หัดชิพโฟกัส(shift focus)
การชิพโฟกัส

การเล่นโฟกัสอีกอย่างที่นิยมเล่นกันในหมู่ช่างภาพมืออาชีพ คือ การ “ชิพโฟกัส” แต่การชิพโฟกัสนี้ต้องการความแตกต่างระหว่างวัถตุ 2 ชิ้นที่มีระยะที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก การชิพโฟกัสหรือที่เรียกง่ายๆ ตามความหมายคือการเปลี่ยนโฟกัสจากพื้นหลัง (Background) ไปโฟกัสวัตถุหน้าจอ (Foreground) แบบรวดเร็วนั่นเอง โดยกล้องที่สามารถจะถ่ายแบบนี้ได้ต้องเป็นกล้อง Manual เท่านั้น

การถ่ายแบบนี้ต้องใช้ระยะกล้องที่แคบสักหน่อย บางครั้งอาจจะเป็นซูมที่ใช้ระยะแบบโคลสอัพด้วยซ้ำไปครับ วิธีการถ่ายชิพโฟกัส เลือกองค์ประกอบให้มีแบ็คกราวด์และโฟร์กราวด์หรือวัตถุที่อยู่หน้าจอที่น่าสนใจ อาจจะบังจออยู่ หรือเยื้องมาทางมุมจอมุมใดมุมหนึ่งก็ได้ ล็อคมุมกล้องไว้เลยนิ่งๆ ลองปรับโฟกัสไปที่แบ็คกราวด์ก่อนให้ชัดเจน และทิ้งไว้ระยะหนึ่ง แล้วหมุนโฟกัสให้มาคมชัดที่วัตถุที่ต้องการแบบทันทีทันใด แต่ไม่ต้องถึงกับในพริบตาหรอกครับ อย่าให้รู้สึกว่ายืดยาดแล้วกัน



สมมติเราจะถ่ายหญิงสาวที่ยืนอยู่ใกล้ดอกไม้ โดยที่จะปรับให้มีการชิพโฟกัสจากหญิงสาวไปสู่ดอกไม้ ดังตัวอย่างภาพ เราได้จัดให้ผู้หญิงคนนี้เป็นแบ็คกราวด์และมีดอกไม้เป็นโฟร์กราวด์ เมื่อทำการชิพโฟกัส จะมองเห็นดอกไม้ไม่ชัด เนื่องจากโฟกัสถูกปรับให้เลยดอกไม้ไปมากนั่นเอง และเมื่อปรับโฟกัสมาที่ดอกไม้ ภาพผู้หญิงก็จะเลือนไป ข้อสังเกตนี้คือเราต้องเลือกแบ็คกราวด์และโฟร์กราวด์ที่มีระยะแตกต่างกันอย่างเด่นชัด และห่างกันค่อนข้างมาก เพื่อให้ได้ภาพลักษณะนี้ที่ได้ผลดีที่สุดและสวยงามที่สุด ลองนำไปเล่นดู





การซูมพร้อมเลี้ยงโฟกัส

จริงๆ แล้วการซูมพร้อมกับการปรับโฟกัสนั้นได้ผลที่สุดคือ ซูมไปปรับไป หรือที่เรียกกันว่าการ “เลี้ยงโฟกัส” ซึ่งท่านที่ชำนาญหรือมืออาชีพนิยมใช้กัน เพราะได้รายละเอียดที่ถูกใจกว่า บางครั้งโฟกัสที่ต้องการนั้นไม่ต้องการใช้ชัดทุกส่วน อาจจะต้องการให้ชัดเฉพาะที่ ดังนั้นจึงต้องปรับเฉพาะจุดเพื่อความสมบูรณ์ของภาพที่ได้ครับ ซึ่งผมเองก็นิยมซูมไปปรับโฟกัสไป ทั้งนี้มิได้ว่าเก่งอะไรหรอกครับ แต่ว่าต้องการภาพที่พิเศษออกไปต่างหาก และทุกการถ่ายวิดีโอของผมจะต้องซ้อมก่อนบันทึกจริงทั้งนั้นครับ





แนะนำเทคนิคการซูมและการโฟกัส

• ในขณะที่ซูมไม่ควรเดินหรือเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้วิดีโอที่ได้มีโอกาสสั่นไหวสูง

• หากต้องการเคลื่อนที่ด้วยขณะซูม ขอแนะนำให้ดึงซูมออกมาให้สุดก่อน แล้วค่อยกดปุ่มบันทึก จากนั้นให้เดินเข้าไปแทนการซูมเลนส์

• อย่าสนุกกับการซูมจนมากเกินไป เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เพิ่งเริ่มเล่นกล้องมักจะชอบดึงซูมเข้า/ออก ทำให้ภาพที่ได้น่ามึนหัว เหมือนกำลังกระแทกกำแพงโป๊กๆ ที่จริงแล้วการซูมจะทำเมื่อต้องการดูรายละเอียดของเหตุการณ์ เพื่อบ่งบอกเรื่องราว หรือซูมออกเพื่อแสดงภาพรวมของเหตุการณ์นั้นๆ พูดง่ายๆ ก็คือ จะซูมก็ควรมีเหตุมีผล มีเรื่องราวที่จะเล่าจากการซูมจริงๆ

• ควรหยุดซูมเสียก่อนค่อยเคลื่อนไหวกล้อง หรือซูมก่อนบันทึกภาพ จุดนี้จะช่วยให้วิดีโอที่ได้น่าสนใจมากขึ้น เช่น การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในท้องทะเล อาจจะตั้งกล้องซูมเข้าไปที่เรือลำหนึ่งก่อน จากนั้นกดปุ่มบันทึก แล้วค่อยๆ ซูมออกมาให้เห็นท้องทะเลเป็นฉาก จากนั้นก็ค่อยๆ หันกล้องหรือแพนกล้องไปที่เกาะที่อยู่ใกล้ๆ เป็นต้น



การแพนกล้อง

“การแพนกล้อง” เป็นเทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องที่ช่วยในการถ่ายภาพมุมกว้างที่น่าสนใจมากที่สุด และยังเหมาะกับการถ่ายวิดีโอติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุ โดยหมุนกล้องจากทิศหนึ่งไปอีกทิศหนึ่งแบบต่อเนื่อง ไม่ว่าจะซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายตามถนัด และตามสถานการณ์ แต่ทีนี้จะแพนอย่างไรให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ ในหัวข้อนี้ เราจะมาศึกษาวิธีการถ่ายวิดีโอในรูปแบบนี้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆ

การแพนกล้องที่ดีทำอย่างไร?

การแพนที่ดีต้องมีจังหวะที่จะแพน คือต้องมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของการแพน จุดนี้เองคนที่อยู่เบื้องหลังคอยตัดต่อภาพทั้งหลายคงทราบดีว่ามันเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะตัดต่อภาพโดยมีภาพที่แกว่งไปแกว่งมา หรือวูบวาบไปมา เมื่อนำมาร้อยใส่ภาพที่เป็นภาพนิ่งๆ จะรู้สึกได้เลยว่าไม่เข้ากัน พลอยทำให้ดูไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ ไม่นิ่มนวลสมจริง บางครั้งรู้สึกว่าโดดไปโดดมา หากจะให้ตัดต่อได้สะดวกและภาพสมบูรณ์ การแพนจะต้องมีจุดเริ่ม คือเริ่มจากถือกล้องให้นิ่งเสียก่อน จากนั้นกดปุ่มบันทึกภาพแล้วค่อยแพน และจุดจบ คือนิ่งทิ้งท้ายตอนจบอีกเล็กน้อย เพื่อบอกคนดูให้เตรียมพร้อมและพักสายตาระหว่างชมภาพ


ก่อนที่จะเริ่มแพนกล้อง ให้เรามองวิวนั้นๆ เสียก่อนว่าจะแพนจากจุดไหนไปถึงตรงไหน เลือกระยะที่จะแพนว่าจะใกล้ไกลขนาดไหน แต่ขอแนะนำว่าควรจะเป็นภาพมุมกว้างไว้ก่อนสำหรับมือใหม่ๆ เพราะถ้าเป็นมุมแคบๆ หากมือไม่นิ่งจริงเวลาแพนจะรู้สึกว่ากระตุกหรือวิ่งเร็วไม่เท่ากัน แต่ถ้าเป็นภาพมุมกว้าง จะแพนช้าหรือเร็วจะไม่ค่อยรู้สึกถึงความแตกต่างมากนัก ก่อนจะแพนควรหาจุดเริ่มต้นของภาพ จับนิ่งๆ ไว้ กดบันทึกแล้วแช่ไว้สัก 2 วินาที แล้วค่อยๆ แพนไปเรื่อยๆ ให้ความเร็วสม่ำเสมอกันด้วย จนแพนไปถึงจุดที่พอใจ ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุด ให้นิ่งไว้สัก 2 วินาทีแล้วกดหยุดการบันทึก นี่คือการแพนแบบสมบูรณ์ใน 1 ช็อต ทำแบบนี้ได้ทุกแบบ ไม่ว่าจะแพนจากซ้ายไปขวา ขวามาซ้าย สำคัญคือต้องมีจุดเริ่มต้น และปิดท้ายเสมอ


การบันทึกเป็นช็อต

"ช็อต" คือการเริ่มบันทึก หรือเริ่มกดปุ่ม Rec เพื่อเริ่มให้เทปเดินและเริ่มบันทึกภาพลงม้วนเทป จนกระทั่งกดปุ่ม Rec อีกครั้ง เพื่อเลิกการบันทึก แบบนี้เค้าเรียกว่า 1 ช็อต การถ่ายเป็นช็อตไม่ควรปล่อยให้ช็อตนั้นยืดยาวไปนัก คือไม่ควรเกิน 5 วินาทีต่อ 1 ช็อต ถ้าไม่ใช้บทสนทนาหรือต้องการเนื้อหาหรือเสียงจากภาพจริงๆ (แบบนี้สามารถปล่อยยาวได้ตามสถานการณ์ เหมือนอย่างดูหนังฝรั่ง) ภาพที่ปรากฏบนจอแต่ละภาพผมลองนั่งนับเวลาจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 วินาที ถ้าไม่ใช้บทสนทนายาวๆ หรือบทที่ต้องการแสดงอารมณ์ความรู้สึกซึ่งจะยาวกว่า







วิธีการบันทึกเป็นช็อต

การถ่ายเป็นช็อตนี้ จะต้องเลือกมุม เลือกระยะที่จะถ่ายก่อน เลือกว่าจะถ่ายแบบไหนที่จะได้องค์ประกอบครบถ้วน ยกกล้องขึ้นส่อง จัดองค์ประกอบ แล้วถือให้นิ่ง กดบันทึก นับ 1-2-3-4-5 แล้วกดหยุด ในระหว่างกดบันทึกห้ามสั่น ห้ามไหวเด็ดขาด วิธีการไม่ยากนัก โดยให้รอจังหวะ หลักการง่ายๆ คือนิ่งๆ เข้าไว้ และไม่จำเป็นต้องถ่ายทั้งหมดหรือถ่ายยืดยาว เลือกแค่เป็นช็อตสำคัญก็พอ








Create Date : 14 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 9 มกราคม 2552 23:59:10 น.
Counter : 6877 Pageviews.

1 comment
กล้องวิดีโอตัวนี้น่าสนใจดี เล็กดีด้วย
AVCHD Memory Stick - HDR-TG1


The HDR-TG1 Handycam® camcorder records Full HD 1920 x 1080 resolution video from a stylish, ultra-compact design with tough, scratch-resistant titanium body. Superb picture quality with Face Detection and 5.1 ch surround sound.


เห็นแล้วน่าสนใจดี น่าใช้ดูรายละเอียดใน

//www.sony-asia.com แล้วกันนะครับ




Create Date : 14 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2551 15:09:28 น.
Counter : 349 Pageviews.

0 comment

X_DRAGON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]