ทำเท่าไรคงไม่เพียงพอเท่าที่พ่อให้ลูกมานานแสนนาน มีแค่เพียงเหตุผลสั้นๆ ไม่ต้องการๆ ให้พ่อเสียใจ พรุ่งนี้ยังคงไม่รู้แต่ถ้าพ่อยังมองลูกอยู่เหมือนเก่า หวังว่าพ่อจะให้อภัยและอยู่กับลูกทุกวันเรื่อยไป เป็นดังแสงตะวันในใจชี้ทางให้ลูกก้าวไปตามความหวังที่พ่อวาดไว้
Group Blog
 
All blogs
 

ดนตรีให้...อะไรกับเรา

สมาธิที่ได้จากการเล่นดนตรี ทำให้เราใจเย็นมากขึ้น

ขิมเป็นเครื่องเล่นที่ใช้ความละเอียดในการบรรเลง เทคนิคลูกเล่นที่ใช้ล้วนเกิดจากการบรรจงอย่างละเมียดละไม

การเล่นขิมจะฝึกให้เราเป็นผู้ที่มีความสุขุมเยือกเย็น เพราะในการเล่นนั้น ขิมตัวหนึ่งเล่นได้คนเดียว ผู้เล่นต้องใช้เวลาและมีสมาธิกับการเล่นขิมตรงหน้า ยิ่งถ้าได้เล่นเป็นวงแล้ว ยิ่งต้องใช้สมาธิมากยิ่งขึ้น ทำให้เป็นคนที่มีความสุขุม นิ่งขึ้น

"การใช้สมาธิในการเล่นขิมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัวเราใจเย็น"

~~~~~~~~องค์ประกอบของดนตรีไทย~~~~~~~~

1. เสียงของดนตรีไทย ประกอบด้วยระดับเสียง 7 เสียง แต่ละเสียงมีช่วงห่างเท่ากันทุกเสียง เสียงดนตรีไทย แต่ละเสียงเรียกชื่อแตกต่างกันไป ในดนตรีไทยเรียกระดับเสียงว่า “ทาง”
2. จังหวะของดนตรีไทย “จังหวะ” มีความหมายถึงมาตราส่วนของระบบดนตรีที่ดำเนินไปในช่วงของการบรรเลงเพลงอย่างสม่ำเสมอ เป็นตัวกำหนดให้ผู้บรรเลงจะต้องใช้เป็นหลักในการบรรเลงเพลง

จังหวะของดนตรีไทยจำแนกได้ 3 ประเภท คือ

1. จังหวะสามัญ หมายถึงจังหวะทั่วไปที่นักดนตรียึดเป็นหลักสำคัญในการบรรเลงและขับร้องโดยปกติจังหวะสามัญที่ใช้กัน
ในวงดนตรีจะมี 3 ระดับ คือ

จังหวะช้า ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ สามชั้น
จังหวะปานกลาง ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ สองชั้น
จังหวะเร็ว ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ ชั้นเดียว

2. จังหวะฉิ่ง หมายถึง จังหวะที่ใช้ฉิ่งเป็นหลักในการตี โดยปกติจังหวะฉิ่งจะตี “ฉิ่ง…ฉับ” สลับกันไป ตลอดทั้งเพลง แต่จะมีเพลงบางประเภทตีเฉพาะ “ฉิ่ง” ตลอดเพลง บางเพลงตี “ฉิ่ง ฉิ่ง ฉับ” ตลอดทั้งเพลง หรืออาจจะตีแบบอื่นๆ ก็ได้ จังหวะฉิ่งนี้นักฟังเพลงจะใช้เป็นแนวในการพิจารณาว่าช่วงใดเป็นอัตราจังหวะ สามชั้น สองชั้น หรือ ชั้นเดียวก็ได้ เพราะฉิ่งจะตีเพลงสามชั้นให้มีช่วงห่างตามอัตราจังหวะของเพลง หรือ ตีเร็วกระชั้นจังหวะ ในเพลงชั้นเดียว

3. จังหวะหน้าทับ หมายถึงเกณฑ์การนับจังหวะที่ใช้เครื่องดนตรี ประเภทเครื่องตีประเภทหนังซึ่งเลียนเสียงการตีมาจาก “ทับ” เป็นเครื่องกำหนดจังหวะ เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ตะโพน กลองแขก สองหน้า โทน - รำมะนา หน้าทับ

3. ทำนองดนตรีไทย
คือลักษณะทำนองเพลงที่มีเสียงสูงๆ ต่ำๆ สั้นๆ ยาวๆ สลับ คละเคล้ากันไป ตามจินตนาการของคีตกวีที่ประพันธ์ บทเพลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ เหมือนกันทุกชาติภาษา จะมีความแตกต่างกันตรงลักษณะประจำชาติที่มีพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม ไม่เหมือนกัน เช่น เพลงของอเมริกัน อินโดนีเซีย อินเดีย จีน ไทย ย่อมมีโครงสร้างของทำนองที่แตกต่างกัน ทำนองของดนตรีไทยประกอบด้วยระบบของเสียง การเคลื่อนที่ของเสียง ความยาว ความกว้างของเสียง และระบบหลักเสียงเช่นเดียวกับทำนองเพลงทั่วโลก

1. ทำนองทางร้อง เป็นทำนองที่ประดิษฐ์เอื้อนไปตามทำนองบรรเลงของเครื่องดนตรี และมีบทร้องซึ่งเป็นบทร้อยกรอง ทำนองทางร้องคลอเคล้าไปกับทำนองทางรับหรือร้องอิสระได้ การร้องนี้ต้องถือทำนองเป็นสำคัญ

2. ทำนองการบรรเลง หรือทางรับ เป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีในวงดนตรี ซึ่งคีตกวีแต่งทำนองไว้สำหรับบรรเลง ทำนองหลักเรียกลูกฆ้อง “Basic Melody” เดิมนิยมแต่งจากลูกฆ้องของฆ้องวงใหญ่ และแปรทางเป็นทางของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ดนตรีไทยนิยมบรรเลงเพลงในแต่ละท่อน 2 ครั้งซ้ำกัน ภายหลังได้มีการแต่งทำนองเพิ่มใช้บรรเลงในเที่ยวที่สองแตกต่างไปจากเที่ยวแรกเรียกว่า “ทางเปลี่ยน”

4. การประสานเสียง
หมายถึง การทำเสียงดนตรีพร้อมกัน 2 เสียง พร้อมกันเป็นคู่ขนานหรือเหลื่อมล้ำกันตามลีลาเพลงก็ได้

1. การประสานเสียงในเครื่องดนตรีเดียวกัน เครื่องดนตรีบางชนิดสามารถบรรเลงสอดเสียง พร้อมกันได้ โดยเฉพาะทำเสียงขั้นคู่ (คู่2 คู่3 คู่4 คู่5 คู่6 และ คู่7)

2. การประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรี คือ การบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สุ้มเสียง และความรู้สึกของเครื่องดนตรีเหล่านั้น ก็ออกมาไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะบรรเลงเหมือนกันก็ตาม

3. การประสานเสียงโดยการทำทาง การแปรทำนองหลักคือ ลูกฆ้อง “Basic Melody” ให้เป็นทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดเรียกว่า “การทำทาง” ทางของเครื่องดนตรี (ทำนอง)แต่ละชนิดไม่เหมือนกันดังนั้นเมื่อบรรเลงเป็นวงเครื่องดนตรีต่างเครื่องก็จะบรรเลงตามทางหรือทำนองของตน โดยถือทำนองหลักเป็นสำคัญของ การบรรเลง














 

Create Date : 08 สิงหาคม 2552    
Last Update : 8 สิงหาคม 2552 3:40:04 น.
Counter : 878 Pageviews.  


ฝัน-นิทรา ณ.น้ำปิง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ถ้ายังมองอยู่

กับวันที่ดูโหดร้ายที่ทำให้ใจอ่อนล้า กี่ทีที่มีน้ำตาต้องกล้ำต้องกลืนลงไป
กับคืนที่ดูมืดมนสับสนข้างในหัวใจ จะหนักจะหนาเท่าไรต้องซ่อนเอาไว้อย่างนั้น

ทำเท่าไรคงไม่เพียงพอเท่าที่พ่อให้ลูกมานานแสนนาน
มีแค่เพียงเหตุผลสั้นๆ ไม่ต้องการๆ ให้พ่อเสียใจ

พรุ่งนี้ยังคงไม่รู้แต่ถ้าพ่อยังมองลูกอยู่เหมือนเก่า
หวังว่าพ่อจะให้อภัยและอยู่กับลูกทุกวันเรื่อยไป
เป็นดังแสงตะวันในใจชี้ทางให้ลูกก้าวไปตามความหวังที่พ่อวาดไว้

หากวันที่ยังโหดร้ายและทำให้ใจอ่อนล้า กี่ทีที่มีน้ำตาจะกล้ำจะกลืนลงไป
หากคืนที่ยังมืดมนสับสนข้างในหัวใจ จะหนักจะหนาเท่าไรจะซ่อนเอาไว้อย่างนั้น

พรุ่งนี้ยังคงไม่รู้แต่ถ้าพ่อยังมองลูกอยู่เหมือนเก่า
หวังว่าพ่อจะให้อภัยและอยู่กับลูกทุกวันเรื่อยไป
เป็นดังแสงตะวันในใจชี้ทางให้ลูกกล้าจะเดินต่อไป


object width="340" height="90">
โค้ดเพลง ถ้ายังมองอยู่ โค้ดเพลง
Friends' blogs
[Add ฝัน-นิทรา ณ.น้ำปิง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.