย์.. คุณมีเป้าหมายในใจหรือเปล่า? เมื่อคุณเริ่มซื้อขาย และหวังจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ คุณทำได้อย่างที่คิดหรือไม่?

กลยุทธ์ที่ 2 “หาตัวเองให้เจอ”
ว่าคุณมีนิสัยการลงทุนแบบไหน หลักๆก็จะแบ่งเป็นแนววีไอคือการวิเคราะห์พื้นฐานลักษณะของบริษัทตลอดจนงบการเงิน และแนวเทคนิคคือการดูจากกราฟทางเทคนิคและวอลุ่มการซื้อขายโดยไม่สนใจในตัวหุ้น

กลยุทธ์ที่ 3 “เหตุผลที่คุณลงทุน”
คือการเน้นว่าต้องการผลตอบแทนด้านใดเป็นหลัก เช่นกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้น หรือเงินปันผล

กลยุทธ์ที่ 4 “จงเลือกคบเพื่อนที่จริงใจ”
เพื่อนในที่นี้หมายถึงผู้บริหารหรือซีอีโอของบริษัทนั้นๆ เราต้องดูว่าผู้บริหารเหล่านั้นมีการบริหารงานอย่างไร มีลักษณะนิสัยใจคออย่างไร? เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้ถือหุ้นมากน้อยแค่ไหน?

กลยุทธ์ที่ 5 “ไม่เข้าถือหุ้นที่เราไม่รู้จัก”
ก่อนจะเข้าถือหุ้นตัวใดคุณได้ทำการบ้าน ศึกษาหุ้นตัวนั้นมากน้อยแค่ไหน? หรือเข้าถือเพราะมีคนแนะนำ และเห็นว่าราคากำลังวิ่ง?

กลยุทธ์ที่ 6 “วางแผนระยะยาว”

หลายคนอาจประสบความสำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ โดยการเข้าถือหุ้นที่มีข่าวดี และเฝ้ารอราคาพุ่งขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุด จากนั้นจึงขายทำกำไร.. แต่เราจะโชคดีแบบนี้ทุกครั้งหรือไม่?

กลยุทธ์ที่ 7 “ขายเมื่อหาเหตุผลไม่ได้”
เคยพบกันบ้างมั้ยครับ? หุ้นราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีเหตุผล หรือพื้นฐานใดๆ มารองรับเลย เรียกได้ว่า
“ราคาตลาด” สูงจนน่าสงสัย?

กลยุทธ์ที่ 8 “อ่านลายแทงขุมทรัพย์ให้ออก”
ลายแทงขุมทรัพย์ทางการเงินที่พูดถึงก็คือ “งบการเงิน” ของแต่ละบริษัทนั่นเอง.. ถ้าเราฝึกอ่านงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ เป็นประจำ เราก็จะสามารถมองออกว่าบริษัทนั้นๆ ดีอย่างไร หรือไม่ดีอย่างไร..

กลยุทธ์ที่ 9 “จงระวังเงินทุนหมุนเวียนติดลบ”
ถ้า.. เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวกหมายความว่า บริษัทนั้นๆ มีความสามารถชำระคืนหนี้สินระยะสั้นได้ เงินทุนหมุนเวียนเป็นลบหมายความว่าขณะนี้ บริษัท ไม่สามารถตอบสนองหนี้สินระยะสั้นด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีอยู่ในมือ (เงินสดลูกหนี้ และสินค้าคงคลัง)

กลยุทธ์ที่ 10 “ฝึกจำลองสถานการณ์ในอนาคต”
ทุกวันนี้โลกเราเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก และมีสถานการณ์เกิดขึ้นมากมาย.. ล้วนมีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นแทบทั้งนั้น..

กลยุทธ์ที่ 11 “ไม่เสี่ยงกับโอกาสเพียง 50%”
ในตลาดหุ้นที่มีความผันผวนสูง มีปัจจัยหลากหลายทั้งที่เรารู้ และไม่รู้ “ความเสี่ยง” เป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องรู้จักควบคุมไม่ให้มาก หรือน้อยจนเกินไป..

กลยุทธ์ที่ 12 “หมั่นเติมอาหารสมองเป็นประจำ”
การที่เราจะมีมันสมองที่สมบูรณ์แข็งแรง เราก็ต้องเติมอาหารสมองที่มีคุณค่าทางความคิดที่ดี นั่นก็คือ หนังสือการลงทุนที่ดีๆ หรือการเข้าร่วมอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนที่ดี เป็นต้น

กลยุทธ์ที่ 13 “ลงทุนในหุ้นให้เหมือนการทำธุรกิจ”
เพราะถ้าเราทำธุรกิจเงินลงทุนก็ควรงอกเงยด้วยตัวของมันเอง แม้จะต้องเพิ่มทุนบ้าง แต่ถ้าเป็นการเพิ่มเพื่อสร้างผลกำไรที่ดีขึ้นก็น่าสนใจทีเดียว

กลยุทธ์ที่ 14 “การประมาณราคาหุ้น”
การประมาณราคาหุ้นทำได้หลายวิธี วิธีหนึ่งที่สามารถประมาณราคาอย่างคร่าวๆ ได้ก็คือ.. การนำค่ารวมของกำไรต่อหุ้น4ไตรมาสสุดท้ายมาคูณกับค่าความถือแพงของหุ้น(PE)

กลยุทธ์ที่ 15 “กำลังใจ”
เวลาที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง.. นักลงทุนหลายคนอาจขาดทุน เจ็บตัวอย่างหนัก ทำให้หมดกำลังใจเอาง่ายๆ.. แต่ชีวิตต้องสู้ต่อไป หลายคนอาจถือโอกาสนี้ในการปรับพอร์ทเวลาตลาดลงแรงๆ โดยไปถือหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาลงมาต่ำเกินมูลค่า


กลยุทธ์ที่ 16 “กลยุทธ์เล่นหุ้นในสภาวะขาดทุน”
เราจะทำอย่างไรดีล่ะในกรณีที่เราต้องติดดอย หรือประสบกับสภาวะขาดทุน?
1.คัทลอส (ถอยทัพตัดขาดทุน) หากหุ้นนั้นไม่มีพื้นฐานเพราะมันอาจลงไปต่ำกว่าฟลอร์
2.รอคอย เพราะเมื่อตลาดฟื้นราคาก็จะกลับมาในที่สุด
3.ซื้อเฉลี่ยขาลง สำหรับหุ้นที่เรามั่นใจว่าดี เพราะในที่สุดมันก็จะเด้งกลับมายังราคาที่ควรจะเป็น

กลยุทธ์ที่ 17 “ดูที่คุณภาพของสินค้า”
โดยสังเกตจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว หรือที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน อันจะทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนและใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด

กลยุทธ์ที่ 18 “อมตะวาจาของบัฟเฟต”
“จงโลภในขณะที่ตลาดกำลังกลัว และจงกลัวในขณะที่ตลาดกำลังโลภ”
คือการเตรียมซื้อเมื่อมีข่าวร้ายและเตรียมขายเมื่อมีข่าวดี เพราะจะเป็นช่วงที่ราคาหุ้นจะต่ำหรือสูงกว่าความเป็นจริง แต่ต้องดูจังหวะที่เหมาะสมด้วย

กลยุทธ์ที่ 19 “ยอดขายเติบโตมากกว่าสินทรัพย์”
สินทรัพย์จะก่อให้เกิดรายได้ก็ต่อเมื่อสามารถสร้างกระแสเงินสดเข้ามาในบริษัทที่เราสนใจจะลงทุน ถ้าทำได้น้อย ได้ไม่ดี หรืออาจทำได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น.. นั่นเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยจะดีเท่าไร.. เพราะอาจเป็นยอดขายที่ได้จากการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิด NPL

กลยุทธ์ที่ 20 “เล่นหุ้นให้มีความสุข”
เคยได้ยินกันบ้างมั้ยครับ? เครียดจนหัวใจเต้นผิดปกติ เครียดจนหัวใจวาย เครียดจนเส้นเลือดในสมองแตก..
ควรมีการปล่อยวางไม่ยึดติดจนเกินไป ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นผลเสียได้

กลยุทธ์ที่ 21 “อย่าพยายามเอาชนะตลาด”
ความพยายามที่จะเอาชนะตลาดเกิดจากอะไร?
บางครั้งเราวิเคราะห์พื้นฐานของหุ้นเป็นอย่างดีแล้ว และพบว่าหุ้นที่เราเข้าถือนั้นตรงตามเกณฑ์ที่เราได้ตั้งเอาไว้ เช่น เงินจากกิจกรรมการดำเนินงานเป็นบวก บริษัทมีการลงทุนเพิ่ม หรืออัตราการทำกำไรต่อหุ้นมากกว่าสองเท่า เป็นต้น.. แต่หุ้นก็ยังคงลงอย่างต่อเนื่อง..
เมื่อเราพบว่าราคาหุ้นตกลงอย่างมาก.. บางทีเราอาจตัดสินใจเร็วเกินไป เข้าซื้อเพิ่มเพื่อต้องการเอาชนะ.. แต่ปรากฏว่าหุ้นยังคงลงต่อไปอีก!!
เมื่อทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่คาดคิด เราคงต้องกลับมาทบทวนวิธีการลงทุนเสียใหม่.. กฏบางกฏอาจจะใช้ไม่ใด้ในสถานะการณ์บางอย่าง
เราอาจต้องอดทนรอเสียก่อน และวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกประกอบการตัดสินใจให้มากขึ้น.. บางทีเมื่อฝุ่นหายตลบแล้ว "โอกาส" ก็จะเผยตัวตนของมันให้เราเห็นได้ไม่ยาก.. เพียงเราไม่รีบร้อนจนเกินไป..

กลยุทธ์ที่ 22 “กฎ 3 ข้อสู่ความเป็นผู้ชนะตลาด”
กฎ 3 ข้อก่อนตัดสินใจลงทุนนี้ไม่ใช่เทคนิคตายตัว การตัดสินใจใดๆ เป็นปัจเจกบุคคล ควรศึกษาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน..
1.วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของบริษัท
2.ดูข่าวภายนอกที่เกี่ยวกับบริษัท เพื่อดูแนวโน้มทิศทางของบริษัท
3.ตั้งสติก่อนลงทุน

กลยุทธ์ที่ 23 “จับตาบริษัทลูก”
บริษัทใหญ่ๆ เมื่อการจัดการบริหารติดขัด ก็อาจจะต้องจัดตั้งบริษัทลูกมารองรับงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม..
ในขณะเดียวกัน ก็เป็นเส้นทางในการถ่ายเทเงินโดยมิชอบได้เช่นกัน เช่นหากบริษัทแม่ขาดทุน แต่บริษัทลูกกำไรแสดงว่าไม่ปกติแล้ว เพราะผู้ถือหุ้นเสียผลประโยชน์ในการลงทุน

กลยุทธ์ที่ 24 “5 สัญญานของหุ้นกลับตัว” (Turn around)
บริษัทที่มีผลการดำเนินงานติดลบมานาน หลายคนอาจจะสนใจว่ามันมีโอกาสที่จะกลับตัวเป็นบริษัทที่ให้ผลกำไรมากน้อยแค่ไหน? ถ้าเข้าถือบริษัทที่มีแนวโน้มจะกลับมาเป็นบวกก็จะทำให้ราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้นมหาศาล แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันจะเป็นไปตามที่เราคาดคิดจริงๆ
1.ต้องมีMOS (Margin of Safety) สูง
2.ค่า ROE เริ่มเป็นบวกหลังจากติดลบมานาน โดยเพิ่มขึ้นจากรายได้ของการขาย ไม่ใช่เกิดจากการขายสินทรัพย์
3.ควรมีราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (P/BV < 1)
4.บริษัทควรมีการขยายงานใหม่
5.มีกำลังผลิตเหลือเฟือ

กลยุทธ์ที่ 25 “อย่าขายหมู มาติดดอย”
ถ้าเรามั่นใจว่าหุ้นที่เราถือดีจริง ควรเก็บเอาไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากราคามันดีดตัวจนเกินพื้นฐานที่แท้จริงไปมากแล้วเท่านั้นจึงจะ “ขาย”

กลยุทธ์ที่ 26 “สงบสยบความเคลื่อนไหว”
ถ้าเราไม่นิ่ง ขายๆ ซื้อๆ ไปตามกระแสตลาดด้วยความกลัว สุดท้ายเราก็อาจเสียมากกว่าได้ บางคนถึงขั้นเข็ดขยาดตลาดหุ้นกันเลยทีเดียว..

กลยุทธ์ที่ 27 “ปลอดภัยไว้ก่อน”
ในช่วงเวลานี้เศรษฐกิจยุโรปกำลังย่ำแย่อย่างหนัก และยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ในส่วนของอเมริกาก็พึ่งจะพื้นตัวจากวิกฤต “แฮมเบอร์เกอร์” ซึ่งก็ยังไม่พื้นตัวดีนัก เหมือนคนป่วยที่ยังต้องอยู่ในความดูแลของหมออยู่..

กลยุทธ์ที่ 28 “ออกมาเป็นผู้มองเกมจากข้างสนาม”
การเป็นผู้เล่นที่เก่งกาจไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จเสมอไป สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการวางแผนจากกุนซือที่อยู่ข้างสนามแข่ง นั่นก็คือ “โค้ช” นั่นเอง


กลยุทธ์ที่ 29 “จับตา Exponential Curve”
คือการที่ราคาหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้ราคาขึ้นหรือลงกว่าความเป็นจริง จะเป็นจังหวะดีสำหรับทำการซื้อหรือขายทำกำไรระยะสั้น ซึ่งมักจะเกิดช่วงที่มีข่าวมากระทบหรือประกาศงบการเงิน


กลยุทธ์ที่ 30 “ขาใหญ่ล่อเม่า”
บางทีตัวที่เม่าอย่างพวกเราถืออยู่อาจจะมีข่าวดีโดยที่เราไม่มีโอกาสได้รู้ แต่ถ้าเราอมหุ้นไว้ขาใหญ่จะงาบยังไงล่ะ? ง่ายนิดเดียวแบบนี้ต้องจุดไฟล่อเป้าแมงเม่าอย่างพวกเรา โดยการลากราคาหุ้นตัวใหญ่ให้บรรดาเม่าเข้าซื้อโดยการขายตัวที่ถืออยู่

กลยุทธ์ที่ 31 “ทำตามกฎเหล็กของเรา”
วินัยในการลงทุนที่เคร่งครัดจะช่วยให้เราหลุดพ้นกับหายนะในยามคับขันได้..

กลยุทธ์ที่ 32 “ดูค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหาร” SGA
บางครั้งการดูงบการเงินโดยดูจากผลกำไรขาดทุนอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูค่าใช้จ่ายอื่นๆด้วย


กลยุทธ์ที่ 33 “คำนวณดูว่าคุณจะได้เงินคืนกลับมาเท่าไร”
ถ้าการลงทุนของเราเป็นแบบ "ปลอดภัยไว้ก่อน" เราก็ควรจะหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีค่าการคำนวณออกมาติดลบ แต่ถ้าเรามั่นใจว่าการก่อหนี้ของบริษัทนั้นๆ จะสามารถสร้างผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าได้ในอนาคต เราก็อาจเลือกลงทุนต่อไปได้..

กลยุทธ์ที่ 34 “ออกไปเดินเล่น”
ถ้าเรามั่นใจในตัวบริษัทที่เราลงทุนเราก็ควรจะปล่อยวาง และออกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้ จริงมั้ยครับ?

กลยุทธ์ที่ 35 “มองที่กระแสเงินสดของบริษัท” (หุ้นห่านทองคำ)
บริษัทที่มีกระแสเงินสดที่ดีก็เหมือนเครื่องผลิตเงินชั้นยอดไม่ต่ำกว่า10% ควรเลือกบริษัทที่มีกระแสเงินสดที่แน่นอนและต้นทุนของบริษัทไม่ผันผวนมากนัก เพราะเวลาฟื้นตัวจากราคาตกต่ำจะไปแรงกว่าคนอื่นเสมอ

กลยุทธ์ที่ 36 “ลงทุนแบบ ปีเตอร์ ลินซ์”
ปีเตอร์ ลินซ์ได้แบ่งกลยุทธ์ในการลงหุ้นไว้อยู่ 6 วิธีใหญ่ๆ โดยวัดจากอัตราการเติบโตของกำไรต่ออ้ตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
1.ประเภทอุ้ยอ้าย (Slow growers) 2-4% ต่อปี
2.ประเภทอแข็งแกร่ง (Stalwarts) 10-20 % ต่อปี
3.ประเภทโตเร็ว (Fast growers) 20-25 % ต่อปี
4.ประเภทขึ้นลงตามวัฎจักร (Clclicals)
5.ประเภทเริ่มฟื้นตัว (Turn arounds) จากขาดทุนเริ่มกลับมาทำกำไร (กลยุทธ์ 24)
6.ประเภทสินทรัพย์แฝง (Asset plays) คือมีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีมากๆ

กลยุทธ์ที่ 37 “ประมาณราคาตลาดของหุ้น”
ราคาของหุ้นจดทะเบียนในตลาดหุ้นไม่จำเป็นต้องเป็นราคาพื้นฐานที่แท้จริงเสมอไป เพราะราคาที่เราเห็นส่วนหนึ่งมาจากการเก็งกำไรของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
เราสามารถหาราคาตลาดอย่างง่ายๆโดยเทียบเคียงกับ pe ของตลาดเช่น ณ.ปัจจุบันที่ 1000 จุดมีค่า pe เท่ากับ12 แต่เราทราบข้อมูลว่าต่างชาติมีต้นทุนอยู่ที่900 จุด ถ้าต่างชาติขายทำกำไรที่900 จุดค่า pe ตอนนั้นจะประมาณ 10.8 เท่าโดยประมาณ
เมื่อเราได้ pe โดยรวมของตลาดแล้วเราก็มองหาหุ้นที่มี pe เทียบเคียงกับค่า pe ตลาดคือไม่เกิน10 เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

กลยุทธ์ที่ 38 “เวลาซื้อหุ้นที่ดีที่สุด”
เวลาที่คุณจะซื้อหุ้นที่ดีที่สุด ก็คือเวลาที่คุณมั่นใจว่า คุณพบหุ้นที่ดีเยี่ยม ในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

กลยุทธ์ที่ 39 “อย่าห่วงภาวะเศรษฐกิจ”
ภาวะเศรษฐกิจอาจเป็นตัวบอกแนวทางการลงทุนคร่าวๆ ประกอบการตัดสินใจได้บ้างในกรณีที่ผลกระทบบางอย่างอาจจะรุนแรงจนเราสังเกตเห็นได้ชัดเจน โดยการเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานที่ดี ผลประกอบการดี ผู้บริหารเก่งมีวิสัยทัศน์นำพาองค์กรได้ และดูผลตอบแทนจากเงินปันผล


กลยุทธ์ที่ 40 “คุณสมบัติของบริษัทที่ปรับตัวได้ดี”
การเลือกซื้อหุ้นซักตัวเราควรมองหาบริษัทที่สามารถปรับตัวได้ดีกับทุกสภาวการณ์ เพราะความผัวผวนที่มีอย่างมากมายในตลาดปัจจุบันทำให้เราคาดการณ์ล่วงหน้าได้ยาก โดยมีคุณสมบัติดังนี้
1.สามารถเพิ่มราคายขายได้ง่าย คือเป็นสินค้าที่ติดตลาดมานาน ลูกค้าให้การยอมรับ
2.สามารถปรับตัวต่อการเพิ่มขึ้นทางธุรกิจโดยใช้เงินทุนไม่มาก

กลยุทธ์ที่ 41 “หลัก 3 ประการก่อนเข้าถือหุ้น”
“จงซื้อธุรกิจที่ดีด้วยราคาที่เหมาะสม มากกว่าที่จะซื้อธุรกิจที่เหมาะสมด้วยราคาที่ดี(แพง)”
1.ต้องประเมินภาวะเศรษฐกิจในระยะยาวของธุรกิจแต่ละประเภท
2.ต้องประเมินคุณภาพของบุคคลที่รับผิดชอบในการบริหารธุรกิจนั้นๆ
3.พยายามซื้อกิจการในตลาดที่มีผลประกอบการดีที่สุดในกลุ่ม ด้วยราคาที่เหมาะสม

กลยุทธ์ที่ 42 “MOS ของเบน เกรแฮม”
Margin of Safety หลักการลงทุนของเบนจามิน เกรแฮม อาจารย์ของวอร์เรน บัฟเฟต
1.ลงทุนในบริษัทใหญ่ที่มียอดขายดี
2.ลงทุนในบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผล
3.ลงทุนในบริษัทที่มีสภาพคล่องสูง มีกระแสเงินสดดี และมีภาระหนี้ต่ำ
4.ลงทุนริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตอย่างยั่งยืน คือมีความมั่นคงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
5.เน้นการวิเคราะห์อัตราส่วนราคา หรือ Price Multiples โดยดูจากค่า P/E โดยต้องมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และ P/BV < 1.2 เท่า

กลยุทธ์ที่ 43 “ความลับของกระแสเงินสด” (ความแข็งแก่งของกิจการ)
ในภาวะตลาดหมีเราควรระมัดระวังในการลงทุนให้มาก การอ่านงบกระแสเงินสด และสามารถวิเคราะห์ความสามารถที่แท้จริงของบริษัทนั้นจะเป็นเครื่องมือที่ดี
บริษัทที่ดีควรมีความสามารถในการผลิตกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แม้ในยามคับขัน "อย่าซื้อหุ้นใดๆ ที่มีราคาสูงกว่า2ใน3เท่าของสินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินทั้งหมดของบริษัท

กลยุทธ์ที่ 44 “งบกระแสเงินสดบอกอะไรเราได้บ้าง?”
นักลงทุนที่ดีควรทำการบ้านก่อนตัดสินใจลงทุนในบริษัทที่เราคิดว่าน่าสนใจ หนึ่งในกิจกรรมของนักลงทุนที่ชาญฉลาดควรทำก็คือการแกะงบการเงินของบริษัท
โดยงบกระแสเงินสดจะแบ่งเป็นสามประเภทใหญ่ๆคือ
-กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน
-กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน
-กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงิน

กลยุทธ์ที่ 45 “กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน”โดยมากเป็นบวก
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงานจะเป็นตัวบอกเราได้ว่าบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ มีการดำเนินงานที่สร้างกระแสเงินสดให้กับบริษัท หรือทำให้กระแสเงินสดของบริษัทลดน้อยลง เช่นจากการขายสินค้า หรือดำเนินกิจการภายใน ซึ่งโดยมากจะเป็นบวก

กลยุทธ์ที่ 46 “กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน” โดยมากเป็นลบ
ตัวต่อไปที่จะบ่งบอกถึงความเป็นไปของกระแสเงินสดภายในเรื่องราวของการลงทุนของบริษัทก็คือ งบกระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุนซึ่งเกิดจากการขายหรือซื้อสินทรัพย์เช่นอาคาร เครื่องจักร
-โดยมากมักเป็นลบเพราะเกิดจากการซื้อสินทรัพย์เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน
-แต่หากเป็นบวกต้องดูว่าสินทรัพย์นั้นเก่าสมควรแก่การขายหรือไม่ มิฉะนั้นจะแสดงว่ากิจการนั้นถดถอย

กลยุทธ์ที่ 47 “กระแสเงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน”
กระแสเงินสดจากกิจกรรมทางการเงินจะเป็นตัวบอกการบริหารหนี้สินของทางบริษัทได้เป็นอย่างดี..
-ถ้าเป็นบวกจะเป็นสัญญาณการกู้หนี้เพิ่มของบริษัทจดทะเบียน
-ถ้าเป็นลบบอกถึงการชำระหนี้ของบริษัท ซึ่งถือเป็นเรื่องดี แต่ควรพิจารณาว่าเมื่อจ่ายแล้วกระทบกับสภาพคล่องของบริษัทหรือไม่




 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2554
2 comments
Last Update : 9 กรกฎาคม 2554 20:30:04 น.
Counter : 3816 Pageviews.

 

. . . . .

 

โดย: esyab 9 กรกฎาคม 2554 23:50:06 น.  

 

GOOD COMMENT AND HELPFUL,

 

โดย: RED KNIGHT IP: 49.230.132.175 10 กรกฎาคม 2554 5:44:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.