ตัดต่อสร้าง Bloggif บอนสี (Caladium) ประทีป บอนสี สร้างสีสันให้สวนคุณสวยสดใส จำหน่ายหัวบอนสีหลายสายพันธุ์
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2557
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 สิงหาคม 2557
 
All Blogs
 

บอนสี โบราณ เพชรแท้ในถิ่นไทย

บอนสี โบราณ เพชรแท้ในถิ่นไทย

   ในวงการบอนสีนั้น มีคำถามเสมอว่า "บอนสีของไทย" มีถิ่นกำเนิดมาจากที่ใหน ม.ล.ประจวบ นพวงศ์ อดีตนายกสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย ซึ่งคลุกคลีอยู่ในวงการบอนสีมายาวนาน (ขณะนี้ได้วายชนม์แล้ว) และเขียนเรื่อง "วิวัฒนาการของบอนสี" ไว้ในหนังสือ วารสารบอนสีฉบับครบรอบปีที่17 ปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นข้อเขียนอันทรงคุณค่าด้านวิชาการ  และประวัติความเป็นมาของบอนสีในประเทศไทยอย่างมาก และเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายในชีวิตของท่าน ม.ล.ประจวบ นพวงศ์ กล่าวไว้ว่า "ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุณหภูมิอากาศร้อนชื้นเป็นสภาพอากาศที่บอนสีชอบ จึงสันนิษฐานได้ว่า ต้องมีบอนสีที่เป็นบอนสีพื้นบ้านของไทยเราเกิดขึ้นแล้วในสมัยกรุงสุโขทัย มาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ยืนยันกันได้ว่าบอนสีพื้นบ้านหรือเรียกกันว่าบอนโบราณมีกันอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น บอนที่มีชื่อว่าพระเสวก วัวแดง ช้างเผือกใบบัว จนถึงสมัยกรุงรัตนะโกสินทร์ ก็เกิดบอนสีพื้นบ้านอีกหลายชนิด เช่นต้นที่มีชื่อว่า กรมเจ้าท่า เสือเหลือง เสือโคร่ง และสาวใหม่ เฉพาะต้นที่ชื่อสาวใหม่นี้ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหิงห้อย ชมสวน ปัจจุบันนี้เรียกว่า สาวน้อยปะแป้ง"

           ในปลายปี พ.ศ.2541 ช่วงที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงแปรพระราชฐานยังตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส มีพระราชเสาวนีย์ว่า ที่จังหวัดนราธิวาสมีบอนสีเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งในป่าพรุ และในสวนยางพารามากมายหลายสายพันธุ์สีสันสวยงามอีกด้วย เห็นควรให้จังหวัดนราธิวาสเป็นแหล่งปลูกบอนสี นายเจริญ เจษฎาพงศ์ เกษตรจังหวัดนราธิวาส กล่าวไว้ว่า "จากการสำรวจพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พบว่ามีบอนสีสายพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดนราธิวาสหลายสายพันธุ์ ตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ เช่นสายพันธุ์อิเหนา ม่านนางพิมพ์ แดงวัว และเจ้าเงาะเป็นต้น ซึ่งมีอยู่มากมายในอำเภอต่างๆ ของจังหวัดนราธิวาส"

           ขณะนี้มีผู้ค้าต้นไม้หลายรายหันมาค้าหัวบอนสีส่งออก ลักษณะสำคัญที่ต้องการคือ เป็นบอนสีที่เลี้ยงง่าย แข็งแรง สวย บอนสีที่มีอยู่ตามท้องตลาด ปัจจุบันนี้สวยงามมากในสนามประกวดบอนสีของสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย จะเป็นเครื่องยืนยันความสวยงามของบอนสีสายพันธุ์ผสมที่เกิดขึ้นจากฝีมือคนไทยได้เป็นอย่างดี สวยงามกว่าสายพันธุ์ต่างประเทศมากมายนัก ผู้ค้าเห็นแล้วพอใจเป็นอันมาก (รวมทั้งนักปลูกต้นไม้ในแถบเอเชีย ประเทศไทยของเราก็นิยมชมชอบหาซื้อบอนสีไปปลูกกันเป็นจำนวนมากๆ แต่ติดอยู่ที่ความแข็งแรงในการปลูกในสภาพอากาศธรรมดามีน้อย บางต้นบางสายพันธุ์ไม่เจริญงอกงามเลย)

           ข้าพเจ้าเดินทางไปจังหวัดทางภาคใต้ พบว่ามีบอนสีพื้นเมืองของไทยที่สวยงามเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่แล้วแต่ผลิตให้ไม่ทัน ก็มี เช่น อิเหนา ม่านนางพิมพ์ เจ้าเงาะ แม้แต่นางไหม ซึ่งเป็นบอนป้าย คือมีสีเขียวและแดงอย่างละครึ่งในใบเดียวกัน ข้าพเจ้าเคยคิดว่าเป็นบอนฝรั่ง แต่คนนราธิวาสบอกว่ามีเยอะแยะ เขาเรียกว่า สาวสองหน้า. มาที่จังหวัดกระบี่หรือตรัง จำไม่ได้แน่นอนนักไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติหน้าที่ทำการอุทยานมีบอนสีขึ้นอยู่ทั่วไปหมด เป็นบอนสีเม็ดเล็กขาวพราว เหมือน "ปีกนกกระทา" แต่ไม่มีไครทราบชื่อ เคยไปสุราษฎร์ธานีในสวนเงาะก็มีบอนสีประเภทเจ้ากรุงเดนมาร์ก ขึ้นอยู่ทั่วๆไป

           ข้าพเจ้าจึงคิดว่า นอกจากเราจะขยายพันธุ์บอนโบราณที่สวยงามมากเหล่านี้ (โดยเฉพาะบอนสีแสดที่ชื่อเจ้าเงาะ หรือผีเสื้อสมุทรนี้ไม่มีในตลาดโลก) ขายส่งไปต่างประเทศแล้ว การผสมพันธุ์ระหว่างบอนโบราณกับสายพันธุ์ใหม่ แต่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จะทำให้เราได้ลูกไม้สายพันธุ์ใหม่ เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศได้อย่างหลากหลายมากขึ้น

            บอนพื้นบ้านหรือบอนโบราณซึ่งเปรียบเหมือนเพชร เป็นเพชรแท้จริงต้นทุนของเรา ที่เรามีอยู่แล้วพร้อมที่จะทำให้เราหยิบมาเจียรไนเป็นอัญมณีอันล้ำค่า เป็นสมบัติของผืนแผ่นดินไทย ที่คนไทยน่าจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

            นี่คือความภูมิใจของคนไทยทั้งผอง   เป็นครรลอง   บอนสีที่สดใส   หยิบเพชรแท้ถิ่นเรามาเจียรไน   เป็นบอนไทยเวรี่เวรี่บิวตี้เอย

(ขอขอบคุณ หนังสือวาสารบอนสี อ.เสริม พงศ์ทอง สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย)




 

Create Date : 15 สิงหาคม 2557
0 comments
Last Update : 15 สิงหาคม 2557 21:48:57 น.
Counter : 7435 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


teepcaladium
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add teepcaladium's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.