มกราคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 มกราคม 2552
 

ดูงานบริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
ประกอบธุรกิจหลักด้านไฟฟ้าแสงสว่างอย่างครบวงจร โดยครอบคลุมตั้งแต่การผลิต การนำเข้า และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างต่างๆ ให้แก่ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการให้บริการออกแบบและแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างต่างๆ

ความเป็นมา

บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 โดยดำเนินธุรกิจด้านไฟฟ้าแสงสว่างอย่างครบวงจรซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การผลิต การนำเข้า ตลอดจนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างต่างๆ ให้แก่ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการให้บริการออกแบบและให้คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างต่างๆ โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 25.00 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 305,555,555 บาท และมีทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว 229,165,330 บาท สำหรับประวัติความเป็นมาและก้าวย่างที่สำคัญของบริษัทสามารถสรุปได้ดังนี้
ปี 2536 : - บริษัทเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียน 25.00 ล้านบาท และรับโอนธุรกิจ ห้างหุ้น ส่วนจำกัด ยงเอ็นเตอร์ไพรส์ (ซึ่งในปัจจุบัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยงเอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ปิดกิจการแล้ว) ขยายธุรกิจจากลูกค้าประเภทผู้รับเหมาระบบไฟฟ้าไปสู่ส่วนงานราชการต่างๆ เป็นตัวแทนจำหน่ายโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างต่างๆ ของบริษัทชั้นนำของโลก
ปี 2537 – 2541: - ขยายธุรกิจด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างให้มีความหลากหลาย และเริ่มขยาย ขอบเขตการให้บริการด้านการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ตลอดจนให้คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์มากที่สุด นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเครือข่ายการตลาดให้ครอบคลุมธุรกิจโครงการ และธุรกิจขายส่ง
ปี 2542: - เพิ่มศักยภาพการแข่งขันและให้บริการแก่ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการเข้าซื้อกิจการของบริษัท ที.เอส ทรังค์คิ้ง จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท แอล แอนด์ อี แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด) ซึ่งเป็นโรงงานที่ผลิตโคมไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และอุปกรณ์รองรับสายไฟ และเริ่มรุกตลาดต่างประเทศด้วยการเปิดแผนกส่งออก เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจส่งออกที่เป็นผลจากค่าเงินบาทอ่อน
ปี 2543 – 2544: - ขยายธุรกิจให้ครอบคลุมการขาย ในโมเดิร์นเทรด (MODERN TRADE) และเพิ่มความหลากหลายของสินค้ากลุ่มโคมไฟตกแต่งสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย ริเริ่มแนวคิดธุรกิจใหม่ด้วยการเปิด “LIGHTING APPLICATION CENTER” เพื่อให้ลูกค้าที่สนใจสามารถเข้าไปชมวิธีการประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างให้เหมาะสมกับการใช้งานต่างๆ
- ขยายธุรกิจสู่ตลาดค้าปลีก ด้วยการเปิดโชว์รูมที่ชั้น 16 ของอาคารมหานครยิบซั่ม และที่ชั้น 4 ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการให้แก่กลุ่มลูกค้าที่ต้องการผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างสำหรับใช้ในงานต่างๆ
- เพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วจาก 25.00 ล้านบาท เป็น 50.00 ล้านบาท
ปี 2545 – 2546: - ปรับปรุงและพัฒนาระบบสารสนเทศและระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสินค้าตลอดจนทดสอบคุณภาพสินค้าที่จัดส่งให้กับกลุ่มลูกค้าต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีและได้มาตรฐาน
ปี 2547: - เพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเป็น 137.50 ล้านบาท และดำเนินการแปรสภาพบริษัท เป็นมหาชน ตลอดจนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ปี 2548: - เปิดโรงงานแห่งที่สองเพื่อผลิตโคมไฟติดเพดาน โคมไฟติดผนัง โคมไฟถนน และโคมไฟสาดแสง รองรับกับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ
- ปิดส่วนผลิตรางรองรับสายไฟเพื่อนำพื้นที่ไปใช้ผลิตโคมไฟ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักและมีอัตรากำไรมากกว่า
- เปิดสำนักงานตัวแทน ณ กรุงโฮจิมนห์ ประเทศเวียดนาม
ปี 2549: - ได้รับสิทธิบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตตลอดจนลดต้นทุนสินค้า โดยยกเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 5 ปี


ธุรกิจหลัก / ภาวะอุตสาหกรรม


ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน

ธุรกิจไฟฟ้าแสงสว่างสัมพันธ์กับการเติบโตของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจนี้ได้แก่ การปรับปรุงและขยายสาขาของห้างร้านต่างๆ ธุรกิจสื่อโฆษณา การจัดงานแสดงสินค้าและงานเทศกาลต่างๆ ตลอดจนนโยบายประหยัดพลังงานของรัฐบาล เป็นต้น ในปี 2550 ภาพรวมของธุรกิจไฟฟ้าแสงสว่างในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านบาท และมีอัตราเติบโตลดลงประมาณ 4% ตามภาวะการชะลอตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างภายในประเทศ ในขณะเดียวกันภาพรวมของตลาดภูมิภาคอาเซียน (รวมประเทศในอินโดจีน) มีมูลค่ากว่า 54,000 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยยังคงเป็นผู้นำตลาดเพราะมีศักยภาพและความพร้อมในการแข่งขันที่เหนือกว่าประเทศอื่น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคนี้ที่ริเริ่มพัฒนาองค์กรด้านไฟฟ้าแสงสว่างอย่างจริงจัง สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทยได้เริ่มนำแนวคิดเรื่องคุณภาพแสงสว่างมาใช้ นอกเหนือจากเรื่องประสิทธิภาพและราคา ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของทุกกลุ่มผู้ใช้งาน
มูลค่ารวมของธุรกิจไฟฟ้าแสงสว่างประมาณ 11,500 ล้านบาทในประเทศไทย ประกอบด้วย ตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ 4 กลุ่มหลัก
1.) ตลาดหลอดไฟฟ้า มีสัดส่วนของตลาดประมาณร้อยละ 40 ตลาดหลอดไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังอยู่ภายใต้ตราสินค้าต่างประเทศ เช่น PHILIPS TOSHIBA OSRAM SYLVANIA และ GE เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตหลอดไฟฟ้าที่เป็นของคนไทยอยู่ประมาณ 4 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ยังผลิตหลอดไฟฟ้ามาตรฐานทั่วๆไป นอกจากนี้ยังมีหลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงานราคาถูกจากประเทศจีนทะลักเข้ามาในประเทศ
2.) ตลาดบัลลาสต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างต่างๆ มีสัดส่วนของตลาดประมาณร้อยละ 15 ตลาดบัลลาสต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างส่วนใหญ่เป็นของผู้ผลิตภายในประเทศ นอกจากบัลลาสต์สำหรับใช้กับหลอดไฟ HID บางชนิด และอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างบางชนิดที่ประเทศไทยยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
3.) ตลาดโคมไฟฟ้า มีสัดส่วนของตลาดประมาณร้อยละ 35 ตลาดโคมไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นของผู้ผลิตภายในประเทศ เพราะประเทศไทยมีโรงงานผลิตโคมไฟฟ้าต่างๆ ที่มีศักยภาพในการแข่งขันจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคมไฟที่ใช้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์นอกจากนี้โคมไฟที่ใช้ในงานภูมิทัศน์ที่ผลิตในประเทศไทยก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกซึ่งจะเห็นได้จากโคมไฟฟ้ากลุ่มนี้สามารถส่งออกไปขายในประเทศต่างๆทั่วโลก
4.) ตลาดเสาไฟฟ้า มีสัดส่วนของตลาดประมาณร้อยละ 10 ตลาดเสาไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นของผู้ผลิตภายในประเทศ ประเทศไทยมีโรงงานขนาดใหญ่หลายแห่งที่สามารถผลิตเสาไฟฟ้าชนิดต่างๆ เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ปัจจุบันประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีภาวะการแข่งขันเข้มข้นขึ้นทุกวัน ปัจจัยราคามีความสำคัญสำหรับการแข่งขันมากเพราะผู้บริโภคและผู้ซื้อส่วนใหญ่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพพอรับได้แต่ราคาต้องถูก สินค้าไฟฟ้าแสงสว่างราคาถูกจากประเทศจีนจึงทะลักเข้ามาในภูมิภาคนี้ค่อนข้างมาก ผู้ประกอบธุรกิจในภูมิภาคนึ้จึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในสถานะการณ์เช่นนี้ อย่างไรก็ตามประเทศในภูมิภาคนี้ที่มีความก้าวหน้าด้านไฟฟ้าแสงสว่างมากกว่า เช่น ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงค์โปร์ เป็นต้น ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของความหลากหลายของสินค้าและการบริการในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากเรื่องของราคา เนื่องจากเล็งเห็นว่าในตลาดของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างยังมีลูกค้าบางกลุ่มที่ให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพสินค้า รูปแบบสินค้า ความหลากหลายของสินค้าและการบริการในรูปแบบต่างๆ รวมถึงเรื่องการประหยัดพลังงาน ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจในประเทศดังกล่าวจึงต้องแข่งขันในเรื่องดังกล่าวนอกเหนือจากการแข่งขันในด้านราคา
สำหรับในประเทศไทยผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไฟฟ้าแสงสว่างมีอยู่กว่าร้อยราย ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเน้นทำธุรกิจเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ตนถนัด เช่นบางบริษัทจะเน้นผลิตภัณฑ์หลอดไฟฟ้า บางบริษัทเน้นผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง บางบริษัทเน้นผลิตภัณฑ์โคมไฟฟ้าที่ใช้ภายในอาคาร บางบริษัทเน้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับถนนและภายนอกอาคาร บางบริษัทเน้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในงานภูมิทัศน์ บางบริษัทเน้นโคมไฟตกแต่ง และบางบริษัทเน้นผลิตภัณฑ์เสาไฟฟ้าและโคมไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องเป็นต้น ส่วนบริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้วางเป้าหมายเป็นศูนย์รวมของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างต่างๆที่หลากหลายและครบครัน เพื่อให้สามารถบริการลูกค้ากลุ่มต่างๆได้อย่างครบวงจร นอกจากนี้บริษัทยังมีวิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร และผู้ออกแบบด้านกราฟฟิก ที่มีความรู้และประสบการณ์จำนวนมากเพื่อคอยให้บริการด้านไฟฟ้าแสงสว่างในรูปแบบต่างๆอย่างครบวงจร อาทิเช่น แนะนำการประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างให้เหมาะกับงานต่างๆ ออกแบบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างสำหรับงานพิเศษที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบหรือคุณสมบัติเฉพาะเป็นพิเศษ และออกแบบระบบแสงสว่างสำหรับงานต่างๆ ซึ่งบริษัทสามารถออกแบบโดยแสดงผลเป็นค่าความส่องสว่างแบบทั่วไป หรือแสดงผลเป็นภาพสามมิติ รวมทั้งแสดงผลเป็นภาพสามมิติที่เคลื่อนไหวได้ (ANIMATION) เป็นต้น

ปัจจุบันบริษัทฯได้สร้างตราสินค้าของบริษัทขึ้นมาจำนวนหนึ่ง โดยที่ตราสินค้าเหล่านี้จะเน้นใช้กับสินค้าไฟฟ้าแสงสว่างแต่ละประเภทโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการตอกย้ำว่าแต่ละตราสินค้าเชี่ยวชาญเฉพาะสินค้าไฟฟ้าแสงสว่างแต่ละประเภท ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. LUSO จะเน้นสินค้าประเภท โคมไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์
2. LUMAX จะเน้นสินค้าประเภท โคมไฟฟ้าราคาประหยัด
3. OPTEX จะเน้นสินค้าประเภท โคมไฟฟ้าสำหรับใช้ภายในอาคาร
4. LITEX จะเน้นสินค้าประเภท โคมไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและใช้ภาย นอกอาคาร
5. LANEX จะเน้นสินค้าประเภท โคมไฟสวนและโคมไฟฟ้าที่ใช้กับงานภูมิทัศน์
6. HOMEX จะเน้นสินค้าประเภท โคมไฟตกแต่งต่างๆ
7. LAMEX จะเน้นสินค้าประเภท หลอดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ
8. SIGNEX จะเน้นสินค้าประเภท กล่องไฟโฆษณา ไฟประดับ และโคมไฟที่ใช้หลอด แอล อี ดี

บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 16-17
ถ.ศรีอยุธยา แขวงพญาไท
เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ 10400





ขอบคุณพี่วิศวกรทุกคนที่แนะแนวทางระบบไฟฟ้าแสงสว่าง




 

Create Date : 31 มกราคม 2552
0 comments
Last Update : 31 มกราคม 2552 23:03:40 น.
Counter : 2771 Pageviews.

 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Leading
 
Location :
พระนครศรีอยุธยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




จะขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป

[Add Leading's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com