กุมภาพันธ์ 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
9
10
11
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
วิกฤต ร.ศ.๑๑๒

พระมหากรุณาธิคุณของ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” กับหน้าประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งในอดีต ที่ได้สร้างความเศร้าโศกเสียพระราชหฤทัยให้กับพระองค์ ไม่เป็นอันเสวยหรือบรรทมจนประชวรหนัก เพราะเหตุทรงเจ็บช้ำพระราชหฤทัย ขมขื่นและระทมทุกข์ จากเรื่องชาติฝรั่งเศสที่เข้ามารุกรานแผ่นดินสยาม ใน “วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 “ จนท้อพระทัยว่าพระนามของพระองค์จะถูกลูกหลานในอนาคตติฉินนินทาไม่รู้จบสิ้น เปรียบเสมือนสองกษัตริย์ “ทวิราช” ที่สูญเสียเศวตฉัตรแห่งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาให้กับอังวะ ในปี พ.ศ. 2310

 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เริ่มต้นขึ้น เมื่อจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลเข้ามาครอบครองอินโดไชน่า อันประกอบด้วย โคชิน ตังเกี๋ย อันนัม กัมพูชาและบางส่วนของลาว มาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา

       ต่อมาฝรั่งเศสก็อ้างว่า ดินแดนของลาวเดิมเป็นสิทธิของเวียดนาม ตามที่เจ้าอนุวงศ์เคยทำสัญญายกเมืองลาวให้เวียดนาม เพื่อขอลี้ภัยการเมือง ในคราวที่เจ้าอนุวงศ์ก่อกบฏในสมัยรัชกาลที่ 3 และเมื่อเวียดนามเป็นดินแดนในการคุ้มครองของฝรั่งเศสแล้ว จึงสมควรที่แผ่นดินลาวต้องเข้ามาอยู่ในการดูแลของฝรั่งเศสด้วย

        รัฐบาลสยามจึงได้ส่งพลตรีพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าน้องยา เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมให้ขึ้นไปตั้งกองบัญชาการลาวพวนอยู่ที่เมืองหนองคายเพื่อป้องกันการรุกรานของฝรั่งเศส

          23 พฤษภาคม พ.ศ.2436 ร.ศ.112 มองซิเอร์ลุซ ชาวฝรั่งเศส  คุมทหารญวนในสังกัดฝรั่งเศสเข้าปล้นค่ายยึดเมืองคำมวน เมืองหน้าด่านพระราชอาณาเขตสยามซึ่งมี  “พระยอดเมืองขวาง”  เป็นข้าหลวงรักษาเมือง ซึ่งก็มิได้ต่อสู้ขัดขวาง  พราะเกรงกระทบไมตรีระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส

          รัฐบาลสยามได้พยายามประท้วงไปทางฝรั่งเศส แต่ก็ไม่เป็นผล ฝรั่งเศสยืนกรานว่า เมืองคำมวนเป็นของฝรั่งเศส และพระยอดพระยอดเมืองขวางก็คือผู้บุกรุก  “มองซิเออร์ปาวี”  ยื่นประท้วงโดย  "ให้ลงโทษพระยอดเมืองขวางสถานหนักและให้สยามประเทศจ่ายค่าทำขวัญให้แก่ครอบครัวทหารฝรั่งเศส  ญวนและเขมรที่ถูกฆ่าตาย"  เหตุการณ์ครั้งนี้ได้นำไปสู่คดีประวัติศาสตร์ "พระยอดเมืองขวาง" และ "วิกฤตการณ์   ร.ศ.112 " ในเวลาต่อมา

        เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2436 ทหารญวน เขมรในสังกัดของฝรั่งเศส ก็ได้ยกเข้ามาประชิดฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงและส่งเรือปืนลูแตง ล่องปากเจ้าพระยาเข้ามายังพระนคร โดยอ้างว่า เป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของฝรั่งเศสที่มีอยู่ในสยาม (ตอนนั้นมีชาวฝรั่งเศสอยู่ในสยามเพียง 3 คน และไม่มีกิจการค้าใด ๆ อันเป็นผลประโยชน์ตามที่กล่าวอ้าง) 

ในเดือนกรกฎาคม ร.ศ. 112 ฝรั่งเศสได้ขออนุญาตแกมบังคับต่อรัฐบาลสยาม ขอนำเรือปืน 2 ลำ คือ เรือสลุปแองคองสตังค์ (Inconstant) และเรือโคแมต (Comete) เข้ามาเพิ่มเติม รัฐบาลสยามเห็นว่า เป็นการบีบบังคับและจะนำไปสู่การเสียเปรียบยุทธศาสตร์ทางทหาร จึงไม่อนุญาต พร้อมกับเร่งเสริมสร้างแนวป้องกันการรุกรานอย่างเร่งด่วน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ พลเรือจัตวาพระยาชลยุทธโยธินทร์ เป็นแม่กองในการป้องกันปากน้ำเจ้าพระยาจากการรุกรานจากกองเรือรบฝรั่งเศส ที่สืบทราบว่าเริ่มเดินทางออกจากท่าเรือในไซ่ง่อนแล้ว

ทรงให้ปรับปรุงป้อมพระจุลจอมเกล้าและป้อมผีเสื้อสมุทรเป็นการเร่งด่วน โดยติดตั้งปืนใหญ่อันทันสมัยอันทันสมัย วางตาข่าย สนามทุ่นระเบิด ขวากกีดขวางที่บริเวณปากน้ำ และให้เตรียมเรือรบหลวง 5 ลำ ลอยลำเตรียมพร้อมอยู่ทางด้านทิศเหนือของป้อมพระจุลจอมเกล้า แต่เรือรบของสยามที่มีอยู่ในเวลานั้นเป็นเรือที่ล้าสมัยหรือเป็นเรือโดยสาร มีเรือรบที่พอจะต่อกรกับเรือรบฝรั่งเศสได้เพียง 2 ลำ คือ เรือมกุฎราชกุมาร และ เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์

   13 กรกฎาคม เรือรบฝรั่งเศสก็ได้รุกผ่านเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาตามที่คาดการณ์ไว้ โดยมีเรือ เจ.เบ.เซย์ (Jean Baptist Say) เป็นเรือนำร่อง ป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงได้ยิงปืนใหญ่เข้าสกัด ต่างฝ่ายก็ระดมยิงตอบโต้กัน เรือรบไทยที่จอดอยู่เหนือป้อม ก็เข้าระดมยิงไปยังเรือรบฝรั่งเศส เรือนำร่องของฝรั่งเศสถูกยิงจนไปเกยตื้นอยู่ริมฝั่ง การรบดำเนินไปได้เพียง “ครึ่งชั่วโมงเศษ” ก็สิ้นสุดลงเพราะเป็นคืนเดือนมืด เรือรบฝรั่งเศสทั้งสองลำจึงสามารถตีฝ่าแนวป้องกันของสยาม เข้ามาได้เทียบเท่าอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสในพระนครได้สำเร็จ และได้หันปืนใหญ่น้อยบนเรือจังก้าเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ทหารรักษาพระนครบางส่วนก็เตรียมเข้าสู้แลกชีวิตแล้ว

   ในสงครามรุกรานของเรือปืนฝรั่งเศสในครั้งนี้ ฝรั่งเศสสูญเสียทหารไปเพียง 3 นาย บาดเจ็บ 3 นาย ส่วนสยามเสียทหารไปทั้งหมด 8 นาย และบาดเจ็บ 40 นาย

พูดกันตามจริง กองทัพของสยามในยุคนั้น เพิ่งได้พบกับศึกใหญ่ที่มีความทันสมัยเป็นครั้งแรก ศักยภาพของกองทัพในเวลานั้นมีไม่มากนักหรือจะเรียกว่า"ต่ำมาก" ระบบการศึกษาทางทหารมีไว้เพื่อประดับเกียรติยศและไม่เคร่งครัดตามแบบแผนตะวันตกจริง ๆ จนมีคำกล่าวว่า "สยามรับวิธีการของฝรั่งมา โดยไม่เอาจิตวิญญาณของฝรั่งติดมาด้วย" ผมว่าจริงๆ แล้ว ก็คือคำว่า "ทหารสยามไม่มีวินัย" เอาซะเลยมากกว่า

   มีการวิเคราะห์กันว่า แม้แต่ทหารที่ประจำอยู่บนเรือรบก็เป็นทหารที่เพิ่งเกณฑ์มาจากท้องนา นอกจากผู้บัญชาการบนเรือรบแล้ว ก็ไม่มีใครอื่นที่รู้วิธียิงปืนรบ นายทหารสามนายที่รักษาการณ์อยู่ก็มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่พูดภาษาสยามได้ อีกสองนายเป็นชาวเดนมาร์กจากกรมแผนที่ และเพิ่งเดินทางเข้ามายังสยามได้ไม่นาน รวมทั้งเป็นอาสาสมัครที่พูดภาษาสยามไม่ได้แม้แต่คำเดียว ในระหว่างการต่อสู้กันนั้น นายทหารเหล่านี้วิ่งจนหอบไปที่ปืนแต่ละกระบอกสลับกัน พร้อมทั้งออกคำสั่งเป็นภาษาที่ทหารชาวสยามฟังไม่เข้าใจ

   กองกำลังสยามในเวลานั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีเขี้ยวเล็บนะครับ "เรือพระที่นั่งมหาจักรี" ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนติดปืนอาร์มสตรอง พร้อมระวางขับน้ำ 2,400 ตัน ความเร็ว 15 น็อต ปืนขนาด4.7 หอต่อสู้ 2 หอ และหัวเรือที่ใช้ชนได้ ระวางขับน้ำของเรือลำนี้ “สูงกว่า” เรือทั้งสามของฝรั่งเศสรวมกันถึง 600 ตัน เรือที่มีสมรรถนะสูงลำนี้กลับไม่ได้ร่วมสมรภูมิรบ




. ".....คำตอบนั้นง่ายและเจ็บปวด รวมทั้งเป็นตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งที่ว่า ในสยามนั้น พระเจ้าแผ่นดินมาก่อนประเทศชาติ เรือพระที่นั่งมหาจักรีจอดอยู่หน้าพระบรมมหาราชวัง ภายใต้คำสั่งที่เข้มงวดไม่ให้เคลื่อนย้าย ยกเว้นเมื่อจำเป็นต้องใช้เป็นพาหนะให้พระเจ้าอยู่หัว... แต่ถึงจะมีความตั้งใจใช้เรือลำนี้ก็ตาม คงเป็นไปได้ยาก ข้าพเจ้าเชื่อว่า ตั้งแต่เรือลำนี้มาถึงสยาม ยังไม่มีการลองยิงปืนเลย ไม่มีใครในราชอาณาจักรนี้ ยกเว้นนายทหารชาวเดนมาร์ก 2 หรือ 3 นายเท่านั้นที่รู้วิธีใช้ กระสุนปืนถูกขนขึ้นเรือเป็นครั้งแรกเพียง 2 - 3 ชั่วโมงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ที่ปากน้ำ นอกจากนั้นเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่และยุ่งยาก ก็ต้องอาศัยวิศวกรชาวอังกฤษควบคุม ไม่มีชาวสยามคนใดรู้วิธีจัดการกับเครื่องยนต์นี้แม้แต่คนเดียว ส่วนคนในอารักขาของอังกฤษก็ไม่สามารถยื่นมือเข้าช่วยได้..... "

   อีกสาเหตุหนึ่งที่น่ารันทดใจ มีการวิเคราะห์ไว้ว่า “... แม้แต่การประชุมของเหล่าเสนาบดีมีสภาพคล้ายกับการทะเลาะกันในร้านเหล้า...เหล่าเสนาบดีไม่มีการทำงานที่ประสานกันเป็นหนึ่งเดียว หรือแนวคิดและนโยบาย เมื่อคราวเกิดวิกฤตการณ์ปากน้ำ ร.ศ.112 ข้าราชการในคณะรัฐบาลสยามขณะนั้นมีความคิดเห็นแตกเป็น 2 ฝ่าย... ฝ่ายหนึ่งนำโดยพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ สนับสนุนการใช้กำลังตอบโต้ฝรั่งเศส อีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มของกรมหลวงเทวะวงศ์ ฯ ซึ่งสนับสนุนให้ใช้การทูตเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา แต่หลังจากทรงไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยดำเนินพระราโชบายตามข้อเสนอแนะของกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ การนองเลือดจึงไม่เกิดขึ้น !!!...."

   การขาดแคลนทั้งกำลังพลที่ได้รับการฝึกฝนอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ขาดผู้ชำนาญการใช้อาวุธที่เป็นชาวสยามเอง ขาดอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมและทันสมัย ขาดแม่ทัพนายกองที่มีกลยุทธ ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ทันมัย และที่สำคัญการขาดความสามัคคีของขุนนางและชนชั้นผู้ปกครอง ปรากฏเป็นรอยร้าวแทรกตัวอยู่ในทุกหัวระแหงของราชสำนัก นำมาสู่ความอ่อนแอในทุก ๆ ด้านของประเทศสยาม !!!

   เพียงเรือรบไม้สองลำที่แล่นฝ่าเข้ามาถึงชานพระนคร ก็สามารถสั่นสะเทือน ทำลายความเชื่อมั่นของ "จิตวิญญาณ" แห่งราชสำนักสยามให้พังทลายลงได้อย่างรวดเร็ว !!!

   วันที่ 3 เดือนตุลาคม ร.ศ. 112 ก่อนวันคล้ายวันพระราชมภพ 20 วัน ได้เกิดข้อตกลงที่เรียกว่า "สนธิสัญญาสันติภาพ" ขึ้น มีรายละเอียดดังนี้คือ

       1. ไทยจะยอมสละกรรมสิทธิ์ทั้งหมดเหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงรวมทั้งบรรดาเกาะทั้งหมดที่อาจมีขึ้นเมื่อน้ำลดหรือในบรรดาที่มีมาก่อนแล้วนั้น ให้เป็นกรรม สิทธิ์ของฝรั่งเศส

       2. ไทยจะไม่มีเรือรบไปไว้ หรือใช้ดินแดนในทะเลสาบ หรือลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำ โขงซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้มีการกำหนดกันไว้แล้ว

       3. ไทยจะต้องไม่มีค่ายทหารในเขต 25 กม. ตลอดแนวแม่น้ำ รวมทั้งพระตะบอง และเสียมเรียบ

       4. การป้องกันเมือง หรือเขตที่กำหนดในข้อ 3 สามารถทำได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

       5. ไทยและฝรั่งเศสจะทำสัญญาการค้าในเวลา 6 เดือนนับจากนี้ และไม่เก็บภาษี ระหว่างกัน

       6. ในการสร้างท่าเรือหรือกิจกรรมต่างๆ ตามลำแม่น้ำทั้ง 2 ฝั่ง ถ้าฝรั่งเศสร้องขอ ความช่วยเหลือเช่น การใช้พื้นที่ ไทย จะไม่ปฏิเสธและจะให้ความช่วยเหลือในทันที

       7. ไทยจะให้ความสะดวกแก่คนในบังคับฝรั่งเศสในการเข้าออกไปมาในเขตที่ได้มีการกำหนดในข้อ 3

       8. ฝรั่งเศสสามารถตั้งกงศุลได้ตามที่เห็นสมควร

       9. ถ้ามีความเห็นหรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในสัญญาฉบับนี้ ให้ถือเอาภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก

       10. สัญญานี้ ให้มีผลบังคับใช้ใน 4 เดือนนอกจากสัญญาดังกล่าว


ขอบคุณ //www.oknation.net/blog/voranai/2007/10/23/entry-1







Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2557 10:43:19 น.
Counter : 2480 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุ่งทอตะวัน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



New Comments