" คื อ ไ ท ย . . . คื อ วั ฒ น ธ ร ร ม "
 
กันยายน 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
10 กันยายน 2551
 
 

หัวข้อ




ประติมากรรมไทย Thai Sculpture หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำ และนูนสูงมักทำ เป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือนโบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย สำหรับงานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ ตุ๊กตา ภาชนะดินเผา ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น หรือแตกต่างกันไปตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุล ช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่างๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป เนื่องจากเป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จัดสร้างอย่างปราณีตบรรจง ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดในท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่างศักดิ์สิทธิ์เปี่ยมศรัทธา ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่างๆ สามารถลำดับได้ดังนี้

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11 - 16
ศูนย์กลางของอาณาจักรทวาราวดีของชนชาติมอญ ละว้า อยู่แถบนครปฐม ราชบุรี อู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาค ตะวันออกเฉียงหนือ แถบ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี และขึ้นมาทางเหนือแถบ ลำพูน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี คือ พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูน และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระหนุป้าน พระนาฏแคบ พระนาสิกป้านใหญ่ พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่


ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13 - 18
อาณาจักรศรีวิชัยอยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลางและมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุสมัยศรีวิชัยอยุ่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่เมืองไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตามลัทธิมหายาน พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ คือ พระวรกายอวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัดส่วน พระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน


ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16 - 18
ศิลปะลพบุรีพบที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นของชนชาติขอม แต่เดิมเป็นศิลปะขอม แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้ และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับศิลปะไทย จึงเรียกว่า ศิลปะลพบุรี ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ


ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 16 - 21
ศิลปะล้านนา หรือศิลปะเชียงแสน อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย และมีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดี และลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะ ล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อ พญามังรายได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาก็อยู่ที่เมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีกเป็นเวลานาน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ซึ่งมักเรียกว่า แบบเชียงแสน คือ พระวรกายอวบอูม พระพักตร์อิ่ม ยิ้มสำรวม กระเกตุมาลาเป็นรูปต่อมกลม และดอกบัวตูม ไม่มีไรพระศก พระศกเป็นแบบก้นหอย พระขนงโก่งรับพระนาสิกงุ้มเล็กน้อย ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระอุระนูนดังราชสีห์ ท่านั่งขัดมาธิเพชร


ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 17 - 20
อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย ศิลปะสุโขทัยจึงนับเป็นสกุลศิลปะแบบแรกของชนชาติไทย ที่ผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์คลี่คลาย สังเคราะห์ในแผ่นดินที่เป็นปึกแผ่น มั่นคงจนได้รูปแบบที่งดงาม พระพุทธรูปสุโขทัย ถือว่ามีความงามตามอุดมคติไทยอย่างแท้จริง ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระวรกายโปร่ง เส้นรอบนอกโค้งงามได้จังหวะ พระพักตร์รูปไข่ยาวสมส่วน ยิ้มพองาม พระขนงโก่ง รับกับพระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์แย้มอิ่ม ดูสำรวม มีเมตตา พระเกตุมาลารูปเปลวเพลิง พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระศกแบบก้นหอย ไม่มีไรพระศก พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมีความงดงามมาก ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห ์พระศาสดา พระพุทธไตรรัตนายก และพระพุทธรูปปางลีลา นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ในสมัยสุโขทัยยังมีงานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องสังคโลก ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องปั้นดินเผาสังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีใส เขียนทับลายเขียนรูปต่างๆ มี ผิวเคลือบแตกราน สังคโลกเป็นสินค้าออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยที่ ส่งไปจำหน่ายนอกอาณาเขต จนถึงฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น


ศิลปะอู่ทอง พุทธศตวรรษที่ 17 - 20
อาณาจักรอู่ทอง เป็นอาณาจักรเก่าแก่ก่อนอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆ ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี รวมทั้งสุโขทัย ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า พระพักตร์ขรึมดูเป็นรูปเหลี่ยม คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน พระศกนิยมทำเป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรงพระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชี รับอิทธิพลศิลปะลพบุรี แต่ยุคต่อมาเป็นแบบเปลวเพลิงงามแบบศิลปะสุโขทัย


ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 - 24
อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ และมีอายุยาวนานถึง 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 - 2310 ศิลปะอยุธยาที่เจริญรุ่งเรืองมีหลายแขนง ได้แก่ การประดับมุก การเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ และเครื่องปั้นดินเผาลายเบญจรงค์ ฯลฯ ศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาไม่ค่อยรุ่งเรืองนัก ไม่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด ลักษณะทั่วไปจะเป็นการผสมผสานศิลปะแบบอื่นๆ มีพระวรกายคล้ายกับพระพุทธรูปอู่ทอง พระพักตร์ยาวแบบสุโขทัย พระเกตุมาลาเป็นหยักแหลมสูงรูปเปลวเพลิง พระขนงโก่งแบบสุโขทัย สังฆาฏิใหญ่ปลายตัดตรง หรือสองแฉกแต่ไม่ เป็นเขี้ยวตะขาบ แบบเชียงแสน หรือสุโขทัย ตอนหลังนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช


ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25 - ปัจจุบัน
ศิลปะรัตนโกสินทร์ในตอนต้น เป็นการสืบทอดมาจากสกุลช่างอยุธยาไม่ว่าจะเป็นการเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ เครื่องเงิน เครื่องทอง การสร้างพระพุทธรูป ล้วนแต่สืบทอดความงามและวิธีการของศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้นโดยเฉพาะชาติตะวันตก ทำให้ลักษณะศิลปะตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย และมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในสมัยต่อมา หลังจากการเสด็จประพาสยุโรปทั้ง 2 ครั้งของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเอาแบบอย่างทางศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทยทำให้ศิลปะไทยแบบประเพณี ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นศิลปะไทยแบบร่วมสมัยในที่สุด ลักษณะของพระพุทธรูปเน้นความเหมือนจริงมากขึ้น เช่น พระศรีศากยทศพลญาณฯ พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นพระพุทธรูปปางลีลาโดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัย

ประติมากรรมเป็นผลงานในลักษณะใด
ประติมากรรมเป็นผลงานศิลปกรรมที่เป็นรูปทรง 3 มิติ ประกอบจากความสูง ความกว้างและความนูน หรือความลึก รูปทรงนี้มีปริมาตรที่ จับต้องได้และกินระวางเนื้อที่ในอากาศ ต่างจากรูปทรงปริมาตรทางจิตรกรรมที่แสดงบนพื้นเรียบเป็นปริมาตรที่ลวงตา ประติมาก รรมเกิดขึ้นจากกรรมวิธีการสร้างสรรค์แบบต่างๆ เช่น การปั้นและหล่อ การแกะสลัก การฉลุหรือดุนประติมากรรมทั่วไปมี 3 แบบคือ ประติมากรรมแบบลอยตัวสามารถดูได้โดยรอบ ประติมากรรมนูน มีพื้นรองรับสามารถดูได้เฉพาะด้านหน้าและด้านเฉียงเท่านั้น และประติมากรรมแบบเจาะลึกลงไปในพื้นประติมากรรมไทยเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษโดยประติมากรของไทยที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อรับใช้สังคม ตอบสนองความเชื่อสร้างความภูมิใจ ความพึงพอใจ และค่านิยมแห่งชาติภูมิของไทย ประติมากรรมไทยส่วนใหญ่เน้นเนื้อหาทางศาสนา มักปรากฏอยู่ตามวัดและวังมีขนาดตั้งแต่เล็กที่สุด เช่น พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง จนถึงขนาดใหญ่ที่สุด เช่น พระอัจนะหรือพระอัฏฐารส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่กลางแปลง มีทั้งประติมากรรมตกแต่ง ซึ่งตกแต่ง ศิลปวัตถุ ศิลปสถาน เพื่อเสริมคุณค่าแก่ศิลปวัตถุหรือสถานที่นั้น จนถึงประติมากรรมบริสุทธิ์ซึ่งเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่าและคุณสมบัติเฉพาะสมบูรณ์ด้วยตัวของประติมากรรมเอง เมื่อพิจารณาภาพรวมของประติมากรรมไทยอาจแบ่งประติมากรรมออกเป็น 3 ประเภทคือประติมากรรมรูปเคารพ ประติมากรรมตกแต่ง และประติมากรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอย


ประติมากรรมรูปเคารพ แสดงถึงความเชื่อในเรื่องใด
ประติมากรรมรูปเคารพ เป็นงานศิลปกรรมเพื่อแสดงความเชื่อทางศาสนาเป็นหลักใหญ่ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาเป็นหลักใหญ่ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา เป็นการรับใช้พระพุทธศาสนาในทางศิลปะด้วยงานศิลปกรรม เนื่องจากสังคมไทย มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง และมีมานานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน จึงเชื่อคำสั่งสอนของพุทธศาสนาอย่างฝังใจ ได้แก่ เชื่อในพระรัตนตรัยเชื่อในการกระทำของมนุษย์ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อในความจริง ตลอดจนเชื่อความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารต่างๆ รูปแบบของประติมากรรมจึงเป็น รูปทรงแห่งวัตถุที่ได้รับ การสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นสิ่งแทน เป็นสิ่งพรรณนาความรู้สึกอุดมคติ และความเชื่อที่เป็นนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรม อาจแบ่งประติมากรรมรูปเคารพตามลักษณะของการแสดงออกได้ 2 ประเภทคือ ประติมากรรมรูปคน และประติมากรรมรูปสัญลักษณ์ ประติมากรรมรูปคน ในประเทศไทยพบประติมากรรมรูปที่เป็นรูปเคารพตามคติทางศาสนาต่างๆ คือ เทวรูปในศาสนาฮินดู พระพุทธรูปและ พระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายานและพระพุทธรูปในพุทธศาสนาลัทธิหินยานหรือเถรวาท ประติมากรรมรูปคนที่สร้าง ขึ้นเพื่อเคา รพบูชานี้ถือ การสร้างพระพุทธรูปเป็นประติมากรรมรูปคนที่สำคัญและมีการสร้างสรรค์เป็นจำนวนมากที่สุด ประติมากรรมรูปสัญลักษณ์เป็นประติมากรรมที่ได้รับรากฐานอิทธิพล การสร้างมาจากอินเดียโบราณภายหลังพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้มีการสร้างรูปเคารพแสดงเรื่องราวทางพุทธศาสนาเป็นพุทธประวัติขึ้น


ประติมากรรมรูปเคารพของไทย มีลักษณะพิเศษอะไรบ้าง
ประติมากรรมรูปคนของไทย กล่าวโดยสรุปมีลักษณะพิเศษดังนี้ ไม่แสดงความแตกต่างของพื้นผิว มักทำเป็นผิวเกลี้ยงเรียบสร้างความงามของรูปให้เกิดโดยการแสดงความสูงต่ำของพื้ นผิว รูปทรงช่องไฟแสดงความโค้งเว้าของปริมาตรทั้งส่วนพระเศียร พระศอ พระอุระ พระวรกาย พระพาหา จนเกิดความอ่อนหวานคดโค้งของเส้น รูปนอกและเ ส้นภายในมีความอ่อนหวานทั้งส่วนละเอียดและส่วนรวม ไม่แสดงความเหมือนจริงและไม่แสดงการเลียนแบบรูปคนในธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูกชัด เจนรวมทั้งไม่แสดงอารมณ์แบบมนุษย์ ไม่นิยมปั้นรูปเหมือน ตามคติความเชื่อแต่โบราณ ไม่มีการสร้างรูปเหมือนบุคคลไว้สักการะบูชา นอกจากการสร้างรูปแทนเท่ านั้น รูปแทนเหล่านั้นมักสร้างเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูป ลีลาท่าทางของประติมากรรมรูปเคารพของไทยล้วนเป็นแบบแผนที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ขึ้นอย่างมีระเบียบและถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เรียกลีลาท่าทางของรูปเคารพ โดยเฉพาะพระพุทธรูปนี้ว่า ปาง


เรื่องใดที่มักนำมาแสดงในประติมากรรมเล่าเรื่อง
ประติมากรรมเล่าเรื่อง เป็นประติมากรรมประกอบศิลปสถาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างขึ้นมาเพื่อสะท้อนคติความเชื่อทางศา สนาด้วยการพรรณนาหรือเล่าเรื่องด้วยภาพประติมากรรมทางเทคนิคปั้นปูนหรือแกะสลัก ลักษณะของภาพประติมากรรมเป็นภาพนูน สูงและภาพนูนต่ำมีพื้ นหลังรองรับเรื่องที่นำมาแสดงส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติหรือทศชาติ ซึ่งมักเลือกแสดงเหตุการณ์ตอนที่สำคัญ หรือ น่าพิศวงกล่าวคือ ภาพแต่ละกลุ่มสร้างขึ้นด้วยตัวเอกที่มีพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ในพระชาตินั้นๆ เป็นประธานหรือเป็น หลักขององค์ประกอบ และมีตัวประกอบที่สำคัญตามแนวเรื่องที่ต้องการเพียงไม่กี่ตัว รวมทั้งแทรกสิ่งของเครื่องใช้ ส่วนของอาคารเป็นฉากหลังเท่า ที่จำเป็น เพื่อทำให้ผู้ดูได้ทราบเรื่องราวตอนนั้นอย่างสมบูรณ์ เช่น ภาพปูนปั้นปางเสด็จจากดาวดึงส์ ในซุ้มทิศใต้ของพระมณฑปวั ดตระพังทองหลาง สุโขท ัย มีลักษณะเป็นภาพปูนปั้นรูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์ ลักษณะของพระพุทธรูปเป็นภาพนูนสูง ปางลีลา มีพระพุทธลักษณะแบบสุโขทัยงดงามมากเคลื่อนองค์อยู่บนรัตนโสปานะ (บันไดแก้ว) แวดล้อมด้วยพระอินทร์ พระพรหม ที่มีขนาดรูปร่างเล็กกว่า ภาพนูนต่ำกว่า ภาพทศชาติป ั้นปูน หน้าพระอุโบสถวัดไลย์ ลพบุรี ภาพเรื่องปฐมสมโพธิกถาปั้นด้วยปูนที่เมรุทิศ วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และประติมา กรรมผนังเรื่องพุทธประวัติรอบพระวิหารพุทธบาทวัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา สมุทรสงคราม เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีภาพประติมากรรมเล่า เรื่อ งวรรณคดี เช่น ประติมากรรมแกะสลักหินอ่อนนูนต่ำเรื่องรามเกียรติ์ประดับผนังระเบียงพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหา นคร จำนวน 154 ภาพ เป็นต้น ประติมากรรมเหล่านี้ นอกจากจะแสดงคุณค่าทางเรื่องราว คุณค่าทางฝีมือและการแสดงออกของประติมากรรม เองแล้ว ยั งมีส่วนช่วยตกแต่งสถาปัตยกรรมนั้นให้อลังการและทรงคุณค่ามากขึ้นอีกด้วย



ขอขอบคุณข้อมูลจาก //www.prc.ac.th/newart/webart/history07.html
//kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK13/chapter4/chap4.htm





 

Create Date : 10 กันยายน 2551
0 comments
Last Update : 15 กันยายน 2551 23:20:06 น.
Counter : 31047 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

mooniza
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับผู้ไม่ทอดทิ้งมรดกไทยค่ะ . . . ร่วมกันรณรงค์โดยแสดงความคิดเห็นด้วยนะคะ


ชายคาบ้าน...น้ำ
ชายคาบ้าน...ออฟ
ชายคาบ้าน...พี่เก่ง
ชายคาบ้าน...พี่กุ้ง
ชายคาบ้าน...พี่โอ
ชายคาบ้าน...พี่ต้อง
ชายคาบ้าน...ปอนด์
ชายคาบ้าน...จิ๊บ

ชายคาบ้าน...โตโต้
ชายคาบ้าน...พี่เก๋
: Users Online
cursor
[Add mooniza's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com