Your mind is my mind.

 
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
6 สิงหาคม 2553
 

เทคนิคการตรวจสอบงานคอนกรีต


การควบคุมและตรวจสอบงานคอนกรีต



 

คอนกรีตจะมีคุณภาพดีจะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน เช่น วัสดุดี ผสมได้ถูกส่วน เทได้ถูกวิธี มีการควบคุมการสูญเสียน้ำได้ดี เป็นต้น ชั้นคุณภาพของคอนกรีตในประเทศไทยมีลำดับดังนี้ 100, 145 (150), 175(180), 210, 240, 275(280), 300, 320(325) ksc. คอนกรีตที่มีกำลังอัดประลัยไม่เกิน 150 ksc. ใช้เป็นคอนกรีตหยาบ สิ่งที่ต้องทำการตรวจสอบสำหรับงานคอนกรีต
- ตรวจสอบคุณภาพทราย
ทรายที่ใช้ผสมคอนกรีต จะถูกระบุไว้ในรายการประกอบแบบว่า ต้องเป็นทรายแม่น้ำ สะอาด และเม็ดคมแข็งแกร่ง หรือบางโครงการอาจจะไม่ได้ระบุไว้ในรายการประกอบแบบก็ตาม ผู้ควบคุมงานพึงเข้าใจว่า ข้อกำหนดดังกล่าว เป็นหลักวิชาการที่จะทำให้คอนกรีตมีคุณภาพที่ดี
- ตรวจสอบคุณสมบัติของหินที่ใช้ผสมคอนกรีต
โดยปกติปัญหาในเรื่องการใช้หินในงานคอนกรีตไม่สู่จะมีปัญหามากนัก เพียงแต่ตรวจให้เป็นไปตามข้อกำหนดของรายการ ประกอบแบบก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องขนาด ผู้ควบคุมงานควรมีความรู้พื้นฐานว่า หินเบอร์ 1 จะมีขนาด 3/16" - 3/4" หินเบอร์ 2 จะมีขนาด 3/4" - 1.5" และหินเบอร์ 3 จะมีขนาด 1.5" - 3" เพื่อจะได้ตรวจสอบขนาดหินให้ถูกต้อง ในการตรวจสอบชนิดหิน ใช้ตรวจสอบด้วยสายตา หินที่ใช้ในงานก่อสร้างโดยเฉพาะที่ใช้ผสมคอนกรีตจะเป็นหินแกรนิต (Granite) และหินปูน (Limestone) ซึ่งสีของหินทั้งสองชนิดนี้จะมีสีเทาและขาวแทรกกันอยู่ในแต่ละก้อน ผู้ควบคุมงานอาจใช้วิธีเทียบสี แต่ถ้ามีประสบการณ์ในการควบคุมงานแล้ว เพียงดูผ่านๆ ก็จะสามารถทราบว่าเป็น หินปูนหรือหินแกรนิตหรือไม่ หินที่ดีควรมีก้อนเป็นเหลี่ยมคม ไม่เป็นก้อนกลมปราศจากเหลี่ยมคม แต่ในปัจจุบันลักษณะของหินจะเปลี่ยนไปจากเดิม เนื่องจากหินถูกย่อยด้วยเครื่องโม่ ไม่ใช้ย่อยด้วยแรงคนเหมือน แต่ก่อน ทำให้หินมีความเหลี่ยมคมลดลง แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคในงานคอนกรีตแต่อย่างใด
- ตรวจสอบปูนซิเมนต์
ปูนซิเมนต์เป็นวัสดุที่สำคัญของส่วนผสมคอนกรีต เป็นตัวประสานให้วัสดุผสมมวลรวมหยาบและมวลรวมละเอียด เกาะกันแน่นเป็นก้อนคอนกรีต การตรวจสอบปูนซิเมนต์ ควรคำนึงถึง ประเภทของปูนซิเมนต์ นำไปใช้ให้ถูกต้องตาม ที่ระบุไว้ในแบบ ลักษณะของเนื้อปูนที่บรรจุอยู่ในถุง จะต้องไม่จับตัวกันเป็นเม็ดหรือเป็นก้อน
- ตรวจสอบน้ำที่ใช้สำหรับผสมคอนกรีต
คุณภาพของน้ำมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ต่อกำลังของคอนกรีต ไม่ควรใช้น้ำที่มีความขุ่น และมีสารอินทรีย์ผสมอยู่
- ตรวจสารที่ใช้ผสมร่วมในคอนกรีต
เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพของคอนกรีตเพื่อให้ได้คุณสมบัติของคอนกรีตที่ต้องการ โดยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายจะมี 4 ชนิด ได้แก่
สารทำให้เกิดฟองอากาศ (Air-Entraining Agent)
่เป็นสารที่ทำให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็กมากในเนื้อคอนกรีต ซึ่งเมื่ออากาศเย็นจนน้ำเป็นน้ำแข็งน้ำที่อยู่ในเนื้อคอนกรีต จะขยายตัว ฟองอากาศเล็กๆเหล่านี้จะเป็นช่องว่างให้น้ำที่ขยายตัวแทรกเข้าไปได้ ทำให้ไม่ดันให้เนื้อคอนกรีตแตกร้าว
สารลดปริมาณน้ำ (Water-Reducing Agent)
สารนี้จะช่วยเพิ่มความเหลวและการยุบตัวของคอนกรีต เมื่อใช้น้ำในส่วนผสมที่น้อยลง จึงมีผลในการเพิ่มกำลังของคอนกรีต รอการแยกตัวและสูญเสียน้ำ เพิ่มความแน่นและแรงยึดหน่วงระหว่างคอนกรีตและเหล็กเสริม
สารหน่วงการก่อตัว (Slow-Setting Agent)
สารชนิดนี้จะช่วยให้คอนกรีตก่อตัวช้ากว่าปกติ ช่วยเพิ่มเวลาในการเทคอนกรีต ช่วยในงานเทคอนกรีตที่ต้องการให้ต่อเนื่อง เพื่อลดปริมาณรอยต่อในการเท และช่วยลดการแตกร้าวในคอนกรีตขณะที่แข็งตัวด้วย
สารเร่งการก่อตัว (Rapid-Setting Agent)
เป็นสารทำให้คอนกรีตก่อตัวเร็วกว่าปรกติ ใช้กับงานที่ต้องการถอดแบบได้เร็วหรือให้รับกำลังได้เร็วขึ้น ใช้อุดรูรั่วในเนื้อคอนกรีต
- ตรวจการผสมคอนกรีต
ให้อยู่ในสัดส่วนที่กำหนดโดยเราสามารถตรวจดูความข้นเหลวของคอนกรีตได้จากการทดสอบการยุบตัวของคอนกรีต
(Slump Test)

- - ควบคุมการเทให้มีเนื้อสม่ำเสมอ
ไม่เกิดการแยกตัว ควรที่จะเทคอนกรีตให้ใกล้จุดท้ายที่สุด อย่าเทคอนกรีตในระยะสูงควรใช้รางจะดีกว่า อย่าเทคอนกรีตตกลงเป็นมุม อย่าเทคอนกรีตเป็นกองสูงๆ ต้องเทเป็นชั้นๆ ให้หนาไม่เกิน 45 เซนติเมตร ไม่ควรหยุดเทคอนกรีต เป็นทางลาดเอียง ควรที่จะหาไม้กั้นเป็นแนวตั้งฉากจะดีกว่า เพื่อที่จะลดปัญหาที่เกิดได้
- ควบคุมการทำคอนกรีตให้แน่น ไม่ให้เป็นโพรง
โดยใช้ไม้กระทุ้งหรือเครื่องสั่นคอนกรีต การใช้เครื่องสั่นคอนกรีตจะได้ผลดีกว่าวิธีอื่น การจุ่มเครื่องสั่นคอนกรีตควรตั้งแท่งสั่นให้ตรงไม่ควรเอียงแท่งสั่นไปถูกเหล็ก และไม่ควรจี้คอนกรีตนาน เพราะอาจทำให้เกิดการเยิ้มได้ การบ่มคอนกรีต เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่จะทำให้คอนกรีตมีคุณภาพดี โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
- ควรบ่มคอนกรีตโดยควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
โดยให้คอนกรีตมีอุณหภูมิประมาณ 22 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วัน
- ควรให้ความชื้นแก่คอนกรีตอย่างน้อย 7 วัน
ด้วยการขังน้ำให้ทั่วผิวหน้าคอนกรีต หรือใช้กระสอบชุบน้ำให้เปียกคลุมผิวหน้าให้ตลอด หมั่นลดน้ำบนผิวหน้าคอนกรีตบ่อยๆ หรือใช้ น้ำยาบ่มคอนกรีตพ่นผิวหน้าตลอด
- อย่าปล่อยให้คอนกรีตเสียน้ำไปโดยเร็ว เพราะจะทำให้คอนกรีตกำลังตกและเกิดรอยร้าวขึ้นได้
- ไม่ควรใช้น้ำที่มีสารละลายเจือปนบ่มคอนกรีตเพราะอาจทำให้เนื้อคอนกรีตผุกร่อน และอาจทำให้มีรอยเปื้อนหรือสีที่ไม่ต้องการขึ้นได้


Create Date : 06 สิงหาคม 2553
Last Update : 6 สิงหาคม 2553 14:09:12 น. 0 comments
Counter : 251 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

mindbuild
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add mindbuild's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com