ชีวิตคือการเรียนรู้

<<
เมษายน 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
11 เมษายน 2554
 

5 Steps to Tyranny: ปลุกด้านมืดในตัวคุณ (1)

กระทู้ที่หว้ากอโดนลบไปแล้ว อาจจะยังมีหลายคนที่พลาดไม่ได้อ่านหรืออ่านแล้วแต่อยากอ่านซ้ำอีก ก็เลยนำเนื้อหาที่ผมเขียนไว้ในกระทู้มาเผยแพร่ในบล็อกอีกที หวังว่าคราวนี้คงไม่ตามมาลบอีกนะ

สำหรับกระทุ้ก่อนผมเซฟทันถึงตอน คห.190 กว่าๆ หลังจากนั้นไม่ได้เซพ ใครอยากอ่านความเห็นต่างๆ ผมอัพไว้ตามลิงค์ข้างล่างแล้วครับ

//www.mediafire.com/?8ofhf1h3oeoyd75




5 Steps to Tyranny: ปลุกด้านมืดในตัวคุณ

“ถ้ามีคนบอกให้คุณไปทำร้ายหรือฆ่าคนอื่น คุณจะทำหรือป่าว?”

หากเจอคำถามนี้เราคงตอบทันทีว่า “ไม่ ฉันจะไม่มีทางทำอย่างนั้นเด็ดขาด” เพราะ จิตสำนึกของเราคอยเตือนเราว่าการทำร้ายหรือฆ่าคนอื่นเป็นสิ่งที่ผิด และเรามั่นใจว่าจะไม่มีวันทำสิ่งนั้นเป็นอันขาด ไม่ว่ากับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไหร่

แต่พวกเราทุกคนอาจคิดผิด!!!

มี ตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นว่า คนเราสามารถกระทำเรื่องเลวร้ายต่างๆ ได้มากมาย แม้ว่าเขาจะไม่เคยมีวี่แววว่าเป็นคนเลวร้ายมาก่อนเลย เราเองก็เช่นกันหลายครั้งก็อาจทำเรื่องที่ขัดกับจิตสำนึกของเราได้โดยไม่รู้ ตัว ถ้าบริบทแวดล้อมเหมาะสม แม้แต่คนที่ได้ชื่อว่าเลวที่หนึ่งก็สามารถกลายเป็นคนเลวสามานย์ได้ หรือว่าจริงๆ แล้วความดี-ความชั่วอาจไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด แต่เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์รอบตัวเรา “5 Steps to Tyranny” ซึ่งเป็นสารคดีที่ผลิตโดย BBC และเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 2001 ได้พยายามหาคำตอบนี้ แต่สิ่งที่ค้นพบกลับสร้างความตกตะลึง เมื่อพบว่า เพียงแค่ 5 ขั้นตอนสั้นๆ ง่ายๆ จากคนธรรมดาก็สามารถกลายเป็นทรราชย์ได้อย่างสมบูรณ์

ความน่าสนใจของสารคดีชิ้นนี้ อยู่ที่การนำการทดลองทางจิตวิทยาต่างๆ มาเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเราสามารถกลายเป็นทรราชได้อย่างไร ทำให้แม้ว่าตัวสารคดีจะผ่านมาเป็น 10 กว่า ปีแล้ว แต่ก็ยังทันสมัยและมีประโยชน์อยู่เสมอ ทำให้เรานึกหวั่นใจตัวเองอยู่ตลอดว่าสักวันเราอาจกลายเป็นทรราชย์อย่างในสารคดีจริงๆ ก็ได้

สำหรับผมรู้จักสารคดีชิ้นนี้ครั้งแรกก็เมื่อปีที่แล้ว ตอนเรียนวิชาความรุนแรงและสันติวิธีทางการเมืองในมหาวิทยาลัย อาจารย์ได้นำสารคดีชิ้นนี้มาฉายเพื่อแสดงให้เห็นว่า หากไม่ระวังคนเราก็พร้อมกระทำรุนแรงต่อกันได้เสมอ ส่วนตัวประทับใจสารคดีชิ้นนี้มาก และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน โดยเฉพาะในแง่มุมจิตวิทยา ซึ่งสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับวิทยาศาสตร์ค่อนข้างมาก และน่าจะตั้งในหว้ากอได้

ตัวสารคดีมีความยาวประมาณ 1 ชั่วโมง ผมจะเสนอตามลำดับ Step โดยในแต่ละ Step ก็จะแทรกข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองจิตวิทยาที่นำมาอ้างอิงในแต่ละ Step ด้วย สำหรับตัวคลิปนั้นเป็นภาษาอังกฤษครับ ไม่มีซับ จริงๆ ตอนดูในห้องเรียน ผมดูแบบซับไทย ซึ่งอาจารย์ทำให้ แต่อาจารย์ไม่ได้เอาฉบับซับไทยนั้นลง Youtube ดังนั้นที่หาดูได้ตอนนี้คือฉบับภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ

ป.ล. เนื้อหาในสารคดีอาจเรื่องเกี่ยวกับการเมืองบ้าง ดังนั้นถ้าใครจะลากเข้าเรื่องการเมืองปัจจุบัน บอกตามตรงว่า “ไม่ห้าม” เนื่องจากคง “ห้ามไม่ได้” แต่ขอให้มี “สติ” และ “เหตุผล” ก็พอ




Step 1 – "Us" and "Them" - “พวกเรา” และ “พวกเขา”

ขั้นแรกสู่การเป็นทรราชย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นง่ายๆ ในทุกๆ วันก็คือ การสร้างความแตกต่างระหว่าง “พวกเรา” และ “พวกเขา” ให้เกิดขึ้น โดยที่ทำให้กลุ่มหนึ่งรู้สึกว่าพวกเราเหนือกว่า มีวิถีชีวิตที่ดีกว่า เก่งกว่า ฉลาดกว่า ฯลฯ อีกกลุ่ม ความแตกต่างนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากเรื่องอุดมการณ์ที่สลับซับซ้อนแต่อย่าง ไร เพียงแค่ความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ที่เลือกไม่ได้อย่างสีผิวหรือสีนัยย์ตาก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดการแบ่งแยก แล้ว และเมื่ออคติระหว่างกลุ่มเกิดขึ้น โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งและความรุนแรงตามมาก็สูง แม้แต่ในคนที่รู้จักกัน เมื่อแบ่งแยกกันเป็นคนละพวก ก็พร้อมจะกระทำความรุนแรงต่ออีกฝ่ายได้เสมอ และก็จะมีคนฉวยโอกาสจากความขัดแย้งนี้มาเป็นประโยชน์แก่ตัวเองเสมอ



ในสารคดีได้อ้างอิงการทดลองของครู Jane Elliott ครูประถมในรัฐไอโอวา ในทศวรรษ 1960 โดยเกิดจากเด็กนักเรียนคนหนึ่งชื่อ Steven Armstrong เข้ามาถามว่าทำไม “Martin Luther King” ถึงโดนฆ่าตาย ครู Jane ไม่รู้จะอธิบายปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างสีผิวให้เด็กเข้าใจได้ยังไง เพราะเมืองนี้ไม่มีคนผิวสี เด็กไม่รู้จักการเหยียดผิว ดั้งนั้นครู Jane จึงได้จัดแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มนัยย์ตาสีน้ำตาล และนัยย์ตาสีฟ้า โดยกลุ่มตาสีฟ้ามีสิทธิพิเศษมากกว่าพวกตาสีน้ำตาล เพียงไม่นานพวกตาสีฟ้าเริ่มทำตัวเป็นอันธพาลและหยิ่งยโส ขณะที่พวกตาสีน้ำตาลเริ่มแยกตัวออกห่าง ช็อก และเศร้าสร้อย นักเรียนคนหนึ่งบอกว่า “มันเป็นความรู้สึกเดียวกับตอนคนผิวสีถูกเรียกว่านิโกร” ซึ่งนั่นทำให้ครู Jane ตกใจมาก เพียงความแตกต่างเล็กน้อยก็นำมาสู่ความขัดแย้งได้แม้แต่ในเด็ก

ปัจจุบัน ครู Jane เป็นนักต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ และได้นำผลการทดลองในวันนั้นไปบรรยายและอ้างอิงอยู่เสมอๆ






Step 2 – Obey Orders (เชื่อฟังคำสั่ง)

เรามักคิดว่าเราไม่ได้เชื่อฟังคำสั่งในทุกเรื่อง แต่จะเชื่อฟังเฉพาะสิ่งที่คิดว่าดีเท่านั้น ถ้าโดนสั่งให้ไปฆ่าใคร เราก็จะไม่ทำ อย่างไรก็ตามสารคดีชิ้นนี้ก็แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้วเราพร้อมที่จะทำตามคำสั่ง (ที่อาจมาในรูปคำขอร้อง) ของผู้อื่นโดยไม่คิดไม่ถามให้ถี่ถ้วนก่อนเสมอ ซึ่งอาจเป็นผลจากการตัดรำคาญ หรือไม่คิดว่ามันจะส่งผลอะไรนัก ปัญหาคือเมื่อเรายอมทำตามโดยไม่ตั้งคำถามว่า “ทำไมฉันจึงต้องทำแบบนั้น” ก็มีโอกาสที่จะมีผู้ชักนำให้เรากระทำในสิ่งที่ผิด ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีอาชญากรรมที่เกิดจากการเชื่อฟัง มากกว่าการไม่เชื่อฟัง



การทดลองที่นำมาอ้างอิงในขั้นนี้ ทีมงานได้ซ่อนกล้องในรถไฟและให้ชายคนหนึ่งไปขอที่นั่งของผู้โดยสารแม้ว่าจะ มีที่อื่นว่าง ซึ่งผลปรากฏว่ากว่า 50% ยอมสละที่นั่งให้โดยไม่ถามคำถามอะไร และยิ่งเมื่อให้ชายคนนั้นมาพร้อมกับชายอีกคนซึ่งแต่งชุดเป็นตำรวจ อัตราการเชื่อฟังก็เพิ่มเป็น 100% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราพร้อมที่ยอมทำตามที่ผู้อื่นบอกมากเพียงไร


อ่านต่อที่ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=daengkhao&month=04-2011&date=11&group=8&gblog=4


Create Date : 11 เมษายน 2554
Last Update : 11 เมษายน 2554 20:13:24 น. 21 comments
Counter : 8421 Pageviews.  
 
 
 
 
มาลงชื่อว่าอ่านครับ
 
 

โดย: tomorrow night วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:20:43:09 น.  

 
 
 
คิดว่าได้บุญหรือได้บาปติดตัวครับ คนเขียน
 
 

โดย: สงสาร IP: 49.230.153.236 วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:11:16:53 น.  

 
 
 
นี่คือความจริง ขอบคุณเรื่องดีๆที่มีสาระครับ
 
 

โดย: love IP: 124.120.153.187 วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:14:36:59 น.  

 
 
 
บทความเป็นประโยชน์มากเลยครับ
 
 

โดย: rerigio IP: 118.173.153.109 วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:18:31:09 น.  

 
 
 
ตามมาอ่านค่ะ
 
 

โดย: กลางคืนตื่นกลางวันฝัน IP: 79.102.187.205 วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:19:17:33 น.  

 
 
 
ตามมาจาก พันติ๊บบบบ
 
 

โดย: pop IP: 124.122.250.229 วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:20:33:17 น.  

 
 
 
ให้ความรู้กับคน ยังไงก้ได้บุญนะ

วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา ศึกษาอารมณ์ แต่ไม่ได้สร้างมาจากอารมณ์

ดังนั้นความเห็นแย้งที่มีแต่อารมณ์ ซึ่งปราศจากเหตุผล จึงไม่มีค่าในการมาแย้งในความรู้ของวิทยาศาสตร์

 
 

โดย: zz IP: 115.87.4.79 วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:23:34:26 น.  

 
 
 
ตามมาด้วยคน
 
 

โดย: เชร็ค 3 IP: 125.26.178.52 วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:9:53:49 น.  

 
 
 
ตอบคุณ สงสาร

ผมว่าคนเขียนไม่ได้ทั้งบุญและบาป เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงสิ่งสมมติ

แต่ที่แน่ๆ สังคม "ได้ประโยชน์" จากบทความชิ้นนี้อย่างแน่นอน

ขอขอบคุณบทความดีๆนี้ครับ
 
 

โดย: p IP: 124.122.169.77 วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:10:16:09 น.  

 
 
 
ขออนุญาต แชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ
เพราะเป็นบทความที่มีประโยชน์มาก
 
 

โดย: Noel IP: 65.49.14.10 วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:15:14:02 น.  

 
 
 
ตามมาอ่านอีกรอบครับขออนุญาตเอาไปแชร์ด้วยนะครับ
 
 

โดย: boatha1 IP: 58.9.247.53 วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:21:14:08 น.  

 
 
 
ตามมาอ่านค่ะ
 
 

โดย: ~My Birthday is on April 14~ วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:21:24:15 น.  

 
 
 
ประเด็นที่ 2 ผมว่าไม่แปลกนะ ถ้ามองตามความเป็นจริง ยังไงเราก็ต้องทำตามนั้นเพราะ บทบาททางสังคมมันเป็นตัวกำหนด


ไม่เกี่ยวกับการทดลองใดๆหรอก ผมมองว่าเราไม่ได้ทำตามคนอื่น แต่เราทำตามข้อตกลงร่วมกันของสังคม
 
 

โดย: จัสลูทอิท IP: 49.49.114.222 วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:21:57:12 น.  

 
 
 
เยียมครับ ขอบคุณเจ้าของบล็อค
 
 

โดย: ตื่นมาก็คิดถึง IP: 124.120.199.93 วันที่: 14 เมษายน 2554 เวลา:16:39:45 น.  

 
 
 
ตามมาอ่านจาก พันทิบ ครับ

ท้ายที่สุดแล้วมันคือทฤษฏีการเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิตครับ

ดั่งเช่นที่มีผู้คนหลายคนให้นิยามแก่ตัวเองว่า ตนคือสีขาว ความเป็นกลางไม่มีในโลก หากแต่พวกเขานิยามตนขึ้นมาเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของตัวเองก็เท่านั้น
 
 

โดย: RedCore IP: 180.183.123.31 วันที่: 14 เมษายน 2554 เวลา:20:22:22 น.  

 
 
 
ขอบคุณสำหรับบทความครับ เรียบเรียงได้เป็นระบบและกระตุ้นให้คิดได้ดี
 
 

โดย: ปอนด์ IP: 58.9.156.135 วันที่: 16 เมษายน 2554 เวลา:1:22:01 น.  

 
 
 
จะไปดาวโหลดความเห็นมาอ่านค่ะ คิดตะหงิด ๆ เหมือนกันว่าทู้จะหาย หายจริงด้วยง่ะ
 
 

โดย: พันดริฟสังคมคุณภาพ (PIMMIE ) วันที่: 17 เมษายน 2554 เวลา:19:11:30 น.  

 
 
 
เยี่ยมครับ
 
 

โดย: ก IP: 58.8.229.29 วันที่: 24 เมษายน 2554 เวลา:23:32:41 น.  

 
 
 
เข้ามาอ่านและขอแชร์นะคะ
 
 

โดย: เขมิศราสุดสวย IP: 27.130.122.50 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2554 เวลา:9:11:55 น.  

 
 
 
ผมขออนุญาตแสดงความเห็นว่า

พฤติกรรมตอบสนองในสถานการณ์หนึ่งๆ
เป็นคำตอบเฉพาะสถานการณ์ที่กำหนดไว้เท่านั้น
...

ไม่สามารถนำมาเป็นข้อสรุป เพื่อใช้สำหรับสถานการณ์อื่นๆได้

ความแตกต่างของชาติพันธ์ ความคิด ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรมทางสังคม อายุ สภาพร่างกาย เพศ การศึกษา ฯเป็นปัจจัยควบคุมไม่ได้ที่ส่งผลต่อคำตอบของงานวิจัยพฤติกรรมคนทั้งสิ้น

อย่างไรก็ดี แม้งานนี้ยากจะใช้อ้างอิงทางวิชาการ ผมก็เห็นว่างานนี้มีประโยชน์ เป็นแนวคิดที่สนใจครับ




 
 

โดย: ใครก็น้ำท่วม IP: 115.31.142.234 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2554 เวลา:10:11:42 น.  

 
 
 
ระวัง พวกเราจะไปถือหาง เจี้ยหางแดง เจี้ยหางเหลือง ตอนนี้ มีเจี้ย หางฟ้า เพิ่ม มาอีกตัวแล้ว
 
 

โดย: ดำ..... IP: 171.7.102.77 วันที่: 29 ธันวาคม 2556 เวลา:9:54:12 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

เซียวเล้ง
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ตอนนี้ย้าย Blog หลักไปที่ zeawleng.wordpress.com แล้วนะครับ
[Add เซียวเล้ง's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com