ความยากจน

มื่อกล่าวถึง "ความยากจน" โดยทั่วไปจะหมายถึงความยากจนในเชิงเศรษฐกิจ (Monetary Dimension) นั่นคือพิจารณา
ที่ระดับรายได้ หรือฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลว่ามีรายได้ไม่เพียงพอกับการดำรงชีพได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำ หรือมีรายได้
ต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพชีวิตขั้นต่ำที่ยอมรับในแต่ละสังคม เมื่อนิยามความยากจนอิงกับการขาดแคลนรายได้เช่นนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดสภาวะความยากจนจึงใช้รายได้หรือรายจ่ายของครัวเรือน และแนวทางในการแก้ไขปัญหา
ก็จะมุ่งเน้นที่การเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิตสินค้า
และบริการที่ดำเนินการโดยคนจน การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของตลาดในด้านต่างๆ ให้เอื้ออำนวยต่อคนจน ตลอดจน
การให้เงินอุดหนุนในรูปแบบต่างๆ เช่น เบี้ยยังชีพคนชรา เป็นต้น

"ความยากจน มิได้จำกัดแต่เพียงการมีรายได้น้อยและการบริโภคน้อยเท่านั้น หากยังครอบคลุมถึงการขาดโอกาสด้านการศึกษา
การรักษาพยาบาล และโอกาสอื่นในการพัฒนาคน การไร้ซึ่งอำนาจ การขาดสิทธิขาดเสียง ตลอดจนการตกอยู่ในความเสี่ยง และความหวาดกลัว"

มิติของความยากจน

ความยากจนเชิงสัมบูรณ์ (absolute poverty) คือ การวัดความยากจนโดยคำนวณความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ของครัวเรือนออกมาเป็นตัวเงิน เรียกว่า "เส้นความยากจน (poverty line)" เพื่อใช้เปรียบเทียบกับรายได้ของครัวเรือน

ความยากจนเชิงสัมพัทธ์ (relative poverty) เป็นการวัดความยากจนโดยใช้การเปรียบเทียบมาตรฐานการดำรงชีวิตของ
ครัวเรือนกับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของสังคมโดยเฉลี่ย ซึ่งก็คือ "การวัดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ (income inequality)"

มิติของการวัดความยากจน

โดยทั่วๆ ไปการวัดความยากจนในประเทศกำลังพัฒนาควรจะใช้ค่าใช้จ่ายเป็นตัวแทนความกินดีอยู่ดีของบุคคลมากกว่าการใช้
รายได้ ทั้งนี้เพราะมีข้อสนับสนุนทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ คือในทางทฤษฎีค่าใช้จ่ายเป็นตัวชี้ให้เห็นแบบแผนการบริโภคของ
ครัวเรือนว่าเป็นอย่างไร ส่วนในทางปฏิบัติคือเราสามารถเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายได้ของครัวเรือนเกษตรได้แม่นยำกว่าข้อมูลรายได้
เพราะเกษตรกร มักจะจดจำตัวเลขการใช้จ่ายได้ดีกว่าตัวเลขรายได้ แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้งๆ ที่ประเทศไทย
เป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่ใช้การวัดความยากจนทางด้านรายได้

การวัดความยากจนสัมบูรณ์ด้านรายได้ของประเทศไทย

ความยากจนสัมบูรณ์ในมิติด้านรายได้

"คนจน" หมายถึง คนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ซึ่งเส้นความยากจนนี้คำนวณขึ้นมาโดยคำนึงถึงความต้องการอาหาร
และสินค้าอุปโภคที่จำเป็นพื้นฐานขั้นต่ำของครัวเรือน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าคนจนก็คือคนที่มีรายได้ไม่เพียงพอที่จะใช้จ่าย
เพื่อซื้ออาหารและสินค้าจำเป็นพื้นฐานขั้นต่ำนั่นเอง แนวคิดในการคำนวณเส้นความยากจนสำหรับประเทศไทยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
ใหญ่ๆ ดังนี้

(1) "เส้นความยากจนเดิม" ธนาคารโลกได้เริ่มต้นศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2505/06 พิจารณาจากความจำเป็นขั้นพื้นฐานในการดำรง-
ชีวิต โดยแยกเป็นความจำเป็นด้านอาหารและสินค้าอุปโภคของคนไทยตามหลักสากลที่ธนาคารได้ริเริ่มขึ้น (คนไทยโดยเฉลี่ย
ต้องการพลังงาน 1,978 แคลอรีต่อวัน และอาจมีการปรับลดลงสำหรับประชากรที่เป็นเด็ก) วิธีการคำนวณเส้นความยากจน
ในปีต่อๆ มา อาทิ Medhi 1985; World Bank 1985; เมธีและปราณี 2528; Suganya and Somchai 1988 และ Isara
1999 เป็นเพียงแต่ปรับเส้นความยากจนเดิมด้วยดัชนีราคาผู้บริโภค (consumer price index - CPI) จุดอ่อนของ
เส้นความยากจนเดิม คือการใช้ค่าเฉลี่ยความต้องการสารอาหารต่อวันต่อคนโดยไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องอายุและเพศ
ดังนั้นเส้นความยากจน ที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จึงไม่สามารถสะท้อนแบบแผนการบริโภคในปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างประชากร นอกจากนี้ยังไม่สะท้อนความแตกต่างในระดับราคาสินค้าในพื้นที่ (เมืองและชนบท)

(2) "เส้นความยากจนใหม่" โดย Kakwani and Medhi (1998) ซึ่งได้จัดทำขึ้นภายในกองประเมินผลการพัฒนาสำนักงาน-
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นับเป็นเส้นความยากจนของทางการ เส้นความยากจนใหม่นี้
สามารถวัดความยากจนได้ในระดับบุคคล ครัวเรือน พื้นที่ จังหวัด ภูมิภาคจนถึงระดับประเทศ โดยพิจารณาจากความต้องการ
พื้นฐานขั้นต่ำของปัจเจกบุคคล ทั้งด้านอาหารและสินค้าอุปโภค หากครัวเรือนมีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายที่คำนวณได้ถือว่าเป็น
ครัวเรือนยากจน


ที่มา
//www.tdri.or.th/poverty/report1.htm

Thk




 

Create Date : 18 ธันวาคม 2553
3 comments
Last Update : 18 ธันวาคม 2553 10:58:48 น.
Counter : 1117 Pageviews.

 

 

โดย: หน่อยอิง 18 ธันวาคม 2553 18:32:55 น.  

 

ดี
ดี ดี
ดี ดี
ดี ดี
ดี ดี
ดี ดี
ดี ดี
ดี ดี
ดี ดี
ดี ดี
ดี

 

โดย: godtinny (GodTinnY ) 29 ธันวาคม 2553 13:20:03 น.  

 




สวัสดีปีใหม่ 2554 ขอให้สุข

หมดสิ้นทุกข์ กายจิต มิผิดผัน

อายุมั่น ขวัญยืน สี่หมื่นวัน

แสนสุขสันต์ สุขภาพดี มีเงินทอง

 

โดย: หน่อยอิง 31 ธันวาคม 2553 12:21:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


GodTinnY
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
18 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add GodTinnY's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.