Group Blog
 
All Blogs
 

5 เทคโนโลยีปฏิวัติวงการไอที

5 เทคโนโลยีปฏิวัติวงการไอที
เรื่อง : โยธิน อยู่จงดี / อุษณีย์ กฤษณะประสิทธิ์
วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551
จาก Posttoday.com


เมื่อเรามี 3 เทรนด์ไอที ปี 2008 กรีนเทคโนโลยี ความแข็งแรงปลอดภัย และดีไซน์ล้ำเลิศประเสริฐศรี ก็ต้องมีเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถสร้างของเล่นไอทีได้ตามเทรนด์ประจำปี และต่อไปนี้คือ 5 เทคโนโลยีใหม่ที่เราจะได้ใช้ในเร็วๆ นี้

Solid State Drive (SSD)

Solid State Drive หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า SSD เป็นฮาร์ดดิสก์แบบใหม่ ซึ่งไม่ใช้แผ่นแม่เหล็กและมอเตอร์หมุน หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ เป็นไดรฟ์เก็บข้อมูลที่มีระบบเชิงกลเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงรองรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี มีขนาดเล็กและเบากว่าฮาร์ดดิสก์แบบแผ่นแม่เหล็ก ลักษณะการทำงานของ SSD จะเหมือนกับ Flash Drive การอ่านและเขียนข้อมูลจะทำงานผ่านไฟฟ้า ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น และแทบไม่มีความร้อนออกมา รวมทั้งเสียงรบกวน

นอกจากนี้ ยังประหยัดพลังงานกว่าฮาร์ดดิสก์ธรรมดา เพราะถ้าเทียบกับฮาร์ดดิสก์ปกติที่ใช้พลังงาน 1 วัตต์แล้ว SSD ใช้พลังงานเพียง 0.4 วัตต์เท่านั้น ถ้านำมาใช้ในโน้ตบุ๊กจะช่วยทำให้โน้ตบุ๊กทำงานเร็วขึ้น 3 เท่า และประหยัดไฟมากกว่า 95% ปัจจุบัน SSD ยังมีราคาแพงและมีความจุไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม เวลานี้ Apple ได้ประกาศเปิดตัว MacBook Air ที่ใช้ Solid State Drive ไปแล้ว และค่ายอื่นๆ กำลังทยอยตามมา คือ Asus, Toshiba ในขณะที่ซัมซุงได้ประกาศการผลิต External SSD เพื่อมาแทนฮาร์ดดิสก์ โดยมีขนาดทั้ง 32 และ 64 GB สำหรับทดแทนฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

45 นาโนซีพียู

45 นาโนซีพียู เป็นซีพียูที่ใช้การผลิตแบบ 45 นาโน จากเดิมที่เราใช้เทคโนโลยี 65 นาโน โดยอินเทลจะเปิดตัวซีพียูโค้ดแนมเพนรีน (Penryn) ซึ่งเป็นซีพียูตัวแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 45 นาโน ทำให้มีความซับซ้อนได้มากขึ้น ทำงานเร็วขึ้น 10-40% ในขณะที่กินไฟน้อยลงจาก 65 วัตต์ เหลือ 35 วัตต์ เพิ่มความเร็วให้พีซี ใช้พลังงานน้อย ประหยัดแบตเตอรี่ รักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังช่วยลดการรั่วไหลของอิเล็กตรอนในทรานซิสเตอร์ ทำให้มีประสิทธิภาพในการประมวลผลมากขึ้น ความร้อนซีพียูจะลดลงและทำให้ประหยัดไฟมากขึ้นด้วย 45 นาโนซีพียูยังมีขนาดเล็กกะทัดรัด จนสามารถออกแบบให้คอมพิวเตอร์พกพามีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และดูทันสมัยมากขึ้น

ส่วนซีพียูตัวจริงน่าจะออกจำหน่ายได้ราวๆ ไตรมาส 3 ของปีนี้ ดังนั้น ใครที่คิดจะซื้อคอมพิวเตอร์ประกอบใหม่ในปีนี้ น่าจะรอดูทิศทางช่วงปลายปีก่อน เพราะซีพียูถือเป็นหัวใจสำคัญของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกซื้อเมนบอร์ดและการอัพเกรดเครื่องในอนาคต

Multitouch Display

อาจจะไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ในสายตาของคอไอที แต่ทว่านับจากนี้ไประบบจอภาพแบบสัมผัสจะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการสั่งงานเครื่องมือต่างๆ อย่างสิ้นเชิง ง่ายต่อการควบคุมและง่ายต่อการเรียนรู้ เหมือนที่เครื่องพีดีเอโฟน ไอโฟน และไอพอดทัช ประสบความสำเร็จมาแล้ว การกลับมาในครั้งนี้เราอาจจะได้เห็นหน้าจอโทรศัพม์มือถือ หน้าจอแอลซีดี รวมทั้งหน้าจอแสดงผลการทำงานทั้งหลายกลายเป็นระบบมัลติทัชมากขึ้น

OLED (Organic Light Emitting Diode)

จอภาพแบบใหม่ที่อาจจะเข้ามาโค่นแอลซีดีลงอย่างสิ้นเชิง หลังจากหมดยุคการแข่งขันระหว่างจอพลาสมากับจอแอลซีดีหมดลงไป แน่นอนว่าผู้ชนะคือจอแอลซีดี แต่คู่แข่งตัวใหม่เป็นจอภาพที่กินพลังงานต่ำ สามารถบิดโค้งงอได้ตามต้องการ ที่สำคัญคือมีแนวโน้มที่จะพัฒนาสีสันของภาพได้ดีกว่าแอลซีดีอีกด้วย จอภาพ OLED ชนิดใหม่ ที่แหล่งไฟแสงสว่างเป็น organic semiconductor ไม่ได้เป็นหลอดไฟสว่างแบบเดิม ทำให้จอภาพบางจนสามารถม้วนงอได้ และยังสามารถกำหนดพื้นที่ที่จะส่องสว่างได้ นอกจากนี้ ยังเหนือกว่าแอลซีดีตรงที่มีความไวในการแสดงผลสูงถึง 0.01 MS ในขณะที่จอ LED แบบดั้งเดิมความเร็วสูงสุดแค่ 2 MSเท่านั้น

จอภาพแบบ HD (High Defination)

เมื่อการมาของจอภาพแบบ OLED เริ่มเข้าใกล้มาเรื่อยๆ จอภาพแบบแอลซีดีจึงขอขยับไปใช้แบบ HD ที่ความละเอียดภาพ 1080 พิกเซล ที่ให้รายละเอียดของภาพที่ชัดเจนกว่าจอภาพแบบแอลซีดีรุ่นเดิม ด้วยขนาด 1920 x 1080 พิกเซล ในขณะที่จอแอลซีดีทำได้เพียง 1204 x 728 พิกเซลเท่านั้น

แต่ราคาของจอภาพแบบ HD ขนาดใหญ่มีราคาสูงถึงหลักแสน แต่เชื่อว่าอีกไม่กี่ปีราคาก็จะตกลงเหลือหลักหมื่นให้เราจะได้หาซื้อมาใช้ได้ไม่ยาก นอกจากนี้ ยูบีซีก็ประกาศพร้อมจะแพร่ภาพที่ความละเอียดระดับ HD อีกด้วย และทั้ง 5 เทคโนโลยีก็คือเทคโนโลยีใหม่ของปี 2008 ที่จะเข้ามาอย่างเต็มตัว และจะกลายเป็นศัพท์มาตรฐานของเล่นไอทีที่ควรจำไว้ก่อนเลือกซื้ออีกด้วย




 

Create Date : 31 มกราคม 2551    
Last Update : 31 มกราคม 2551 21:27:13 น.
Counter : 486 Pageviews.  

Precision Engineering with nano technology

Since nanotechnology has progressed rapidly, a new method for length measurement with sub-nanometer or picometer resolution is required. Currently, the laser interferometer is the standard length measurement method in industry. However, it is difficult to determine arbitrary length measurement with sub-nanometer resolution order with sufficient accuracy because of its periodic nonlinear error in fringe interpolation and a flotation of the refractive index of air.



On the other hand, the lattice spacing of highly oriented phyrolytic graphite (HOPG) is approximately 0.25 nm, is stable and uniform over along range when it is stress free. The HOPG can be used as a reference scale with sub-nanometer resolution. Therefore, the reference atomic scale can be constructed by combining the Scanning Tunneling Microscope (STM) as a detector and a HOPG crystal as a reference.



To determine the grating pitch of sample, the new method for absolute length measuring machine (ALMM) by combining the phase modulation homodyne interferometer, the reference atomic scale with STM and the Atomic Force Microscope (AFM) is proposed. With the proposed method, an arbitrary length can be determined by utilizing a course scale (= optical fringes obtained from phase modulation homodyne laser interferometer) and a fine scale (= the lattice spacing on regular crystalline surface obtained from the STM image). The measurement instrument for this method consists of one moving stages with 1-dimentional motion axis X by using PZT actuator, STM/AFM heads with Y-Z scanner and tip/cantilever which can observe sample (the reference crystal and a grating pitch sample) on the stage, a multi-path phase modulation homodyne laser interferometer which measurement the displacement difference. With the instrument, a lateral (X-axis) length of the sample, which is obtained from the AFM sample image, can be determined from number of fringes of the interferometer and number of lattice spacing on the STM image of the reference crystal.




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2548    
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2548 20:28:48 น.
Counter : 329 Pageviews.  

เทคโนโลยีระดับจิ๋ว


ก่อนอื่นผมขออธิบายคำว่า นาโน (nano) ก่อน นาโนเป็นคำนำหน้า (prefix) หมายถึงหนึ่งในร้อยล้าน นาโนที่นำมาใช้ในนาโนเทคโนโลยีนั้นหมายถึง นาโนเมตร ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
แต่เมื่อพูดอย่างนี้หลายท่านอาจจะคิดว่าของที่เล็กมากขนาดนั้นจะนำมาใช้ประโยชน์กับเราทั่วไปได้มากมายหรือ ตรงนี้ขอตอบว่าใช้ได้จริงครับ เพราะเมื่อพิจารณาปัญหาต่างๆ ที่เราแก้ไม่ตกในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น ปัญหากำแพงความเร็วของชิพประมวลเครื่องไมโครโปรเชสเชอร์ (micro barrier) โรคภัยไข้เจ็บ หรือว่าจะเป็นสภาพมลภาวะ ล้วนมีต้นเหตุมาจากเซลล์เชื้อโรค หรือว่าการผลิตอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีของเสียและใช้พลังพลังงานฟุ่มเฟือย ซึ่งเกี่ยวกับวัตถุที่มีขนาดเล็กในระดับไมโครและนาโนเมตรทั่งสิ้น แต่ที่ผ่านมาเราต้องจัดการปัญหาเหล่านี้โดยทางอ้อม อาทิเช่น เมื่อไม่สบายเราต้องทานยาเข้าไปทำลายเชื้อโรค แต่ยานั้นก็อาจจะไม่ได้ทำลายเฉพาะเซลล์เชื้อโรคเท่านั้น มันอาจจะส่งผลข้างเคียงมากมายกับคนไข้ หรือสำหรับโรคบางชนิดเราก็ทำได้เพียงประคองอาการแล้วรอให้ร่างกายเราเป็นผู้สร้างภูมิต้านทานออกมาสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้นเอง ในขณะที่นาโนเทคโนโลยีเปิดโอกาสให้เราได้เข้าถึงต้นเหตุปัญหาเหล่านี้ได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยในการเร่งการพัฒนาและการวิจัยทางการแพทย์ การวิจัยทางพันธุศาสตร์ การผลิตสารชนิดใหม่ๆ โดยมีวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง การพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์สื่อสารชนิดใหม่ ฯลฯ
ความพยายามที่จะค้นหาความเป็นไปได้จากนาโนเทคโนโลยีนี้ ได้รับอธิผลมาจากหนังสือที่มีชื่อว่า Engines of Creation ซี่งเขียนโดย K. Eric Drexler เขาเสนอว่าถ้าเราสามารถสร้างหุ่นยนต์ขนาดจิ๋วที่มีชื่อว่า nanorobot ให้มีความสามารถตัดต่ออะตอมทีละอะตอมอย่างอิสระเราจะสามารถสร้างของทุกชนิดขึ้นได้โดยที่ไม่มีของเสียหรือมลพิษใดๆ ต้องถูกปล่อยออกมา ขบวนการผลิตของหุ่นยนต์เหล่านี้เริ่มจากการเพิ่มจำนวนโดยการสร้างหุ่นยนต์ที่มีลักษณะเหมือนตนเองขึ้นมาก่อน จากนั้นหุ่นยนต์เหล่านี้ก็จะช่วยกันประกอบผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการขึ้นโดยการเอาอะตอมของวัตถุดิบมาเรียงทีละอะตอม นอกจากที่จะใช้ผลิตของแล้ว ถ้าเราส่งหุ่นยนต์ที่ว่านี้ไปสู้ร่างกายไว้คอยช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่ชำรุดหรือคอยดักทำลายเชื้อโรคที่มารบกวน
หากถามว่าคนเราจะหยุดความแก่ได้หรือไม่ นักวิทยาศาสตร์อธิบายสาเหตุของการแก่ของคนเราไว้ว่าการแก่เกิดจากเมื่อคนเราอายุมากขึ้น เซลล์ของเราก็จะมีความสามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาทดแทนได้น้อยลง การลดลงนี้เกิดขึ้นจากการหดสั้นลงของ DNA ที่ชื่อว่า “เทโรเนีย” หาก nanorobot สามารถทำได้จริง เราก็จะส่งหุ่นยนต์นี้ไปซ่อมส่วนที่หดสั้นของเทโรเนียนี้ แต่การทำให้เซลล์สามารถสร้างตัวใหม่ตลอดไปนี้อาจเป็นอันตรายได้ เพราะหากเซลล์ที่ว่านี้เป็นเซลล์มะเร็งแล้วหล่ะก็ การทำเช่นนี้อาจเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ไปในตัว แต่เนื่องจาก nanorobot นั้นสามารถซ่อมแซมได้ทุกอย่าง แน่นอนมันก็สามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้เป็นเซลล์ปกติได้เช่นกัน ถึงวันนั้นคุณแม่ทั้งหลายอาจจะดูอ่อนวัยกว่าลูกสาวก็เป็ฯได้นะครับ
แต่ความเป็นไปได้ของเจ้า nanorobot นี้ถูกปฎิเสธโดยนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เช่น Richard E.Smalley กล่าวว่าเป็นการยากที่จะสร้างแขนหุ่นยนต์ให้มีหน้าที่สารพัดประโยชน์ ตามความคิดของ Draxler หรือถึงแม้แขนดังกว่าจะสร้างได้ ก็ยากที่จะส่งจ่ายพลังงานเข้าและถ่ายความร้อนออกจากหุ่นยนต์ดังกว่าได้
ไม่ว่า nanorobot ในความฝันของ Drexler ที่ว่ามานั้นจะถูกสร้างชึ้นมาจริงในอนาคตได้หรือไม่นั้นก็ตาม Engines of Creation ก็ได้สร้างแรงบันดาลใจ และจุดหมายร่วมกันแก่นักวิทยาศาสตร์แนะนักวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักฟิสิกส์ นักเคมี นักชีววิทยา และวิศกรที่เกี่ยวข้องกับ Material Science งานวิจัยของพวกเขาเหล่านี้ได้แสดงถึงความเป็นได้มากมายที่มีอยู่ต่อนาโนเทคโลยี ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การใช้โมเลกุลที่มีชื่อว่า Dedrimers หรือ nanoshell มาเป็นตัวขนส่งในระบบ DSS (Drug Delivery System) โมเลกุลเหล่านี้จะบรรจุตัวยาและจะถูกส่งไปตามกระแส แต่จะปล่อยยาออกมามาเมื่อถูกกระตุ้นจากภายนอก เช่นการฉายรังสี หรือเมื่อถูกกระตุ้นโดยสารบางอย่าง ทำให้เราสามารถควบคุม สถานที่และเวลาที่จะให้ยาออกฤทธิ์ได้ตามต้องการ เทคโนโลยีนี้ทำให้เราสามารถใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและอาจทำให้เราเลือกทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็งได้
 การนำ Carbon nanotube วัสดุอินทรีย์บางชนิดมาเป็นตัวนำไฟฟ้า หรือสารกึ่งตัวนำเพื่อผลิตัวประมวลประมวลผลข้อมูล (Processor) ในยุคข้างหน้า เพื่อให้มีขนาดเล็กลงและมีความไวสูง
 การนำแสงที่จางหายไป (Evanescent)กับปรากฎการณ์ Near-field Optics มาใช้เพิ่มควมจุให้กับ memory ของคอมพิวเตอร์
 การใช้ผลึกของสารกึ่งตัวนำที่มีชื่อว่า Quantum Dot มาใช้เป็นสารเรืองแสง ซึ่งมีความสามารถเรืองแสงพร้อมกันได้หลายสีตามขนาดของมัน โดยไม่จางหายไปอย่างรวดเร็วอย่างสารเรืองแสงที่ใช้กันมาดั้งเดิม
สารตัวนี้ถูกนำมาติดตามการเปลี่ยนแปลงของสารในเซลล์ในการทดลองทางชีววิทยา เมื่อพิจารณาความมุ่งหวังอันยิ่งใหญ่ของนาโนเทคโนโลยีแล้ว ความสำเร็จในปัจจุบันนับเป็นเพียงการเริ่มต้นของสาขานี้เท่านั้น ยังมีปัญหาอีกมากมายที่ท้าทายมันสมองของมนุษย์อยู่ แม้มองจากวันนี้ นาโนเทคโนโลยีอาจจะยังมีปัญหาอีกมาก แต่ถ้าวันใดเป็นจริงขึ้นได้แล้ว ด้วยประโยชน์มหาศาลที่จะมีถึงยุคนั้น บิลล์ เกตต์ คนที่สองอาจเกิดขึ้นบนโลกนี้โดย nanotechnology ก็เป็นได้

คัดลอกมาจาก หนังสือสายใย




 

Create Date : 03 ตุลาคม 2548    
Last Update : 3 ตุลาคม 2548 19:18:03 น.
Counter : 333 Pageviews.  


nut_siri
Location :
Koriyama, Fukushima Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add nut_siri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.