Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
28 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
ประเทศในลุ่มน้ำโขง กำลังจะกลายเป็น ภาคใต้ของจีนไปแล้วหรือ??

ประเทศในลุ่มน้ำโขง กำลังจะกลายเป็น ภาคใต้ของจีนไปแล้วหรือ??




รูปที่ 1 แสดงโครงข่ายถนน ที่รัฐบาลจีน และรัฐบาลญี่ปุ่น ผลักดันสุดๆ





พอดีมีคนวิเคราะห์เอาไว้ ประมาณอิทธิพลทางการค้า การเคลื่อนตัวของคนจีนลงใต้ (โดยเฉพาะในลาว พม่า) คนจีนลงมาขุดแร่ ปลูกยาง แถม สร้างเมือง (เมืองจริงๆนะ เมืองแบบ หาดใหญ่ อุดร โคราช เชียงใหม่ เชียงราย ประมาณว่าจะมีคนจีนมาอยู่เป็นแสน) แล้วทำสัญญาเช่ากับรัฐบาลลาว 50 ปี แล้วคิดหรือว่า พอครบ สัญญา 50 ปี แล้วเขาจะกลับไป อย่างดีก็แค่ ต่อสัญญาไปอีก 50 ปี

ต่อไปทำการค้ากับลาวจะน่ากลัวมาก โดยเฉพาะคน จีนในลาว เพราะลาว มีพื้นที่ขนาดใหญ่ 236,800 ตร.กม. เกือบครึ่งหนึ่งของไทย แต่ประชากร 6 ล้านคนเอง แต่ไทย ประชากรเกือบ 70 ล้านคน

เวียดนามกับ จีน มอง ลาว ตาเป็นมันเชียว มองลาวในฐานนะ "แหล่งที่อยู่ใหม่"



รูปที่ 2 แสดง "ระเบียงเศรษฐกิจ" ในกรอบ 4 เหลี่ยม คือ ถนน ที่จะมีการเคลื่อนย้าย คน สินค้า ไฟฟ้า ฯลฯ เป็นบริเวณที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างสูงสุด และจะมีการปรับแก้กฎระเบียบการเข้าออกเมือง และสินค้า ให้คล่องตัวมากที่สุด




สามารถขับรถยนต์ หรือนั่งรถไฟ ไปถึง ฮองกงได้เลยทีเดียว


รูปจาก

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=geopictureandadventure&group=40










รูปที่ 3 อาณาจักรฉิ่น พร้อมรัฐบรรณาการ หากสงสัยว่า ประเทศในลุ่มน้ำโขงกลายเป็นรัฐบรรณาการ ในมุมมองของจีนได้อย่างไร ก็ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมจากคำว่า "จิ้มก้อง"






อนึ่ง ในอดีต จีนก็มองว่า ประเทศแถวๆลุ่มแม่น้ำโขงนี้ ก็เคยเป็นรัฐบรรณาการของจีนอยู่ก่อนแล้ว และในทางประวัติศาสตร์ จีนก็พยายามแผ่ อิทธิพล ลงมาตลอดเลย แต่ก็ยังดี ที่มีป่าทึบที่เต็มไปด้วยไข้ป่า กับ ภูเขาสลับซับซ้อน ในลาว กับ มณฑลยูนาน กั้นเอาไว้ ไม่งั้นคงได้ใช้ภาษาไทย แต่เขียนเป็นอักษรจีน กั้นบ้างละ (คล้ายๆภาษาคาราโอเก๊ะ เช่น รัก เขียนเป็น ruk ซึ่งชนกลุ่มน้อยในจีนหลายกลุ่ม มีภาษาเขียนเป็นของตัวเอง แต่ก็ถูกห้ามใช้ จีนให้เขียนเป็นอักษรจีนทั้งหมด)

แต่จีนเขาเพิ่งเปิดประเทศ 10 ปีให้หลังนี้เอง แต่ก็ได้สร้างถนน เชื่อมอาเซียนเสร็จไปแล้วหลายเส้น (ทำได้ไง)

ยังไงๆ ก็เตรียมตัว "สู้" อิทธิพลทางการค้าของจีนไว้แล้วกัน (รุกลงมาไม่ถึง 10 ปี ยังได้ขนาดนี้ น่ากลัวมากๆ)





ยิ่งเขียนยิ่งมันส์ ต่อๆ

มาดู จีน VS อินเดีย กันบ้าง




ดินแดนใน รัฐอรุณาจัลประเทศ ที่อินเดียกับจีน แย่งกัน จนเคยเปิดสงครามเต็มรูปแบบกันมาแล้ว ในรูปแสดงภาคอีสานของอินเดีย หรือเรียกว่า 8 รัฐพี่น้อง





มาดู จีน VS อินเดีย กันบ้าง


อย่างที่รู้ จีน กับ อินเดีย 2 ประเทศนี้ไม่เคยจะไว้ใจกันเลย ตั้งแต่ แย่งดินแดนกัน ที่แถวๆชายแดนปากีสถาน แล้วก็ แถวๆ รัฐอรุณาจัลประเทศ บริเวณที่ติดกับพม่า

จีนกับอินเดีย อยากทำการค้ากัน แต่ไม่อยากให้ มีใครมามีอิทธิพล ใน "เขตอิทธิพล" ของตัวเอง

จีนเข้าไปมีอิทธิพลใน บังคลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ อินเดียถือว่า เป็น "เขตอิทธิพล" ของอินเดีย

อินเดียตอบโต โดยการ จะเข้าไปทำการค้ากับอาเซียน โดยการตัด ถนน และทางรถไฟ จากรัฐอัสสัม เข้าพม่า แล้วมาถึงแม่สอด จ.ตาก เพราะ หากอินเดียมีอิทธิพลทางการค้าในไทยได้ นั่นหมายความว่า สามารถยึดอาเซียน หรือมีอิทธิพลเหนืออาเซียนได้


จากรูปจะเห็นว่า ถนน จะไม่เข้าทางรัฐอัสสัม ถึงแม้จะมี แต่ก็ทุลักกันดารมาก และถนนในพม่า กับ ถนนในภาคอีสานของอินเดีย ก็ไม่มีความปลอดภัย เพราะยังมีกลุ่มติดอาวุธเคลื่อนไหวอยู่หลายกลุ่มมาก



แต่ถนนเส้นอินเดีย-อาเซียน นี้ โดนสกัดดาวรุ่ง จากทั้ง ปัญหาการเมืองในพม่า และ ปัญหากลุ่มกบฎในภาคอีสานของอินเดียเอง จึงทำให้ ถนนเส้นนี้ไม่เกิดสักที

แต่ลึกๆแล้ว จีน ต้องการ ให้ถนน เส้น อินเดีย-อาเซียน เกิดหรือไม่

ตอบ จีนไม่ต้องการเห็นถนนเส้นนี้แน่ๆ เหมือนกับที่ อินเดีย ไม่อยากเห็นถนนเชื่อม จีนกับปากีสถาน และอินเดียไม่อยากเห็นท่าเรือที่จีนสร้างให้บังคลาเทศ สร้างให้ศรีลังกา อินเดียไม่ต้องการเห็นท่อก๊าช ทางรถไฟ ถนน ของจีน ในพม่า เพื่อเชื่อมกับอ่าวเมาะตามะ เพราะปัจจุบัน จีนสร้างฐานทัพเรือ ในพม่า ใกล้อินเดียมากๆ เรียกว่าจ่อคอหอยกันเลย


แม้กระนั้นไทย ก็ควรจะผลักดันถนน เส้นอินเดีย-อาเซียนให้เกิด แม้มันจะยาก ไม่เช่นนั้นไทยจะถ่วงดุลอำนาจกับจีนยาก (ประเทศแถบนี้ก็เล่นเกมส์ถ่วงดุลอำนาจกันทั้งนั้น)



เอาละ ปัญหาของถนนเส้น อินเดีย-อาเซียน คืออะไร หลักๆคือ ความไม่สงบ จะแก้ไขได้ไหม

ตอบ ยาก เพราะ แม้ถนน จะสร้างเสร็จ เป็น 8 เลน (แต่ใครจะกล้าให้ทุนสร้าง) แต่ถ้าไม่มีความปลอดภัย การค้า การท่องเที่ยว มันไม่เกิด


อนึ่ง อินเดีย เคยขอกู้เงิน จาก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) เพื่อ สร้าง ถนนในรัฐอัสสัมเพื่อเชื่อมอาเซียน แต่ โดนจีนล๊อบบี้ ไม่ให้ปล่อยกู้ ทำไมเป็นแบบนั้น?? ตอบ ก็เพราะ จีนไม่ต้องการเห็นอิทธิพลของอินเดียในอาเซียนนั่นเอง









สาวชาวนากาแลนด์ (เป็นรัฐของอินเดียรัฐหนึ่งติดกับพม่า) ที่มาของรูป

//www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=317






ในรัฐอัสสัม และ 8 รัฐพี่น้อง มีปัญหา เพราะ "ความไม่เหมือน" โดยคนใน 8 รัฐพี่น้อง มีหน้าตาเป็นคนอาเซียนปนๆจีน ที่เรียกว่า ไทอาหม ชาวนากา ชาวคะฉิ่น ฯลฯ หลังจากพื้นที่แถบนี้ ถูกอังกฤษยึด ก็มีการเคลือนอพยบของคนอินเดียเข้ามา จึงเกิดปัญหา จน บานปลาย กลายเป็นกลุ่ม เรียกร้องเอกราช จนปัจจุบัน หลายพื้นที่ใน 8 รัฐพี่น้อง มีกลุ่มติดอาวุธ ที่รัฐบาลอินเดียเข้าไปไม่ได้อยู่หลายจุด นี้ยังไม่รวมความขัดแย้งในพม่าของชนกลุ่มน้อยอีก ถนนเส้นนี้เลยยากไปกันใหญ่

น่าแปลก อาวุธที่กลุ่มกฎบถือ กลับเป็นอาวุธจีน เรื่องนี้อินเดียก็รู้ดี ว่าใครหนุนอยู่ อินเดียก็เลยให้ที่พักพึ่งองค์ดาไลละมะซะเลย เพื่อเป็นการตอบโต้จีน



สวัสดีคร๊าบ!!



ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไม่เคยมี มหาอำนาจไหน ร่วมมือ ร่วมใจ กันได้สักที จึงมีคำโบราณที่พูดซะเห็นภาพว่า "เสือ 2 ตัว มักอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้" ดั้งนั้น ความสัมพันธุ์ของมหาอำนาจ มักจะขัดแย้งกัน มากกว่าร่วมมือกัน ประวัติศาสตร์โลกที่ผ่านๆมาเป็นสิ่งยืนยัน

ดังนั้น ภาพ การจับมือกันของผู้นำจีน กับผู้นำอินเดีย ดูแล้วยิ้มแย้ม จนแทบจะหอมแก้มกันก็ไม่ปาน แต่ความจริงแล้ว อีกมือนั้น กลับถือมีดคมๆ แอบไว้อยู่


แต่ถึงอย่างไร จีน กับ อินเดีย ก็อยากทำการค้ากันอยู่ ดังนั้นเส้นทางการค้าที่จะเกิด น่าจะเป็นเส้นทางที่เข้าอินเดียโดยตรงโดยไม่ผ่านอาเซียน


แต่ถึงอย่างไรก็อยากให้ถนน อินเดีย-อาเซียน เกิดอยู่ดีแม้จะยาก เพราะนอกจากประโยชน์ด้านการค้าแล้ว ยังเป็นการถ่วงดุลอำนาจ เพื่อไม่ให้ มหาอำนาจประเทศใดประเทศหนึ่ง มีอิทธิพลในประเทศไทยมากเกินไป
























............................................


ข้อมูลข้อล่าง จาก ประชาไทย


//www.prachatai.com/journal/2005/04/3592


ผ่าปัญหาความมั่นคงไทย ใช่มีแค่ชายแดนใต้ ตีแผ่สารพัดภัยรุกราน เตือนระวังจีนรุกคืบกลืนเหนือ
Mon, 2005-04-11 00:54

ทหารและนักวิชาการเตือนรัฐและคนไทยไม่ประมาท ชี้ปัญหาความมั่นคงใช่เพียงแค่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ระบุการปลด "ขิ่นยุนต์"ทำให้ชายแดนไทย-พม่าตึงเครียดอีกแน่ จับตาการหนีภัยสงครามเข้าไทยเพิ่ม และปัญหาเส้นเขตแดนพร้อมปะทุตลอดเวลา เตือนรัฐอย่ามองปัญหาความมั่นคงของชาติแต่ภาคใต้จนลืมพื้นที่อื่น ระวังการรุกคืบของจีนจนภาคเหนือตั้งรับไม่ทัน

ระยะเวลาปีเศษ นับจาก 4 มกราคม 2547 เมื่อเกิดเหตุการณ์ปล้นปืนที่ภาคใต้ ดูเหมือนว่า ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่อื่นของประเทศจะหายไปเหลือแต่เพียงภาคใต้แห่งเดียวเท่านั้น นั่นคือ สิ่งที่หลายฝ่ายวิตก และมีคำเตือนจากทหารและนักวิชาการว่า ยังมีอีกหลายภัยที่จะส่งผลถึงความมั่นคง ซึ่งเรากำลังเผชิญหน้าอยู่

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่โรงแรมดิอินเตอร์เนชั่นแนล เชียงใหม่ ซึ่งมูลนิธิวายเอ็มซีเอ เพื่อการพัฒนาภาคเหนือและสมาคมวายเอ็มซีเอเชียงใหม่ ร่วมกับคณะกรรมาธิการการทหาร วุฒิสภา และกองทัพภาคที่ 3 จัดสัมมนาเรื่อง "ความร่วมมือของประชาคมท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ชายแดน" โดยมีพล.อ.ดร.ศิริ ทิวะพันธ์ รองประธานคณะกรรมาธิการการทหารวุฒิสภา เป็นประธาน และมีตัวแทนหน่วยทหาร และชุมชนจากเชียงใหม่ เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน และตากเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนประสพการณ์และหาแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน

โอกาสนี้ พลเอกดร.ศิริ ทิวะพันธ์ รองประธานคณะกรรมาธิการการทหารวุฒิสภา และรศ.ดร.
สุรชาติ บำรุงสุข จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันอภิปรายเรื่องยุทธศาสตร์แนวทางการสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนในทศวรรษใหม่

พลเอกดร.ศิริ กล่าวว่า การพัฒนาประเทศใน 4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้น่าพอใจ แต่ไม่อาจประมาทปัญหาไข้หวัดนก สถานการณ์น้ำมัน และความไม่สงบในชายแดนใต้ได้ ซึ่งปัญหาชายแดนใต้เป็นเรื่องน่าหนักใจ เพราะลึกเกินกว่าที่คาดคิด และการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา ทั้งถูกเร่งรัดเพื่อหวังผลทางการเมืองและสื่อเสนอข่าวโดยไม่รับผิดชอบ จนสถานการณ์เลวร้ายๆลง

อย่างไรก็ตาม การที่นายกรัฐมนตรียอมรับคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ถือเป็นแนวทางที่จะทำให้มีลู่ทางแก้ไขได้ และควรเดินทางตามแนวพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา และคนทั้งชาติแก้ไขปัญหาที่ท้าทายนี้ร่วมกัน

นอกจากความมั่นคงของภาคใต้แล้ว ไทยยังเผชิญกับปัญหาโรคเอดส์ซึ่งทำลายงบประมาณของประเทศเป็นจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อสังคม เพราะขณะนี้วัยรุ่นคือกลุ่มคนที่เผชิญหน้ากับโรคนี้ ด้านความขัดแย้งทางศาสนาก็ทวีความรุนแรงทำให้สังคมไม่เรียบร้อย เพราะฉะนั้นก็มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องคอยดูแล

อย่างไรก็ตาม ในความมั่นคงระดับชาติของไทยกับต่างประเทศ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ รัฐบาลสามารถที่จะจัดบทบาทของตนเองให้เป็นที่ยอมรับของประเทศได้ แต่ยังต้องระมัดระวังตัว เพราะไทยมีความผูกพันธ์กับไต้หวันในระดับในทางธุรกิจ ระดับส่วนตัว

ขณะเดียวกันจีนก็ประกาศว่าจีนเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง ณ ขณะนี้มหาอำนาจที่แท้จริงของโลกคืออเมริกา ซึ่งมีอาวุธและเทคโนโลยีชั้นสูง แต่จีนก็เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และกำลังขยายอิทธิพลอย่างน่ากลัว

ดังนั้นหากไทยไม่เรียนรู้อะไรก็จะลำบากในการดำเนินนโยบายกับทั้งสหรัฐอเมริกา และจีน โดยไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียจะต้องพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศอินเดียให้มากขึ้น ให้แข็งแรงเพื่อให้มีอำนาจในการต่อรอง นายกรัฐมนตรีไทยเคยพยายามอยู่และกระเตื้องในช่วงต้น แต่ขณะนี่ค่อนข้างเงียบทำให้ไม่ก้าวหน้าไปถึงไหน ควรมีการพัฒนาเพราะ "อาเซียน"จะทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคนี้ดีขึ้น

พล.อ. ดร.ศิริ มองถึงปัญหาชายแดนของไทยโดยเฉพาะภาคเหนือว่า ความขัดแย้งภายในของพม่า ไม่เอื้ออำนวยที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยของชายแดนไทย โดยเมื่อพลเอกขิ่นยุนต์ถูกปลดทำให้ความแข็งกร้าวของชนกลุ่มน้อยเพิ่มมากขึ้น และตราบใดที่ไม่ลงรอยกัน แม้จะไม่ถึงลงมือฆ่ากัน แต่ย่อมทำให้มีผู้หลบหนีภัยสงครามเข้ามาในไทยมากขึ้น

โดยขณะนี้มีกว่าแสนคนแล้ว ซึ่งเมื่อมาอยู่ในค่ายได้เพิ่มพลเมือง มีเชื้อโรคเข้ามา รวมถึงมีผู้หลบหนีมาขายแรงงานอีกกว่า ล้านคนเข้าไปถึงภายในประเทศ ซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงในอนาคต

นอกจากนั้นปัญหายาเสพติดของภาคเหนือก็ยังมีอยู่ แม้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงจะมีความพยายามชักชวนกลุ่มว้าแดงให้ปลูกพืชทดแทนพืชเสพติดมานานแล้วก็ตาม รวมทั้งยังมีปัญหาการตัดไม่ทำลายป่า การขาดการลงทะเบียนที่ถูกต้องของชนกลุ่มน้อยบนพื้นที่สูง

"ความมั่นคงในทศวรรษหน้า ยังถือว่าสถานการณ์ไม่ทำให้ราบรื่นเท่าที่ควรนัก มีเรื่องเร่งด่วนต้องทำหลายประการ คือ 1. สร้างชุมชนให้เข้มแข็งซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายสร้างชาวบ้านที่อยู่ตามแนวชายแดนให้มีความแข็งแกร่งสามารถที่จะพึ่งตนเองได้ และสามารถที่จะเชื่อมต่อกับระบบการปกครองของไทยตามรัฐธรรมนูญของไทยให้ได้

2.จัดระเบียบชายแดนสร้างเครือข่ายคมนาคมให้คุมชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพ 3.เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการครองชีวิตของกลุ่มว้าให้เปลี่ยนมาปลูกพืชอื่นแทนยาเสพติด"

พล.อ. ดร.ศิริ เตือนถึงอิทธิพลของประเทศจีน ว่าขยายเข้ามาพม่าและไทยมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ทำสัญญาค้าขายเสรีก็ไม่ได้ พืชผักและผลไม้จากจีนอาจมาทำลายอาชีพพื้นฐานของชาวภาคเหนือได้ สิ่งที่จำเป็นคือต้องเรียนรู้ภาษาจีนให้มากขึ้น ต้องเข้าใจว่าการเป็นเพื่อนและเป็นคู่ค้าจะต้องปฏิบัติอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบ

นอกจากนั้นกับประเทศลาวที่มีเขตติดต่อกันก็จะต้องผูกสัมพันธ์ให้ดี พร้อมทั้งได้ย้ำให้หน่วยทหารในพื้นที่กระชับไมตรีระหว่างประเทศไว่ให้มั่น

ด้านรศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า นับจาก 4 มกราคม 2547 เป็นต้นมา งานความมั่นคงของไทยหายไปหมดเหลือเพียงที่ภาคใต้อย่างเดียว แต่ปัญหาชายแดนไทยมิใช่มีแค่เรื่องนี้ หากไม่รวมกับปัญหาเก่าเรายังเผชิญกับภัยที่มีผลต่อความมั่นคงหลายประการ เช่น ภัยจากเชื้อโรค คือไข้หวัดนก ภัยจากการเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศ นั่นคือ ภัยแล้งเช่นที่ภาคอีสานหนักมากในรอบ 30 ปี ประชาชนรอคอยเพียงฝนหลวง และปัญหาความมั่นคงของพลังงาน ที่จนถึงวันนั้น ยังไม่รู้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะนิ่ง ณ จุดใด

ขณะที่ปัญหาชายแดนได้เปลี่ยนมิติไปมาก หากกรุงเทพเผชิญหน้ากับโลกาภิวัตน์ตะวันตก ภาค
เหนือก็เผชิญทั้งตะวันตกและตะวันออก ขณะที่ภาคใต้เผชิญโลกาภิวัตน์มุสลิม ส่วนของโลกา
ภิวัตน์ตะวันตกเห็นง่าย มาในรูปแบบของการใช้ชีวิตยุคใหม่ แต่ภาคเหนือมีเงื่อนไขสำคัญคือการขยายตัวของอำนาจจีน ที่เคลื่อนตัวเร็ว และคนไทยท้องถิ่นจะต้องเผชิญ และรับมือการเปลี่ยน
แปลง

"เงื่อนไขสำคัญคือความสงบในพื้นที่พม่า เส้นเขตแดนภาคเหนือมีปัญหาไม่มีข้อยุติ โดยเฉพาะกับประเทศพม่า เพราะระยะ 2,401 กม. แนวชายแดนทางบกและแม่น้ำ ตกลงได้กันได้ราว 50 กิโล
เมตรเท่านั้นที่เหลือเป็นปัญหาได้ตลอดแนว

อย่างไรก็ตามหากความสงบเกิดขึ้นได้ ก็จะเกิดเส้นทางคมนาคมใหม่ๆ ที่จะเชื่อม ภาคใต้ของจีนกับภาคเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งภาคเหนือของไทยคือส่วนหนึ่ง คำถามคือพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เชื่อมนั้น จะทำให้เราเป็นภาคใต้ของจีน หรือจีนเป็นตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

รศ.ดร.สุรชาติกล่าวว่า เส้นทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงรายจะต้องเกิดแน่ ขณะนี้เริ่มมีการเวนคืนแล้ว การค้าในแม่น้ำโขงก็จะต้องเกิด แต่จะสร้างสมดุลย์ได้อย่างไร และเมื่อพื้นที่เหล่านี้เชื่อมกัน 5 สิ่งที่จะตามมาและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคือ คน สินค้า วัฒธรรม สิ่งผิดกฎหมายและเชื้อโรค

"พื้นที่ภาคเหนือจะถูกเชื่อมต่อกับความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ เชียงรายจะเป็นพื้นที่น่าจับตา ซึ่งเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว เช่นสินค้าที่จากจีนที่เข้ามาขายในไทยมากมาย การเกิดขึ้นของบริษัทนำเที่ยวและโรงเรียนสอนภาษาจีนในเชียงราย สิ่งที่น่าจะเตรียมการรับคือเรียนรู้ภาษาจีน และเตรียมรับมือกับผลกระทบเอฟทีเอ และจับตาโรคที่จะมาจากการเคลื่อนย้ายคน เช่นเริ่มมีปัญหาโรคเท้าช้างและมาลาเรียกลับมาแล้วอีกครั้ง"




............................................

หากมองการแผ่อิทธิพลของจีนลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้สู่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นดั่งการวางยุทธศาสตร์การรบแบบในวรรณกรรมอมตะ "สามก๊ก" แล้ว คนและสินค้าจากจีน เปรียบเสมือนทัพหน้าที่แม่ทัพส่งลงมาสอดแนม เจาะทลายแนวรับของข้าศึก รวมทั้งจับทหารฝ่ายตรงข้ามไว้เป็นไส้ศึก ก่อนที่ทัพหลวงจะกรีธาข้ามคูและกำแพงเมืองเข้ายึดค่าย จับตัวแม่ทัพ เพื่อให้ได้ชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จในภายหลัง

ผู้คนที่มาเดินจับจ่ายซื้อของที่ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารัชดาภิเษกในวันเสาร์-อาทิตย์ยังคงเนืองแน่นเป็นปกติ หากเป็นในเวลาทั่วไป "อาปิง" มักไม่นิยมมาที่ห้างนี้ในวันหยุด เพราะนอกจากเขาจะไม่ชอบบรรยากาศพลุกพล่านแล้ว ภาษาไทยของอาปิงยังไม่เจนจัดพอที่จะสื่อสารกับคนไทยได้อย่างลึกซึ้ง เขาจึงชอบมาในช่วงบ่ายของวันธรรมดามากกว่า

แต่วันนี้เขาจำเป็นต้องมาหาซื้อกางเกงยีนส์ตัวใหม่ เพราะในสัปดาห์หน้า เขาต้องเดินทางไประยองกับจันทบุรี เพื่อควบคุมการขนถ่ายทุเรียนจากสวนที่ได้สั่งจองไว้ ให้สามารถส่งขึ้นไปลงเรือที่ท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ได้ทันตามกำหนด

อาปิงเป็นชาวหยุนหนัน บ้านของเขาทำธุรกิจค้าขายผลไม้มา 2 ชั่วอายุคนสิบกว่าปีก่อนตลาดผลไม้ของบ้านเขาส่วนใหญ่อยู่แต่ในเมืองคุนหมิง

แต่หลังจากปี 2546 เมื่อข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างจีนและไทยเริ่มมีผลบังคับใช้ ตลาดผลไม้ของบ้านอาปิงขยายกว้างขึ้น เพราะสามารถส่งผลไม้ล่องลงมาตามแม่น้ำโขง เพื่อขายให้กับพ่อค้าในประเทศไทยที่เชียงแสนได้ในราคาที่ถูกลง ขณะเดียวกันเขาสามารถลงมาหาซื้อผลไม้จากไทย เพื่อนำขึ้นไปขายที่บ้านได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังมีพ่อค้าที่มารับผลไม้ไทยที่บ้านของเขานำเข้าไป เพื่อนำไปขายต่อยังมณฑลอื่นๆ ในจีนเพิ่มมากขึ้น

การที่ตลาดเปิดกว้างขึ้นมากเช่นนี้ ทำให้ 3 ปีก่อนเตี่ยของเขาตัดสินใจส่งเขา กับน้องชายเข้ามาอยู่เมืองไทยเพื่อดูแลการซื้อขายผลไม้ที่นี่โดยเฉพาะ

อาปิงมาอยู่ในกรุงเทพฯ เช่าอพาร์ต เมนต์ขนาดไม่ใหญ่มากอยู่แถวห้วยขวาง ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้รู้จักกับ "น้อย" หญิงไทยวัย 20 เศษ ที่ต่อมาภายหลังเขาได้ว่าจ้างตกแต่งให้เป็นภรรยาตามกฎหมายไทยและใช้ชื่อน้อยในการทำธุรกรรมต่างๆ ในประเทศไทย แทนชื่อของเขาซึ่งเป็นชาวต่างชาติ

บทบาทของอาปิงจะดูแลเรื่องการนำผลไม้จากจีนที่มาส่งยังท่าเรือเชียงแสน ควบคุมการขนส่งจากเชียงแสนมาถึงตลาดไท รวมถึงควบคุมการกระจายผลไม้เหล่านั้น โดยขายส่งให้กับพ่อค้าชาวไทย ที่มารับซื้อผลไม้จากเขา แล้วนำไปขายต่อให้กับพ่อค้าในตลาดค้าปลีกต่างๆ

อาปิงเช่าห้องชั้นล่างของตึกแถวคูหาหนึ่งในตลาดไทเพื่อทำเป็นสำนักงาน โดยมีน้อยภรรยาไทยตามกฎหมาย รับภาระในงานธุรการ รวมทั้งงานเอกสารทั้งหมด

นอกจากดูแลตลาดผลไม้ในไทยให้กับที่บ้านแล้ว ในทางกลับกัน อาปิงยังมีหน้าที่ จัดซื้อผลไม้จากประเทศไทยเพื่อส่งขึ้นไปลงเรือที่ท่าเรือเชียงแสน ซึ่งเรือจะลำเลียงผลไม้ ไปให้เตี่ยและน้องชายคนเล็กของเขา ที่จะมารับผลไม้ที่ท่าเรือจิ่งหง (สิบสองปันนา) แล้วกระจายออกไปขายในจีนอีกต่อหนึ่ง

ส่วน "อาเหลียง" น้องชายคนกลาง ที่มาอยู่เมืองไทยพร้อมกับอาปิง ปักหลักอยู่ที่จังหวัดเชียงราย อาเหลียงแต่งงานกับ "หล้า" หญิงสาวในอำเภอเชียงแสน เพื่ออาศัยชื่อเปิดบริษัทชิปปิ้งอยู่ใกล้ๆ กับท่าเรือเชียงแสน ทำหน้าที่จัดทำเอกสารตาม พิธีการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางเรือ โดย เฉพาะผลไม้ของเขาให้ถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมายศุลกากร ทั้งของไทยและของจีน

ตอนที่อาปิงมาอยู่กรุงเทพใหม่ๆ เขาใช้วิธีการซื้อผลไม้ โดยสั่งผ่านพ่อค้าคนกลางที่นำผลไม้จากสวนไปส่งที่ตลาดไท แต่หลังจากเริ่มรู้ช่องทาง เขาลงทุนเพิ่มขึ้นอีกนิด โดยยอมเดินทางไปถึงสวนผลไม้ต่างๆ และสั่งจองไว้กับเจ้าของสวนล่วงหน้า ตั้งแต่ต้นไม้เริ่มติดดอก

ด้วยยอดสั่งซื้อของเขาแต่ละครั้งมีปริมาณมาก เขาจึงมีโอกาสบล็อกสินค้าคุณภาพดีแต่ได้ราคาที่ต่ำลง เพราะเจ้าของสวนส่วนใหญ่มองว่าการขายแบบยกสวนนั้น สะดวกกว่าทยอยขายให้พ่อค้าคนกลางชาวไทยที่มักไปซื้อที่สวนตอนที่ต้นไม้เริ่มติดผลแล้ว

ยิ่งอาปิงรู้จักเจ้าของสวนหลายคนขึ้นเขาก็เริ่มต่อรองราคากับเจ้าของสวนแต่ละรายได้ง่ายขึ้น เพราะหากสวนหนึ่งไม่ยอมขาย เขาสามารถไปหาผลไม้คุณภาพเดียวกันได้จากสวนอื่นๆ

ต่อมาภายหลัง มีพ่อค้าผลไม้ชาวจีนอีกหลายคนที่ทำธุรกิจคล้ายคลึงกับเขามาชักชวนให้รวมกลุ่มกันเวลาไปซื้อผลไม้ตามสวน ทำให้อำนาจต่อรองของพวกเขาก็ยิ่งสูงขึ้น เพราะปริมาณยอดสั่งซื้อที่เมื่อรวมกันแล้วมีเป็นจำนวนมาก ดึงดูดให้เจ้าของสวนอยากขายมากขึ้น เพราะได้เงินเร็วกว่า แม้จะได้ราคาน้อยลงไปสักนิด

ราคาผลไม้ที่อาปิงซื้อได้ถูกลงหมายถึงกำไร เวลาที่เตี่ยรับผลไม้ไปขายต่อในจีนก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

อาปิงเป็นตัวอย่างเพียงรายเดียวของพ่อค้าชาวจีนที่ทุกวันนี้เข้ามามีบทบาทในการควบคุมกลไกการค้าผลไม้ของ ไทย ชนิดที่แทบจะเรียกได้ว่า "ครบวงจร"

เพราะหากมองจากปลายทางของทั้ง 2 ด้าน ผลไม้จากจีนนำเข้ามายังประเทศไทยผ่านทางแม่น้ำโขง โดยกองเรือขนส่งสินค้าสัญชาติจีนมาขึ้นที่เชียงแสน ผ่านพิธีการศุลกากรโดยชิปปิ้งชาวจีน โดยมีพ่อค้าจีนคุมลงมาส่งและกระจายสินค้าด้วยตนเองถึงตลาดไท

ในทางกลับกัน ผลไม้จากไทยก็ถูกกว้านซื้อถึงสวนโดยกลุ่มพ่อค้าจีน ที่รวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ส่งขึ้นไปลงเรือสินค้าสัญชาติจีนที่เชียงแสน ผ่านพิธีการศุลกากรจากชิปปิ้งชาวจีน เพื่อนำขึ้นไปขายต่อในจีนผ่านทางลำน้ำโขง

คนไทยที่มีส่วนได้ในกระบวนการเหล่านี้มีเพียง 1-เจ้าของสวนที่สามารถขายผลไม้จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว แต่ในราคาที่ไม่สูงมากนัก 2-เจ้าของรถห้องเย็น หรือรถปิกอัพ ที่รับจ้างขนผลไม้จากเชียงรายมายังตลาดไท และขนผลไม้จากภาคตะวันออกของไทยไปส่งที่ท่าเรือเชียงแสน

และ 3-หญิงไทยที่รับจ้างแต่งงาน เพื่อใช้ชื่อออกหน้าในการจัดการเรื่องธุรกิจ รูปแบบการทำธุรกิจลักษณะนี้มิใช่มีเฉพาะแต่ผลไม้จากภาคตะวันออกของไทยเท่านั้น แต่รวมถึงการค้าลำไยอบแห้งในภาคเหนือ ที่ระยะหลังมีปัญหาราคาตกต่ำเกิดขึ้นทุกปี เพราะทุกวันนี้การกำหนดราคารับซื้อลำไยล้วนอยู่ในมือ "พ่อค้าชาวจีน" กว่า 40 รายที่เข้ามาลงทุนทำ "ล้ง" ตามจังหวัดต่างๆ ที่เป็นแหล่งผลิตลำไย

การที่พ่อค้าจีนเหล่านี้สามารถกำหนดราคารับซื้อกันเองได้ชนิดวันต่อวัน เพราะคนกลุ่มนี้เป็นผู้ผูกขาดซื้อล็อตใหญ่อยู่เพียงกลุ่มเดียว

ขณะที่สินค้าอื่นๆ ของไทย อาทิ พืชผักหลายชนิด ซึ่งเป็นที่ต้องการบริโภคในจีน กลุ่มพ่อค้าจีนก็ใช้วิธีการรวมกลุ่มกันไปจองซื้อถึงสวนในจังหวัดนครปฐมและขน ขึ้นไปส่งยังท่าเรือเชียงแสนเช่นกัน

สถานการณ์ที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นข้อเท็จจริงที่กำลังเกิดขึ้นกับภาคส่งออกผักผลไม้จากไทยไปจีนในทุกวันนี้

ขณะที่ภาคการส่งออกสินค้าอื่น ที่ทุกฝ่ายพยายามผลักดันให้สินค้าไทยเข้าไปยึดครองตลาดในจีนให้ได้ แต่ด้วยระเบียบการค้าของจีน ซึ่งกำหนดให้สินค้าแต่ละชนิดที่จะวางจำหน่ายในจีนได้ต้องได้รับใบ อนุญาตขาย 1 ชนิดสินค้าต่อ 1 ไลเซนส์ กลับกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ยังไม่เคยมีการต่อรองกันให้ผ่อนปรนลงมาแม้แต่น้อย

ที่ผ่านมา การส่งสินค้าจากไทยไปจีน โดยเฉพาะสินค้าโอทอปที่รัฐบาลพยายามให้การสนับสนุน หากต้องการเปิดตลาดในจีนให้ได้ต้องเป็นการขายโดยพ่อค้าชาวจีนเท่านั้น

ดังนั้น ผู้ผลิตชาวไทยที่ต้องการขายสินค้าเหล่านี้โดยตรงในจีน จึงจำเป็นต้องอาศัยลักษณะของการฝากขายผ่านคนรู้จักหรือนำสินค้าร่วมขบวนไปกับกลุ่ม หรือหน่วยงานที่เดินทางไปจัดงานแสดงสินค้า โดยระบุให้เป็นเพียงสินค้าตัวอย่าง



สถานการณ์ดังกล่าวดูช่างแตกต่างจากสินค้าจากจีนหลากหลายประเภท ที่ขณะนี้ได้เข้ามายึดครองตลาดส่วนใหญ่ในไทยไปได้แล้วอย่างเหนียวแน่น

ด้วยราคาที่ถูกกว่า รวมถึงการเข้ามามีบทบาทควบคุมกลไกการค้าของพ่อค้าชาวจีนถึงในถิ่น ทำให้ผู้ผลิตสินค้าไทยหลายรายได้รับผลกระทบจากการหลั่งไหลเข้ามาของสินค้าจีนเหล่านี้

ว่ากันว่า ทุกวันนี้พ่อค้าจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย เพื่อควบคุมดูแลการค้าของเขามีเป็นจำนวนมาก อาจสูงถึงหลักร้อยหลักพันคน

ย่านห้วยขวางและสุทธิสารกำลังกลายเป็นชุมชนที่พักอาศัยของชาวจีนแห่งใหม่ คล้ายคลึงกับเยาวราชเมื่อกว่า 100 ปีก่อน

อพาร์ตเมนต์แถบนี้คลาคล่ำไปด้วยคนจีนที่มาพักอาศัยอยู่กับภรรยาชาวไทย

ตึกแถวริมถนนรัชดาภิเษก ช่วงสี่แยกตัดถนนสุทธิสาร มีแหล่งบันเทิงที่เปิดขึ้นเพื่อต้อนรับลูกค้าชาวจีนโดยเฉพาะ

ห้างสรรพสินค้าโรบินสันและคาร์ฟูร์ สาขารัชดาภิเษก มีกรุ๊ปทัวร์ชาวจีนมาจับจ่าย ซื้อสินค้าสัปดาห์ละหลายกลุ่ม จนห้างทั้ง 2 แห่งต้องให้พนักงานขายเรียนพูดภาษาจีนเพื่อให้สามารถสื่อสารกับลูกค้ากลุ่มใหญ่กลุ่มนี้ได้

กรุ๊ปทัวร์เหล่านี้ส่วนหนึ่ง เข้ามาโดยวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว แต่มีอีกบางส่วนที่เข้ามาหาช่องทางการค้าและยกระดับตนเองขึ้นมาเป็นพ่อค้าจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในภายหลัง

สิ่งที่ต้องพึงพิจารณาสำหรับการหลั่งไหลเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยของพ่อค้าชาวจีนเหล่านี้คือ

คนกลุ่มนี้มิได้เข้ามาเพื่อหวังพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เหมือนคนจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเมื่อกว่า 100 ปีก่อน

แต่เขาเหล่านี้เข้ามาเพื่อหวังดูแลการค้าและหวังได้ "กำไร" ขนกลับไปที่บ้าน

เราจะวางยุทธศาสตร์ตั้งรับการเข้ามาของทัพหน้าเหล่านี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิด





Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 9 กันยายน 2553 7:32:07 น. 4 comments
Counter : 4426 Pageviews.

 
โอ้โหเป็นเรื่องที่น่าคิดจริงๆค่ะ ขอบคุณที่เอามาให้อ่านนะคะ อ่านแล้วก็กลัวหน่อยๆตรงที่แล้วต่อไปเศรษฐกิจในบ้านเราใครจะรับผิดชอบ แล้วถ้าเค้าเข้ามาอยู่มากแบบนั้นคนไทยจะอยู่ยังงัย เค้าหุ้บพื้นที่ไม่ได้ แต่เค้าจะหุ้บเราทางในทางธุรกิจหรือเปล่า


โดย: หนึ่งลมหายใจ วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:03:51 น.  

 

ก็คงต้องช่วยกันภาวนาให้

ปี ค.ศ. 2012 เกิดไฟบรรลัยกัลป์ มาล้างโลก จริง ๆ


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:23:41 น.  

 
ขอบคุณครับ ที่เอามาให้อ่าน


โดย: bigjinbook วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:21:05 น.  

 
ไม่ใช่เท่านั้นหรอกค่ะ เพราะเวลานี้ เชื้อสายจีนแทรกซึมทั่วโลก


โดย: กระจ้อน วันที่: 10 มีนาคม 2553 เวลา:20:12:48 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chuk007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add chuk007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.