SPRNW38FightFight...We will win again!!!!
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
1 ตุลาคม 2552
 
 
เราเคยคุยอะไรกันแล้วบ้าง 1

ลองทบทวนหน่อยนะคะ ว่าเราเคยคุยกันไว้แบบนี้รึเปล่า

บันทึกผลการดำเนินกิจกรรม ครั้งที่ 1
โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ปีการศึกษา 2552

สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 37 จำนวน 189 คน
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2552 เวลา 08.00 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุมราชาวดี ชั้น 6 อาคารอำนวยการ

****************************
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1. ผ.อ.วาณี โพธิ์นคร
2. อ.สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์
3. ดร.นิรนาท วิทยโชติกิติคุณ
4. อ.ปริทรรศน์ วันจันทร์
5. อ.ชุติมา ชลประทิน
6. อ.วาสนา คงคะดี
7. อ.สิริกานต์ แรงกสิกร
8. นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4A จำนวน 92 คน
9. นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4B จำนวน 97 คน


วัตถุประสงค์กิจกรรม
1. การชี้แจงรายละเอียดโครงการ
2. สอบถามรูปแบบการเตรียมความพร้อมที่นักศึกษาต้องการ
3. ทำข้อตกลงร่วมในการดำเนินโครงการ
4. ให้แรงเสริม และให้แรงจูงใจ


เริ่มกิจกรรมเวลา 08.00 น.

กิจกรรม
1. อ.ปริทรรศน์ วันจันทร์ ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการจัดการศึกษาของวิทยาลัยฯ ปีการศึกษา 2552 โดยอธิบายถึงการช่วงการเรียนภาคทฤษฎีของ นศ.ชั้นปีที่ 4 จำนวน 5 รายวิชา ซึ่งจะเริ่มเรียนตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 – สัปดาห์ที่ 12 และหลังจากนั้นจะเป็นการเรียนภาคปฏิบัติ จำนวน 4 รายวิชา ซึ่งมีการจัดแบ่งนักศึกษาเพื่อฝึกปฏิบัติงานออกเป็น 6 กลุ่มใหญ่ โดยตามตารางแต่ละกลุ่มจะมีการจัดให้มีการปิดเทอมสลับกันทั้งหมด 4 ช่วงๆ ละ 4 สัปดาห์ และอาจารย์ชี้แจงว่าการปิดเทอมดังกล่าวนี้ ทางฝ่ายวิชาการได้มีการวางแผนไว้เพื่อถามความสมัครใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการจัดตารางการติวความรู้ให้แก่นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 ว่าต้องการให้มีการจัดติวหรือไม่ หากต้องการให้มีการจัดติว นักศึกษาต้องการให้จัดกี่สัปดาห์
มติที่ประชุม
- นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ต้องการให้มีการจัดติวในช่วงการปิดดังกล่าว แต่ขออนุญาตยังไม่ลงมติเรื่องจำนวนสัปดาห์การติว

2. อ.สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์ ชี้แจงเกี่ยวกับความสำคัญของการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งในปีนี้สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 37 จะเหลือเวลาในการเตรียมความพร้อม ประมาณ 307 วัน หากสภาการพยาบาลกำหนดวันสอบเป็นวันที่ 27 – 28 มีนาคม 2553
นอกจากนั้นอาจารย์ได้มีการสอบถามถึงความพร้อมและการเตรียมตัวเพื่อการสอบครั้งนี้ ผลปรากฏว่านักศึกษายังไม่พร้อม และส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีการวางแผนการทบทวนความรู้ด้วยตนเอง อาจารย์จึงสอบถามถึงความหวังต่อการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ว่ามีความคาดหวังเพียงใด ผลปรากฏว่ามีนักศึกษาจำนวนไม่มากที่ตอบว่าต้องการสอบผ่านทั้งหมด 8 วิชา อาจารย์จึงถามว่าเพราะอะไรนักศึกษาจึงไม่ตอบว่าต้องการสอบผ่านทั้งหมด 8 วิชา นักศึกษาจึงตอบว่าตนเองยังไม่มีความพร้อมพอที่จะตอบเช่นนั้น อาจารย์จึงให้ข้อคิดและกำลังใจแก่นักศึกษาว่า หากนักศึกษาไม่มุ่งมั่น หรือไม่มีความหวัง นักศึกษาจะไม่มีกำลังใจในการเตรียมตัวสอบ รวมทั้งจะส่งผลให้อาจารย์ที่ร่วมดูแลหมดกำลังใจไปด้วย นักศึกษาจึงตอบว่าต้องการสอบผ่านทั้งหมด 8 วิชา 100 เปอร์เซ็นต์
อาจารย์จึงมอบหมายงานให้นักศึกษาเขียนแผนการทบทวนความรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาเพื่อการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ และนักศึกษาต้องการทบทวนหัวข้อใดเป็นพิเศษโดยอาจารย์ท่านใด หรือมีข้อเสนอแนะในการติวจากเดิมอย่างไร ให้นักศึกษาเขียนเสนอแนะมาในใบงานที่จะนำส่งอาจารย์เพื่อนำไปปรับใช้ในกระบวนต่อไป

มติที่ประชุม
- นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เสนอให้ส่งแผนดังกล่าวในวันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2552 ที่ อ.สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์ เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อไป

3. อ.ชุติมา ชลประทิน ชี้แจงผลการดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ปีการศึกษา 2551 สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 36 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ โดยนำเสนอในรูปแบบการบรรยายพร้อม Power point สรุปผลการดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งมีการให้กำลังใจนักศึกษาเป็นระยะๆ
นอกจากนั้น อาจารย์ยังแนะนำรูปแบบการเตรียมของรุ่นพี่ รุ่นที่ 36 ที่อาจารย์แนะนำและเห็นผลว่าเกิดประโยชน์ เช่น การฝึกสมาธิในนักศึกษาที่ทราบตนเองว่าไม่มีสมาธิเพียงพอในการอ่านหนังสือ หรือรู้สึกว่าอ่านหนังสือมากแต่กลับจำไม่ได้ หรือรูปแบบของการแบ่งหัวข้อในรายวิชาต่างๆ ไปทบทวน และเมื่อถึงกำหนดนัดหมาย นักศึกษาผู้รับผิดชอบจะดำเนินการติวให้แก่เพื่อนๆ หรือการแลกเปลี่ยนข้อสอบเก่าจากเพื่อนๆ ต่างสถาบัน เพื่อนำมาเป็นข้อสอบในการทบทวนความรู้ของนักศึกษาเป็นระยะๆ ซึ่งนักศึกษาบอกว่าเป็นรูปแบบการเตรียมตัวที่ดีมาก
และในช่วงสุดท้าย อาจารย์ได้มีการสอบถามความสมัครใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการจัดตารางการติวความรู้ให้แก่นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 ว่าต้องการให้มีการจัดติวกี่สัปดาห์ในช่วงที่มีการปิดเทอมกลุ่มละ 4 สัปดาห์ และสอบถามถึงช่วงเวลาในการจัดโครงการฯ ในสัปดาห์ที่ 34 หรือวันที่ 11 มกราคม 2553 นั้น นักศึกษามีความต้องการให้อาจารย์จัดตารางติว/ทบทวนความรู้ให้จนถึงช่วงใด โดยให้ข้อเสนอแนะจากรุ่นที่ 36 ว่าแต่เดิมนักศึกษารุ่นที่ 36 ต้องการขอเวลาช่วงหลังโครงการปัจฉิมนิเทศเพื่อการทบทวนด้วยตนเอง แต่ผลปรากฏว่า นักศึกษากลับรู้สึกว่าเมื่อกลับไปทบทวนด้วยตนเอง นักศึกษารู้สึกไม่มั่นใจในการทำการเฉลยข้อสอบเก่า ไม่มีสมาธิเท่าที่ควร จึงเสนอแนะให้อาจารย์ควรจะมีการจัดติว/ทบทวนความรู้จนถึงสัปดาห์ที่มีการสอบจริง

มติที่ประชุม
- นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้มีการลงมติออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. จัดติว 2 สัปดาห์ เห็นด้วย 10 คน
2. จัดติว 3 สัปดาห์ เห็นด้วย 16 คน
3. จัดติว 4 สัปดาห์ เห็นด้วย 163 คน
สรุป นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ต้องการให้มีการจัดติว 4 สัปดาห์ในช่วงการปิดเทอม 4 สัปดาห์ของแต่ละกลุ่ม และต้องการให้มีการจัดติว/ทบทวนความรู้อย่างเต็มที่ รวมทั้งช่วงเวลาภายหลังการจัดโครงการปัจฉิมนิเทศด้วย
- อ.ชุติมา ชลประทินรับทราบมติที่ประชุม และรับปากว่าจะนำมติที่ประชุมไปชี้แจงแก่คณาจารย์ผู้มีส่วนร่วมในการติว/ทบทวน เพื่อการวางแผนเวลา/รูปแบบการติว ทบทวนความรู้ต่อไป พร้อมทั้งให้คำชมในความทุ่มเทของนักศึกษา ซึ่งส่งผลให้คณาจารย์ทุกคนมีกำลังใจเต็มที่ในการทบทวนความรู้ให้แก่นักศึกษาเช่นกัน

4. อ.วาสนา คงคะดี เริ่มกิจกรรมโดยสอบถามนักศึกษาเกี่ยวกับเป้าหมายในการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ว่านักศึกษาแต่ละคนมีเป้าหมายอย่างไร ทำเพื่อใคร เพื่ออะไร นักศึกษาส่วนหนึ่งตอบว่า ทำเพื่อพ่อแม่ เพื่อวิทยาลัย เพื่ออาจารย์ เพื่อความภาคภูมิใจในตนเอง อาจารย์จึงสรุปคำตอบทบทวนให้แก่นักศึกษา และอธิบายว่าการจะทำการใหญ่ใดๆ ก็แล้วแต่ จำเป็นที่จะต้องมีเป้าหมายซึ่งเปรียบเสมือนกำลังใจ เป็นแรงกระตุ้นให้ฮึกเหิมเมื่อเราเกิดความท้อแท้ เหน็ดเหนื่อย หรืออ่อนแรง และแนะนำว่านักศึกษาอาจมีการเขียนเป้าหมายของนักศึกษาดังกล่าวไว้ตามที่ต่างๆ ที่นักศึกษามองเห็นได้ง่าย เพื่อเป็นการกระตุ้นนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอด้วยตนเอง
นอกจากนั้น อาจารย์ได้สอบถามถึงการวางแผนการจัดแบ่ง การบริหารเวลาในการอ่านหนังสือ ในการดำเนินชีวิตกับเวลาที่เหลือ มีนักศึกษาจำนวนน้อยที่แสดงความคิดเห็น เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่ตอบว่ายังไม่มีแผนการชัดเจน อาจารย์จึงเสนอแนะว่าแท้ที่จริงแล้วเวลาที่เหลือในการเตรียมตัวสอบสภานั้นมีไม่ถึง 307 วัน เพราะใน 307 วันนี้ นักศึกษามีช่วงเวลาเรียนภาคทฤษฎีซึ่งถือว่าค่อนข้างมีเวลาในการอ่านหนังสือทบทวนมากที่สุดเพียง 12 สัปดาห์ ซึ่งรวมการสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การปิดเทอมและการซ่อมเสริม 1 สัปดาห์ด้วย ดังนั้น เวลาที่แท้จริงในช่วงของการอ่านหนังสืออย่างเต็มที่ มีเวลาเพียง 9 สัปดาห์เท่านั้น ดังนั้น หากนักศึกษาไม่มีการวางแผนในการอ่านทบทวนความรู้เพื่อการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ 8 รายวิชา เวลาที่เหลือเพียงเท่านี้อาจไม่เพียงพอสำหรับนักศึกษาก็ได้ และนอกจากนั้น ในช่วงของการฝึกภาคปฏิบัติในภาคการเรียนที่ 2 นอกจากนักศึกษาต้องตั้งใจฝึกปฏิบัติและทำงานตามการออกแบบการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติแล้ว นักศึกษายังต้องวางแผนในการจัดแบ่งเวลาเพื่อการอ่านหนังสือทบทวนเพื่อการสอบอีกด้วย ดังนั้น นักศึกษาจงใช้เวลาที่เหลือในช่วงการเรียนภาคทฤษฎีนี้ทบทวนความรู้ให้มากที่สุด และเมื่อมีการจัดตารางการสอนเสริมให้นักศึกษาในช่วงปิดเทอม กลุ่มละ 4 สัปดาห์ จะทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้เร็วขึ้นอีก
อาจารย์จึงมอบหมายงานให้นักศึกษาเขียน จำนวน 2 ชิ้น คือ
1. เป้าหมายของการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ของศึกษาว่าทำเพื่ออะไร เพื่อใคร
2. ให้นักศึกษาวางแผนการใช้ชีวิตประจำวันกับการจัดแบ่งเวลาเพื่อการทบทวนความรู้กับเวลาที่เหลือทั้งหมด โดยให้วางแผนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงอีกด้วย


มติที่ประชุม
- นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เสนอให้ส่งเป้าหมายและแผนดังกล่าวในวันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2552 ที่ อ.วาสนา คงคะดี เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อไป

5. ผู้อำนวยการวาณี โพธิ์นคร ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชา-รักษ์ นครสวรรค์ ชี้แจงเกี่ยวกับผลการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ครั้งที่ 1/2552 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 36 ว่าสามารถสอบผ่าน 8 รายวิชา ถึง ร้อยละ 75.65 ซึ่งถือเป็นนักศึกษารุ่นที่มีผลการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ผ่าน 8 รายวิชา ในครั้งที่ 1 ที่มากที่สุดของวิทยาลัยฯ เท่าที่มีการสอบมา และเมื่อมีการจัดลำดับผลการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ผ่าน 8 รายวิชา ในครั้งที่ 1 ของวิทยาลัยในสถาบันพระบรมราชชนก ปรากฏว่า วิทยาลัยของเราได้เปอร์เซ็นต์สูงสุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ซึ่งเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง และนอกจากนั้น คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และรุ่นน้องก็รู้สึกภาคภูมิใจกับความสำเร็จของนักศึกษาด้วย และที่สำคัญที่สุดคงเป็นความภาคภูมิใจของพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง และตัวนักศึกษาเอง
นอกจากนั้น ผู้อำนวยการได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในช่วงการเป็นนักศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาล กรุงเทพ เทคนิคการอ่านหนังสือให้จำได้ดี และสามารถนำขึ้นไปปรับใช้ได้จริงในการฝึกภาคปฏิบัติ และส่งผลทำให้สามารถนำความรู้ที่มีมาปฏิบัติงานและพัฒนาต่อมาจากการเป็นพยาบาลวิชาชีพ จนเปลี่ยนสายงานมาเป็นอาจารย์พยาบาล และเป็นผู้บริหารวิทยาลัยต่อไป
ในช่วงสุดท้าย ท่านผู้อำนวยการได้ให้กำลังใจ และอวยพรให้นักศึกษาทุกคนมีกำลังใจ และสามารถสอบผ่านการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ 8 รายวิชา ในครั้งที่ 1 ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์

มติที่ประชุม
- นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทุกคนรับทราบและขอบคุณท่านผู้อำนวยการ

6. อ.สิริกานต์ แรงกสิกร ให้กำลังใจและให้แรงเสริมนักศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 37 ว่า ไม่อยากให้นักศึกษารู้สึกกดดัน และไม่อยากให้นักศึกษาเปรียบเทียบกับผลการสอบของรุ่นพี่ แต่อยากให้ผลการสอบของรุ่นพี่เป็นเหมือนเป้าหมายและกำลังใจในการทบทวนความรู้ต่อไป
โดยอาจารย์สิริกานต์ แรงกสิกร ยกตัวอย่างการทบทวนความรู้ในหลายๆ รูปแบบ โดยเริ่มตั้งแต่การจัดเอกสารออกเป็นรายวิชาตามการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ 8 รายวิชา เพราะเนื่องจากรายวิชาที่นักศึกษาได้เรียนเป็นรายวิชาตามหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2547 สถาบันพระบรมราชชนก ซึ่งหลายรายวิชา มีชื่อไม่ตรงกับรายวิชาที่ใช้ในการสอบ ต่อจากนั้นให้นักศึกษาเช็คความพร้อมในแต่ละรายวิชา โดยเช็คความพร้อมเป็นรายหัวข้อตามตารางวิเคราะห์ข้อสอบของสภาการพยาบาล (Test Blue Print) เพื่อการวางแผนในการให้เวลาในแต่ละหัวข้อ/แต่ละวิชาได้อย่างเหมาะสม และเริ่มทบทวนความรู้ตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่วันนีร้เป็นต้นไป

นอกจากนั้นอาจารย์สิริกานต์ แรงกสิกร และอาจารย์ชุติมา ชลประทิน ได้ร่วมกันอธิบายการใช้ตารางวิเคราะห์ข้อสอบของสภาการพยาบาล (Test Blue Print) โดยอธิบายสรุปขอบเขตเนื้อหาวิชาที่จำเป็นในการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตฯ ชั้นหนึ่ง เป็นรายวิชา จนครบ 8 รายวิชา
และในช่วงสุดท้ายอาจารย์สิริกานต์ แรงกสิกร และอาจารย์ชุติมา ชลประทิน มอบหมายให้นักศึกษาทุกคนกำหนดข้อตกลงในการเข้าโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 37 ร่วมกัน โดยเมื่อสรุปเป็นข้อตกลงแล้ว ให้สามารถนำมาปฏิบัติได้ และให้นักศึกษาทุกคนที่เข้าร่วมโครงการฯ ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

มติที่ประชุม
- นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทุกคนได้ข้อตกลงในการเข้าโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 37 ร่วมกัน ดังนี้

1. นักศึกษาทุกคนต้องเข้าห้องเรียนพร้อมก่อนเวลา 10 นาที ทั้งในภาคเช้า และภาคบ่าย
2. นักศึกษาทุกคนต้องเซ็นชื่อด้วยตนเองทุกครั้งก่อนเข้าห้องเรียน
3. อุปกรณ์ภายในห้องเรียนต้องพร้อมก่อนที่จะอาจารย์จะเข้าติว/ทบทวนความรู้ โดยนักศึกษาจะดำเนินการจัดผู้ดูแลเอง
4. หากนักศึกษาคนใดไม่เข้าติว/ทบทวนตามตารางที่จัดไว้ในโครงการโดยไม่แจ้งให้อาจารย์ชุติมา ชลประทิน ผู้รับผิดชอบโครงการรับทราบ นักศึกษาที่พักอยู่ในห้องพักเดียวกันต้องจ่ายเงินให้กับอาจารย์คนละ 100 บาท/เพื่อนนักศึกษาที่ขาด 1 คน/วัน
5. หากมีเหตุฉุกเฉิน มีความจำเป็นต้องลา หรือขาดเรียนโดยไม่ได้ทำเรื่องลา ให้โทรศัพท์แจ้งอาจารย์ชุติมา ชลประทิน ผู้รับผิดชอบโครงการรับทราบเพียงผู้เดียว ในเบอร์โทรศัพท์ 086-4416590
- อาจารย์สิริกานต์ แรงกสิกร ทบทวนข้อตกลงให้อาจารย์และนักศึกษาฟังอีกครั้ง
- ผู้ร่วมโครงการทุกคนรับทราบ


ปิดกิจกรรมเวลา 12.15 น.













Create Date : 01 ตุลาคม 2552
Last Update : 1 ตุลาคม 2552 19:46:05 น. 0 comments
Counter : 836 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

AjarnChu
Location :
นครสวรรค์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add AjarnChu's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com