อาณาจักรของคนรักบ้าน รอบรู้เรื่องบ้าน - เคล็ด(ไม่)ลับ กับการแต่งบ้าน - คู่มือซื้อขายบ้าน
<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
27 ธันวาคม 2555

กระจกสำหรับบ้านพักอาศัย

ส่วนประกอบในบ้านที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ คือกระจก ซึ่งนับวันจะยิ่งมีการใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการออกแบบของอาคารสมัยใหม่ ซึ่งเน้นทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกได้กว้างไกล และการนำแสงสว่างเข้ามาใช้ในอาคารมากขึ้นเพื่อช่วยลดการใช้พลังงาน

กระจกสำหรับบ้านพักอาศัย

ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการการผลิต ทำให้มีกระจกหลากหลายให้เลือกใช้ เช่น กระจกทำความสะอาดตัวเอง กระจกที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ กระจกเปลี่ยนสี กระจกเรืองแสง กระจกลดแสงสะท้อน กระจกกันเสียง กระจกกันกระสุน และกระจกป้องกันไอน้ำ เป็นต้น

กระจกในบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่ที่เราใช้กันทั่วไปก็จะเป็นกระจกใสธรรมดา (Float Glass) ความหนา 6 มม. บ้าง 8 มม. บ้าง แล้วแต่ขนาดของประตูหน้าต่าง เรามักจะเลือกใช้กันเฉพาะสีบางสีเป็นพิเศษเท่านั้น เช่น สีเขียวใส สีดำใส เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วการเลือกกระจกอาจดูจากคุณสมบัติของกระจก เช่น

กระจกที่มีแผ่นฟิล์มใสอยู่ตรงกลาง (Laminated Glass) เหมือนกับที่ใช้ในกระจกหน้าของรถยนต์ ราคาอาจจะแพงกว่ากระจกธรรมดาหลายเท่า แต่ไม่ต้อง เสียเงินมาติดเหล็กดัดให้ดูรกหูรกตาอีกต่อไป เพราะกระจกประเภทนี้ทุบให้ขาดออกจากกันยาก เนื่องจากมีแผ่นฟิล์มอยู่ตรงกลาง สามารถเลือกความหนาของแผ่นฟิล์มได้

หากค่าใช้จ่ายสูงเกินไป อาจเลือกใช้เฉพาะจุดที่เสี่ยงต่อหัวขโมยเท่านั้นก็ได้ เช่น บริเวณชั้นล่าง หรือระเบียง อีกทั้งแผ่นฟิล์มที่อยู่ตรงกลางยังช่วยลดแสง UV ที่จะทำให้เครื่องเรือนและวัสดุอื่นๆ ในบ้าน มีสีซีดจางหรือเหลืองได้ กระจกประเภทนี้สังเกตได้ง่ายๆ ผู้ผลิตจะมีการแสตมป์ตัวอักษรสีขาวไว้ที่มุมกระจกด้านใดด้านหนึ่ง และหากเราลองเอาเหรียญเคาะดู กระจกจะมีเสียงแน่น ไม่เป็นเสียงใสเหมือนเคาะแก้วน้ำ ทั้งนี้เพราะมีฟิล์มอยู่ตรงกลางนั่นเอง

กระจกนิรภัย (Tempered Glass) ซึ่งมักใช้สำหรับห้องอาบน้ำครับ เพราะหากเราลื่นหกล้ม ชนกระจก กระจกจะแตกเป็นเม็ด และไม่เป็นอันตรายต่อเรามาก ความหนาที่เหมาะสมอยู่ที่ 10-12 มม. แนะนำให้ใช้สำหรับบ้านที่มีเด็กเล็กหรือในโรงเรียนอนุบาล เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ การดูกระจกประเภทนี้ ผู้ผลิตจะมีการแสตมป์ตัวอักษรสีขาวไว้ที่มุมกระจกด้านใดด้านหนึ่งเช่นกัน หรือหากเรามองกระจกนี้ในมุมเอียงๆ เราจะเห็นแสงสะท้อน 7 สีรุ้ง และคล้ายๆ รอยไหม้ที่ผิวกระจก เนื่องจากกระจกได้ผ่านกรรมวิธีการอบด้วยความร้อนมา

กระจกเงา คือการนำกระจกใสธรรมดามาเคลือบสารต่างๆ เช่น เงิน ทองแดง และเคลือบสารอื่นๆ อีกหลายขั้นตอน ข้อควรระวังก็คงเป็นเรื่องความชื้นที่อยู่ด้านหลังกระจก หากมีการป้องกันความชื้นด้านหลังที่ดี เช่น การรองด้วยแผ่นไม้อัด ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของกระจกได้นานหลายสิบปี

กระจกกันเสียงและกันความร้อน Double Glass หรือ Insulated Glass กระจกประเภทนี้ราคาสูงมากแต่ป้องกันความร้อนและเสียงได้ดีมาก ผลิตโดยการนำกระจกสองแผ่นมาประกบกันแต่ให้มีระยะห่างระหว่างกัน 1-1.5 ซม. แล้วทำให้ช่องว่างนั้นเป็นสุญญากาศ กระจกประเภทนี้เหมาะสำหรับห้องนอนเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งคนที่ต้องการความเงียบสงัดในการนอนและนอนเปิดแอร์ตลอด กระจกประเภทนี้จะช่วยลดการเกิดไอน้ำเกาะที่กระจกด้วย มักจะนำมาใช้มากในการทำตู้แช่ หรือตู้ในซูเปอร์มาร์เก็ต

กระจกบางชนิดราคาต่างกันมากกว่า 10 หรือ 100 เท่าก็มี ดังนั้นการเลือกใช้กระจกให้เหมาะสมกับห้องต่างๆ ในบ้านจึงจะช่วยให้ท่านประหยัดงบประมาณการก่อสร้างและการใช้พลังงานได้อย่าง แท้จริง

ขอขอบคุณ
ไทยโฮมออนไลน์




 

Create Date : 27 ธันวาคม 2555
0 comments
Last Update : 27 ธันวาคม 2555 10:07:59 น.
Counter : 1802 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Mobikiss
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Mobikiss's blog to your web]