INDYINDARE.IC
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]






**************************



**************************


::: 18/November/2009 :::

**************************



**************************


MusicPlaylist
Music Playlist at MixPod.com
.
New Comments
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
7 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add INDYINDARE.IC's blog to your web]
Links
 

 
ตะลอนเที่ยว :: ไปไหว้พระที่วิหารแปดเซียน(อเนกกุศลศาลา) จ.ชลบุรี สถานที่ท่องเที่ยวดีๆที่อยากแนะนำ







เมื่อ6เดือนที่ผ่านมา(นานไปป่ะเธอออ 555) แป้งไปไหว้พระที่วิหารเซียนพัทยามาล่ะ
จริงๆที่นี่แป้งไปมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว ไปตั้งแต่อายุประมาณสี่ห้าขวบได้
ทุกปีที่เชงเม้งก็จะเหมือนรวมญาติมาเจอกัน พ่อกับแม่ก็จะชวนญาติๆที่มีลูกหลานอายุไล่ๆกัน
ไปเที่ยวสถานที่เที่ยวละแวกบ้าน(ระยอง) ซึ่งชลบุรี,พัทยา,ศรีราชานี่แป้งเที่ยวจนเบื่อเลยทีเดียว
พอโตขึ้นมาก็แวะเวียนไปบ้างนานๆครั้ง และครั้งนี้ที่ไปเพราะแม่ไม่ค่อยสบายค่ะ
ช่วงต้นปีนี่แม่ไม่ค่อยสบาย และบ้านเรากำลังเริ่มทำธุรกิจใหม่ด้วยก็เลยไปไหว้พระขอพร
ขับรถออกจากบ้านก็ไม่กี่นาทีก็ถึงเพราะพ่อชำนาญเส้นทางลัดเลี้ยวคดเคี้ยวมาก ฮ่าๆ










:: ประวัติของที่นี่ ::

อเนกกุศลศาลา หรือ วิหารเซียน ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวศิลปสถานเพื่อการอนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย และจีน ที่ยิ่งใหญ่... อเนกกุศลศาลา หรือที่รู้จักกันในนาม " วิหารเซียน " นั้นเป็นแหล่งรวมของงานศิลปะของไทย และจีน โดยนาย สง่า กุลกอบเกียรติพร้อมด้วยคณะและญาติมิตร ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในมงคลวโรกาสที่ทรงเจริญพระชมน์พรรษาครบ 5 รอบเมื่อปีพุทธศักราช 2530 โดย นายสง่า ได้รับพระราชทานที่ดินในบริเวณ โครงการพัฒนาพื้นที่วัดญาณสังวรารามอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ และทรงพระราชทานฤกษ์ใน การก่อสร้างเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2531 และพระราชทานนามอาคารนี้ว่า " อเนกกุศลศาลา "  การก่อสร้างใช้เวลาทั้งสิ้น 4 ปีกว่า และวันที่ 24 ธันวาคม 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ เสด็จมาทำพิธีเปิดอเนกกุศลศาลา โดยในวันเดียวกันนี้นายสง่า  กอบเกียรติกุล ก็ได้น้อมถวาย อาคารอเนกกุศลศาลาแห่งนี้พร้อมทั้งโบราณวัตถุที่จัดแสดงทั้งหมดในวิหารนี้ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมอบหมายให้คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รับไปดูแลต่อโดยให้ มูลนิธิอเนกกุศศาลาในพระสังฆราชูปถัมภ์เป็นผู้รับผิดชอบการดูแลบริหารงานของ อเนกกุศลศาลาต่อไปซึ่งในปัจจุบันได้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก...


ลักษณะของการท่องเที่ยว อเนกกุศลศาลาแห่งนี้เป็นงานก่อสร้างที่มีรูปแบบในทางสถาปัตยกรรมศิลปกรรมชั้นสูงของจีน โดยตัวอาคารใหญ่มีรูปทรงเป็นแบบวิหารจีนสูง 3 ชั้น มีกลุ่มศาลาเก๋งบริวารโดยรอบและหลังคาได้ถูกตกแต่งด้วยปฎิมากรรมอันวิจิตร ภายในได้รวบรวมเอาศิลปกรรมชั้นสูง ทั้งโบราณวัตถุงานศิลปกรรมร่วมสมัยของจีนไว้เป็นจำนวนมากที่ประเมินค่ามิได้ โดยมีโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าเป็นจำนวน 328 รายการที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยกระทรวงวัฒนธรรม มอบให้เป็นสมบัติของอเนกกุศลศาลาแห่งนี้เช่น หุ่นทหารดินเผาและรถม้าสำริดจากสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ภาพเขียนที่งดงามของจีนรวมถึงภาคเอกชนต่างๆของจีน ไต้หวัน ฮ่องกงและไทย ที่ได้มอบโบราณวัตถุต่างๆให้อีกด้วย คำแนะนำ อักษรไทย " อเนกกุศลศาลา " เป็นนามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแก่ศาลาที่นาย สง่า กุลกอบเกียรติ พร้อมด้วยคณะญาติมิตรสร้างถวายเป็นศิลปสถาน เพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย-จีน ส่วน " วิหารเซียน " คือชื่อเรียกขานทั่วไปของอเนกกุศลศาลาโดยปราถนาให้เป็นสถานธรรมเพื่อการแสวงหาความงาม ความดี ความจริงของชีวิต โดยทางทีมงานสัตหีบบีช ได้เข้าไปบันทึกภาพ และความงดงามของสถานที่ซึ่งเสียค่าเข้าชมไม่แพง ซึ่งเงินส่วนนี้นำมาเพื่อนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายของวิหาร และบูรณะสถานที่ให้คงอยู่ตลอดไปซึ่งมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้ามาเที่ยวชมเป็นระยะๆ จุดที่ตั้งของอเนกกุศลศาลา จะอยู่ใกล้กับพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ และวัดญาณสังวรารามซึ่งสามารถเดินทางไปสถานที่ต่างๆเหล่านี้ได้โดยสะดวก ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 038-238367 หรือ 038-235250

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :: //www.sattahipbeach.com/sheettoursattahippage12.html










มาถึงตอนช่วงเช้า อากาศดี มีไอแดดอุ่นๆ คนยังไม่เยอะมาก. ที่จอดรถเพียบ..






ต้องไปซื้อบัตรเข้าชมก่อนนะ.
















บัตรเข้าชมราคา 50 บาท. ไม่แพงเลย






ตอนแรกว่าจะมาไหว้พระขอพรอย่างเดียว ก็เลยไม่ได้เตรียมของไหว้เจ้าอะไรมาเลย
แต่ที่นี่เค้าก็มีเตรียมไว้ให้ค่ะ. จัดแบ่ง เตรียมไว้ให้เรียบร้อยเลย สะดวกมาก






มาถึงก็ต้องจุดธูปเทียนไหว้พระสักการะบูชาก่อน.

















วางถาดของเซ่นไหว้แล้วก็เข้าไปชมภายในวิหารก่อน แล้วค่อยออกมาลาของไหว้
แล้วนำไปคืนที่เจ้าหน้าที่ค่ะ. เป็นอันเสร็จพิธีการไหว้เจ้าของที่นี่.









แป้งชอบที่ปักธูปมาก รูปทรงแปลกตาดีค่ะ. ^^





เทพเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งแปดองค์. ที่นี่จึงมีชื่อว่า "วิหารแปดเซียน"






ประวัติโดยย่อ. เค้าก็มีให้นักท่องเที่ยวได้อ่านนะ.






รอบๆวิหารจะมีต้นไม้มงคลที่แป้งไม่รู้จักหลายต้นเลย.







ต้นจริงด้วย แปลกตาดี ตื่นเต้นเว่อร์กว่าชาวบ้านมาก 5555





ไปโยนเหรียญตรงรูปปั้นพระสังกระจาย(เรียกถูกรึเปล่าไม่รู้ ถ้าผิดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ)
เห็นธูปรูปร่างแปลกตา แกะสลักได้สวยมากกกกกก อดไม่ได้ที่จะต้องชักภาพมาเก็บไว้ในบล็อก.







รอบๆกำแพงวิหารจะมีประติมากรรมรูปปั้นต่างๆมากมายให้ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกกัน.
จะบอกว่า รูปปั้นพวกนี้แป้งก็ถ่ายตอนเด็กๆ แต่หารูปไม่เจอแล้ว อยากเอามาแปะไว้ในบล็อกมาก 555







ช็อตนี้ตอนเด็กๆก็ถ่าย ตอนนั้นแป้งประมาณ5-6ขวบ น้องยังคลานอยู่เลย
ตอนนี้อ้วนปูนนั่งจะเต็มช่องได้อยู่แล้ว เสียดายหารูปใบนั้นไม่เจอ
จะเอามาเปรียบเทียบกันระหว่างอดีตกับปัจจุบัน น่าทำเนอะ เค้ากำลังฮิตทำกันเลย 5555






น่ารัก ^_^


















บอกให้เก๊กหน่อย สองคนก็จัดเต็มมาเลยยยย "น่ารักที่สุดในโลกกกกกกกกกกกกกก"
รักพ่อกับแม่มากๆจ้าาาาา จุ๊บบบบบบ >3<





ถ่ายกับอ้วนปูน น้องสาวที่คลานตามกันมา อายุห่างกันเกือบ4ปี แต่ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย 55
แม่ถ่ายให้ แม่เป็นคนชอบถ่ายรูปมาก ทุกรูปตอนเด็กมุมกล้องดีหมดเพราะฝีมือแม่เลย
ป้าๆน้าๆชอบจะทักว่า " แม่แป้งชอบถ่ายรูปมาก มันเลยซึมอยู่ในสายเลือด
พอมีลูก ลูกๆก็เลยชอบอะไรเหมือนๆกันกับพ่อแม่ " ... ซึ่งก็จริง เพราะแป้งชอบถ่ายรูปมาก
ไม่ได้เก่งหรือเชี่ยวชาญอะไร แต่เป็นคนชอบถ่ายรูปเฉยๆ อิอิ







รูปปั้นนี้ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นคนก่อตั้งที่นี่นะคะ.







เดินข้างนอกจนพอใจแล้ว ก็ถึงเวลาเข้าไปชมข้างในวิหารกันบ้าง.






แค่ทางเข้าก็รู้สึกอลังการแล้ว ประวัติศาสตร์จีนเยอะแยะไปหมด.


















ขนลุกเลยตอนเดินเข้ามา รู้สึกเหมือนตอนเด็กๆที่ยังตัวเล็กๆ พอได้มาอีกครั้งก็รู้สึกเหมือนตัวเล็กอยู่
เพราะมันใหญ่โตอลังการเหมือนเดิมเลย โอ่งโถง เย็นสบาย และตระการตามากกกกกกๆ






ใครอยากรู้ประวัติเทพเจ้าองค์ไหน ประวัติศาสตร์จีน ที่นี่มีให้อ่านและศึกษาเกือบครบเลยค่ะ
อยากให้มากันเยอะๆ เพราะแป้งชอบมาก เดินไม่ทั่วเลย เพราะมีหลายชั้น แต่ละชั้นก็สวยงาม
และน่าค้นหาหาความรู้มากจริงๆ






โคมไฟยังสวย. ใหญ่มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก



















นอกจากห้องจัดแสดงอันโอ่โถงแล้ว ที่นี่ก็ยังมีห้องสำหรับแสดงศิลปกรรมของไทยด้วยค่ะ.

































ขึ้นไปชั้นสองของวิหารเดียวกัน ก็มีสถาปัตยกรรมสวยๆอีกเพียบเลย.












พื้นหินอ่อนยังสวย..






ระหว่างทางขึ้นไปชั้นสอง...







ชั้นสอง... สวยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก













แอบถ่ายสามคนพ่อ น้อง และแม่ ^^










ไม่ได้เป็นภาพธรรมดา แต่เป็นภาพเหมือนนูน เป็นรูปปั้นนูนออกมาจากภาพอีกที.
แป้งก็ใช้ศัพท์ศิลปะไม่เป็นนะคะ แต่รู้สึกว่าเค้าทำออกมาได้สวยและมีมิติดี ชอบมาก.







เดี๋ยวออกไปดูรูปปั้นที่ลานระเบียงค่ะ. อารมณ์เหมือนอยู่ท่ามกลางสนามรบเลย ^0^







แป้งเองก็รู้ชื่อเทพเจ้าอยู่ไม่กี่องค์เอง นอกนั้นก็ดูศึกษาไว้เฉยๆ ^^












ข้างบนอากาศดีค่ะ มองเห็นวิวรอบๆ ทั้งท้องฟ้า ภูเขา บรรยากาศดีและสงบ มันสบายใจดี









จิตรกรรมฝาผนัง ที่สวยสะดุดตาจนต้องถ่ายรูปเป็นที่ระลึกไว้ทุกคน.






มากันช่วงสายๆ ก็ออกมาช่วงบ่ายๆ อากาศร้อนได้ใจจริงๆ
แต่ที่นี่ก็มีร้านน้ำต่างๆไว้บริการค่ะ. ราคาไม่แพงด้วย แถมรสชาติอร่อยดีค่ะ





น้ำมะพร้าวที่เค้าแช่เย็นสดๆก็มี แป้งเลยเลือกซื้อน้ำมะพร้าว ส่วนพ่อแม่และน้องก็ซื้อกาแฟสด ชาเย็น





แม่ถ่ายให้เราสองคนค่ะ เป้นที่พอใจ เพราะถ่ายออกมาแล้วดูเหมือนจะผอมทั้งคู่ กรี๊ดกร๊าด 55







จบทริปนี้แล้ว ขอให้มีความสุขในวันหยุดพรุ่งนี้อีกหนึ่งวันนะคะทุกคน


บ๊ายบายยยยยย



INDYINDARE.PAENG









Create Date : 07 กรกฎาคม 2555
Last Update : 7 กรกฎาคม 2555 17:10:10 น. 2 comments
Counter : 4286 Pageviews.

 
แหล่มค่ะ
อุ้มแวะมาโหวต Travel Blog ให้เลยค่ะ
แวะมาเจิมบอก


โดย: อุ้มสี วันที่: 7 กรกฎาคม 2555 เวลา:21:52:25 น.  

 
THX U


โดย: Kavanich96 วันที่: 8 กรกฎาคม 2555 เวลา:4:48:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.