ภูเก็ตอันดามันคอนกรีต จุดเริ่มต้นแห่งฐานรากอันมั่นคง
Group Blog
 
All Blogs
 
ผนังรับน้ำหนัก ไม่มีเสา-คาน

ระบบก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปที่มีอยู่ในตลาดบ้านจัดสรร ในระบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก (Wall Bearing System) โดยไม่ต้องอาศัยเสาและคาน แผ่นพื้นและผนังสำเร็จรูปประกอบขึ้นจากโรงงานที่มีการควบคุมคุณภาพการผลิตและอัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆโดยระบบคอมพิวเตอร์

ไม่ว่าจะเป็นขนาดของเหล็ก ส่วนผสมของคอนกรีต รวม ทั้งการใช้เครื่องจักรกลเป็นส่วนหลักในการผลิตที่ให้ความแม่นยำสูงกว่าแรง งานคน ชิ้นงานที่ผลิตออกมาจึงมีคุณภาพมาตรฐานเท่าเทียมกันทุกชิ้น นอกจากนี้ยังมีการกำหนดตำแหน่งและเจาะช่องเปิดประตู - หน้าต่าง ช่องสำหรับท่อร้อยสายไฟฟ้า ท่อน้ำดี น้ำเสีย ไว้ตั้งแต่ในขั้นตอนการผลิต เมื่อการประกอบชิ้นส่วนที่หน้างานเสร็จสิ้นงานระบบอื่น ๆ ก็สามารถทำงานต่อเนื่องได้อย่างง่ายดาย โดยหลักแล้วระบบก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปจะไม่มีเสาและคาน แต่จะใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนักแทน ส่วนแผ่นผนังจะผลิตด้วยวิธีใดขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของผู้ผลิตหรือผู้ก่อสร้างแต่ละราย เช่น ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแซนวิช (ผนัง 2 แผ่น เว้นช่องไว้สำหรับเทคอนกรีตเชื่อม) เป็นต้น การเชื่อมต่อ (Connection ) ของแต่ละชิ้นส่วนที่นำมาประกอบก็แตกต่างกันไป เช่น บางระบบเชื่อมต่อด้วยน็อต , คอนกรีต หรือแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเข้าลิ้นหรือมีระบบล็อคในตัว เป็นต้น

ส่วนวิธีการก่อสร้างเริ่มตั้งแต่การตอกเสาเข็มทำฐานรากและคานคอดินเหมือนกับการก่อสร้างใน แบบก่ออิฐฉาบปูน จากนั้นจึงเริ่มนำแผ่นพื้นและผนังสำเร็จรูปเข้ามาประกอบตามที่ได้ออกแบบไว้ เริ่มตั้งแต่ผนังรับน้ำหนักชั้นล่าง แผ่นพื้นชั้นล่าง ผนังชั้นสอง แผ่นพื้นชั้นสอง โดยชิ้นส่วนต่าง ๆ จะได้รับการเชื่อมประสานตามเทคนิควิธีการของแต่ละระบบ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญเพราะการเชื่อมต่อจะต้องมีคุณภาพ ต้องมั่นคง กันน้ำรั่วซึมและสามารถรับแรงด้านข้างได้

หน้างานสะอาด ก่อสร้างเร็ว ใช้คนน้อย

ข้อแตกต่างแรกที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนระหว่างไซด์งานที่ก่อสร้างบ้านด้วยระบบเดิมกับระบบสำเร็จรูป คือ ความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของหน้างานที่ระบบสำเร็จรูปมีเหนือกว่าไม่มีขยะจากการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นไม้แบบ เศษอิฐ หิน ดิน ทราย เพราะเศษสิ่งเหล่านี้ถูกกำจัดไปเรียบร้อยตั้งแต่โรงงานผลิตชิ้นส่วนรวมถึงมล ภาวะทางเสียงและฝุ่นผงที่เกิดจากการก่อสร้างที่ลดน้อยลง

ความเร็วในการก่อสร้างบ้าน 1 หลัง ที่แต่เดิมอาจต้องใช้เวลา 5-6 เดือน แต่เมื่อเป็นวัสดุสำเร็จรูปที่เพียงยกมาติดตั้ง จากนั้นตกแต่งเพิ่มเติมในส่วนรายละเอียดปลีกย่อยรวมแล้วใช้เวลาก่อสร้างจนแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่อาศัยประมาณ 2 เดือนเศษ ลักษณะพื้นผิวของวัสดุสำเร็จรูปมีความเนียนเรียบ เมื่อติดตั้งเสร็จไม่ต้องฉาบทับก็สามารถทาสีทับได้ทันที ส่วนในการวางระบบต่างๆ ทั้งไฟฟ้า ประปา สุขาภิบาล ก็ทำงานได้ง่ายขึ้นเพราะมีการวางท่อวางระบบไว้ในช่องผนังและพื้นสำเร็จ รูปอยู่แล้ว เหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้การก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปมีความสะดวกรวดเร็วกว่า ระบบก่ออิฐฉาบปูน

ในส่วนของแรงงานก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้เป็นอย่างดี เพราะในขั้นตอนการประกอบชิ้นส่วนนั้นจะมีเพียงคนขับรถเครนที่ใช้ยกชิ้นส่วนกับผู้ช่วยยึดจับอีกไม่กี่คน นอกจากนี้ในส่วนของแรงงานฝีมือก็ลดถอยความจำเป็นต้องใช้ออกไปลดปัญหาความไม่แน่นอนของแรงงานฝีมือ

ข้อจำกัดบางประการสำหรับระบบก่อสร้างบ้านสำเร็จรูป

อย่างไรก็ตาม บ้านระบบสำเร็จรูปก็มีข้อด้อยหรือข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน เช่น โครงสร้างที่ค่อนข้างหนัก เนื่อง จากแผ่นพื้น-ผนังสำเร็จรูปที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีน้ำหนักมากกว่าผนังก่อ อิฐฉาบปูน ดังนั้น บ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบสำเร็จรูปจึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่ยาวกว่าระบบการ ก่อสร้างแบบเดิมเพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดในภายหลัง ส่วนแบบบ้านที่เหมาะสำหรับงานก่อสร้างระบบสำเร็จรูปนั้น จะเห็นว่ามักเป็นบ้านที่ไม่ค่อยมีรายละเอียดการตกแต่งมากนักรวมทั้งจะเป็นแบบที่ค่อนข้างซ้ำ ๆ เดิม ๆ โดยผู้ประกอบการที่ใช้ระบบก่อสร้างชนิดนี้ก็ยอมรับว่าถ้าจะให้คุ้มค่ากับการลงทุนออกแบบ แกะแบบบ้าน ผลิตชิ้นส่วนในการก่อสร้างแต่ละครั้งก็จะสร้างบ้านในแบบดังกล่าวเป็นจำนวน 50-100 หลังขึ้นไป ยิ่งสร้างในปริมาณมากเท่าไรก็ยิ่งเป็นการประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างของผู้ประกอบการมากเท่านั้น

เจาะ ทุบ ต่อเติม ไม่ใช่เรื่องง่าย

สำหรับในขั้นตอนการเข้าอยู่อาศัยจริง เจ้าของบ้านอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ค่อนข้างแน่นอนอยู่แล้วว่าจะต้องมีการตกแต่งหรือต่อเติมบ้านให้มีความสวยงาม เพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้มากขึ้นตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ อย่างการตอกตะปูแขวนรูป แขวนอุปกรณ์ห้องน้ำ ห้องครัว ไปจนถึงการบิวท์อินเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง แต่ด้วยคุณสมบัติของผนังสำเร็จรูปที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความแข็งแรงทนทานสูง การตอกตะปู เจาะสว่าน จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่สะดวกนักสำหรับช่างหรือแม้แต่เจ้าของบ้านที่ต้องการทำงานตกแต่งเล็กน้อย ๆ ด้วยตัวเอง ส่วนการปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นภายในบ้าน เช่น ทุบห้อง 2 ห้องติดกันให้กลายเป็นห้องใหญ่ห้องเดียวหรือทุบผนังทาวน์เฮ้าส์ 2 หลัง เพื่อให้ทะลุเชื่อมกันได้ ฯลฯ กรณีนี้มีทั้งสามารถทำได้และทำไม่ได้โดยการทุบ ที่ไม่สามารถทำได้เลยก็คือการทุบผนังที่ใช้ผนังรับน้ำหนักเพราะหากทะลุในส่วนของผนังรับน้ำหนักก็มีโอกาสบ้านพังได้ง่าย ๆ ใน ขณะที่การทุบผนังตกแต่งที่ไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนักก็ยังอาจต้องมีข้อจำกัด ให้ไม่สามารถรื้อออกไปได้ทั้งแผ่นจะต้องเหลือพื้นที่ของผนังในส่วนที่เชื่อม ต่อกับผนังรับน้ำหนักไว้ด้วย ดังนั้นการจะทุบ เจาะ ทะลุ รื้อ ผนังบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบสำเร็จรูปจึงจำเป็นต้องปรึกษาวิศวกรที่มีความ รู้และแบบแปลนบ้านหรือพิมพ์เขียวที่ใช้ในการก่อสร้างก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผู้ซื้อบ้านจะต้องขอรับจากเจ้าของโครงการเพื่อใช้เป็นคู่มือในการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านในอนาคต

...PAC...


Create Date : 22 พฤษภาคม 2553
Last Update : 22 พฤษภาคม 2553 14:07:25 น. 1 comments
Counter : 469 Pageviews.

 


โดย: Moneyjr วันที่: 22 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:25:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

pac_phuket
Location :
ภูเก็ต Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




บริการ เสาเข็มตอก เสาเข็มเจาะ รถตอกเสาเข็ม บ้านสำเร็จรูป รั้วสำเร็จ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตทุกชนิด
Friends' blogs
[Add pac_phuket's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.