Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2549
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
10 กรกฏาคม 2549
 
All Blogs
 

เทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ คือ เทคนิคการนำสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต มาพัฒนาเพื่อการปรับปรุงพืช สัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อประโยชน์เฉพาะตามที่เราต้องการ ในสมัยโบราณประมาณ ๖,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียน และบาบิโลเนียน เริ่มรู้จักการนำยีสต์มาหมักเป็นเบียร์ ต่อมาชาวอียิปต์ได้ค้นพบการทำขนมปังโดยใส่เชื้อยีสต์ลงไปในแป้งสาลี ในเอเซียมีการค้นพบวิธีถนอมอาหารในรูปแบบต่างกัน เช่น คนไทยรู้จักการทำ ปลาร้า ปลาเจ่า แหนม ผักกาดดอง ซีอิ้ว หรือการนำข้าวมาหมักเป็นข้าวหมาก และสุราพื้นบ้าน ซึ่งเริ่มทำกันมาตั้งแต่ยุคสุโขทัย

เทคโนโลยีชีวภาพได้ทวีความสำคัญมากขึ้นจากอดีตสู่ปัจจุบัน โดยเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาทางการแพทย์และเภสัชกรรม เช่นการค้นคิดและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เป็นต้น ส่วนในด้านเกษตรกรรม เทคโนโลยีชีวภาพได้เป็นความหวังใหม่ที่จะนำมาประยุกต์ช่วยแก้ปัญหาผลผลิตด้านเกษตรของโลก เพราะเมื่อประชากรโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกยังคงเท่าเดิม ปริมาณความต้องการผลิตอาหารจึงเพิ่มมากขึ้น จนเป็นที่คาดคะเนกันว่า ในอีก ๔๐ ปีข้างหน้านี้ โลกของเราจะต้องการผลิตอาหารเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ ๒๕๐ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงเพิ่มผลิตทางด้านการเกษตรและอาหาร

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ได้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการถ่ายฝากยีนในพืช เช่น พืชที่มีการตกแต่งยีน (Transgenic Plant) สามารถทำให้ผลผลิตการเกษตรมีคุณภาพดีขึ้น มีปริมาณที่มากเพียงพอต่อความต้องการของประชากรโลก นอกจากนี้การพัฒนาพันธุ์พืชโดยเทคโนโลยีชีวภาพก็มีความก้าวหน้าอย่างมาก และได้พัฒนาอย่างแพร่หลายในผลผลิตทางเกษตรที่สำคัญๆ ตัวอย่างเช่น การพัฒนามะเขือเทศในสุกงอมช้า ทำให้มะเขือเทศเก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสีย สามารถขนส่งไปจำหน่ายไกลๆ ได้ หรือการพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานแมลง ใบยาสูบ มะเขือเทศ ข้าวโพด ฝ้าย เพื่อลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิตและรักษาสิ่งแวดล้อม การปรับลดสารโคเลสเตอรอลในไข่แดงของไข่ไก่ เพื่อมิให้มีปริมาณโคเลสเตอรอลสูง (วารสารก้าวทันโลกกับไบโอเทคฯ ๒๕๔๑:๓)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาวิวัฒนาการของเทคโนโลยีชีวภาพได้นำคุณประโยชน์มาสู่ประชาคมโลกอย่างมาก ผลงานวิจัยที่โดดเด่นในด้านต่างๆ มีอาทิ

๑. เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ไผ่ การพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืช โรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า

๒. เทคโนโลยีชีวภาพเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร คือ การเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันในพืชคาโนล่า

๓. เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม คือ การลดการใช้สารเคมีที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การผลิตปุ๋ยชีวภาพจากสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะหรือน้ำเสีย

๔. เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบโรคทางพันธุกรรม

การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ โดยเฉพาะการนำพืชดัดตัดแต่งยีนเข้ามาในประเทศนั้นมีการควบคุมภายใต้ พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ.๒๕๐๗ และประกาศเพิ่มเติมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การประกาศให้พืชตัดแต่งยีน ๔๐ ชนิดเป็นสิ่งต้องห้าม ดังนั้น หากมีผู้ประสงค์จะนำเข้าพืชตัดแต่งยีนเข้ามาทดลองในประเทศไทยจะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมวิชาการ-เกษตร โดยต้องผ่านกระบวนการของทางราชการ ทั้งนี้ การนำพืชตัดแต่งยีนเข้ามาทดลอง มี
วัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ว่าการปลูกพืชตัดแต่งยีนดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นหรือสิ่งแวดล้อม และมีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้เป็นอาหาร (//library.riu.ac.th)

ประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๒๖ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของหน่วยงานในภาครัฐและเอกชน และดำเนินการวิจัยและพัฒนาอันจะเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ เกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม
ผลงานวิจัยที่ได้มีการคิดค้นหรือทำประโยชน์ในเมืองไทย อาทิเช่น

๑. การพัฒนาพันธุ์พืชและผลิตผลจากพืช ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ พริก ถั่วฝักยาวให้ต้านทานต่อศัตรูพืชด้วยเทคนิคการตัดต่อยีน การปรับปรุงและขยายพันธุ์พืชที่เหมาะกับเกษตรกรที่สูง เช่น สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง

๒. การพัฒนาชนบทและเกษตรกรรายย่อย ได้แก่ การผลิตไหลสตรอเบอรี่สำหรับปลูกในภาคเหนือและอีสาน การใช้จุลินทรีย์ควบคุมโรคในแปลงปลูกมะเขือเทศ ขิง สตรอเบอรี่

๓. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ การขยายและปรับปรุงพันธุ์ กล้วย กล้วยไม้ ไผ่ ไม้ดอกไม้ประดับ หญ้าแฝก

๔. การพัฒนาปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน และปุ๋ยสาหร่าย

๕. การพัฒนาเทคโนโลยีลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ได้แก่ การตรวจการปลอมปนข้าวหอมมะลิ การตรวจพันธุ์ปลาทูน่า

๖. การพัฒนาพันธุ์สัตว์และการตรวจวินิจฉัยโรคสัตว์ ได้แก่ การตรวจหาไวรัสสาเหตุโรคหัวเหลืองและจุดขาวจุดแดงในกุ้งกุลาดำ

๗. การวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ ได้แก่ การตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก โรคทางเดินอาหาร การพัฒนาวิธีตรวจหาสารต่อต้านมาเลเรีย วัณโรคจากพืชและจุลินทรีย์ การพัฒนาการเลี้ยงเซลล์มนุษย์และสัตว์

สถาบันที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญในประเทศไทย

ส่วนราชการ

๑. ศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) มีภารกิจในการ สร้างพลวัตรทางเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเทคโนโลยีเพื่อการผลิตของประเทศ และพัฒนาความเป็นอยู่ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมของประชาชนชาวไทยให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น (www.biotec.or.th)

๒. ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ (//biodiversity.biotec.or.th)

กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณาการให้สัตยาบัน (Ratification) ต่ออนุสัญญาฯ และพิจารณามาตรการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเหมาะสม คณะอนุกรรมการฯ ได้ตั้งคณะทำงานยกร่าง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบฯ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๑ และในที่สุดได้รับการประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๓ ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ นั้น ได้กำหนดให้มี คณะกรรมการการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (กอช.) และมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) จัดตั้ง "ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ" เพื่อทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการให้กับ กอช. ในการประสานงานบริหารจัดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของไทย เพื่อรองรับการดำเนินงานในอนาคต ที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ นอกจากนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้พิจารณาขยายขอบเขตภารกิจของ องค์กรประสานงานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพให้สามารถดำเนินงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยรวมถึงงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพด้วย

องค์การระหว่างประเทศ

United Nations Environment Programme มีภารกิจในการประสานความร่วมมือระหว่างนานาชาติเพื่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตของมนุษยชาติ (www.unep.org)

องค์การเอกชน

๑. องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย หรือ เครือข่ายสิทธิภูมิปัญญาไทย (BIOTHAI) เป็น การรวมตัวขององค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชน นักวิชาการและข้าราชการที่เห็นความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้โดยเริ่มต้นกิจกรรมการรณรงค์และให้การศึกษาแก่สาธารณะเกี่ยวกับประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพในสังคมไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นต้นมา การดำเนินกิจกรรมของไบโอไทยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการประมาณร้อยละ ๕๐ จากรัฐบาล เช่น จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการวิจัย และการจัดประชุมทางวิชาการ (www.biothai.net)

๒. องค์การสันติภาพเขียว จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยไม่ใช้วิธีการรุนแรง ดำเนินการได้โดยการ เงินบริจาคจากผู้ที่รักสิ่งแวดล้อม และปฏิเสธที่จะรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลและภาคเอกชน

ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ

พืชผลดัดแปลงพันธุกรรมผลิตขึ้นโดยใช้เทคนิคในห้องทดลอง โดยมีการนำวัสดุพันธุกรรมจากเซลล์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ไม่มีทางเกิดขึ้นเองจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น การใส่ยีนจากปลาอาร์กติกใส่ในมะเขือเทศ และสตรอเบอร์รี่ เพื่อให้ทนทานต่อความหนาวเย็น ซึ่งปลาและมะเขือเทศไม่มีทางผสมพันธุ์กันได้เองตามธรรมชาติ
ปัจจุบัน อาหารดัดแปลงพันธุกรรมทั้งหมดผลิตและขายโดยบริษัทเคมีขนาดใหญ่ พืชผลดัดแปลงพันธุ์กรรมส่วนใหญ่ทั่วโลกปลูกในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอาร์เจนตินา สิ่งมีชีวิตประดิษฐ์ที่ได้นี้อาจออกแบบมาเพื่อให้ "ประโยชน์" บางอย่างแก่ผู้ปลูก (เช่น ทนทานต่อยาฆ่าแมลง) แต่ก็มักจะมีผลรองลงมาอย่างอื่นที่ไม่อาจคาดเดาได้ เนื่องจากพืชผลดัดแปลงพันธุกรรมเป็นสิ่งมีชีวิต พืชเหล่านี้จึงอาจเล็ดรอดออกไปแพร่พันธุ์ในสิ่งแวดล้อมเปิด ดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเก็บพืชผลดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้กลับคืน โดยเฉพาะเมื่อเกิดความผิดพลาดอย่างไม่คาดคิดขึ้นแล้ว ปัญหาบางประการที่เกี่ยวข้องกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม ได้แก่ การทำให้เกิดพิษหรืออาการภูมิแพ้ที่ไม่คาดคิด เนื่องจากพันธุวิศวกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีความแน่นอน การใส่ยีนแปลกปลอมจึงอาจกระตุ้นให้เกิดโปรตีนที่ไม่คาดคิด ซึ่งอาจเป็นพิษ หรือทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการภูมิแพ้ หรืออาจมีผลข้างเคียงต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ยีนก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ ตัวอย่างหนึ่งก็เช่น ยีนบราซิลนัท ซึ่งมีการนำไปใส่ในถั่วเหลือง ถั่วเหลืองนี้ทำให้คนที่แพ้นัท เกิดอาการแพ้ขึ้นอย่างไม่คาดคิด จึงต้องป้องกันไม่ให้ถั่วเหลืองนี้เข้าสู่ตลาดได้ โชคยังดีที่อาการแพ้นัทเป็นอาการที่พบบ่อย จึงสามารถตรวจสอบได้

การดื้อยาปฏิชีวนะ ในการทดลองนักวิทยาศาสตร์ทำการใส่ยีนดื้อยาปฏิชีวนะทั่วไป เพื่อตรวจสอบว่ากรรมวิธีทางการพันธุวิศวกรรมได้ผลหรือไม่ แม้จะมีเจตนาใช้ยีนเหล่านี้เป็นเพียง "ยีนบ่งชี้" แต่พวกมันก็มีอยู่ทั่วไปในอาหารดัดแปลงพันธุกรรม แพทย์ทั่วโลกเตือนว่าการใช้ยีนดื้อยาปฏิชีวนะอย่างกว้างขวางเช่นนี้ อาจทำให้ยาปฏิชีวนะบางชนิดไม่มีผลในการรักษาโรคของมนุษย์และสัตว์ สหภาพยุโรปและสมาคมแพทย์ทั่วโลกได้เรียกร้องให้ห้ามการใช้เครื่องหมายอันตรายเหล่านี้

ผลต่อสิ่งแวดล้อม - พืชผลดัดแปลงพันธุกรรมอาจก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่มีพฤติกรรมรุกราน โลกได้เห็นถึงผลเสียหายร้ายแรงที่สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว เมื่อพวกมันกลายเป็นสัตว์รบกวน (เช่น การปล่อยหอยทากทองในฟิลิปปินส์) ตัวอย่างผลกระทบอันตรายจากพืชผลดัดแปลงพันธุกรรมที่พบหลักฐานแล้ว ได้แก่ การปล่อยสารพิษลงสู่ดิน การเป็นพิษต่อแมลงที่มีประโยชน์และไม่มีอันตราย เช่น แมลงเลซวิงส์ หรือตัวอ่อนของผีเสื้อโมนาร์ค และการสร้าง "ซูเปอร์วัชพืช" ที่แข็งแรง เช่น ในแคนาดา ทุ่งปลูกคาโนลาดัดแปลงพันธุกรรม ส่งผลให้เกิดเมล็ดคาโนลาที่ทนทานต่อยาปราบวัชพืชถึงสามชนิด

การปนเปื้อนของเมล็ดพันธุ์และพืชผล - แม้ว่าผู้บริโภคและเกษตรกรจำนวนมากทั่วโลกจะพยายามหลีกเลี่ยงอาหารและพืชผลดัดแปลงพันธุกรรม แต่ผู้คนก็ยังพบว่าแม้แต่ในวัตถุดิบไม่ดัดแปลงพันธุกรรมก็ยังมีการปนเปื้อน กรณีนี้เกิดจากการผสมเกสรข้ามพันธุ์ เมื่อละอองเกสรปนเปื้อนปลิวไปตามลม หรือเมื่อเมล็ดพืชแพร่กระจายออกไปในสิ่งแวดล้อม หรือมีการผสมระหว่างการจัดการ ทั้งยังเริ่มปรากฏชัดด้วยว่า ยีนสามารถเคลื่อนย้ายด้วยกระบวนการที่เรายังไม่ค่อยเข้าใจนัก เรียกว่า การถ่ายยีนเชิงระนาบ โดยแบคทีเรียจะเก็บวัสดุพันธุกรรมและแลกเปลี่ยนมันกับแบคทีเรียตัวอื่นๆในดินหรือในลำไส้ จึงเป็นที่เกรงว่าเมื่อเวลาผ่านไป ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปนเปื้อนสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดขึ้น ก็จะสายเกินไป

นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางจริยธรรมและสังคมหลายประการ เช่น อาหารดัดแปลงพันธุกรรมตัดทางเลือกของผู้บริโภค - ผู้บริโภคในฟิลิปินส์ถูกปฏิเสธสิทธิที่จะเลือกไม่กินอาหารดัดแปลงพันธุกรรม เนื่องจากมีการปนเปื้อนแพร่หลายที่เกิดจากพืชผลดัดแปลงพันธุกรรม และพืชผลดัดแปลงพันธุกรรมหลายชนิดไม่ได้มีการเก็บแยกออกจากระบบอาหาร เรื่องนี้เป็นปัญหาสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากฟิลิปปินส์ไม่มีการติดฉลากหรือควบคุมอาหารดัดแปลงพันธุกรรม

โจรสลัดชีวภาพ

เพื่อให้ได้ลักษณะเฉพาะที่ต้องการ บริษัทเคมีมักใช้ยีนจากพืช สัตว์ และแบคทีเรียที่หาได้จากประเทศยากจนกว่า ซึ่งมักเป็นแหล่งของความหลากหลายทางชีวภาพ
ส่วนใหญ่ กำไรและผลประโยชน์จากการใช้ยีนเหล่านี้จะเพิ่มพูนให้บริษัทที่ทำธุรกิจการเกษตรในประเทศซีกโลกเหนือ ผลคือมีการขโมยยีนเหล่านี้จากประเทศยากจนเพื่อป้อนกำไรให้บริษัท จากนั้นบริษัทข้ามชาติก็จะอาศัยกฎหมายสิทธิบัตรนานาชาติ บังคับให้ตนเป็นเจ้าของยีนเหล่านี้

การสูญเสียสิทธิของเกษตรกร - เนื่องจากเมล็ดพืชดัดแปลงพันธุกรรมมีสิทธิบัตร บริษัทเมล็ดพืชจึงสามารถควบคุมการใช้เมล็ดเหล่านี้ได้อย่างเคร่งครัด เกษตรกรสหรัฐที่ปลูกพืชผลดัดแปลงพันธุกรรมต้องเซ็นสัญญาเจาะจงว่าจะปลูกพืชผลอย่างไร และสัญญาว่าจะไม่เก็บเมล็ดไว้ หากพบว่าเกษตรกรเก็บเมล็ดไว้ บริษัทเคมีเหล่านี้ก็จะฟ้องร้องเกษตรกร ด้วยเหตุนี้เกษตรรายย่อยจึงสูญเสียสิทธิในการเก็บเมล็ดพืช ซึ่งเป็นรากฐานของความมั่นคงด้านอาหาร ตั้งแต่เริ่มมีการเพาะปลูก ขณะนี้บริษัทพืชผลดัดแปลงพันธุกรรมได้ควบคุมการค้าเมล็ดพืชทั่วโลก และเกษตรกรสหรัฐก็ได้รายงานว่าเมล็ดพืชไม่ดัดแปลงพันธุกรรมกำลังกลายเป็นของหายาก

การดัดแปลงพันธุกรรมเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ- เนื่องจากพันธุวิศวกรรมข้ามพรมแดนสายพันธุ์ และแทรกแซงธรรมชาติ เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ไม่มีทางเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ผู้คนจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการดัดแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งในด้านจริยธรรมและด้านศาสนา เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ พระสันตะปาปาทรงมีพระดำรัสคัดค้านพืชผลดัดแปลงพันธุกรรม ในการแถลงต่อเกษตรกรประมาณ ๕๐,๐๐๐ คนจากอิตาลี และประเทศอื่นๆ ในพิธีกลางแจ้งพิเศษที่จัดขึ้น ณ นครวาติกัน (www.greenpeacesoutheastasia.org)

การใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการทหาร

อาวุธชีวภาพ (biological weapon) คืออาวุธที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ซึ่งครอบคลุมถึงตัวสิ่งมีชีวิตเอง สารพิษจากสิ่งมีชีวิต หรือแม้กระทั่งฮอร์โมนหรือสารอื่นใดที่สิ่งมีชีวิตผลิตขึ้นมา

การนำอาวุธชีวภาพมาใช้ในการสงครามนับเนื่องได้ตั้งแต่ยุคโรมันเรืองอำนาจเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีก่อน มีการนำซากสัตว์มาทิ้งลงในแหล่งน้ำของข้าศึก พวกตาต้าก็เคยใช้ศพมนุษย์โยนข้ามกำแพงเมืองคัฟฟาเพื่อให้เกิดโรคระบาดและในขณะเดียวกันก็สร้างความหวั่นไหวในลักษณะของสงครามจิตวิทยาเหนือข้าศึก (www.totse.com) ในการสงครามยุคใหม่ ประเทศญี่ปุ่นจัดตั้งหน่วย ๗๓๑ ขึ้นในแมนจูเรียเมื่อปี ค.ศ.๑๙๑๘ มีภารกิจในการทดลองและพัฒนาอาวุธชีวภาพโดยตรง ด้วยการพัฒนาอาวุธเคมีและเชื้อโรคโดยใช้เชลยชาวจีนและรัสเซียเป็นเครื่องทดลอง

ปี ค.ศ.๑๙๔๐ นาซีพัฒนาอาวุธเชื้อโรคจากเชื้อ Rickettsia และ ค.ศ.๑๙๔๒ อังกฤษพัฒนาอาวุธเชื้อโรคโดยการเพาะเลี้ยงเชื้อแอนแทรกซ์ ซึ่งในปีเดียวกันนี้สหรัฐอเมริกาเริ่มการพัฒนาเชื้อแอนแทรกซ์เป็นครั้งแรกและได้นำไปทำการวิจัยในสมรภูมิเกาหลีในปี ค.ศ.๑๙๕๐ (//lib-sh.lsumc.edu) ในทศวรรษปัจจุบันญี่ปุ่นยังมีการวิจัยเชื้อไวรัสอิโบล่าเพื่อการสร้างอาวุธ และเป็นที่เชื่อกันว่าในปีนั้นมีประเทศต่าง ๆ ในโลกถึง ๑๗ ประเทศที่มีอาวุธชีวภาพอยู่ในความครอบครอง

ประเภทของเชื้อโรคที่ใช้นำมาสร้างอาวุธชีวภาพ

๑. แอนแทรกซ์

๒. ฝีดาษ

๓. กาฬโรค

๔. Q Fever

๕. Tularemia

๖. Viral Encephalitides

๗. Viral Hemorrhagic Fevers (VHF)

๘. Botulinum Toxin

เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้อาวุธชีวภาพสามารถทำลายข้าศึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๑. ปริมาณของอาวุธชีวภาพ

๒. การออกแบบระบบการบรรจุ

๓. ระบบนำส่งอาวุธไปในระยะไกลและมีความแม่นยำ

๔. ความสามารถในการกระจายตัวเหนือเป้าหมาย

อาวุธชีวภาพ เป็นอาวุธที่มีอำนาจการทำลายสูง และสามารถพัฒนาขึ้นได้โดยง่ายด้วยงบประมาณที่ไม่มากนัก เปรียบเสมือนอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศยากจน จึงเป็นที่หวั่นเกรงกันว่ากลุ่มก่อการร้ายจะนำมาใช้ในการทำลายเป้าหมายทั้งของรัฐและพลเมืองในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ดังเช่นที่ปรากฎมาแล้วจากกรณีกลุ่มโอมชินริเกียวทำการปล่อยแก๊ซซารินในสถานีรถไฟใต้ดินกลางนครโตเกียวในปี พ.ศ.๒๕๓๘ ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที ๑๒ คน และบาดเจ็บกว่า ๓,๐๐๐ คนและในปัจจุบันสหรัฐอเมริกาก็เตือนญี่ปุ่นให้พึงระวังการตกเป็นเป้าโจมตีของอาวุธชีวภาพจากกลุ่มก่อการร้ายอัลไคดาดังเช่นสหรัฐฯ เนื่องจากทั้ง ๒ ประเทศมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น (www.nationchannel.com)

ประเทศไทย เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ มาเป็นระยะเวลายาวนาน อีกทั้งขบวนการก่อการร้ายต่าง ๆ ก็มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ทั้งกรณีการก่อการร้ายในภาคใต้ การใช้ประเทศไทยเป็นแหล่งสะสมอาวุธของกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม และ ฯลฯ การเตรียมการรับมือจากการก่อการร้ายทางชีวภาพยังมิได้ดำเนินการอย่างจริงจัง ทั้งที่อาวุธชีวภาพมีความร้ายแรงและก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องเป็นระยเวลายาวนาน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเริ่มวางแผนและซักซ้อมทั้งในภาครัฐและเอกชนโดยด่วนต่อไป

บรรณานุกรม

วารสารก้าวทันโลกกับไบโอเทคฯ ฉบับที่ ๑ เดือน ก.ค.๒๕๔๑.

//library.riu.ac.th

//www.biotec.or.th

//lib-sh.lsumc.edu

//www.biothai.net

//www.greenpeacesoutheastasia.org

//www.unep.org





 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2549
45 comments
Last Update : 10 กรกฎาคม 2549 0:13:26 น.
Counter : 2227 Pageviews.

 



ได้ความรู้มากกกกกกกกกก ค่ะ เยี่ยม ๆ

 

โดย: K a Y IP: 203.149.7.226 10 กรกฎาคม 2549 14:12:22 น.  

 

เยี่ยมมาก

 

โดย: x IP: 139.94.80.115 11 กรกฎาคม 2549 0:21:53 น.  

 

กำลังอยากเขานี้พอดี แต่งไม่รู้จบมาจะทำอะไร ตอนนี้พอจะมีแนวทางมั่งแล้วล่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

 

โดย: =v= IP: 203.113.57.73 14 กรกฎาคม 2549 21:12:06 น.  

 

เนื้อหาดีมากๆ ขอบคุณนะค่ะ

 

โดย: ยุ้ย IP: 203.172.116.14 23 สิงหาคม 2549 20:14:06 น.  

 

ช่วยหางานให้หน่อยจ๊ะ
เกี่ยวกับเรื่อง การประยุกต์ใช้เพื่อสิ่งแวดล้อม นะ
ยกตัวอย่างแย้วบอกว่าใช้สารอะไรในการทำ

 

โดย: แอม IP: 61.19.163.239 2 กันยายน 2549 21:14:35 น.  

 

 

โดย: กวาง IP: 203.172.108.37 3 กันยายน 2549 8:55:08 น.  

 

ดี

 

โดย: กก IP: 203.150.134.142 10 กันยายน 2549 13:31:31 น.  

 

 

โดย: นภสิทธิ์ บุญมาสืบ IP: 203.172.106.216 27 กันยายน 2549 21:08:17 น.  

 

เนื้อหาดีๆๆๆ

 

โดย: อ้อมน่ารัก IP: 125.24.129.38 28 พฤศจิกายน 2549 9:54:56 น.  

 

เนื้อหาดีๆๆๆ

 

โดย: อ้อมน่ารัก IP: 125.24.129.38 28 พฤศจิกายน 2549 9:56:13 น.  

 

คริคริ

 

โดย: บิ๊ก IP: 203.158.136.3 29 พฤศจิกายน 2549 15:39:38 น.  

 

กำลังอยากได้เนื้อหาเรื่องนี้อยุ่พอดี

 

โดย: แป้ง IP: 58.8.23.66 5 ธันวาคม 2549 14:26:18 น.  

 

ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: ผู้ที่อยากรู้ IP: 203.113.45.228 5 ธันวาคม 2549 17:32:10 น.  

 

ดีมากๆๆค่ะ อย่าไปสนใจคนปากหมาที่ว่าเรยน่ะค่ะ

 

โดย: คนดี IP: 58.8.63.140 11 ธันวาคม 2549 13:34:37 น.  

 

เนื้อหามีสาระมากคะ
แต่อยากให้ช่วยเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ การผลิตวัคซีนโดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม
ขอบคุณมากค่ะ

 

โดย: je IP: 202.28.62.245 8 มกราคม 2550 15:13:55 น.  

 

กำลังอยากได้เนื้อหาเรื่องนี้อยุ่พอดี



 

โดย: ตุ๊กตา IP: 125.24.130.8 9 มกราคม 2550 21:36:06 น.  

 

สุดยอดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: se7en IP: 203.113.81.5 17 กุมภาพันธ์ 2550 8:33:53 น.  

 

 

โดย: Hamter IP: 203.113.81.167 25 กุมภาพันธ์ 2550 16:03:49 น.  

 

ดีมากค่ะ

 

โดย: คนอยากรู้ IP: 124.120.5.112 26 กุมภาพันธ์ 2550 16:42:07 น.  

 

ขอบคุณนะค่ะ ได้ความรู้มากๆเลย

กำลังทำรายงานหา เนื้อหาเรื่องนี้พอดีเลย
เป็นประโยชน์มากๆค่ะ

 

โดย: FusSk!tteN IP: 58.64.120.105 14 สิงหาคม 2550 15:03:07 น.  

 

rerereefrt

 

โดย: rerrer IP: 203.113.51.68 28 สิงหาคม 2550 20:33:49 น.  

 

งงเยยเนื้อหาแยะๆๆๆๆๆๆๆๆๆงงม๊ากมากเยยอ่ะยังหาข้อมูนส่งจานไม่ได้เลยw<

 

โดย: ม่ายบอก IP: 61.19.236.222 9 ธันวาคม 2550 9:56:54 น.  

 

ดีมากกกกกกกกกกๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: fuyu IP: 124.157.229.85 20 ธันวาคม 2550 19:43:17 น.  

 

ดี

 

โดย: น่ารัก IP: 125.24.137.225 17 กรกฎาคม 2551 11:33:33 น.  

 

ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยค่ะ

 

โดย: มิว IP: 124.157.164.55 27 กรกฎาคม 2551 13:34:14 น.  

 

ขอบคุนมากๆค่ะ มีประโยชน์มาก

พอดีกำลังทำรายงานอยู่ เหอๆ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ

 

โดย: pinokioz IP: 125.25.17.54 9 สิงหาคม 2551 22:23:52 น.  

 

อยากจะทราบว่าจะมีวิธีการใดบ้างคะที่เราจะใช้เทคโนโลยีชีวภพ รวมทั้งเทคโนดลยีด้านอิ่นๆได้อยางคุ้มค่าและเหมาะสมหนะคะ ใครทราบช่วยเสนอะแนะด้วยคะ ขอบคุณคะ

 

โดย: นับดาว IP: 118.172.104.103 25 กันยายน 2551 15:37:26 น.  

 

ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้เกี่ยวกัยเทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวกับพืชขอขอบคุณมากจริงๆๆๆๆๆคร้าบ

 

โดย: ดใชใกนกพล ศรีบุรมย์ โรเรียนอุดรพิทยานุกูล IP: 202.151.4.103 19 กุมภาพันธ์ 2552 20:07:51 น.  

 

ขอบคูณมาก

 

โดย: ฝน IP: 125.26.247.15 23 พฤษภาคม 2552 9:22:18 น.  

 

เนื้อหาสนุกมากมาย^.^

 

โดย: นางาโตะ IP: 203.170.213.34 23 มิถุนายน 2552 9:21:37 น.  

 

ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: นโม IP: 202.149.25.225 4 กรกฎาคม 2552 21:14:03 น.  

 

ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: ปอนด์zaza007 IP: 114.128.75.165 29 กรกฎาคม 2552 21:54:57 น.  

 

เนื้อหาดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: nice p.p. IP: 192.168.212.238, 127.0.0.1, 125.27.176.59 30 กรกฎาคม 2552 13:46:18 น.  

 

มีสาระดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: say p.p. IP: 192.168.212.238, 127.0.0.1, 125.27.176.59 30 กรกฎาคม 2552 13:47:52 น.  

 

ดีมากเลยคะ

 

โดย: มายดี้ IP: 124.120.55.57 10 สิงหาคม 2552 18:03:02 น.  

 

ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยค่ะแต่หน้าจะมีภาพบรรยายนะ

 

โดย: น้ำฝน IP: 118.172.205.30 16 สิงหาคม 2552 10:45:40 น.  

 

อยากได้เนื้อหาเทคโนโลยีชีวภาพที่แน่นกว่านี้ค่ะ

 

โดย: แนน IP: 117.47.2.206 6 กันยายน 2552 10:17:42 น.  

 

เนื้อหาพอที่จะสามารถทำรายงานส่งครูได้เลยนะครับขอบคุณจริงๆเละอ่ะ

 

โดย: บี้เดอะสตาร์มาเอง IP: 110.49.35.127 12 กันยายน 2552 15:12:48 น.  

 

ดีมาก

 

โดย: แจ๊ควัดสุท IP: 124.121.81.172 10 มิถุนายน 2553 19:09:30 น.  

 

ขอบคุณคร๊าบบบบบบบ

 

โดย: fong beer IP: 180.180.64.45 29 มิถุนายน 2553 19:32:04 น.  

 

ขอบคุนมากนะคะ^^

 

โดย: BeerFong IP: 183.89.10.224 1 สิงหาคม 2553 17:12:55 น.  

 

ขอบคูนมากฮะ เป็นข้อมูลที่ดีมา

 

โดย: I love Mom IP: 182.232.222.86 9 สิงหาคม 2553 19:53:49 น.  

 

กำลังอยากได้อยู่พอดี.....ขอบคุณคะ

 

โดย: คนรักเมืองทอง/ลีซอ IP: 118.172.119.38 12 สิงหาคม 2553 17:53:14 น.  

 

เนื้อหาดีมากกกกกกกกกกเลย

 

โดย: เด็กnarak IP: 125.24.192.107 7 กันยายน 2553 9:35:13 น.  

 

อยากได้ข้อมูลจากwww.biotec.or.thมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: มิ้นท์ IP: 113.53.46.242 20 กรกฎาคม 2554 13:21:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


anuchartbunnag
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add anuchartbunnag's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.