Group Blog
 
All Blogs
 

broadband ของไทยทำไมแพง

ถ้าใครไม่ได้อยู่ในกรุงเทพ คงต้องจ่ายแพงเพื่อจะมีบรอดแบนด์กะเขา ได้มา 1-2 Mbps คงเสียไปเดือนละหลายพัน และยังเป็นแบบแชร์ความเร็วกัน fixed IP ก็ไม่ได้ ซ้ำบางแบบก็จำกัดปริมาณการดาวน์โหลดในแต่ละเดือนอีกด้วย bandwidth ออกต่างประเทศนี่ก็แย่งกันใช้แทบไม่ไหว นี่ยังไม่รวมถึงการปิดกั้นสิทธิการรับข้อมูลข่าวสารทางเทคโนโลยีของไทย อย่าให้พูดถึงเรื่องนี้เลย
ถ้าอยากรู้ว่าราคาของต่างประเทศนั้นเป็นยังไง ลองมาดูของญี่ปุ่น ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าค่าครองชีพสูงระดับต้นๆ

ญี่ปุ่นนั้นถือว่าเป็นผู้นำด้านเครือข่าย Fiber to the home (FTTH) นั่นคือเครือข่ายใยแก้วนำแสงส่งตรงมาถึงบ้านผู้ใช้ เครือข่ายประเภทนี้ค่าลงทุนสูง แต่มีข้อดีในระยะยาว ความเร็วสูงสุดที่สามารถรองรับได้ในทางทฤษฎีนั้นสูงมาก เรียกว่ามากกว่า >10 Gbps = 10000 Mbps เลยทีเดียว เทียบกับเทคโนโลยี Asynchronous digital subscriber lines (ADSL) ที่มากับสายทองแดง ใช้ในบ้านเรา ที่กว่าจะได้ความเร็วดาวโหลดสูงสุดที่8 Mbps นั้นก็เรียกได้ว่าหืดขึ้นคอ ปัจจุบัน bandwidth ที่ให้บริการกับลูกค้าในญี่ปุ่นนั้นอยู่ที่ 100 Mbps ในทางทฤษฎีการอัพโหลเร็วได้เท่ากับการดาวโหลด แต่ทางปฏิบัติผู้ให้บริการอาจจำกัดมา โดยในอานาคต สามารถอัพเกรดให้ความเร็วเพิ่มขึ้นได้ หากใช้ ADSL ไม่สามารถทำให้อัพโหลดเท่ากับดาวโหลดได้ ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยี เห็นความเร็วสูงขนาดนี้ อาจคิดว่าราคาคงแพง แต่รายเดือนเพียง 7,800 เยน หรือ 2,000 กว่าบาท แค่นั้นเอง ที่ญี่ปุ่นนั้น ADSL ก็มี แต่จากสถิติพบว่าจากปี 2006 เป็นต้นมา จำนวนคนที่ใช้DSL นั้นลดลงเรื่อยๆ ขณะที่FTTH แซงหน้าไปแล้ว



ไปไกลหน่อยที่อเมริกา ขณะนี้ยักษ์ใหญ่อย่าง Verizon ก็เริ่มให้บริการ ftth กับลูกค้าทั่วไปแล้ว ทว่าราคาจะแพงขึ้นมาหน่อยถ้าเทียบกับความเร็ว เพราะแบนด์วิดธ์ที่ 15 Mbps / 2 Mbps นั้นราคาเดือนละ 50 เหรียญ หรือ 1600 บาท



ระบบ fiber to the home ของทั้งสองประเทศนั้นใช้เทคโนโลยีประเภทเดียวกันนั่นคือ Passive Optical Network (PON) ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนไปได้มาก ญี่ปุ่นใช้ EPON ขณะที่อเมริกาเป็น GPON ส่วนจะต่างกันอย่างไร หรือว่า passive optical network นั้นเป็นอย่างไร ขออุบไว้ก่อน

อีกประเทศนึงที่บุกเบิกในการให้บริการไฟเบอร์ไปยังบ้านเรือน คือเกาหลี แต่ผมไม่ค่อยรู้อะไรนัก รู้สึกไม่ค่อยกล้าที่จะไปเปิดเข้าไปเว็บเกาหลี

จะเห็นได้ว่าญี่ปุ่น (หรือแม้แต่เกาหลี) บรอดแบนด์จะถูกกว่าอเมริกา ด้วยเหตุที่รัฐให้การสนับสนุนด้านการลงทุนนั่นเอง

กลับมาที่บ้านเรา ผมไม่ค่อยเกี่ยงว่ามันจะช้าหรือยังไง เพราะเราคงเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ได้ แต่ไงแพงจัง ทั้งๆ ที่การวางสายก็ไม่ต้องเสีย (ใช้สายโทรศัพท์) มีแต่การอัพเกรดอุปกรณ์ คงเป็นเพราะคนใช้น้อย ไม่คุ้มกับการลงทุนนั่นเอง รวมถึงเทคโนโลยีต้องไปซื้อเค้ามา ขณะที่ญี่ปุ่นและอเมริกาวิจัยและผลิตเอง ด้านธุรกิจนี้เราก้ไม่รู้เรื่องด้วยสิ ว่า ISP ต่างๆ พวกนี้เค้ากะถอนทุนคืนยังไง กำไรเป็นยังไง แล้วตกลงว่าราคาบรอดแบนด์ในไทยนี้เหมาะสมหรือไม่ หรือว่าปัญหามันติดอยู่ที่ภาครัฐกันแน่

ทั้งนี้ทั้งนั้นทิศทางบรอดแบนด์ในบ้านเราอาจไปในทางเครือข่ายไร้สาย ที่เรียกว่า WiMAX มากกว่า ข้อจำกัดด้านการรับส่งข้อมูลจะด้อยกว่าทางแสง หรือ optics แต่คงจะเหมาะสมกับเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมบ้านเรา




 

Create Date : 20 กันยายน 2550    
Last Update : 20 กันยายน 2550 8:05:12 น.
Counter : 349 Pageviews.  


spectralwit
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add spectralwit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.