Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2561
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
29 พฤษภาคม 2561
 
All Blogs
 
Cool Tech







เก็บรหัส password แบบได้ผล

     ยุคสมัยปัจจุบันที่โลกแห่งเทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเราทำให้การใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ต้องมีการเข้ารหัส ไม่เฉพาะแต่คอมพิวเตอร์เท่านั้นแต่ทั้งมือถือสมารท์โฟนแท็บเล็ตหรือรหัสที่ไว้ใช้ล็อคอินเพื่อเข้าหน้าเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เราเป็นสมาชิกอยู่ทั้ง facebook,e-mail ,หน้าเว็บที่เราเป็นสมาชิกซื้อของออนไลน์, รหัสที่เราไว้ใช้สำหรับทำธุรกรรมการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเป็นแบบออนไลน์,รหัสเข้าระบบการซื้อขายหุ้นออนไลน์หรือรหัสเข้าเว็บไซด์ประกันสังคมเป็นต้น

     หากเป็นรหัสที่เราใช้อยู่เป็นประจำทุกวันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเพราะคีย์ทุกวันจนชินและจำได้ แต่รหัสบางตัวเราไม่ได้ใช้บ่อย ๆ นาน ๆจึงจะเข้าสักครั้ง พอได้รหัสผ่านครั้งแรกมากว่าจะได้เข้ารหัสอีกครั้งก็ผ่านไปเนิ่นนานถ้าไม่ได้จดหรือมีวิธีตั้งรหัสเพื่อให้จำง่ายก็รับรองว่าจำรหัสไม่ได้แน่นอนแม้แต่หากเราเลือกวิธีตั้งรหัสให้จำง่ายแล้วก็ตามถ้าไม่ได้ใช้นานก็มีโอกาสที่จะลืมได้เช่นกันรหัสที่ต้องใช้ก็ช่างมากมายจำไม่หมดแน่ ๆ

     นอกจากนั้นอุปกรณ์บางอย่างหรือเว็บไซต์บางเว็บยังกำหนดเงื่อนไขของรหัสผ่านไว้แบบต้องมีทั้งตัวอักษรทั้งเล็กใหญ่ตัวเลขและแถมบางทีต้องมีพวกตัวอักษรพิเศษอีก เรียกว่าจำกันยากจริง ๆ


     วันนี้เรามาลองดูวิธีการจำหรือการเก็บรหัส passwordของคนที่เขาทำกันอยู่ ว่ามีวิธีไหนกันบ้างเผื่อจะได้เอาไปลองใช้กันบ้าง



1. เลือกตั้งรหัสที่ง่ายและใช้วิธีจำ


  • ตั้งรหัสผ่านจากเลขใกล้ตัวแต่ก็ต้องทำให้สลับซับซ้อนอย่าให้เดาง่ายนัก

  • ตั้งรหัสผ่านจากชื่อตัวละครในหนังสือหรือจากเกมที่ชอบแล้วตามด้วย @123 สลับกันไป
  • บางคนก็ใช้รหัสเดียวกันสำหรับทุกการใช้งาน เพียงแต่ลงท้ายด้วยตัวอักษรที่ต่างกัน เช่น 

1234_o สำหรับ รหัส outlook

1234_f  สำหรับ รหัส facebook

1234_h สำหรับ รหัส hotmail


  • ตั้งรหัสคำภาษาไทย แต่ล็อคคีย์บอร์ดเป็นภาษาอังกฤษหรือทำสลับกันแต่จะใช้ได้กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น ใช้วิธีนี้กับมือถือไม่ได้

  • บางคนก็ใช้เลือกใช้ตัวอักษรใหญ่เล็กและใช้ตัวเลขแทนอักษรบางตัว เช่น ใช้เลข 1 แทน ตัวอักษร i และ และ เลข 0 แทน ตัวอักษร o ดังนี้

I love you so much.  ก็ตั้งเป็น 110vey0us0much


  • หากเป็นรหัสที่ไม่ได้สำคัญมากสามารถใช้รหัสเดียวกันไปเลยก็ได้

     มีหลายเทคนิคที่รวบรวมไว้ลองเลือกเทคนิคการตั้งรหัสเพื่อให้จำง่ายแล้วนำไปลองใช้ดู เลือกวิธีที่ตัวเองถนัดบางคนไม่ชอบแบบซับซ้อนมากก็เลือกใช้เทคนิคง่าย ๆบางเทคนิคก็ช่วยให้เราไม่ต้องคิดรหัสผ่านใหม่ ใช้คล้าย ๆ กันได้เลย



2. เลือกจดหากคิดว่าจำไม่ได้


ที่จริงก็ไม่ใช่ว่าจะความจำสั้นแต่เพราะรหัสมากและเงื่อนไขในการตั้งก็ทำให้จำยากเอาให้ชัวร์ก็ต้องหาที่ปลอดภัยเพื่อรวบรวมเก็บรหัสเหล่านี้ไว้สำหรับวิธีที่คนส่วนใหญ่ใช้กันก็มีดังนี้

  • จดใส่แอพพลิเคชั่น color note แล้วลงทะเบียนซิงค์ไว้

  • ใช้ note pad ในคอมพิวเตอร์จดไว้ โดยเลือกจดไว้แค่ส่วนเดียว อีกส่วนที่เหลือเป็น code จำง่ายหรือจดไว้แบบสลับตัวเอา

  • จดใส่กระดาษเก็บในกระเป๋าสตางค์ ไม่ต้องจดว่าเป็นรหัสผ่าน หลายคนบอกว่าวิธีนี้ปลอดภัยที่สุด

  • บางคนจดไว้ใน note แต่เลือกจดแค่ตัวแรกกับตัวสุดท้าย p*****t  พอเห็นแค่ตัวต้นกับตัวท้ายก็จำส่วนที่เหลือได้

มีทั้งวิธีจดใส่กระดาษ ใส่ note ในคอมพิวเตอร์หรือในมือถือ แถมยังมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้การจดนั้นดูปลอดภัยมากขึ้น โดยไม่ต้องจดละเอียดว่าเป็นรหัสที่ใช้กับอะไรหรือไม่ต้องจดทั้งหมดแค่จดบางส่วน  ใครคิดว่าเทคนิคไหนเหมาะกับตัวเอง สามารถลองนำไปใช้ดูได้



3. ใช้แอพช่วยเก็บรหัสผ่าน

มีหลายคนที่ต่อให้ตั้งรหัสแสนง่ายแล้วก็ยังจำไม่ได้ หรือจดไว้ก็ตามหากไม่ได้ใช้บ่อยก็ไม่น่าจะจำได้อีก หรือดีไม่ดีไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นรหัสผ่านใช้กับอะไร ส่วนบางคนก็คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยแบบสุด ๆ หากเป็นแบบนี้ต้องหาตัวช่วยที่เป็นมืออาชีพมาช่วยเก็บรวบรวมรหัสผ่านของเราไว้ในที่ปลอดภัยกัน นั่นก็คือวิธีใช้แอพพลิเคชั่นช่วยเก็บหรือจำรหัสผ่านให้ ที่นิยมใช้กันก็จะมีอยู่ 3 แอพพลิเคชั่น คือ

  • lastpass
เป็นแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยเก็บรหัสผ่านทั้งหมดของเราไว้ในที่เดียวโดยระบบจะล็อคและอันล็อคด้วยรหัสผ่านที่เป็น master เราก็เพียงแต่จำmaster password ในการเปิดแอพนี้เพียงรหัสเดียวเท่านั้นรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านได้ตามลิงก์อ้างอิงนี้ https://www.it24com/2015/lastpass-password-manager/




  • 1password
เป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถใช้ได้กับทั้ง windows, mac, iOS และ android 1password เป็นโปรแกรมที่จะช่วยเก็บรหัสผ่านทั้งหมดของเราไว้ในที่เดียวกันแล้วล็อครหัสด้วย master password เมื่อเราต้องการใช้งานเพื่อเข้าดูรหัสทั้งหมดก็สามารถอันล็อคด้วยรหัสผ่าน master password นี้ เราก็จำเพียงแค่รหัสนี้รหัสเดียวเท่านั้น 1password ยังมีข้อดีที่ทำให้สะดวกในการใช้งานมาก ก็คือหากเราบันทึกรหัสผ่านไว้แล้ว เมื่อกลับมาใช้หน้าเว็บนั้นอีก 1password จะกรอกรหัสผ่านนั้นให้เองโดยที่เราไม่ต้องพิมพ์ใหม่และทุกคนก็จะไม่สามารถมองเห็นรหัสผ่านนั้นของเราด้วย ใครที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปอ่านได้ตามลิงก์อ้างอิงนี้ https://www.vcharkarn.com/varticle/501602





  • KeePass Password Safe



คุณสมบัติของ KeePass Password Safe

  • ฟรีโปรแกรม ประเภท OpenSource
  • ไฟล์ขนาดเล็ก
  • ใช้งานง่าย
  • การจัดเก็บจะเก็บในลักษณะของฐานข้อมูล
  • มี รหัสผ่านหลัก หรือ MasterKey ไว้สำหรับการควบคุมฐานข้อมูล ให้ปลอดภัย
  • ไฟล์ฐานข้อมูลจะถูกเข้้ารหัสทำให้ยากในการขโมยข้อมูล
  • โปรแกรมไม่ต้องติดตั้ง สามารถใช้งานได้ทันที (โปรแกรมประเภท Portable)
  • รองรับการ Import / Export ไปในรูปแบบไฟล์ต่างๆ
  • รองรับการจัดเรียง และค้นหา
  • รองรับการใช้งานหลากหลายภาษา

เชื่อว่า ความสามารถข้างต้น ก็น่าจะทำให้หลายๆ คนสบายใจและอยากใช้งาน KeePass Password Safe กันบ้างแล้วน่ะคะ อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ลองใช้งานกันดูก่อนก็ได้ค่ะ เพราะอย่างไรก็ตาม KeePass Password Safe ก็เป็นฟรีโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้อย่างฟรี ๆ สนใจดาวน์โหลด หรือดูรายละเอียดได้ที่ https://keepass.info/


4. เลือกขอรับรหัสผ่านใหม่

หากเป็นเว็บไซต์ที่เราไม่ได้เข้าใช้งานบ่อย ๆ นาน ๆ เข้าทีหลายท่านที่ไม่ต้องการจำ ไม่ต้องการจดและไม่ต้องการรวบรวมอะไรไว้ที่ไหนด้วย ก็จะมีอีกวิธีก็คือ คลิก ลืมรหัสผ่าน เพื่อขอรหัสใหม่ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้เช่นกันบางการใช้งานการขอรหัสผ่านใหม่ ก็เป็นเรื่องยุ่งยากและต้องใช้เวลานาน ส่วนบางการใช้งานก็เร็ว คลิกขอรหัสผ่านใหม่ รหัสใหม่ก็ส่งมาให้ทางอีเมล์แทบจะทันที ก็ขอให้พิจารณาดูกัน ว่าแต่ละคนชอบเทคนิคหรือวิธีไหนกัน เลือกใช้กันได้ตามสะดวกเลยค่ะ







Create Date : 29 พฤษภาคม 2561
Last Update : 2 มิถุนายน 2561 11:33:46 น. 0 comments
Counter : 261 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2436574
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 2436574's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.