มิถุนายน 2551
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
18 มิถุนายน 2551

เวชศาสตร์ฉุกเฉิน สาขาใหม่ ที่กำลัง popular

ER หรือ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน จริงๆ คือ Emergency medicine หรือ EM มากกว่า ตอนนี้เป็น Board ที่อยู่ในสังกัดของ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ มีสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คอยดูแลเรื่องวิชาการอยู่
ระยะเวลาที่เรียน คือ 3 ปีครับ ตามหลักสูตรแต่ละสถาบันจะคล้ายๆกันครับแต่ว่า คร่าวๆตามสถาบันของผมละกันนะ ประกอบด้วย
- ปี 1 เป็นช่วงของการทบทวนประสบการณ์โดยการต้องไปวนตามภาควิชาต่างๆ ได้แก่ อายุรกรรม กุมารเวชกรรม สูติกรรมและนรีเวช ICUศัลยกรรมและอุบัติเหตุ ICUอายุรกรรม ICUกุมารเวชกรรม Coronary care unit(บางที่เป็น Cardiac care unit) วิสัญญีวิทยา ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิก และปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉิน
- ปี 2-3 จะเป็นช่วงของการศีกษาด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินแล้วโดยจะต้องปฏิบัติงานในห้องฉุ กเฉินไม่ต่ำกว่า 16 เดือน และต้องผ่านสาขาต่างๆอย่างน้อย 5 ใน 6 อย่าง เป็นสาขาที่บังคับเลือก ร่วมกับ พิษวิทยา เป็น 6 เดือนสาขาที่ต้องผ่าน คือ จิตเวชศาตร์ เวชศาสตร์การดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล(Prehospital care) นิติเวชศาสตร์ หูคอจมูกและจักษุวิทยา ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ รังสีวิทยา
และที่เหลือคือ elective อีก 2 เดือน
รวมได้ 24 เดือนพอดี
- ภายใน 3 ปีที่ฝึกอบรม แพทย์ประจำบ้านต้องผ่านการอบรมและได้ประกาศนียบัตรการอบรม อย่างน้อย 3/5 อย่าง ได้แก่ ATLS(Advance trauma life support)ของ American society of surgeon, ACLS(Advance cardiac life support), PALS(Pediatric advance life support), PHALS(Prehospital advance life support) และ HAZMAT(Hazardous material management)
...
เนื้อหาของหลักสูตรโดยรวม คือ
- การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งหมด ตั้งแต่ที่จุดเริ่มต้นของการเกิดภาวะฉุกเฉิน ทั้งทางศัลยกรรม อายุรกรรม เนื่องจาก common sense เราเชื่อว่า ยิ่งผู้ป่วยได้รับการดูแลเร็วเท่าไหร่ เราก็ยิ่งช่วยเหลือผู้ป่วยได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดเป็นองค์ความรู้ที่เรียกว่า Prehospital care
- เมื่อผู้ป่วยฉุกเฉินมาถึงห้องฉุกเฉิน ก็ต้องดูแลจำแนกผู้ป่วยตามความฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้คุ้มค่า เรียกว่า การ triage
- เนื่องจากผู้ป่วยฉุกเฉิน เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า เขาจะเป็นอะไรมา ความรู้ด้านภาวะฉุกเฉินของทุกๆสาขาวิชาจึงมีความจำเป็นมาก ตั้งแต่ อายุรกรรม ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ จักษุวิทยา โสตศอนาสิกลาริงซ์วิทยา วิสัญญีวิทยา จิตเวชศาสตร์ นิติเวชศาสตร์ พิษวิทยา เวชศาสตร์วิกฤติ เป็นองค์ความรู้ เรื่อง clinical Emergency medicine
- เมื่อหมดภาวะฉุกเฉิน ก็ต้อง Disposition ผุ้ป่วยออกจากห้องฉุกเฉิน คนที่กลับบ้านได้ก็ D/C คนที่ต้อง Admit ก็จะเป็นหน้าที่ของแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น คนที่ก้ำกึ่ง หรือไม่จำเป็นต้อง admit ก็ต้องเข้าห้อง observe เกิดเป็น observational medicine ขึ้นมาอีก
- นอกจากนี้ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ยังมีความรับผิดชอบในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยจำนวนมากๆจากการเกิดเหตุครั้งเ ดียว เช่น Disaster หรือ mass casualty เพราะห้องฉุกเฉินก็เปรียบเสมือนหน้าบ้านของโรงพยาบาล ถ้าไม่มีองค์ความรู้เหล่านี้ ก็จะเกิดเหตุการณ์สับสน กลายเป็น secondary crisis ที่ ER
...
สถานที่เรียน ตอนนี้มีเยอะมากครับ เพราะ เวชศาสตร์ฉุกเฉินเป็นสาขาขาดแคลนระดับ 1 ทั้งนี้เนื่องมาจากภาครัฐเล็งเหตุถึงความจำเป็นของการมีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉ ิน(Emergency physician : EP) มากขึ้น และต้องการเร่งผลิตให้มีอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆทั้งในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพ ยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ ดังนั้น เรื่องงานไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีคนจ้างครับ
...
ใน กทม
- โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
- โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยลัยมหิดล
- โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลับมหิดล
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- โรงพยาบาลเลิดสิน
- โรงพยาบาลนพรัตน์ฯ
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
ในต่างจังหวัด
- ภาคเหนือ : โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ภาคอิสาน
: โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
: โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ภาคใต้
: โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
: โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่
- ภาคตะวันออก : โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี
...
ครับ ถ้าใครสนใจก็ mail มาถามข้อมูลเพิ่มเติมได้นะครับ




 

Create Date : 18 มิถุนายน 2551
2 comments
Last Update : 18 มิถุนายน 2551 11:17:35 น.
Counter : 13824 Pageviews.

 

ยินดีต้อนรับค่ะ
ยินดีต้อนรับสู่บล๊อคแก้งค์ค่ะ

 

โดย: โสมรัศมี 19 มิถุนายน 2551 9:18:01 น.  

 

อ่ะ แอบมาเปิดบล็อกซะงั้น

โทษทีไม่ได้อ่านข้อความเลย ไม่รู้ว่ามันมีส่งหลังห้องด้วย เหอๆ

เรื่องหนังก็อย่าไปคิดมากสิครับ ดูแล้วมันให้ข้อคิดหรือว่าให้แรงบันดาลใจอะไรก็เอามาเขียน ไม่ต้องเป็นเชิงวิเคราะห์หรือว่าวิจารณ์หรอก เขียนเอาสนุกๆ

หรือลองหัดเขียนพวกบันทึกการเดินทาง หรือประสบการณ์ของวันนั้นว่าเราเจออะไรบ้างก็ได้นะครับ น่าสนุกดีออก ถ้าเิบิ้มชอบเขียนนะครับ

ไว้แวะไปเยี่ยมบล็อกพี่บ้างนะครับ

 

โดย: chubbymature (chubbymature ) 18 สิงหาคม 2551 22:58:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Botsumu
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add Botsumu's blog to your web]