+++ ความล้มเหลว เป็นก้าวแรกของชัยชนะ+++ศรีกรม
 
เรือนหอ







 ตามประเพณีของไทย จะมีประเพณีอย่างหนึ่งที่เคยปฏิบัติสืบ ๆ กันมา เมื่อชายอายุย่างเข้าวัยพอสมควรแล้ว ก็จะบวชในบวรพุทธศาสนา เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ หลังจากนั้นก็จะหาคู่ครอง เพื่อเริ่มต้นชีวิตครอบครัวใหม่

ในการแต่งงาน ตามกฎหมายของไทย ก็จะมีบัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องการหมั้น มีสินสอดทองหมั้นในการไปสู่ขอก่อน แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องมีการหมั้นเสมอไป บางรายอาจจะไปสู่ขออยู่กินด้วยกันเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการหมั้นหมาย

มีทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่งที่ไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายคือ " เรือนหอ" และไม่มีการบังคับว่า การหมั้นแล้วจะต้องมีเรือนหออีกด้วย

กรณีที่คู่บ่าวสาวเมื่อมีการหมั้นแล้ว บางรายอาจจะมีการสร้างเรือนหอไว้ก่อนแต่งงานตามประเพณี เพื่อไว้เป็นเรือนรักหลักจากมีการแต่งงานแล้ว

เรือนหอ คือ เคหสถานซึ่งคู่สมรสจะใช้เป็นที่อยู่กินด้วยเมื่อทำการสใรสแล้ว ซึ่งตามธรรมเนียมเรือนหอนี้ต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนวันทำการมงคล จึงเป็นสถานที่ที่คู่บ่าวสาวจะอยู่ร่วมกันหลังจากมีการแต่งงงานกันตามประเพณีแล้ว ตามปกติแล้วเรือนหอจะเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายจะต้องเป็นฝ่ายดำเนินการ และจะต้องมีก่อนการแต่งงานตามประเพณี หากมีการก่อสร้างในภายหลังจะไม่เรียกว่า "เรือนหอ"

มีปัญหาว่า...หากคู่บ่าวสาวหลังจากแต่งงานกันตามประเพณีและมีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ต่อมาเกิดเหตุการณ์...เตียงหัก...เกิดขึ้น ชีวิตครอบครัวล้มสลาย มีอันจะต้องแยกทางกัน...เรือนหอจะเป็นทรัพย์สินของฝ่ายใด

ตามประเพณีไทย เรือนหอจะเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายจะสร้างขึ้น เพื่อไว้เป็นสถานทที่อยู่ของคู่บ่าวสาวหลังจากมีการแต่งงานกันแล้ว จึงถือว่า เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายที่มีก่อนการสมรส จึงเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของฝ่ายชาย จึงต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายชาย

ถ้าเป็นกรณีที่ฝ่ายชายไปสร้างในที่ดินของฝ่ายหญิงโดยญาติฝ่ายหญิงอนุญาตให้สร้าง เรือนหอดังกล่าวก็ไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ฝ่ายชายก็สามารถรื้อออกจากที่ดินได้

อย่างไรก็ดี ถ้าเรือนที่สามีภริยาใช้อยู่กินด้วยกันนี้ สร้างขึ้นโดยชายและหญิงเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายร่วมกันเรือนนี้ไม่ใช่ " เรือนหอ " เช่น โจทก์จำเลยร่วมกนนำสัมภาระและลงทุนปลูกสร้าเรือนขึ้น ๑ หลังในระหว่างหมั้น แต่ไม่ได้ความพอที่จะชี้ได้ว่าสัมภาระใดเป็นของฝ่ายใด ทั้งไม่ได้ความว่าแต่ละฝ่ายได้มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่กินเกินกว่าครึ่ง ดังนี้ ต้องถือว่า โจทก์ จำเลย มีส่วนเป็นเจ้าของเรือนรายนี้เท่า ๆ กัน(ฎีกาที่ ๖๔๐/๒๔๙๔)

นอกจากนี้มีตัวอย่างเช่น..มารดาหญิงรับเงินจากชายเป็นค่าเรือนหอ โดยมารดาหญิงพูดยกเรือนให้เป็นเรือนหอ คู่สมรสอยู่ด้วยกันในเรือนนี้ เรือนนี้ตกเป็นสินเดิมของชาย แม้จะไม่มีหนังสือยกให้ (ฏีกาที่ ๑๖๙๓/๒๕๐๐)

แต่ในปัจจุบัน เหตุการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไป เพราะหนุ่มสาวปัจจุบัน ต่างร่วมแรงร่วมใจกันซื้อบ้านด้วยกันก่อนล่วงหน้าที่จะแต่งงานกันเสียอีก การที่หนุ่มสาวร่วมกันซื้อบ้านไว้ล่วงหน้าโดยไม่ได้มีการหมั้นหมาย หรือสู่ขอกันก่อนตามประเพณี การที่บุคคลทั้งสองร่วมกันซื้อบ้านไว้ก่อนแต่งงานกันตามประเพณี  บ้านหลังดังกล่าว จึงไม่ใช่ "เรือนหอ" แต่อย่างใด




Create Date : 13 ตุลาคม 2559
Last Update : 13 ตุลาคม 2559 13:18:55 น. 0 comments
Counter : 1269 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 
 

สมาชิกหมายเลข 3206122
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 3206122's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com