สะเดียงยา
Group Blog
 
All blogs
 

เต่าดาวอินเดีย (Geochelone elegans)

เต่าดาวอินเดีย (Geochelone elegans)
ลักษณะทั่วไป
จัดเป็นเต่าบกขนาดกลางถึงใหญ่ โตได้ถึง30กว่าซม. และหนักประมาณ7กิโล
เมื่อเต่ายังมีขนาดเล็กจะไม่เหมาะกับผู้เลี้ยงมือใหม่(ที่เรียกว่าsizeลูกปิงปอง)
เนื่องจากไวต่อสภาพอากาศที่ชื้น เป็นหวัดเสียชีวิตได้ง่าย ชอบอยู่ที่แห้ง
ไม่ชื้นเกินไป

อาหารการกินและที่อยู่อาศัย
เป็นเต่าที่กินง่าย กินอาหารได้หลากหลายเช่นเดียวกับเต่าบกชนิดอื่นๆ ผัก ผลไม้ ใบองุ่น ใบและดอกดาวเรือง หญ้ามาเล ชอบกระบองเพชรเสมา ถ้าเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม สามารถสืบพันธ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย


สถานะภาพ
CITES appendix II




 

Create Date : 07 ตุลาคม 2550    
Last Update : 11 ตุลาคม 2550 11:12:46 น.
Counter : 7123 Pageviews.  

การเลี้ยงเต่าแบบผิดๆถูกๆ

อะไรคือเต่าบกกับความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับเต่า.....เต่าทุกชนิดต้องอยู่ในน้ำ เต่าบกคือเต่าที่ว่ายน้ำไม่ได้ ตลอดชีวิตของเต่าบกจะอยู่แต่บนบก ไม่สามารถว่ายน้ำได้ ไม่เหมือนเต่าน้ำและเต่าชายน้ำต่างๆที่สามารถอาศัยอยู่ทั้งบนบกและในน้ำ การทำบุญปล่อยเต่าจึงควรระวังเป็นอย่างมาก อาจได้บาปแทนบุญ ซึ่งแม้แต่เต่าน้ำและเต่าชายน้ำหลายๆชนิด ถ้าได้รับการปล่อยซึ่งไม่ถูกที่ถุกทางก็ตายได้เหมือนกัน เพราะธรรมชาติของเต่าส่วนใหญ่อาจหากินบนบกหรือในน้ำ แต่มักจะนอนบนบกหรืออาบแดดบนบก ยกเว้นเต่าทะเล ดังนั้นถ้าต้องว่ายน้ำตลอดเวลาก็เหนื่อยตายได้เหมือนกัน เช่นเดียวกันกับความเชื่อที่ว่าเต่าต้องกินผักบุ้ง เต่าหลายๆชนิดตลอดทั้งชีวิตไม่เคยกินผัก เพราะเต่าทุกชนิดไม่ได้กินผักเป็นอาหารเหมือนกันหมด เช่น เต่าน้ำหลายชนิดกินแต่กุ้งหอยปูปลา บางชนิดกินหอยตัวอย่างที่พบบ่อยในบ้านเรา คือเต่านาที่ชอบนำมาขายตามตลาดให้คนนำไปปล่อย พวกนี้กินหอยเป็นอาหารหลัก การถูกนำไปปล่อยตามวัดจึงเป็นการทำร้ายเต่าอย่างรุนแรง บ่อส่วนใหญ่ในวัดไม่มีหอยให้กินอย่างเพียงพอกับจำนวนเต่า ที่ร้ายกว่าคือ บางบ่อน้ำบางวัดไม่มีบกให้เต่าพักพิงเลย ทำให้จบชีวิตเร็วกว่าเดิม ไม่มีหน่วยราชการเข้าไปให้ความรู้กับประชาชน ไม่มีการอนุรักษ์อย่างจริงจัง ทั้งที่เต่าทุกชนิดมีกฎหมายคุ้มครอง แต่ยังขายเกลื่อนตามตลาดและหน้าวัดเกือบทุกที่ ซ้ำร้ายกฎหมายกลับย้อนมากระทบกับผู้ที่ตั้งใจอนุรักษ์เพาะพันธ์ ทำให้ไม่สามารถกระทำได้
การเลี้ยงเต่าบกในบ้านเราเริ่มมีมากขึ้นจนกลายเป็นกระแส มีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากราคามีตั้งแต่หลัก100-100,000 พิมพ์ไม่ผิดหรอก หลักแสนจริงๆ เต่าบกมีอุปนิสัยที่น่ารักไม่ก้าวร้าว สวยงาม ไม่ส่งเสียงหนวกหูโวยวาย ใช้บริเวณในการเลี้ยงไม่มาก แต่ยังขาดความเข้าใจในการเลี้ยงจนเกิดเป็นโศกนาฎกรรมขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นความสำคัญที่สุดของการเลี้ยงเต่า คือ การทำความเข้าใจกับสายพันธ์ของเต่าที่เราต้องการจะเลี้ยง การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อาหารที่ถูกต้อง เพื่อให้การเลี้ยงเต่าเป็นความสุข มากกว่าความ...


เทคนิคการเลี้ยงเต่าบก (สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย)
//www.dld.go.th/region9/index.php?option=com_content&task=view&id=52&Itemid=38




 

Create Date : 07 ตุลาคม 2550    
Last Update : 7 ตุลาคม 2550 10:53:44 น.
Counter : 9196 Pageviews.  

เต่าขาแดง (Geochelone carbonaria)

Red Foot Tortoise (Geochelone carbonaria)
เป็นเต่าที่สามารถเลี้ยงในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี เพราะถิ่นกำเนิด จากป่าในอเมริกาใต้ ซึ่งลักษณะอากาศใกล้เคียงเมืองไทย เหมาะกับมือใหม่หัดเลี้ยงเต่าบก แต่หาไม่ได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป


ลักษณะทั่วไป
เต่าRed Foot ขนาดโตเต็มที่ประมาณ1ฟุต การดูแลเต่าRed Foot ต้องการความชื้น ไม่ชอบแสงแดดจัดๆ แต่ควรต้องได้รับแสงแดดในตอนเช้า

อาหารการกินและนิสัย
กินผัก ผลไม้ทุกชนิด ค่อนข้างตะกละและมีความต้องการโปรตีนมากกว่าเต่าบกทั่วไป ควรเสริมเนื้อ หรืออาหารสุนัขนิดหน่อย1-2สัปดาห์ครั้ง เชื่องคุ้นกับคนง่าย ไม่ค่อยตื่นกลัว




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2550    
Last Update : 7 ตุลาคม 2550 11:47:07 น.
Counter : 3996 Pageviews.  

เต่าหกดำ (Manouria emys phayrei)

เต่าหกดำ Burmese Black Tortoise (Black Asian Giant Tortoise)

ลักษณะทั่วไป
เป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย และเป็นอันดับ4ของโลก กระดองยาว ๒ ฟุต หนัก ๓๐ -๔๐ กิโลกรัม มีขากรรไกรแข็งแรง ขาหลังคล้ายขาช้าง มีเล็บขนาดใหญ่ เดือยมีขนาดใหญ่และแข็งแรง กระดองโค้งสูงมาก ขาหน้าด้านบนมีเกล็ดใหญ่ ๆขาหลังสั้นทู่มีเล็บกลมใหญ่ มีเดือยอยู่ระหว่างขาหลังกับหางข้างละอัน เดือยมีกระดูกอยู่ข้างใน สำหรับใช้ยันพื้นดินเวลาปีนขึ้นที่สูงจึงดูคล้ายมีขาเพิ่มอีก ๒ ขา เป็นหกขา จึงเรียกว่า “เต่าหก”


ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่า อัสสัม สำหรับประเทศไทยพบทางตอนเหนือ และทางด้านตะวันตก เช่น จังหวัด ตาก กาญจนบุรี และพบตามเทือกเขาตะนาวศรีจากเหนือจรดใต้
อาหารของเต่าหกดำได้แก่ พืชผัก ผลไม้ หัวเผือก หัวมัน รวมทั้งหอยต่างๆ ทากก็กินเหมือนกัน

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบดินที่มีความชื้นสูง ดินแห้งแข็งไม่ชอบ ชอบขุดหลุมซุกตัวเองอยู่ในดิน หรือแอ่งดินที่มีน้ำขัง ชอบอยู่ตามภูเขา ตามพื้นราบไม่ค่อยพบ ถ้าเลี้ยงบนพื้นซีเมนต์ต้องมีน้ำให้ตลอดเวลา เพื่อให้ตัวเปียกชื้น เต่าหกนี้ถ้าเลี้ยงให้ถูกวิธีจะมีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี
วางไข่ครั้งละประมาณ 50 ฟอง
สถานะภาพ
Cites Appendix 2
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ 2535 ของประเทศไทย




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2550    
Last Update : 7 ตุลาคม 2550 11:45:28 น.
Counter : 1890 Pageviews.  

เต่าเหลือง (Indotestudo elongata)

เต่าเหลือง,เต่าเทียน,เต่าขี้ผึ้ง (Elongated Tortoise)


ลักษณะทั่วไป
เป็นเต่าค่อนข้างเล็ก หนักประมาณ 2 กิโลกรัมขนาดของตัวโตเต็มวัยกระดองหลังยาว 22 - 30 เซนติเมตร กระดองโค้งสูงพอสมควร ทั่วตัวมีสีเหลืองเป็นส่วนใหญ่ มีแต้มสีดำบ้างประปราย ขอบกระดองของบางตัวมีสีเหลืองใสดูคล้ายขี้ผึ้ง บางคนจึงเรียกเต่าชนิดนี้ว่า “เต่าเทียน” ขาหน้ามีเกล็ดใหญ่ ๆ อยู่ด้านบน ขาหลังสั้นทู่ ขาหน้าและขาหลังไม่มีพังผืดระหว่างนิ้ว แต่มีนิ้วแข็งแรงมาก


ถิ่นอาศัย, อาหาร
เต่าเหลืองพบในอินเดีย พม่า อินโดจีนและมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบทุกภาค เต่าชนิดนี้กินผักทุกชนิด รวมทั้งเผือก ผลไม้ ซากสัตว์ และหอยต่าง ๆ

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
เป็นเต่าชอบอยู่ในป่า บนที่ราบสูง หรือบนภูเขา ไม่ชอบแช่น้ำ ชอบที่เย็นและมีความชื้นสูง ชอบปีนป่าย ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เกล็ดรอบกระดองของตัวผู้จะเปลี่ยนสีเหลืองเป็นสีส้ม มักผสมกันในช่วงที่มีฝนตก ส่งเสียงร้องขณะผสมพันธ์


สถานภาพปัจจุบัน
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
สามารถเพาะพันธ์ได้ในที่เลี้ยง ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ4เดือน วางไข่ครั้งละ3-6ฟอง บางครั้งแบ่งไข่ออกเป็นเป็นชุดๆละ3ฟองต่อหลุม มักวางไข่เวลาเย็นถึงกลางคืน






 

Create Date : 04 ตุลาคม 2550    
Last Update : 7 ตุลาคม 2550 15:45:38 น.
Counter : 9357 Pageviews.  

1  2  

คนชอบเต่า
Location :
เพชรบูรณ์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add คนชอบเต่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.