คว่ำบาตร
คว่ำบาตร...

ที่มา Sanook.com

ต้องถือว่า เป็นประเด็นร้อนอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในแวดวงพุทธศาสนาเมืองไทย หลังจาก มีมติของมหาเถรสมาคม หรือ มส.ยืนยันว่า พระเทพญาณมหามุนี หรือ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่อาบัติปาราชิกพ้นจากความเป็นสมณะ ไม่ได้ฝืนพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ปี 2542

โดยยกเหตุผลว่าพระธัมมชโย ได้คืนทรัพย์สินกว่า 900 ล้านบาท ให้แก่ทางวัดแล้ว จึงไม่อาบัติปาราชิกพ้นจากความเป็นสมณะ...

กระแสวิพากษ์วิจารณ์ กรณีดังกล่าวค่อนข้างกว้างขวางเป็นประเด็นร้อนของสังคมไทยเลยทีเดียว โดยเฉพาะในสังคมออนไลน์ สังคมโซเชียล ที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับมติของ มส.อย่างกว้างขวาง ซึ่งเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อ องค์กรพระพุทธศาสนา อย่างมาก

และที่น่าสนใจยิ่งเมื่อ สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช.เอง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่19 ก.พ. ที่ผ่านมา ก็ถูกทางองค์กรพุธบางส่วนออกมาต่อต้าน โดยล่าสุดได้เตรียมยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี และ ประธาน สปช.เพื่อให้ยุบกรรมการดังกล่าว

จะเป็นเพราะความหวาดระแวงว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรบริหารของคณะสงฆ์อย่างไรหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อ ทั้งนี้เชื่อได้ว่าประเด็นเรื่อง องค์กรสงฆ์ในประเทศไทยจะเป็นประเด็นร้อนอีกนาน

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย ซึ่งยึดศาสนาพุธเป็นศาสนาประจำชาติ และความสำคัญของพระสงฆ์ในสังคมไทย มีกันมายาวนาน แต่ เหตุการณ์เกี่ยวกับความเสื่อมเสียของพระสงฆ์ก็มีให้เห็นมาไม่น้อย หากลองศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ในยุคสมัยพระเจ้าตากสิน และ ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีการสังคายนา องค์กรสงฆ์กันขนานใหญ่เช่นกัน เรียกได้ว่า โดยข้อเท็จจริงระหว่างศาสนาและบ้านเมืองก็มีการตรวจสอบถ่วงดุลกันอยู่เป็นนิจ หรือแม้กระทั้ง การตรวจสอบพระสงฆ์จากฝ่ายชาวบ้านก็มีให้เห็นกันอยู่เป็นประจำ เรามักเห็นข่าว ชาวบ้านแจ้งความให้ดำเนินคดีกับสงฆ์บางรูปที่ประพฤติผิดอยู่บ่อยครั้ง

ในขณะเดียวกัน นอกจากความศรัทธาของผู้คนต่อพระสงฆ์แล้ว พระสงฆ์เข้ามามีบทบาทในการถ่วงดุลฝ่ายบ้านเมืองหรือไม่...? ก็ต้องยอมรับว่ามีมาโดยตลอดในทางพฤตินัย อย่างน้อยคำสั่งสอนของพระสงฆ์ต่อผู้นำ หรือผู้คนในสังคมถือได้ว่าได้สร้างกรอบ สร้างแนวทางปฏิบัติที่ควรที่ถูกต้องคลองธรรมอยู่พอสมควร

และหากย้อนไปในอดีต พระพุทธเจ้าเอง ก็เคยวางแนวปฏิบัติของสงฆ์เพื่อเป็นการต่อต้านหรือแสดงความไม่เห็นด้วยต่อฝ่ายบ้านเมือง ที่ไม่อยู่ในทำนองคลองธรรมโดยการ "คว่ำบาตร" มาแล้ว เป็นการแสดงออกเพื่อให้ผู้คนกลับตัวกลับใจ เพราะการที่พระสงฆ์ไม่สมาคมคบค้า สำหรับชาวพุทธแล้ว ถือว่า เป็นการลงโทษทางสังคมที่รุนแรงมาก

ในปัจจุบัน กระแสความไม่พอใจต่อบทบาทขององค์กรสงฆ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ จะดำเนินต่อไปเช่นไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่ง จะเกิดความแตกแยกมากน้อยเพียงใด หรือจะเกิดการปฏิรูปองค์กรสงฆ์อย่างไรหรือไม่ เพื่อให้บทบาทของพระสงฆ์กลับมาสร้างศรัทธาให้กับพุทธศาสนิกชน โดยไม่หลงทิศหลงทาง

และที่น่าสนใจก็คือ ตามที่ได้ยกเรื่อง การ "คว่ำบาตร" ของพระสงฆ์ว่าเป็นเครื่องมือในการลงโทษทางสังคมกับผู้ที่ไม่อยู่ในทำนองคลองธรรม แต่หากฝ่ายของบ้านเมืองจะลงโทษทางสังคมกับ สงฆ์ ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า..จะมีเครื่องมือใดเพื่อแสดงออกให้ได้รับรู้.......?




Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2558 23:15:30 น.
Counter : 977 Pageviews.

0 comments

สมาชิกหมายเลข 1264422
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2558

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
 
22 กุมภาพันธ์ 2558
All Blog