กันยายน 2557

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
 
 
เทคนิคการเลี้ยงไหมวัยอ่อน

1. ไหมวัยอ่อน หมายถึง ตัวหนอนไหมตั้งแต่วัย1-วัย3 การเจริญเติบโตรวมประมาณ 10 วัน
2. การเก็บใบหม่อนสำหรับเลี้ยงไหมวัย อ่อน จะทำการเก็บหม่อนจากใบที่ 3-4 นับจากยอดลงมา เนื่องจากไหมวัยอ่อนต้องการใบหม่อนที่มีความอ่อนนุ่ม
3. การให้ใบหม่อนและการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสม ทำการหั่นใบหม่อนให้มีความกว้าง 1.5-2.0 x 1.5-2.0 เซนติเมตร พอขึ้นวัย3 หั่นใบหม่อนให้ขนาดโตขึ้นได้ ในการขยายพื้นที่เลี้ยงให้ใช้ตะเกียบเพื่อป้องกันการติดแพร่ระบาดของโรค เนื่องจากวัยอ่อนมีโอกาสในการติดเชื้อได้ง่าย พื้นที่ที่เหมาะสม คือขยายให้หนอนไหมไม่เกาะติดกันมากนัก เพื่อให้การระบายอากาศในกระด้งเลี้ยงมีการถ่ายเทอากาศดี เมื่อถึงวัย3พื้นที่เลี้ยงประมาณ 4.0 ตารางเมตร สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหมวัยอ่อน(วัย1-วัย3) คือ อุณหภูมิประมาณ 28, 27, 26 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90, 85, 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นในการเลี้ยงไหมวัยอ่อนบางครั้งเจอสภาพอากาศที่ร้อนและแล้งมากเกษตรกรจะนำวัสดุพื้นบ้าน เช่น กาบกล้วย มาใช้ในการควบคุมความชื้นภายในกระด้งเลี้ยงไหม หรือใช้ใบตองกล้วยมาปิดกระด้งเลี้ยงไหม เป็นการช่วยรักษาให้ใบหม่อนสดตลอดเวลา หรือทำการลาดน้ำที่พื้นห้องเลี้ยงเพื่อช่วยเพิ่มความชื้น ทั้งนี้ภายในห้องเลี้ยงไหมควรมีเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้งเพื่อวัดอุณหภูมิและความชื้นจดบันทึกรายละเอียดของอุณหภูมิและความชื้นตลอดทั้งรุ่นการเลี้ยง เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการการเลี้ยงไหมที่ดี
4. การจัดการไหมนอนและไหมตื่น
- ไหมนอน หมายถึง หนอนไหมหยุดกินอาหาร เพื่อการเปลี่ยนวัยแต่ละวัยหนอนไหมจะหยุดกินใบหม่อนประมาณ 1 วันหรือ 1 วันครึ่ง โดยจะมีลักษณะชูหัวขึ้นและหยุดการเคลื่อนไหว โดยทั่วไปจะต้องทำการโรยปูนขาวในกระด้งเลี้ยงไหมเพื่อปรับลดความชื้นลง
- ไหมตื่น หมายถึง หนอนไหมที่ผ่านการนอนพักหยุดกินใบหม่อนและตื่นขึ้นมาพร้อมกับทำการลอกคราบเพื่อขึ้นสู่วัยใหม่และขยายตัวให้โตขึ้น การดูแลไหมตื่นนอน คือ ให้ทำการโรยปูนขาวหรือสารพาราฟอร์มาดีไฮด์ความเข้มข้น 3 เปอร์เซนต์ เพื่อป้องกันเชื้อโรคพร้อมกับการให้ใบหม่อนที่หั่นเป็นชิ้นๆ ขนาดขึ้นอยู่กับวัยแต่ละวัย
- การถ่ายมูลไหม หมายถึง การทำความสะอาดกระด้งเลี้ยงไหมโดยการเอาเศษเหลือใบหม่อนและมูลไหมออกจากตัวหนอนไหม เมื่อให้ใบหม่อนประมาณ 2 มื้อ หลังจากไหมตื่นให้ทำการถ่ายมูลไหม โดยวางตาข่ายถ่ายมูลลงบนกระด้งเลี้ยงไหมแล้วให้ใบหม่อนบนตาข่าย ตัวหนอนไหมก็จะไต่ขึ้นมากินใบหม่อนที่อยู่บนตาข่าย แล้วให้ยกตาข่ายที่มีตัวหนอนไหมออกไปวางในกระด้งเลี้ยงไหมใบใหม่ เศษใบหม่อนและมูลไหมก็จะเหลืออยู่ที่กระด้งเลี้ยงไหมใบเก่า กรรมวิธีดังกล่าว เรียกว่า การถ่ายมูลไหม วัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำความสะอาดกระด้งเลี้ยงไหมให้สะอาด ลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหม ทั้งนี้ให้ทำการถ่ายมูลทุกครั้งหลังจากที่ไหมตื่นนอน

คลิกเพื่อดูรูปขนาดจริง คลิกเพื่อดูรูปขนาดจริง คลิกเพื่อดูรูปขนาดจริง

คลิกเพื่อดูรูปขนาดจริง




Create Date : 29 กันยายน 2557
Last Update : 13 ตุลาคม 2557 9:38:44 น.
Counter : 1451 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1576963
Location :
ร้อยเอ็ด  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มาเริ่มต้นรู้จักกัน