ตุลาคม 2559

 
 
 
 
 
 
3
10
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog
วิธีดูแลลูกน้อยยามไข้ ตอน 3



วิธีดูแลลูกน้อยยามไข้ตอน 3

เมื่อคุณแม่เรียนรู้วิธีที่จะดูแลลูกน้อยกันไปแล้ว2 ตอน ก็มาถึงตอนที่ 3 ในตอนนี้จะแนะนำถึงวิธีดูแลเพิ่มเติมขึ้นอีกค่ะเพราะนอกจากอาการไม่สบายของลูกน้อยในตอน 1 และ 2 แล้ว ในบางครั้งลูกน้อยอาจจะเกิดอาการเบื่อหรือหงุดหงิดต่อเนื่องจากอาการไม่สบาย คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะให้เวลาลูกน้อยอีกสักนิด อย่าอารมณ์เสีย หรือกลัว เพราะอาการเหล่านี้ไม่นาน(1-2สัปดาห์) ก็จะหายไปเองค่ะ คุณแม่เองก็ต้องคอยตามใจลูกน้อยได้นิดหน่อยค่ะในเวลาที่เขาไม่สบาย ลูกน้อยเองก็จะรับรู้ว่าคุณแม่เอาใจใส่ในตัวเขามากเช่นกัน

นอกจากนี้คุณแม่สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยอีกหนึ่งวิธี คือการพาลูกน้อยไปรับการฉีดวัคซีนตามวัยและอายุของลูกน้อยค่ะโดยส่วนมากก็จะมีการจดบันทึกอยู่ในสมุดบันทึกประวัติส่วนตัวของลูกน้อยซึ่งทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้ออกให้ จะมีประวัติตั้งแต่แรกคลอดวิธีแนะนำในการสังเกตพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงอายุแต่ก็จะแนะนำในสิ่งที่ส่วนใหญ่แนะนำกันไปนอกจากว่าคุณหมอจะมีการแนะนำนอกจากสมุดบันทึกประวัติส่วนตัวและในส่วนด้านหลังของสมุดบันทึกจะมีประวัติ (นัด) ฉีดวัคซีนตามอายุของลูกน้อย ซึ่งดิฉันจำได้ว่าเนื่องจากดิฉันเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี (พาหะ)ลูกน้อยของดิฉันก็ต้องได้รับวัคซีนป้องกัน สำหรับโรคนี้ภายใน 24 ชั่วโมงนับจากวันคลอดเลยค่ะ พออายุครบ 1 เดือนก็ต้องพาลูกน้อยไปรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้อีก 1 เข็ม หลังจากนั้นก็จะได้รับวัคซีนตามแต่ละอายุและวัยค่ะ

การฉีดวัคซีนในแต่ละเข็มแต่ละช่วงอายุตามวัยของลูกน้อย จะทำให้ลูกน้อยเกิดอาการไข้ตัวร้อนตามมาแทบทุกครั้งที่ได้รับวัคซีนแต่ก็จะมีวัคซีนไม่กี่ชนิดที่ลูกน้อยได้รับแล้วไม่มีไข้หรือตัวร้อนเลยโดยส่วนมากที่ฉีดวัคซีน คุณหมอหรือเจ้าหน้าที่อนามัยก็จะสั่งยาแก้ไข (แอสไพรินหรือ พาราเซตามอล สำหรับเด็ก) ให้กับคุณแม่แทบทุกครั้งเช่นกัน (แต่ทุกครั้งคุณหมอก็จะแนะนำว่าถ้าไม่มีไข้ ไม่ต้องทานนะคะ)

วิธีการดูแลหลังจากที่ลูกน้อยได้รับวัคซีน

- ไข้ ตัวร้อนคุณแม่ต้องคอยเช็ดตัวให้ลูกน้อย เพื่อความร้อนในร่างกายจะได้คลายตัวลงอย่าเพิ่งพาลูกน้อยอาบน้ำนะคะ เช็ดตัวเหมือนกับตอนที่ลูกน้อยเป็นไข้หวัดนะคะแต่ระวังตรงบริเวณที่ลูกน้อยฉีดวัคซีน เพราะลูกน้อยอาจจะยังเจ็บอยู่นะคะ(ในบางครั้งที่ได้รับการฉีดวัคซีน คุณหมออาจจะแนะนำว่าให้สังเกตอาการไข้ตัวร้อนให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันอาการไข้สูง)

- ตุ่มนูน หรือผื่น ในวัคซีนบางตัว อาจจะทำให้เกิดตุ่มแดงๆ นูนขึ้นมา ทำให้ลูกน้อยรู้สึกเจ็บมาก(สังเกตจากการสัมผัสโดน ลูกน้อยจะร้องไห้งอแงให้เห็น) คุณแม่ควรหาน้ำเย็นประคบเบาๆ(ไม่ต้องประคบบ่อยนะคะ เดี๋ยวจะกลายเป็นเนื้อนูนด้านในเนื้อ) หลังจากนั้นประมาณสัก2-3 วันให้หลังถ้ายังมีเนื้อนูนๆ อยู่ ก็ให้นำน้ำร้อนประคบเบาๆ เหมือนเดิมเพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นคลายตัวลงค่ะ

** อย่างไรก็ตามถ้าคุณแม่อยากให้ลูกน้อยเติบโตด้วยความรักที่สมบูรณ์คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยให้ใกล้ชิด และให้ความอบอุ่นกับลูกน้อยอยู่เสมอ ด้วยการอุ้มปลอบโยนลูกน้อยอยู่ตลอดเวลา แค่นี้ลูกน้อยก็รู้สึกถึงความอบอุ่นและความปลอดภัยที่มีคุณแม่คอยดูแลอยู่ข้างๆ ค่ะ **

**นำมาฝากค่ะ สำหรับอาการที่แสดงออกของลูกน้อยเพิ่งลืมตาดูโลก คุณแม่มือใหม่ก็ยังสังเกตไม่เป็น(ฟังจากเตียงข้าง ขณะที่คุณหมอมาตรวจนะคะ)คุณแม่ต้องสังเกตว่าลูกน้อยตัวเหลืองหรือปล่าว (บางคนบอกว่าลูกผิวขาวมาก แต่จริงๆ แล้ว ลูกน้อยตัวเหลือง) เมื่อคุณหมอวินิจฉัยแล้วค่ะ ลูกน้อยตัวเหลืองไม่ค่อยแข็งแรง คุณพยาบาลก็จะนำเตียงเล็กๆ ที่มีแสงไฟเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายลูกน้อย (ปิดตาลูกน้อยก่อนนำลงไปนอนในเตียง)คุณหมอบอกว่า ขณะที่ตั้งครรภ์ คุณแม่รับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์(ไม่ทานเนื้อ นม ไข่)และอาจจะเป็นเพราะกรรมพันธุ์ของคุณพ่อหรือคุณแม่ที่มีประวัติตัวเหลืองหรือเป็นโรคดีซ่าน (ตัวเหลือง) อยากแนะนำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หรือคุณแม่ที่คิดอยากจะมีบุตรดูแลตัวเองและลูกน้อยในครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรงกันนะคะ ****





คอนโดแมว , พัดลมมือถือ , หมอนผ้าห่ม , หมอนหัวทุย  , เก้าอี้หัดนั่ง




Create Date : 18 ตุลาคม 2559
Last Update : 18 ตุลาคม 2559 14:35:02 น.
Counter : 589 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3067369
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments