มารู้จักช้างเผือกกัน

คำถามที่พบบ่อย..
- ช้างเผือกนี่ขาวทั้งตัวเลยรึเปล่า
- เราจะรู้ได้ยังไง ว่านี่เป็นช้างเผือก...

ก็จะมาเล่าสู่กันฟังในระดับ "ประถม" นะ

ช้างเผือก
เป็นช้างมงคล โดยทั่วไปจะมีลักษณะอวัยวะที่เป็นมงคล 7 ประการ ซึ่งมีสีขาว หรือค่อนข้างขาว คือ ตา, เพดานในปาก, เล็บ, ขน, ผิวหนังขาว หรือ ชมพูแดงคล้ายสีหม้อดินใหม่, ขนหาง, อัณฑโกศ สีขาวหรือสีคล้ายหม้อดินใหม่

อย่างไรก็ดี สีทีปรากฏอยู่ก็ไม่ได้ "เผื้อก-เผือก, ชมพู้-ชมพู อย่าง ก้านกล้วย หรือ ชบาแก้วหรอกนะ และก็ไม่จำเป็นต้องขาวทั้ง 7 ประการ อย่างเครื่องสำอางบางชนิดด้วย

ช้างเผือกเชือกแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน ฯ ซึ่งถือกันว่ามีศักดิ์สูงเที่ยบชั้นเจ้าฟ้า ...

(เพิ่มเติมที่ //th.wikipedia.org/wiki/พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ)

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องช้าง ยังแบ่งย่อย ช้างเผือก ตามลักษณะที่เป็นอยู่ได้อีก 3 ระดับ คือ
- ช้างเผือกเอก ผิวขาวนวลเหมือนสีหอยสังข์ จัดเป็นช้างคู่บ้านคู่เมือง
- ช้างเผือกโท ผิวสีดอกบัวแดงที่โรยแล้ว จัดเป็นช้างมงคล เหมาะในการใช้เป็นช้างศึก
- ช้างเผือกตรี ผิวสีใบตองอ่อนตากแห้ง จัดเป็นช้างมงคลที่งามบริสุทธิ์




ตอนนี้อาจสงสัยว่าช้างลักษณะที่ถือว่าเป็นมงคลดูจากอะไร
ดูคำตอบจากตรงนี้ได้เลย
1. มีรูปร่างงาม (สวย หรือ หล่อ ว่างั้นเถอะ)
2. งาเรียวงาม จากโคนถึงปลาย (ว้าว..ว)
3. ผิวกายสีดอกบัวแดง
4. ขนตัวที่งอกจากขุม ๆ ละ 2 เส้น
5. ขนโขมด (ขนที่อยู่บนโหนกศีรษะ) สีน้ำผึ้งใส
6. ขนในช่องหูเป็นสีขาว
7. ขนบรรทัด (หลัง) เป็นสีขี้ผึ้งใสเจือแดง
8. ขนหางเป็นสีน้ำผึ้งปนสีแดงแก่ (อันเป็นที่มาของการดูช้างให้ดูหาง แน่ ๆ)
9. ตาสีขาวเจือเหลือง
10. เพดานในปากสีขาวเจือชมพู
11. อัณฑโกศ (อวัยวะเพศ) สีขาวเจือชมพู
12. เล็บเป็นสีขาวเจือสีเหลืองอ่อน
13. ระบายหูงาม

และผู้เชี่ยวชาญอีกเหมือนกันที่แบ่งหมู่ช้างไว้อย่างกว้าง ๆ 3 หมู่ คือ ช้างเผือก, ช้างสำคัญ และช้างมัน เ้อ้ย! ช้างสามัญ

ช้างสำคัญ เป็นช้างที่มีลักษณะดี แต่ไม่จำเป็นต้องดีสมบูรณ์ทีเดียว

ส่วนช้างสามัญ ก็เป็นช้างชนชั้นธรรมดา ตัวผู้เรียก "พลาย" ตัวเมีย เรียก "พัง"


มีช้างพังอยู่ชนิดหนึ่งที่ร่างกายใหญ่โตผิดพังทั้งหลาย มีขนายยาวเกือบอยู่ในเกณฑ์งา นิยมเรียกว่า พลายแม่ ช้างพลายแม่นี้ ถ้าดุมากและกล้าหาญ จะได้รับยกย่องให้เป็นจ่าโขลง แล้วนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "แม่ปะแหรก" หญิงใดถูกยกย่องเป็นแม่ปะแหรก ก็คงจะนึกเห็นภาพแล้วนะ


วันนี้มีศัพท์ในวงการ ช้าง มาฝากกันด้วย

๑. ตะพุ่น - เป็นคำโบราณ ไม่รู้ว่ายังใช้กันหรือเปล่า ใช้เรียกผู้มีหน้าทีดูแลรักษาช้าง เช่น หาอาหาร ทำความสะอาด สมัยก่อนผู้ต้องโทษบางคนถูกอาญาให้มาเป็นตะพุ่น ต้องออกไปอยู่ดูแลโขลงช้างในป่า ลำบากมาก
(ถ้าอยากรู้ว่า เป็นตะพุ่น ลำบากขนาดไหน ต้องไปหาอ่านเอา ใน "ข้าบดินทร์" ของ วรรณวรรธน์ พระเอกหล่อมั่ก เลยยิ่งน่าสงสาร

๒. ควาญ - คำนี้คงคุ้นกันดี หมายถึงผู้ฝึก ควบคุม ช้าง ควาญและช้าง มักมีความรัก และผูกพัน เปรียบเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน






(เฮ้ ! ไอ้หนู ควาญเอ็งไปไหน ขอช้างติดหูเอ็งแน่ะ.. อ๋อ เลี้ยงดูตัวเองเหรอ เออ..เอ็งเก่ง)


๓. เสดียง - เป็นหัวหน้าควาญช้างอีกที ควาญช้างให้ความเคารพยำเกรงมาก

๔. ครูบา หรือ หมอเฒ่า - เป็นผู้ที่บรรดา ควาญช้าง เสดียง และผู้เกี่ยวข้องให้ความเคารพอย่างสูง เป็นผู้นำทางพิธี และ การถือกรรม เวลาไปคล้องช้าง

แหล่งข้อมูล
* หนังสือแสนรักแสนในตู้"โก๊"
* บางส่วนจาก "ข้าบดินทร์"
* บทบรรยายการแสดงช้าง ที่ "ลานแสดงช้าง ฯ สามพราน


เรียบเรียงโดย..เสดียงนาง
(ผู้ดูแล "ราชินีช้าง 9 โขลง")



หมายเหตุ: เสดียงนาง หมายถึง ผู้ควบคุมเสดียง ??
ม่าย..ช่าย หมายถึง นางอันเป็นที่รักของเสดียง ต่างหาก
(แปล(เข้าข้างตัว)เอง)


Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2553 18:46:40 น. 2 comments
Counter : 5837 Pageviews.

 
ขอบคุนค่าา กระจ่างง :D


โดย: แมวน้อย IP: 1.0.177.127 วันที่: 15 ตุลาคม 2557 เวลา:23:43:34 น.  

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 3875272 วันที่: 21 มิถุนายน 2560 เวลา:17:53:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

SO_party
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





บล็อคนี้บันทึกโดยพวกเราเหล่าสาวจัมโบ้ค่ะ
ส่วนใครดูแลกลุ่มบล็อคไหนก็ขึ้นอยู่ว่าใครถนัดเรื่องอะไร
แต่รับรองรองว่าทุกเรื่องบันทึกกันด้วยความตั้งใจ
สัญญาว่าจะหาเรื่องราวดีๆมาฝากกันค่ะ
ยังไงขอกำลังใจให้พวกเราด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ


Google

New Comments
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
24 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add SO_party's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.