ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

ตอบทุกข้อสงสัยชาวโซเซียล ปรับตัวอย่างไร..ในกฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่



หลังจากที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ใหม่ ฉบับที่ 2 ปี 2558 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 ส.ค. ที่ผ่านมาส่งผลให้ชาวออนไลน์ต้องตระหนักถึงการคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ผลงานในยุคดิจิทัลเเละต้องระมัดระวังการเผยเเพร่สื่อต่างๆ
หากนำข้อมูลของผู้อื่นมาเเชร์ในโลกโซเซียล แล้วไม่ให้เครดิตหรือนำไปใช้เพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจมีความผิด โดยกฎหมายฉบับใหม่ได้กำหนดอัตราโทษขั้นต่ำไว้ที่ ปรับ 1 หมื่น-1 แสนบาท หากกระทำเพื่อการค้ามีโทษปรับตั้งแต่ 5 หมื่น-4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาเกิดกระเเสข้อสงสัยมากมายในสังคมไทยถึงขอบเขตเเละการตีความในพ.ร.บ.กฎหมายใหม่ฉบับดังกล่าวว่าประชาชนเเละสื่อต่างๆควรปรับตัวอย่างไรไม่ให้เข้าข่ายกระทำผิดกฎหมาย

โดยนางสาวนุสรา กาญจนกูล ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา เเละ ร.ศ.อรพรรณ พนัสพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมตอบคำถามเพื่อไขข้องข้องใจเเก่ประชาชนในงานบรรยายพิเศษในหัวข้อ "รู้จักกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่" เมื่อวันที่ 5 ส.ค.ดังต่อไปนี้ 


-ข้อสงสัยในโลกออนไลน์ที่ว่าการแชร์ภาพ “สวัสดีวันจันทร์” ภาพดอกไม้วันสำคัญหรือภาพวิวทิวทัศน์ ส่งต่อกันในแอพลิเคชั่นไลน์นั้น จะถือว่าละเมิดพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์หรื่อไม่ 

ตอบ : สามารถทำได้ หากเป็นการส่งแบบเป็นส่วนตัว ไม่มีการดัดแปลงหรือลบข้อความใดๆและไม่ส่งผลกระทบต่อเจ้าของภาพลิขสิทธิ์นั้นๆ  เนื่องจากเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม (Fair Use)แต่ถ้าหากใช้เพื่อการค้าและหากำไรจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และมีความผิด
-กรณีบล็อกหรือเว็บไซต์ นำคลิปวิดิโอที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ยูทูบมาเผยแพร่ในเว็บของตนเองโดยการฝังโค้ดที่เรียกว่า “embed” ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ และถ้าหากบล็อกหรือเว็บไซต์มีโฆษณาที่สร้างรายได้อยู่ในเว็บด้วย ถือเป็นการเชิงพาณิชย์หรือไม่ 

ตอบ : ผอ.สำนักกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ชี้แจงว่ากรณีดังกล่าวถือเป็นการทำซ้ำ แต่เนื่องจากการโพสต์ในเว็บไซต์ยูทูบเป็นการตั้งใจเผยแพร่สู่สาธารณะจึงตีความได้ว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องการให้คนทั่วไปเข้าถึงได้จึงเข้าข่ายให้บุคคลสามารถทำบล็อกแล้วนำคลิปวิดิโอซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ยูทูบมาไว้ในบล็อกของตนได้ในลักษณะของการฝังโค้ดหรือembedเพราะเหมือนเป็นการแชร์วิดิโอซึ่งเป็นการอ้างอิงกลับไปยังคลิปวิดิโอของเจ้าของลิขสิทธิ์

แต่สำหรับการทำซ้ำถาวร โดยการดาวน์โหลดคลิปวิดิโอและอัพโหลดขึ้นใหม่ในเว็บไซต์หรือบล็อกของตนนั้นจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อนมิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

สำหรับเรื่องเว็บไซต์หรือบล็อกที่มีรายได้มาเกี่ยวข้องจะต้องดูว่าคลิปวิดโอจากยูทูบที่เรานำมาฝังโค้ดในเว็บเรานั้นส่งผลเสียต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ห
รือไม่หากไม่มีผลกระทบที่ทำให้เสื่อมเสียหรือเสียรายได้และยอดวิวบนยูทูบของคลิปดังกล่าวก็ยังขึ้นดังเดิมจึงถือว่าไม่ถึงขั้นละเมิดลิขสิทธิ์และสามารถทำได้
-ถ้าหากรูปภาพนั้นไม่ทราบถึงชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริง แต่ทราบว่ามาจากเว็บไซต์ที่เข้าถึงภาพนั้นๆจะสามารถให้เครดิตโดยอ้างเว็บไซต์ได้หรือไม่ 

ตอบ : หากผู้ใช้ไม่ทราบถึงที่มาจริงๆด้วยความสุจริตใจก็สามารถให้เครดิตจากเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่าเข้าถึงจากเว็บใดวันเวลาใด และต้องนำเอามาใช้ในปริมาณน้อย ไม่เยอะเกินไป และไม่ใช้รูปที่เป็นภาพหัวใจหลักของผลงานที่ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์สูญเสียรายได้ที่พึงจะได้จากภาพหรือบทความดังกล่าว
-จากข้อสงสัยที่ว่า หากประชาชนทั่วไปจะทำการตัดต่อภาพล้อเลียนบุคคลสำคัญ เช่น กรณีตัดต่อภาพนายกรัฐมนตรี โดยการเปลี่ยนฉากหลังรายการคืนความสุขให้เป็นรูปคิตตี้ หรือตัดต่อภาพผู้ว่าราชการกรุงเทพฯกับภาพถนนยุบ  ประชาชนจะมีความผิดหรือไม่


ตอบ : ในกรณีนี้ ประชาชนจะอาจจะมีความผิดถ้าเป็นภาพที่ดัดแปลงจนทำให้เสื่อมเสียเกียรติ ซึ่งเข้าข่ายทำผิดกฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลแทนการละเมิดลิขสิทธิ์ 

แต่ถ้าหากจะเข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าของภาพที่เป็นคนถ่ายภาพที่ถูกนำไปตัดต่อว่าจะร้องเรียนหรือไม่ถ้าเจ้าของภาพไม่ว่าอะไรหรือไม่ได้เสียรายได้จากภาพดังกล่าวก็ไม่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ 

-สำหรับสื่อ ในกรณีนำเพลงของศิลปินมาประกอบการเสนอข่าว ความยาวประมาณ10-15 วินาที พร้อมระบุชื่อเจ้าของผลงานและค่ายเพลงอย่างละเอียด จะสามารถทำได้หรือไม่

ตอบ : สามารถทำได้ แต่ต้องไม่เกินกรอบของพ.ร.บ. ที่กำหนดไว้ว่า สำหรับการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้ไม่เกิน10 % และไม่เกิน 3 นาที ต้องระบุที่มาและเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน 

-หากมีผู้ร้องเพลงของค่ายเพลงที่มีลิขสิทธิ์ ในรูปแบบการ COVERและนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ออนไลน์ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

ตอบ : ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของค่ายเพลงเจ้าของลิขสิทธิ์ว่าที่สุดแล้วจะฟ้องร้องท่านหรือไม่ 

-เว็บไซต์ข่าว นำภาพของดารานักแสดงจากเฟซบุ๊คและอินสตาแกรมมาใช้ประกอบข่าวได้หรือไม่
ตอบ : ผอ.สำนักกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ในกรณีเป็นนักข่าวมีข้อยกเว้นที่จะใช้ภาพประกอบข่าวโดยต้องระบุเครดิตการรับรู้ความเป็นลิขสิทธิ์ของภาพนั้นๆอย่างชัดเจน

ส่วนภาพดาราเซลฟี่ ที่จะนำมาใช้อย่างต่อเนื่องนั้น ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาแนะนำให้ทำการขออนุญาตที่จะใช้อย่างต่อเนื่องก่อนเพื่อความรอบคอบปลอดภัย
- ในกรณีเป็นบริษัทที่รวบรวมบทความจากนักเขียนโดยได้รับอนุญาตจากผู้เขียนแล้ว  ต่อมาผู้เขียนได้ทำการไปละเมิดภาพลิขสิทธิ์โดยฝ่ายบริษัทไม่ทราบมาก่อนและได้ทำการเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ดังนั้นบริษัทไม่ต้องรับผิดใช่หรือไม่

ตอบ : ปกติแล้วโจทก์ผู้ยื่นฟ้องจะฟ้องแบบเหมารวม โดยบริษัทจะต้องโดนฟ้องไปด้วยในความผิดช่วยเผยแพร่ จึงขอแนะนำให้บริษัทต่างๆให้นิติกรบริษัททำสัญญากับผู้เขียนให้ชัดเจนและบริษัทต้องทำการเช็คให้ดีโดยรอบคอบหากมีการเผยแพร่ไปแล้วก็ต้องเก็บกลับคืนมาก่อนเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ
-แค่ไหนถึงจะเรียกว่าเป็น “ผลงานสร้างสรรค์” ที่ควรมีลิขสิทธิ์?

ตอบ : ตามหลักสากลแล้วจะวัดจาก ทักษะ การลงทุนลงแรงและวิจารณญาณ ไม่ได้ตัดสินด้วยความสวยงามเพราะต่างคนต่างรสนิยม ยกตัวอย่างเช่น ภาพวาดจากฝีมืออ.เฉลิมชัย จิตรกรชื่อดัง กับภาพวาดจากฝีมือของเด็กอนุบาล  ซึ่งภาพทั้งสองถือเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์ เเต่จะต่างกันที่มูลค่าของภาพวาดเท่านั้น
-ผู้ร่วมเสวนาถามว่า หากเช็คแล้วว่าตัวการ์ตูนชื่อดัง อย่าง “โดราเอมอน” ได้หมดสัญญาลิขสิทธิ์ลงแล้ว เราสามารถนำโดราเอมอนมาดัดแปลงและตกแต่งเพื่อสร้างผลงานที่เราเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เองได้หรือไม่ 

ตอบ : หากตัวการ์ตูนดังกล่าวหมดลิขสิทธิ์จริง งานดัดแปลงก็สามารถเป็นผลงานของเราได้ ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่เราต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อน

-กรณีที่ตัวการ์ตูน “มิกกี้ เมาส์” จะต่อสัญญาลิขสิทธ์ที่เดิมจะหมดลิขสิทธิ์ในปี2560 ไปอีก20ปี เป็นปี 2580 ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ในต่างประเทศ  แต่กฎหมายในประเทศไทยให้เวลาการครองลิขสิทธิ์อยู่ที่50 ปี บริษัทต่างประเทศจะสามารถฟ้องร้องเราได้หรือไม่ ต้องยึดตามกฎหมายประเทศใด

ตอบ : ถ้าบริษัทต่างชาติจะฟ้องร้อง ก็จะต้องฟ้องร้องภายใต้กฎหมายประเทศไทยเท่านั้นยกเว้นที่เรามีการส่งออกไปขายหรือทำการที่ต่างประเทศ 

-หากผู้ใช้นำภาพที่มีลายน้ำระบุลิขสิทธิ์ไปใช้ ภายหลังพบว่าชื่อที่ปรากฎบนลายน้ำดังกล่าว ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่เเท้จริงเเละเป็นภาพที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มา ผู้ใช้จะมีความผิดหรือไม่ 

ตอบ: หากผู้ใช้ภาพพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ทราบมาก่อนโดยสุจริตใจ ก็ถือว่าไม่มีความผิด 




โดยก่อนหน้านี้ ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ทำคู่มือเเจกประชาชนเกี่ยวกับ 10 คำถามน่ารู้ที่ประชาชนให้ความสนใจสอบถามเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ดังนี้


1.ลิขสิทธิ์คุ้มครองอะไรบ้าง มีอะไรที่เราสามารถเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือไม่


ลิขสิทธิ์คุ้มครองงานสร้างสรรค์ เช่น บทความ หนังสือ ซอฟต์แวร์ เพลง รูปภาพ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพข่าว ภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น แต่ข้อเท็จจริงต่าง ๆ รวมทั้งข่าวประจำวันทั่วไปในส่วนของข้อเท็จจริงที่รายงานเพียงแค่ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ไม่เข้าข่ายงานอันมีลิขสิทธิ์ เราจึงสามารถเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

2.เราสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์หรือเพลงจากอินเทอร์เน็ตมาฟังและแชร์ต่อให้เพื่อนได้ไหม

การดาวน์โหลดถือเป็นการทำซ้ำที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์กรณีเว็บไซต์ลิขสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ดาวน์โหลดได้ฟรีก็สามารถดาวน์โหลดได้แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้ส่วนกรณีเว็บไซต์ที่ให้บริการโดยเก็บค่าใช้จ่ายในการดาวน์โหลดเมื่อผู้ใช้เสียค่าบริการแล้วจึงจะดาวน์โหลดมาเพื่อรับชมหรือรับฟังได้แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้เช่นกัน
3.การก๊อปปี้บทความหรือรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่เฟสบุ๊คของเราหรือแชร์ต่อทางไลน์ทำได้หรือไม่

บทความหรือรูปภาพเป็นงานลิขสิทธิ์การนำมาใช้ไม่ว่าจะเป็นการก๊อปปี้หรือแชร์ต่อควรพิจารณาประกอบกับเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้เนื้อหาของเว็บไซต์นั้นๆว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใดอย่างไรก็ตามถ้านำมาใช้ในปริมาณน้อยเช่น1ถึง2ภาพที่ไม่ได้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ(economicvalue)อย่างมีนัยสำคัญและไม่ได้เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไรโดยมีการแสดงที่มาของบทความหรือรูปภาพก็อาจถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม(fairuse)ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
4.การนำงานมาใช้และเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาหรือให้เครดิตผู้สร้างสรรค์เพียงพอหรือไม่ที่จะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

การนำงานมาใช้และเผยแพร่ต้องอ้างอิงที่มาหรือให้เครดิตเสมอจึงจะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และต้องเป็นกรณีที่ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์รวมทั้งต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรด้วย
5.การแฮ็กหรือหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์เช่นรูปภาพหรือคลิปวีดิโอบนอินเทอร์เน็ตและลบลายน้ำดิจิทัลออกและปรับแต่งรูปภาพหรือคลิปวีดิโอและโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ของเรามีความผิดอย่างไรและมีโทษเท่าใด

การแฮ็กหรือหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวอาจจูงใจหรือก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยีและหากทำการลบลายน้ำดิจิทัลออกโดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำนั้นอาจจูงใจให้เกิดก่อให้เกิดให้ความสะดวกหรือปกปิดการละเมิดลิขสิทธิ์ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิส่วนการปรับแต่งรูปภาพหรือคลิปวีดิโอของผู้อื่นและโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ของเราโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลงและเผยแพร่งานลิขสิทธิ์นั้นต่อสาธารณชน
โทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ปรับ20,000บาทถึง200,000 บาท
เพื่อการค้า 100,000 ถึง 800,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือนถึง 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
โทษฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี ปรับ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท
เพื่อการค้า ปรับ 50,000 ถึง 400,000 บาท หรือจำคุก 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ 


6.การก๊อปปี้ภาพหรือบทความจากอินเทอร์เน็ตมาใช้ในลักษณะอย่างไรจึงจะต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์และอย่างไรจึงไม่ต้องขออนุญาต

กรณีที่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์เช่นการนำภาพหรือบทความนั้นไปใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นต้นกรณีที่ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องเป็นการใช้ในปริมาณพอสมควรเช่นนำมาใช้ในการวิจัยหรือศึกษางานซึ่งไม่ใช่เพื่อหากำไรใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิทใช้ในการติชมวิจารณ์หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้นใช้ในการเสนอข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้นและใช้ในการเรียนการสอนเป็นต้น
7.การทำบล็อกแล้ว embed โพสต์ของยูทูปมาไว้ที่บล็อกของเรา ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

ถ้าเจ้าของคลิปวิดีโอบนยูทูบเผยแพร่คลิปวิดีโอนั้นในลักษณะ Public จะถือว่าเจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้สาธารณชนทั่วไปเข้าถึงงานดังกล่าวได้ เพราะฉะนั้น การทำบล็อกแล้วนำคลิปวิดีโอซึ่งเผยแพร่บนยูทูบมาไว้ที่ blog ของเราในลักษณะของการฝังโค้ด (embed) จึงอาจไม่เข้าข่ายละเมิดเช่นเดียวกับการ share link ของคลิปวิดีโอดังกล่าว เนื่องจากการ embed หรือการ share link เป็นการอ้างอิงกลับไปยังคลิปวิดีโอของเจ้าของลิขสิทธิ์

สำหรับ การดาวน์โหลด (download) คลิปวิดีโอและอัพโหลด (upload) ขึ้นใหม่ใน blog เป็นการทำซ้ำ และเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ใน blog จึงจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน 

8.หากซื้อซีดีเพลง หนังสือ หรือรูปภาพมาอย่างถูกต้อง เมื่อใช้แล้วจะนำออกขายต่อได้หรือไม่ กรณีซื้อโดยดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ ภาพยนตร์ เพลงจากเว็บไซต์ จะขายต่อได้หรือไม่

การซื้อซีดีเพลงหรือรูปภาพ ผู้ซื้อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในแผ่นซีดีหรือรูปภาพนั้น จึงสามารถนำออกขายต่อได้ แต่ผู้ซื้อไม่สามารถทำสำเนางานเพื่อนำออกขายได้ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำและการนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ สำหรับกรณีการซื้อมาโดยวิธีการดาวน์โหลดนั้น เป็นการที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ใช้สิทธิ (License) ดังนั้น ไม่สามารถนำไฟล์งานดังกล่าวออกขายต่อได้
9.ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (ISPs) เช่น YouTube Google True DTAC จะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยหรือไม่ หากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตอัพโหลดหนังหรือเพลงละเมิดลิขสิทธิ์

ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต(ISPs)ไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์หากให้ความร่วมมือกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในการนำงานละเมิดออกจากเว็บไซต์ตามคำสั่งศาล
10.จะทำอย่างไรเมื่อมีคนนำงานลิขสิทธิ์ของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

เมื่อพบว่ามีการละเมิดเกิดขึ้นเจ้าของลิขสิทธิ์อาจแจ้งเตือนให้ผู้กระทำละเมิดหยุดการกระทำดังกล่าวหรือเจ้าของลิขสิทธิ์อาจไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลหรืออาจขอให้มีการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยใช้บริการไกล่เกลี่ยของกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือศาล

ที่มา //www.kroobannok.com/75990
//www.siam55.com/news31387.html




Create Date : 06 สิงหาคม 2558
Last Update : 6 สิงหาคม 2558 8:49:24 น. 0 comments
Counter : 1578 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

thainewcar
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add thainewcar's blog to your web]