ความหมายของพระสุตตันตปิฎก




ความหมายของพระสุตตันตปิฎก
พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตรคือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัส
ยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระ
พุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่าที ม สํ อํ ขุ) คือ
๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง๑๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆเรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตาม
หัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร
๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆเรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม
รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร
๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบายและเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕
คัมภีร์
พระสุตตันปิฎก ๒๕ เล่ม
๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม
เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตรหลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตรส่วนมากชื่อเริ่มด้วย "มหา" เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติ
ปัฏฐานสูตร เป็นต้น
เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตรเริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียงเช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญ
สูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม
เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลางมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลายมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆเช่นเทวดามาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้า
โกศล เป็นต้นจัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์
เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัยคือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรม สังสาร
วัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัด เป็น ๑๐สังยุตต์
เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆมีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิและทิฏฐิต่างๆ
ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์
เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึง
อสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้นจัดเป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๙ มหาวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน
พละ อิทธิบาทรวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌานตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอา
นิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผลจัดเป็น ๑๒ สังยุตต์ (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความ
มีกัลยาณมิตรเป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)
๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑
ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะถึงปรมัตถะ ทั้งสำหรับบรรพชิต และ
สำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน
๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม
เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ ขุททกปาฐะ(บทสวดย่อยๆโดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร)
ธรรมบท(เฉพาะตัวคาถาทั้ง๔๒๓) อุทาน(พุทธอุทาน ๘๐) อิติวุตตกะ(พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย"เอวมฺเม สุตํ"
แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า "อิติวุจฺจติ" รวม ๑๑๒ สูตร) และสุตตนิบาต(ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษซึ่ง
เป็นคาถาล้วนหรือมีความนำเป็นร้อยแก้วรวม ๗๑ สูตร)
เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือวิมานวัตถุ(เรื่องผู้เกิดในสวรรค์อยู่วิมานเล่าการทำความดีของตนใน
อดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕เรื่อง) เปตวัตถุ(เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน๕๑ เรื่อง) เถรคาถา(คาถา
ของพระอรหันตเถระ ๒๖๔รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรมเป็นต้น) เถรีคาถา(คาถาของ
พระอรหันตเถรี ๗๓ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น)
เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติและมี
คาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้างภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา(จัตตาฬีสนิบาต)
รวม ๕๒๕ เรื่อง
เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีกแต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญา
สนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย(มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา รวมอีก ๒๒ เรื่อง
บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก
เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร๑๖ สูตร ในปารายนวรรคและขัคควิสาณ
สูตร ในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆเช่นเรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน
อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้นอย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ คาถาประพันธ์แสดงประวัติโดยเฉพาะในอดีตชาติเริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของ
พระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน(เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถรอปทาน (อัตตประวัติแห่งพระอร
หันตเถระ)เรียงลำดับเริ่มแต่พระสารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธพระปุณณ
มันตานีบุตร พระอุบาลีพระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ ต่อเรื่อย
ไปจนจบภาค ๑ รวม พระอรหันตเถระ ๔๑๐รูป
เล่ม ๓๓ อปทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีกจนถึงรูปที่๕๕๐ ต่อนั้น เป็น
เถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่
สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมีพระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสี พระกีสา
โคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลาพระนันทา พระโสณา พระภัททกาปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจน
จบ ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้มีคัมภีร์ พุทธวงส์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต
๒๔ พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เองรวม
เป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์จบแล้วมีคัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕
เรื่องที่มีแล้วในชาดกแต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ
พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก
๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรม
ขันธ์


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
//www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/menu2_2.htm



Create Date : 14 ธันวาคม 2559
Last Update : 21 ธันวาคม 2559 14:24:22 น.
Counter : 517 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3463005
Location :
ร้อยเอ็ด  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สวัสดีครับผมทำสิ่งนี้เพื่อส่งอาจารย์เท่านั้นนะครับ