Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
7 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
ไม่อยากใช้ของเธอ

มีคู่สามี-ภรรยา จดทะเบียนสมรสกัน ภรรยาต้องการใช้ชื่อสกุลตามสามี เมื่อกฎหมายใหม่สามารถใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดก็ได้ ทำให้ภรรยาอยากจะเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อสกุลของตัวเอง หรือ ต้องการตั้งชื่อสกุลใหม่ โดยฝ่ายสามียังคงใช้ชื่อสกุลเดิมอยู่
กรณีที่ฝ่ายหญิง ต้องการกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตนเอง (จดทะเบียนสมรสไว้นานแล้ว) เคยมีหนังสือสั่งการแจ้งเวียนว่า สามารถกระทำได้โดยสามีต้องให้ความยินยอมด้วย พร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน หากเป็นการกระทำในสำนักทะเบียนเดียวกันก็ไม่มีปัญหา สามารถบันทึกครั้งที่ 2 ให้ได้เลย แต่ในกรณีที่เป็นการจดทะเบียนต่างสำนักทะเบียน ทำให้การบันทึกครั้งที่ 2 จะต้องไปบันทึก ณ สำนักทะเบียนที่จดทะเบียนสมรสไว้แต่เดิม
วิธีการแก้ไขปัญหา คือสำนักทะเบียนที่ประชาชนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน สามารถออกหนังสือรับรองให้ได้สำหรับใช้เป็นเอกสารประกอบในการดำเนินการต่าง ๆ แต่ก็ไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เท่ากับการได้บันทึกครั้งที่ 2
1.ในทำนองเดียวกัน หากฝ่ายภรรยาต้องการจัดตั้งชื่อสกุลใหม่ โดยฝ่ายสามี ใช้ชื่อสกุลเดิมของตนเองอยู่ ภรรยาจะต้องกลับไปชื่อสกุลเดิม (พ่อแม่)ก่อน จึงจะขอจดตั้งชื่อสกุลใหม่ได้ โดยปัญหาเหล่านี้ หากว่าเป็นการจดทะเบียนสมรสต่างสำนักทะเบียนไม่ค่อยจะได้รับความร่วมมือในการดำเนินการ
วิธีการแก้ไขปัญหาก็เช่นเดียวกัน สำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก็สามารถออกหนังสือรับรองสำหรับนำไปใช้ได้เหมือนกัน แต่รายละเอียดของการสมรสจะไม่เป็นปัจจุบัน
ตั้งแต่มีกฎหมายใหม่ ที่ฝ่ายหญิงจะใช้คำนำหน้าว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ก็ได้ และสามารถเลือกที่จะใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดก็ได้ นั้น ทำให้มีปัญหาในทางปฏิบัติมาก เพราะขณะจดทะเบียนสมรส มีความประสงค์อย่างหนึ่ง แต่พออยู่ไปไม่นานก็มีความประสงค์อยากที่จะเปลี่ยนกลับไปกลับมา ดังนั้น ควรมีข้อกำหนด (จำกัด)ว่า แต่ละคนสามารถเปลี่ยนได้กี่ครั้ง ไม่ใช่ว่า อยากที่จะเปลี่ยนกลับไปกลับมาอย่างไรก็ได้ตามความพอใจ เพราะพอพบว่า จะต้องทำการบันทึกต่างสำนักทะเบียนบางคนก็มีปัญหาขึ้นมา

สรุป ข้อระเบียบ/กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับเรื่องเล่า
พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มาตรา 12 คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 38 เมื่อคู่กรณีฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายขอบันทึกเพิ่มเติมหรือแก้ไขรายการต่าง ๆ ในทะเบียนที่ได้ลงรายการไว้แล้ว ให้นายทะเบียนบันทึกเพิ่มเติมในช่องบันทึกให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ร้อง เรื่องที่ขอให้บันทึก และเอกสารหลักฐาน แล้วให้ผู้ร้อง และนายทะเบียนลงลายมือชื่อกำกับไว้โดยไม่ต้องแก้ไขรายการเดิม ทั้งนี้
การบันทึกเพิ่มเติมที่อาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ห้ามมิให้นายทะเบียนรับบันทึกไว้ เว้นแต่มีคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล ตามข้อ 41

(ชื่อวิทยากร นายอนุพงษ์ วาวงศ์มูล ผู้ช่วยวิทยากร น.ส.ลัดดา พรพนมสิทธิกุล)




Create Date : 07 กรกฎาคม 2554
Last Update : 7 กรกฎาคม 2554 14:52:36 น. 0 comments
Counter : 294 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dangja
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ผู้อำนวยการส่วนการทะเบียนทั่วไป
นายรังสฤษดิ์ จิตดี

หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานและระเบียบการทะเบียนทั่วไป
นายวีนัส มีสุข

หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทะเบียนสิทธิและสถานภาพบุคคล
นายสุโสฬส พึ่งบุญ

หัวหน้าฝ่ายบริหาร
นายพิชิต มงคลอุปถัมภ์

หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทะเบียนเพื่อความมั่นคง
นายจรูญ บุหิรัญ

หัวหน้าฝ่ายระบบข้อมูลและหลักฐานทางทะเบียนทั่วไป
นายศิริรักษ์ เชาวนปรีชา

หัวหน้างานศูนย์ข้อมูลทะเบียนทั่วไป
นางพิมพ์นรา รักชาติ

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวลัดดา พรพนมสิทธิกุล
Friends' blogs
[Add Dangja's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.