Group Blog
 
All Blogs
 

การขับรถ ขึ้น-ลง ภูเขา

มักจะมีผู้ที่เริ่มขับรถใหม่ๆ เข้าไปถามที่ โต๊ะรัชดา บ่อยๆ
ว่าการขับรถ ขึ้น-ลง ภูเขา มีเทคนิคอย่างไรบ้าง
ผมและเพื่อนๆในบอร์ดก็ช่วยกันตอบไปหลายครั้ง
แต่ก็ยังมีมือใหม่เข้ามาถามอยู่เนืองๆ
ผมก็เลยรวบรวมจากประสพการณ์ที่เคยขับรถเที่ยว
ทั้งเกียร์ธรรมดา และ เกียร์อัตโนมัติ
มาเขียนไว้ที่นี่เสียเลย
พอมีคนมาถามก็จะได้ทำ Link มาที่นี่ ง่ายดีครับ เริ่มเลย

การขับขึ้นเขา:-
ไม่ยากครับ เหมือนขับขึ้นสะพานนั่นแหละ
คือถ้าเป็นเกียร์ธรรมดา ก็ให้สังเกตุว่า
เมื่อใดเครื่องเริ่มตื้อเร่งไม่ขึ้นแสดงว่าใช้เกียร์สูงเกินไป
ก็เปลี่ยนเกียร์ให้ต่ำลง แล้วเร่งขึ้นไปเลย
ส่วนถ้าเป็นเกียร์ออโต้ ก็ใช้เกียร์ D ตามปกติก็ได้
กดคันเร่งขึ้นไปเลยครับ มันจะเลือกตำแหน่งของเกียร์เอง
ว่าความเร็วรถขนาดนี้กดคันเร่งขนาดนี้ควรเป็นเกียร์อะไร
แต่ให้สังเกตุว่าเมื่อใดเครื่องเริ่มตื้อ
เราต้องการเร่งแต่มันเร่งไม่ขึ้น (เช่นตอนขับขึ้นทางชันยาวๆ)
แสดงว่าเกียร์ยังสูงเกินไป ส่วนใหญ่จะอยู่ที่เกียร์ 2
โดยมันไม่ยอมเปลี่ยนเป็นเกียร์ 1 ให้ ซึ่งถ้าเราต้องการเพิ่มความเร็ว
ก็ให้ดึงคันเกียร์มาที่ L (เกียร์ 1) แล้วเร่งขึ้นไปเลย
แต่อย่าให้ความเร็วรอบเกิน 4500 รอบ/นาทีเลยครับ
เครื่องมันจะร้อนและกินน้ำมันมาก
ถ้ามันทำท่าจะเกิน 5000 รอบ/นาที ก็ให้โยกคันเกียร์เป็น 2
ความเร็วรอบมันก็จะตกลงมาจนอาจตื้ออีกก็ได้
การกดคันเร่งแช่เกิน 5000 รอบ/นาที นานๆก็ไม่ค่อยดีครับ
เครื่องยนต์อาจ Overheat ได้
ความเร็วรอบควรจะสัก 3500-4000 รอบ/นาที ก็พอครับ
แบบนี้จะขับแช่นานๆได้

การขับลงเขา:-
ยากกว่าการขับขึ้นเขาเยอะ เพราะถ้าใช้ความเร็วตอนลงเขามากไป
แล้วเจอทางโค้งอาจเบรคเพื่อชลอความเร็วไม่ทัน
มันอาจแหกโค้งลงเหวข้างทางได้
และหากเหยียบเบรคแช่นานๆแทบตลอดทาง
แบบนี้ระบบเบรคจะร้อนจัดจนเสียหายได้
การขับลงเขาหรือลงทางลาดชันนั้น
ไม่ว่าจะเป็นเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติ
ให้สังเกตว่าแม้จะไม่เหยียบคันเร่ง
แต่รถเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆจน "เกิน" ความต้องการ
จนต้องเหยียบเบรคช่วยเพื่อชลอความเร็วแล้วละก็
แสดงว่ายังใช้เกียร์ที่สูงเกินไป
ให้เหยียบเบรคเบาๆเพื่อลดความเร็วรอบของเครื่องยนต์ลงมา
แล้วเปลี่ยนเกียร์ให้ต่ำลงอีก
แล้วจึงปล่อยเบรคให้เครื่องยนต์เป็นตัวฉุดความเร็วของรถไว้
บางครั้งต้องใช้เกียร์ 1 (L) ก็ได้ ถ้าทางลงนั้นชันมากและคดเคี้ยว
ถึงแม้รอบเครื่องยนต์จะสูงถึง 5000 รอบ/นาที
ก็ไม่ต้องตกใจ มันไม่พังง่ายๆหรอก
แต่อย่าให้เกิน 5000 รอบ/นาที ก็จะดีมาก
ทีนี้ถ้ามันทำท่าจะเกิน 5000 รอบ/นาที
แม้ว่าใช้เกียร์ต่ำสุดแล้วก็ตาม
ก็ต้องเหยียบเบรคช่วยบ้างเป็นช่วงๆ
ไม่อย่างนั้นเครื่องยนต์พังแน่
แต่อย่าเหยียบเบรคแช่นานๆเด็ดขาด
เพราะเบรคมันจะร้อนจัด จนระบบเบรคเสียหายได้
ซึ่งมันจะเกิดตอนขับลงทางชันยาวๆ
เช่นดอยอินทนนท์ หรือดอยอ่างขาง เป็นต้น

ขาดตกบกพร่องยังไง ช่วยแสดงความเห็นด้วย
ผมจะได้นำมาปรับปรุงให้ข้อความถูกต้องยิ่งๆขึ้นไปครับ




 

Create Date : 16 ธันวาคม 2548    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2551 21:01:54 น.
Counter : 1652 Pageviews.  


-เตาอี้-
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add -เตาอี้-'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.