Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2549
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
10 กรกฏาคม 2549
 
All Blogs
 
การพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก

การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นในสมัยกึ่งพุทธกาล ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๑ เพื่อจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรมขึ้น อันเป็นจุดเริ่มต้นในการพิจารณากำหนดเขตที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม รวมทั้งได้ประกาศเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อให้อุตสาหกรทำการลงทุนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่กำหนดไว้ (สันติ วิลาศศักดานนท์. ๒๕๔๖:๑)

การพัฒนากิจการอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันรัฐบาลได้นำแนวความคิดในการจัดระบบคลัสเตอร์มาใช้ในการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทที่เกี่ยวข้องกันเข้าไว้ในพื้นที่เดียวกัน อันจะก่อให้เกิดความประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินกิจการ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่รัฐบาลได้เสนอต่อรัฐสภาไว้ว่า จะทำการปรับโครงสร้างการผลิตในภาคอตุสาหกรรมและการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ โดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทักษะฝีมือ ภูมิปัญญาไทย ศักยภาพในการผลิตและการตลาด และการใช้วัตถุดิบภายในประเทศให้สมดุลกับการพึ่งพาจากต่างประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐาน และเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะก่อให้เกิดผลต่อเนื่องต่อการปรับโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม (www.thaigov.go.th)

จากนโยบายที่กำหนดประกอบกับความรุนแรงของการแข่งขันในเวทีการค้าโลก ทำให้ไทยจำเป็นต้องเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมต่างๆให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ภายใต้ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของไทย คือ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในรูปแบบคลัสเตอร์ (Cluster) ดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งจะดึงภาคธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือมีความเกี่ยวข้องกันในห่วงโซ่การผลิต (Value Chain) รวมทั้งสถาบันที่เกี่ยวข้อง เข้ามาตั้งอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน ซึ่งในคลัสเตอร์นั้นๆ จะมีลักษณะของชุมชนธุรกิจ (Business Community) ที่เป็นที่รวมของผู้ผลิตสินค้า ผู้ป้อนสินค้าหรือวัตถุดิบ (Suppliers) ผู้ให้บริการในด้านต่างๆ สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์ฝึกอบรม ตลอดจนหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้องต่างๆ

การพัฒนาอุตสาหกรรมในรูปแบบคลัสเตอร์นี้ ได้ดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดตั้งพื้นที่เขตอุตสาหกรรมเฉพาะทางขึ้นเป็นรายสาขา ซึ่งได้มีการกำหนดพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเฉพาะทางขึ้นมาแล้วหลายอุตสาหกรรม และได้มีการจัดทำเขตอุตสาหกรรม SMEs ขึ้นควบคู่กันกับนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะทางนี้ด้วย โดยมุ่งหวังให้เป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผ่านความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องอยู่ในคลัสเตอร์นั้น ซึ่งจะเป็นแนวทางที่นำไปสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอุตสาหกรรมนั้นๆในเข้มแข็งขึ้น

เมื่อพิจารณาถึงการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม และเพื่อความสะดวกในการส่งผลผลิตออกสู่ตลาดต่างประเทศ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดก็คือภาคตะวันออก ซึ่งสามารถเดินทางไปได้ในระยะเวลาอันสั้น มีท่าเรือและระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสม ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้มีการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเป็นจำนวนมาก

การพัฒนาภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเป็นฐานการผลิตของประเทศ และพัฒนาเมืองเพื่อรองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานคร เริ่มดำเนินการพัฒนาตามแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกระยะที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๓๗) และแผนพัฒนาฯ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๗) จนถึงปัจจุบันใช้เวลาในพัฒนาเกือบ ๓๐ ปีแล้ว ซึ่งผลการพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วทำให้การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อคนโดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาและเป้าหมายการพัฒนาทุกด้านไม่ว่าสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองและสิ่งแวดล้อม

ผลสำเร็จของการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือความล้มเหลวของการพัฒนา มีความสำคัญต่อประเทศในการเป็นแม่แบบหรือบทเรียนของการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย เนื่องจากเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมครบวงจรโครงการแรกของไทย ประกอบกับทำเลที่ตั้งมีผลกระทบสูงต่อพื้นที่อื่น เพราะตั้งอยู่ในบริเวณแหล่งผลิตอาหารของประเทศ และริมทะเลอ่าวไทย มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนมลพิษสู่ระบบนิเวศ ซึ่งจะกระทบถึงสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมทั้งมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นจำนวนมาก

ปัญหาของการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่สำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา มีดังต่อไปนี้

๑. ความชัดเจนของนโยบายของรัฐบาล แม้ว่าจะมีการส่งเสริมการลงทุนในภาคตะวันออกเป็นจำนวนมากตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้แล้วก็ตาม แต่การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่สมบูรณ์ นับตั้งแต่การก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ ณ จังหวัดสมุทรปราการ การขยายเส้นทางคมนาคม การพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟและทางน้ำ ฯลฯ อันเป็นผลมาจากในอดีต ประเทศไทยมีรัฐบาลซึ่งไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนตัวคณะรัฐมนตรีและเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยครั้ง แต่สถานการณ์เหล่านี้เริ่มคลี่คลายลงจากการที่พรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐบาลสมัยที่สอง ทำให้การดำเนินนโยบายมีความต่อเนื่องและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

๒. การใช้อำนาจควบคุมตามกฎหมาย เพื่อให้ผู้ประกอบการระมัดระวังในการดำเนินงานใด ๆ อันมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางนิเวศน์วิทยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการควบคุมสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม และสภาพแวดล้อมทางสังคม

๓. การกำหนดมาตรการให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ จะต้องสอดคล้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับกลุ่มจังหวัด เพื่อให้การดำเนินอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกสามารถดำเนินการได้โดยไม่มีความขัดแย้งในระดับท้องถิ่น

๔. ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

นอกจากอุตสาหกรรมการผลิตทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อมแล้ว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ยังเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่นำรายได้เข้าสู่ภาคตะวันออกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เนื่องจากในภาคนี้มีทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างมากมาย ครบทุกประเภท ทั้งทะเล ภูเขา การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

บรรณานุกรม

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย. กรุงเทพ:อัดสำเนา. ๒๕๔๖

สันติ วิลาศศักดานนท์. นิคมอุตสาหกรรมกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. ๒๕๔๖.

Microsoft Co. Encarta 2002. CD-ROM. 2002.

//www.thaigov.go.th



Create Date : 10 กรกฎาคม 2549
Last Update : 10 กรกฎาคม 2549 8:35:33 น. 3 comments
Counter : 2501 Pageviews.

 
ถ้าดูจากแผนที่ทางอากาศ หรือจากgoogle earth เห็นชัดเลยเจ้าค่ะว่า จ.สมุทรปราการ เป็นตัวปล่อยมลพิษลงในแหล่งน้ำ อาชญากรรมก็มากขึ้น

เข้ไม่ได้อยู่ที่นั่นหรอกเจ้าค่ะ

แม่เล่าให้ฟังว่า.. คนต่างจังหวัดส่วนมากที่ย้ายเข้ามาทำงานในกรุงเทพ และพักอาศัยในย่านสมุทรปราการมากขึ้นทุกวัน ในขณะที่ ไม่มีการโอนย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาในพื้นที่ ทำให้การจัดสรรงบประมาณซึ่ง จัดตามรายหัวประชากร ไม่เป็นไปตามจริง สมุทรปราการ จึงมีงบประมาณบำรุงรักษา น้อยกว่าที่ควรจะเป็น(ตามจริง)..

แม่บอกตะเข้ตามนี้อ่ะเจ้าค่ะ

ส่วนเข้อยู่แถวลาดกระบัง แถวนี้ มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วในระยะไม่กี่ปีมานี้ ทางรถไฟขยายกว้างออกไป เริ่มมีรถติดเป็นช่วงๆ ..ก็ใจหาย มีหลายคนไม่ชอบรวมทั้งตะเข้ด้วยเจ้าค่ะ ..แต่คงเลี่ยงไม่ได้ ..



โดย: ตะเข้ IP: 124.120.34.242 วันที่: 18 กรกฎาคม 2549 เวลา:23:29:00 น.  

 
ปากน้ำเป็นย่านอุตสาหกรรมเก่าแก่ ที่คุณแม่พูดผมก็เห็นด้วยครับ

การที่ กทม.เติบโตอย่างไร้ทิศทางเช่นนี้ เพราะการพัฒนาเมืองหลักในภูมิภาคต่างๆ ไม่ประสบความสำเร็จ (โครง
การเมืองหลักนั้นเริ่มพูดกันในสมัยนายกชวนฯ ๑ แต่ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างจนทุกวันนี้ )

ในต่างประเทศ จะเห็นได้ว่า แต่ละเมืองมีความเจริญใกล้เคียงกัน ประชากรจึงกระจายบกันไปทั่วประเทศ แต่ของเรากระจุกตัวอยู่ใน กทม. เพราะเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ทั้งการศึกษา ธุรกิจ ราชการ ฯลฯ จึงเป็นแรงดูดที่สำคัญอันมีผลต่อการย้ายถิ่นของกำลังแรงงานทั้งจากชนบทไทย และแรงงานต่างด้าว ซึ่งจะทำให้ กทม.ทวีปัญหามากขึ้นทุกขณะ


โดย: พ.อ.อนุชาติ บุนนาค (anuchartbunnag ) วันที่: 19 กรกฎาคม 2549 เวลา:22:04:03 น.  

 
ก็ดีนะคะหาได้ง่ายด้วย


โดย: เจนนริน อิงคนันท์ IP: 14.207.186.106 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:17:54:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

anuchartbunnag
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add anuchartbunnag's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.