Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
10 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
สังคมไทยควรตื่นตัวเรื่อง Conflict Of Interest และหาทางป้องกันและปราบปรามต่อไป

ตัดสินกันไปแล้วกับคดีประวัติศาสตร์ยึดทรัพย์ของอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร
ผลตัดสินถูกใจไม่ถูกใจก็แล้วแต่ใครจะคิด
แต่กรณีของทักษิณนี้ สมควรที่สังคมไทยจะได้เรียนรู้และศึกษา เกี่ยวกับ Conflict Of Interest
ซึ่งเป็นการคอรัปชั่นทางอ้อม ที่ไม่ดำสนิทอย่างเห็นได้ชัด แต่จัดอยู่ในประเภท "สีเทาหม่นๆ" จับได้ยาก
และดูเหมือนว่า กฏหมายปัจจุบันของบ้านเมืองเราไม่ได้เตรียมการเผื่อกรณีเช่นนี้ไว้อย่างชัดเจนเท่าใด
ประชาชนก็มีการตื่นตัวและเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง Conflict Of Interest นี้ในสังคมค่อนข้างจะน้อยมาก
ประกอบกับมีความพยายามจะชักจูงให้คนจำนวนมากมองว่า
"ถ้าไม่ใช่การคอรัปชั่นทางตรง หรือ สีดำสนิทกันจะๆ ไม่ควรถือว่าเป็นการคอรัปชั่น"
การมองเช่นนี้เป็นอันตรายต่อการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยที่"ขาวสะอาด" ไร้การคอรัปชั่นอย่างมาก

Conflict Of Interest คืออะไร?
การขัดกันของผลประโยชน์ (อังกฤษ: conflict of interest) คือ สถานการณ์ที่บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งอันเป็นที่ไว้วางใจ เช่น
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กร ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข เป็นต้น
ต้องเลือกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ในวิชาชีพ ซึ่งทำให้ตัดสินใจยากในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติได้
การขัดกันของผลประโยชน์นี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้ไม่ส่งผลทางจริยธรรมหรือความ ไม่เหมาะสมต่าง ๆ
และสามารถทำให้ทุเลาเบาบางลงได้ด้วยการตรวจสอบโดยบุคคลภายนอก
ที่มา
//th.wikipedia.org/wiki/การขัดกันของผลประโยชน์
//en.wikipedia.org/wiki/Conflict_of_interest

ตัวอย่าง เช่น
นายกรัฐมนตรี ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจอนุมัติโครงการรัฐ 5 โครงการ
แต่ละโครงการมีคุณค่าต่อประเทศมากน้อยไล่เรียงกันตามลำดับ

ซึ่ง นาย ก. ได้ดำรงตำแหน่งเป็นคนที่ไม่มีทรัพย์สินมากเป็นพิเศษ
ก็จะไม่มีปัญหาเรื่อง Conflict Of Interest
ที่จะจัดลำดับความสำคัญของโครงการ โดยเอาผลประโยชน์ของสังคมและรัฐเป็นหลัก
ประเทศก็จะพัฒนาเต็มศักยภาพตามที่ควรจะเป็น

แต่นาย ข. ได้ดำรงตำแหน่ง และ มีทรัพย์สินในอุตสหกรรม หรือ บริษัทใดเป็นพิเศษ
นาย ข. จะมีแนวโน้มจะจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ให้เอื้อต่อการเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของตน หรือ บริษัทตน เป็นหลัก
คุณค่าจากโครงการต่อประเทศเป็นจะเป็นเรื่องรอง เป็นเพียงผลพลอยได้เพิ่มเติมเท่านั้น
ประเทศก็จะพัฒนาไปบ้างแต่จะไม่เต็มศักยภาพตามที่ควรจะเป็นแน่นอน

จะเห็นว่า นาย ข. ร่ำรวยขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐโดยแยบยล
ไม่มีใครให้เงินนาย ข.
และ
เงินของรัฐ ก็ไม่ได้เข้ากระเป๋า นาย ข. โดยตรง
ไม่อาจมองว่าเป็นการคอรัปชั่นทางตรง ในรูปแบบเดิมๆที่เราคุ้นชิน ได้เลย
แต่การกระทำของ นาย ข. ทำให้ทรัพย์สินของนาย ข. เพิ่มมูลค่าขึ้นมาอย่างไม่ควรจะเป็น
ท่ามกลางการพัฒนาของประเทศที่ไม่เต็มศักยภาพ

ถ้าถามว่า
"การตัดสินใจแบบ Conflict Of Interest นี้ สามารถมองว่าทำให้ประเทศชาติเสียหายหรือไม่?"
หลายคนอาจจะมองได้ว่า "ไม่" เพราะประเทศไม่ได้เสียอะไร เงินของรัฐก็ถูกนำไปใช้ในโครงการอย่างถูกต้อง
และ ประเทศก็พัฒนาขึ้นไป ถึงมันน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ก็ตาม

ทำให้เราจำเป็นต้องถามใหม่ว่า
"การพัฒนาช้ากว่าที่ควรจะเป็นนี้ถือเป็นความเสียหายของชาติได้หรือไม่?"
คำตอบของคำถามนี้คือ "ใช่" อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ หากเรามองโลกให้กว้างกว่า"ตัวเงิน"
เราจะพบว่า อย่างกรณีการแก้กฏหมายเพื่อให้ต่างชาติสามารถเข้าถือหุ้นชินคอร์ปได้นั้น
ประเทศชาติได้สูญเสียสิ่งที่เรียกว่า "ความมั่นคงของชาติ" ที่ไม่อาจจะคิดได้เป็นรูปตัวเงิน

ไม่รวมถึง ทรัพยากรของชาติอันมหาศาล ที่เข้าอุ้มชูกิจการของชินคอร์ปในช่วงเริ่มต้น
ซึ่งความเสียหายนี้ 76,000 ล้าน นั่นคาดว่ายังไม่พอเสียด้วยซ้ำไป

ดังนั้น หากเข้าใจถึง การ Conflict Of Interest แล้ว
ลองกลับไปอ่านคำตัดสินของศาลใหม่อีกครั้ง จะรู้ได้ทันทีว่า
ศาลได้ตัดสินลงโทษ และ วางแนวทาง/มาตรฐานของประชาธิปไตยที่ถูกต้อง
ต่อกรณี การ Conflict Of Interest "เท่าที่กฏหมายปัจจุบันจะเอื้ออำนวย" ไว้
แล้วอย่างไร

.....
สรุป
ระบบประชาธิปไตย เราประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร นิติ และ ตุลาการ
การที่ฝ่ายตุลาการ ทำหน้าที่ทำโทษฝ่ายบริหารขี้ฉ้อได้ไม่เต็มที่
เพราะฝ่ายนิติไม่ออกกฏหมายมาสนับสนุน การทำหน้าที่ของตุลาการ

เราในฐานะประชาชนคนไทย
ควรจะกดดันให้ฝ่ายนิติบัญญัติพัฒนากฏหมาย "ให้สอดคล้องกับมาตรฐานประชาธิปไตยที่ไร้คอรัปชั่นทั้งทางตรงและทางอ้อม"
ไล่อุดช่องโหว่ของกฏหมายที่ล้มเหลวในการจับนักการเมืองคอรัปชั่น รวมทั้งข้าราชการ ให้หมด
โดยไม่สนว่า เป็นคนของพรรคอะไร หรือ ใครอยู่เบื้องหลัง
เพื่อให้ศาลได้มีกฏหมายที่จะใช้อ้างอิงได้ในการจัดการลงโทษ นักการเมืองคอรัปชั่น ให้สิ้นซาก

ไม่ใช่ มาโวยให้เว้นโทษ นักการเมืองคอรัปชั่นที่โดนดำเนินคดี
โดยอ้างว่า ยังมีนักการเมืองอื่นๆที่ไม่โดนดำเนินคดีอีกมาก
การอ้างเช่นนี้ เปรียบได้กับ
การที่มีคน 3 คนฝ่าไฟแดง และ เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอจึงจับได้เพียงคันเดียว
คันเดียวที่โดนจับก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะให้เจ้าหน้าที่ปล่อย เพราะอีก 2 คันไม่โดนจับ มิใช่หรือ?

แต่จากโครงสร้างประชาธิปไตยในปัจจุบันนี้ ที่ชวนสิ้นหวังมากที่สุดคือ
"นักการเมืองขี้ฉ้อที่นั่งอยู่เต็มสภา จะเดินหน้าออกกฏหมายที่จะทำให้ตัวเองถูกจับขึ้นศาลได้" เนี่ย
มันคาดหวังได้ขนาดไหน?
เพราะที่ผ่านมามีแต่นักการเมืองเหล่านี้ อย่าว่าแต่จะ พัฒนากฏหมายหรือออกกฏหมายให้รัดกุมเลย
กลับแก้กฏให้มีรูโหว่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนแม้จะคอรัปชั่นสีดำสนิทแต่ไม่มีใบเสร็จ(มันคงมีหรอกนะ)
ก็ยังลากมาขึ้นศาลได้ยาก เอาเสียด้วย

ถ้าเรายังกดดันฝ่ายตุลาการว่าจะต้องตีบทกฏหมายตาม"ตัวอักษร"ที่นักการเมืองได้เขียนขึ้นอย่างศรีธนชัย
ซึ่งได้เตรียมรูโหว่ มีทางหนีทีไล่เอาไว้อยู่แล้ว
แทนที่จะกดดันฝ่ายนิติให้ออกกฏหมายให้รัดกุม เพื่อให้จับได้ไล่ทันนักการเมืองขี้ฉ้อ
ระบบประชาธิปไตยของเราก็จะล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการป้องกันและปราบปรามการคอรัปชั่น
ทั้ง ทางอ้อมในรูป Conflict Of Interest จนกระทั่ง ทางตรงแบบดำสนิท
และประเทศไทยเราก็จะเป็นได้แค่ "ประเทศกำลัง(ด้อย)พัฒนา" เท่านั้นเอง


Create Date : 10 มีนาคม 2553
Last Update : 10 มีนาคม 2553 21:46:49 น. 3 comments
Counter : 4749 Pageviews.

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

หลับฝันดีนะคะ มาส่งเข้านอนค่ะ ฝันถึงกันบ้างนะคะ

นึกถึงเรื่องแบบนี้น่าปวดหัวแทนเลยนะคะ


โดย: ooyporn วันที่: 10 มีนาคม 2553 เวลา:23:10:15 น.  

 
สวัดดีครับชาว bloggang วันนี้ผมมาเนาะนำเว็บไซค์ของผมหน่อยน่ะครับขอไม่ว่าไรกันน่ะครับไทยตาโตฟังเพลงเล่นเกมสอ่านข่าวท่องเที่ยวขอบคุณมากครับ


โดย: preampcc วันที่: 4 เมษายน 2553 เวลา:1:55:23 น.  

 
แวะมาทักทาย ครับ
ผมคิดว่า
conflict of interest เป็นธรรมชาติ ที่จะต้องมีและเกิดขึ้นครับ เลี่ยงไม่ได้ balanceก็ยาก แต่ลดได้
หลักการลด มีสอง หลัก ใหญ่
คือ จะยึด ความ ถูกต้อง หรือ ถูกใจ
ถูกต้อง ก็ยึด ตาม คติ การทำงาน ไม่ผิดศีล ไม่ผิดกฎหมาย
ถูกใจ นี้อาจเพื่อ ประโยชน์เรา องค์กร ก็ได้ โดยมากก็ยอมตาม ฝ่ายที่จะให้ประโยชน์ องค์กรเรา

มันเป็นธรรมชาติ อย่ายึดมาก แม้จะใช้หลักความถูกต้อง เพราะจะกลายเป็น อุปาทาน จิต
ไม่ใช่ สมาทาน (ถือไว้อย่างดี)
ให้ผิดศีลห้าน้อยหนึ่งข้อ แค่ข้อวาจา ก็เกินพอ

ปล. ผมมีเรื่องปรึกษาความรู้ (ข้อความหลังไมค์ครับ)


โดย: oozingplanet (oozingplanet ) วันที่: 10 พฤษภาคม 2554 เวลา:18:51:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Hoo
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add Hoo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.