เลือด....ฉันต้องการเลือด...แฮ่.

ก่อนอื่น…คุณรู้แล้วหรือยัง… ว่าตัวคุณมีเลือดกรุ๊ปอะไร?…

สำคัญมากนะ… เพราะถ้าวันหนึ่ง ...คุณเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดฝัน ...ถ้าคุณเสียเลือดมาก แต่ยังพอมีสติอยู่ ....เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตรงนั้น....จะต้องถามคุณอย่างแน่นอน…ว่า.....เลือดของคุณ ...กรุ๊ปอะไร? เจ้าหน้าที่...จะได้นำเลือดที่สามารถเข้ากับคุณได้ ...มาให้คุณ...เพื่อเป็นการทดแทน....อย่างเพียงพอและรวดเร็ว...ในการที่จะช่วยชีวิตคุณ...(แทนที่ในปริมาณที่คุณเสียไป)----แต่หากคุณไม่รู้กรุ๊ปเลือดของตัวเอง.... เจ้าหน้าที่ก็ต้องนำเลือดคุณไปตรวจก่อน.... คุณจึงต้องรอเวลา....ที่จะได้รับเลือดเข้าสู่ร่างกาย..... แต่ ณ ช่วงเวลานั้น .....ร่างกายคุณ…อาจไม่รออะไรแล้วก็ได้…

***การรู้หมู่เลือด***
1. ระบบ ABO (A, B, O หรือ AB)
2. ระบบ Rh (D+, Rh+ หรือ D- และ Rh-)

เป็นประโยชน์ และเพิ่มความปลอดภัยแก่ตนเองเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เลือด ...(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นเลือดชนิดที่หาได้ยากในคนไทย เช่นผู้ที่เป็น Rh ลบ ซึ่งในคนไทยพบเพียง 0.3 เท่านั้น)

***การปั่นแยกเลือด**
เลือดที่ได้รับบริจาค 1 ถุง (300-450 มล.) สามารถนำไปปั่นแยก ...ด้วยเครื่องปั่นชนิดพิเศษ ...ซึ่งจะได้ส่วนประกอบต่าง ๆ ตามต้องการ 2-4 ชนิด ได้แก่
**เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed Red Cells)
**เลือดที่มีเม็ดเลือดขาวน้อย (Leukocyte Poor Blood)
**เกร็ดเลือดเข้มข้น (Platelet Concentrate)
**พลาสมา-สดแแช่แข็ง (Fresh Frozen Plasma)
**ไครโอปริซิปิเตท (Cryoprecipitate)
**พลาสมา (Plasma)

ส่วนน้ำที่เหลือ...จากการแยกเม็ดเลือดแดงเข้มข้น... ออกจากเลือด ....มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ....โปรตืนและน้ำ...

ดังนั้น... การปั่นแยกเลือด 1 ถุง...จึงเป็นการใช้เลือดอย่างคุ้มค่า....เพื่อให้ผู้ป่วยแต่ละโรค ที่มีความต้องการไม่เหมือนกัน....(คุณสามารถช่วยชีวิต/ยืดชีวิตคน ได้อีกหลายคน)
......อีกทั้งยังช่วยลดปัญหา...การขาดแคลนเลือด.....ทั้งยังทำให้ผู้ป่วย.....ได้เฉพาะส่วนที่ตนเองต้องการเท่านั้น ....เพราะถ้าได้ส่วนอื่น ....ก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใด


การให้เลือดและส่วนประกอบชนิดต่าง ๆ ของเลือด แก่ผู้ป่วย

*เลือด* ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เสียเลือดมากจนเกิดภาวะช็อคและอาจเสียชีวิตได้ มีสาเหตุมาจาก
-การผ่าตัดใหญ่ อุบัติเหตุต่าง ๆ บนท้องถนน หรือในโรงงานอุตสาหกรรม
-โดนยิง โดนแทงด้วยของมีคม การตกเลือด การแท้ง
-โรคตับแข็ง มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร โรคไข้เลือดออก โรคไตวายเรื้อรัง ฯลฯ

*เม็ดเลือดแดงเข้มข้น* ผู้ป่วยมีการเสียเลือดอย่างเรื้อรัง และร่างกายสร้างไม่ได้
-โรคโลหิตจาง (Aplastic Anemia), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia), โรคธาลัสซีเมีย
-โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคมะเร็ง
-เลือดออกในกระเพาะอาหาร / ลำไส้ ฯลฯ

*เกร็ดเลือดเข้มข้น* การที่จำนวนเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติทำให้เกิดภาวะเลือดออกไม่หยุดที่อวัยวะต่าง ๆ ได้แก่
-โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
-โรคไข้เลือดออกชนิดรุนแรง (อาเจียนและถ่ายเป็นเลือด -ถ้าได้รับเกร็ดเลือดทดแทนไม่ทัน...อาจเสียชีวิตได้)
-การผ่าตัดหัวใจ และ ผู้ป่วยที่เกร็ดเลือดไม่สามารถทำหน้าที่ได้อาจเป็นโดยกำเนิด ฯลฯ

*พลาสมา-สดแช่แข็ง*
-โรคฮีโมฟีเลียทุกชนิด, โรคไข้เลือดออก, โรคตับแข็ง
-มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, การผ่าตัดหัวใจ / ตับ ฯลฯ

*ไครโอปริซิปิเตท*
-โรคฮีโมฟีเลีย เอ, การตกเลือดภายหลังคลอด, การผ่าตัดหัวใจ

*พลาสมา* สำหรับผู้ป่วยบางโรค ที่มีการสูญเสียน้ำอย่างมากจนเกิดภาวะช็อค
-แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก, ไข้เลือดออก, โรคไต โรคตับ (ที่มีอาการบวมมาก)

***ภาวะที่ร่างกายมีเลือดน้อย***
ฉันเคยเจอเหตุการณ์ ...ในภาวะที่ร่างกายมีเลือดน้อยมาแล้ว....(ทำให้รู้สึกสงสารผู้ป่วย.....ที่เลือดน้อยมาแต่กำเนิดมาก)....อาการที่เกิด ขึ้นก็คือ

*หน้ามืด
*หายใจไม่ค่อยออก
*สมองชา มึน (คิดอะไรไม่ค่อยออก)
*ตัวเย็นเฉียบ (หนาวมากด้วย)
*ตาพร่ามัว
*เหงื่อออกท่วมตัว (จริง ๆ )
*ปวดหัวมาก (เหมือนจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ )
*ลำไส้บิดมวน บีบจนเจ็บ-- จำเป็นต้องอาเจียน (แม้จะมีแต่น้ำและสุดท้ายคือน้ำลาย)

นี่คือ อาการ...ที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ...ลองจินตนาการดู ..(ขอบอกว่า …ทรมาน-มาก-มาก)

**ฉันได้ยิน...หมอพูดกับคนที่มาบริจาคเลือดว่า ต้องขอบคุณมากเลยนะคะ.......ที่บอกต่อ ๆกัน...ให้ช่วยกันมาบริจาค ....ถ้าทางโรงพยาบาล ...สามารถผลิตเลือดเองได้...คงตั้งหน้าตั้งตา ผลิตกันทั้งวันทั้งคืน...คงไม่ต้องรอแต่คนใจบุญ....มาบริจาคอย่างเดียว

**เลือด... เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย....แต่ถ้าเราสละออกมาเพียงส่วนหนึ่ง ....โดยที่ร่างกายเรา.... ยังสามารถดำรงอยู่ได้…คงจะดีนะ …หากได้ช่วยเหลือชีวิต ...หรือ
....ยืดอายุผู้อื่น….ให้ยืนยาวต่อไป …ถือว่าเป็นกุศลอย่างสูง

**ถ้ามีความตั้งใจจะไปบริจาคเลือด ....ดูแลตัวเองให้ดี ๆ.....กินอาหารให้ครบหมู่ ......นอนหลับพักผ่อน วันละ ประมาณ 6-7 ชั่วโมง ...ติดต่อกันประมาณ 7 วันขึ้นไป....แล้วคุณจะมีเลือดที่สมบูรณ์.... ที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่นได้แล้ว .....(ปัจจุบันโรงพยาบาลส่วนใหญ่ จะรับบริจาค วัน เสาร์-อาทิตย์ ด้วยนะ-อ้างโน่นอ้างนี่ไม่ได้แล้วล่ะ)

**การเสียความตั้งใจ ...คือ....ความผิดหวังอย่างร้ายแรง**


ที่มา: ธนาคารเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล




 

Create Date : 12 ธันวาคม 2548   
Last Update : 12 ธันวาคม 2548 10:19:28 น.   
Counter : 393 Pageviews.  

เบาหวาน ....คืออะไร

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

โรคเบาหวานคืออะไร


อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท

ฮอร์โมนอินซูลินมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย สร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ไม่ดี ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีอาการต่างๆของโรคเบาหวาน นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น มีการสลายของสารไขมันและโปรตีนร่วมด้วย

อาการของโรคเบาหวาน


คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มก.% หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม.ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก.% ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงไม่มากอาจจะไม่มีอาการอะไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด อาการที่พบได้บ่อย

คนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึกหรือปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืนน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะทำให้น้ำถูกขับออกมากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา
ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่งแต่น้ำหนักจะลดลงเนื่องจากร่างกายน้ำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อ
อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน
คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง
เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสายตา เช่นสายตาสั้น ต่อกระจก น้ำตาลในเลือดสูง
ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงนานๆทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก
อาเจียน
น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเมื่อเป็นโรคนี้ระยะหนึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับหลอดเลือดเล็กเรียก microvacular หากมีโรคแทรกซ้อนนี้จะทำให้เกิดโรคไต เบาหวานเข้าตา หากเกิดหลอดเลือดเลือดแดงใหญ่แข็งเรียก macrovascular โดยจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพาต หลอดเลือดแดงที่ขาตีบนอกจากนั้นยังอาจจะเกิดปลายประสาทอักเสบ neuropathic ทำให้เกิดอาการชาขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประสาทอัตโนมัติเสื่อม

ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน
สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่นอนแต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้แสดงข้างล่างนี้

ใครที่ควรจะต้องเจาเลือดหาโรคเบาหวาน


ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองพบมากและมักจะวินิจฉัยไม่ได้ในระยะแรก การที่มีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานานๆทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆเช่น ตา หัวใจ ไต เส้นประสาท เส้นเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ ผู้ที่สมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจตรวจหาเบาหวาน คือ

ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวานควรจะตรวจเลือดแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ
อ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่า27% หรือน้ำหนักเกิน20%ของน้ำหนักที่ควรเป็นสำหรับประเทศในเอเซียเราพบว่าเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะพบผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากดังนั้นแนะนำว่าควรจะเจาะเลือดตรวจเบาหวานเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25 อยากทราบว่าดัชนีมวลกายเท่าไรคลิกที่นี่
อายุมากกว่า45ปี
ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT
ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg
ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%
ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม
บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรที่จะได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุก3ปี หากคุณเป็นคนที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวการป้องกันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การคุมน้ำหนัก




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2548   
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2548 12:15:45 น.   
Counter : 184 Pageviews.  

เปิดซิง....เขียนblog

ครั้งแรกในชีวิต ที่ผมเริ่มจะคิดระบายอะไรๆลงในนี้




 

Create Date : 31 ตุลาคม 2548   
Last Update : 31 ตุลาคม 2548 15:53:58 น.   
Counter : 234 Pageviews.  


bob_bob
Location :
สิงห์บุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add bob_bob's blog to your web]