Engage in Yield Curve Plays : เมื่ออุปทานทางความรู้ ไม่เท่ากับ อุปสงค์ทางการเรียน

ย้ายบทความเก่าและใหม่ไปที่ blogspot แล้วคะ

//thaibondmarket.blogspot.com/

ติดตามคอมเม้นท์เรื่องตลาดบอนด์ เศรษฐกิจบ้าง เรื่องบันเทิงบ้าง ผ่าน twitter @tubbygal หละกัน




 

Create Date : 10 เมษายน 2553   
Last Update : 10 เมษายน 2553 3:33:15 น.   
Counter : 904 Pageviews.  

ทำไมดอกเบี้ยขาลง แต่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวกลับปรับตัวเพิ่มขึ้น (ตอนที่ 2)

จากสัปดาห์ก่อนที่ผู้เขียนได้หยิบยก 4 ทฤษฎีสำคัญที่ใช้วิเคราะห์ทิศทางเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) ซึ่งประกอบด้วย ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ (Pure Interest Rate Expectation), ทฤษฎีความพึงพอใจในสภาพคล่อง (Liquidity Preference), ทฤษฎีการแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) และ ทฤษฎีส่วนตลาดที่นิยม (Preferred Habitat) สัปดาห์นี้ผู้เขียนจะลองประยุกต์ใช้ทฤษฎีต่างๆใน 4 ทฤษฎีนี้มาอธิบายสถานการณ์ที่ผู้เขียนกล่าวว่า ไม่จำเป็นเสมอไปที่ดอกเบี้ยขาลงแล้ว อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาว (Long Term Bond Yields) จะต้องปรับตัวลดลง ซึ่งเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นกับตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วงต้นปี 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งสามารถอธิบายตามทฤษฎีได้ดังนี้

ประการที่ 1. อย่างที่ทราบๆกันเมื่อเวลาเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดย ณ ช่วงเวลาในขณะนั้น(มกราคม-กุมภาพันธ์ 2552) ลดมา -175bps และอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.00 แต่ธปท.ยังคงส่งสัญญาณจะผ่อนคลายนโยบายการเงินอีก แต่อย่างไรก็ตาม เหลือช่อง (magnitude) ให้ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกไม่มากนัก จากคำกล่าวข้างต้น
เมื่อเราพิจารณาตามทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ (Pure Interest Rate Expectation theory) จะพบว่า ช่วงแรกๆของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวจะ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตามอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะสั้น หากธปท. หมดรอบการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Rate-cut cycle ending) นี้แล้ว ธปท.อาจดำเนินนโยบายการเงินได้สองแบบคือ ไม่ขึ้นดอกเบี้ย ก็คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะถัดไป ฉะนั้น ก็เหมือนโอกาส (room) ที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลดลงนั้นมีน้อย จึงไม่แปลกอะไรที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวไม่ลดลงมากนัก

ประการที่ 2. เราอาจจะอธิบายด้วยทฤษฎี Preferred habitat คือ โดยปกตินักลงทุนที่มักลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว คือ นักลงทุนพวกกลุ่มประกัน, กลุ่มกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือนักลงทุนที่มีภาระผูกพันระยะยาว (Long-term liability) ที่ต้อง matching ระหว่างสินทรัพย์และภาระผูกพัน แต่ด้วยอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ ณ ช่วงเวลาดังกล่าวนั้นอยู่ในระดับต่ำในทุกช่วงอายุของตราสาร
แม้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ ระยะสั้น แต่ก็ถือว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำกว่าในอดีตค่อนข้างพอสมควร ตรงนี้เกิดจากตอนเริ่มต้นรอบดอกเบี้ยขาลง อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวจะปรับตัวลดลงในอัตราส่วนที่มากกว่าอัตราผล ตอบแทนตราสารหนี้ระยะสั้น ตามผลของ Duration Effect ) และด้วยโอกาสในการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบันแบบผ่อนคลายเริ่มเหลือน้อย เต็มที เครื่องมือที่อาจจะดีที่สุดในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยคือ การเร่งใช้นโยบายการคลังแบบเร่งด่วน ภายใต้สมมติฐานว่าใช้นโยบายการคลังแบบมีประสิทธิผลด้วย จึงจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้

จะเห็นว่าภาครัฐก็ปรับปรุงงบประมาณเดิม ด้วยการอนุมัติงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้น อีกทั้งการที่เศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้การเก็บรายได้ภาครัฐก็ต้องลดน้อยถอยลง เป็นธรรมดา ด้วยเหตุนี้ยิ่งทวีความจำเป็นที่ภาครัฐต้องกู้เงินมากขึ้น และภาครัฐเองก็ระบุว่า เงินกู้ส่วนใหญ่ที่จะใช้มาดำเนินมาตรการต่างๆของภาครัฐนั้น จะมีการระดมทุนผ่านตลาดพันธบัตรเป็นส่วนมาก นั่นหมายถึง อุปทานพันธบัตรใหม่ (Bond Supply) จะเพิ่มขึ้นในอนาคตค่อนข้างมาก กลุ่มนักลงทุนพวกประกันอาจจะมองว่า
แม้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราผล ตอบแทนตราสารหนี้ระยะสั้นค่อนข้างมาก แต่ไม่มากพอที่จะชดเชยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หรือ ไม่มากพอที่จะคุ้มต้นทุนภาระผูกพันของนักลงทุนระยะยาวที่เผชิญอยู่ ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่นักลงทุนที่เคยลงทุนตราสารหนี้ระยะยาวหันกลับไปเลือกลง ทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นกว่านั่นเอง

จากความเสี่ยงในด้านอุปทานพันธบัตรใหม่และอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย เริ่มเข้าใกล้การจบรอบดอกเบี้ยขาลง จึงทำให้นักลงทุนมีความพึงพอใจต่อความเสี่ยง (Risk Appetite) ต่อตราสารหนี้ระยะยาวลดลง ด้วยเหตุนี้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวจึงสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ทั้งๆที่อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในทิศทางขาลง

…สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังว่า ทฤษฎีที่ผู้เขียนหยิบยกมาวิเคราะห์ทิศทางตลาดตราสารหนี้ไทย น่าจะเพียงพอที่เป็นแนวทางสำหรับผู้อ่านในการประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์การ ลงทุนตราสารหนี้ไทยได้ดียิ่งขึ้นกับทุกสภาวะเศรษฐกิจ

คอลัมน์ Money Guru
บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
มันสมองทางการลงทุนที่คุณวางใจ
//www.mfcfund.com




 

Create Date : 06 สิงหาคม 2552   
Last Update : 6 สิงหาคม 2552 21:30:24 น.   
Counter : 667 Pageviews.  

ทำไมดอกเบี้ยขาลง แต่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวกลับปรับตัวเพิ่มขึ้น (ตอนที่ 1)

สำหรับบทความนี้ผู้อ่านหลายๆท่านอาจรู้สึกว่าไม่เข้ายุค เข้าสมัยสักเท่าไหร่ เพราะเดี๋ยวนี้ใครๆต่างเริ่มพูดถึงโอกาสที่ธนาคารกลางหลายๆแห่งจะเริ่มปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายกันมากกว่าภายหลังที่เศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณการ ชะลอตัวที่ลดลง อย่างไรก็ตามในมุมมองผู้เขียนยังคงเชื่อว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์ไม่มาก ไม่น้อยสำหรับการวิเคราะห์ทิศทางตลาดตราสารหนี้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจ

หลายครั้งหลายหนที่ผู้เขียนได้รับคำถามซ้ำๆเดิมๆว่า “ทำไมอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับตัวลดลง แต่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาว (Long-Term Bond Yields) กลับปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น?” เพราะในความเข้าใจของนักลงทุนทั่วไปมักคิดว่า เวลาดอกเบี้ยเริ่มเข้าทิศทางขาลง มูลค่าของตราสารหนี้ควรปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ที่ปรับตัวลดลงตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายด้วย เช่นกัน จากความเข้าใจเบื้องต้นของนักลงทุนนี้ ผู้เขียนก็ยอมรับว่าถูกเป็นบางส่วน แต่ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด จึงนำมาสู่สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะบอกคือ “เวลาดอกเบี้ยขาลง อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ ไม่จำเป็นต้องปรับตัวลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายด้วยเสมอไป”

สิ่งที่จะสนับสนุนคำกล่าวของผู้เขียนได้ดีที่สุด คือ ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ลักษณะหรือคาดการณ์การเปลี่ยนของเส้นอัตราผลตอบแทนตรา สารหนี้ (Bond Yield Curve) ซึ่งมี 4 ทฤษฎีหลักๆด้วยกัน

ลำดับที่ 1 ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ (Pure Interest Rate Expectation) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่นักลงทุนหลายๆท่านจะคุ้นเคยและจดจำได้อย่างแม่นยำมากที่สุด โดยเนื้อหาของทฤษฎีนี้กล่าวว่า “อัตราดอกเบี้ยระยะยาวเป็นมักจะขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย ระยะสั้น” ภายใต้ทฤษฎีนี้ หากคนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นควรปรับตัวลดลง ฉะนั้นอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่เป็นฟังก์ชั่นของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ก็ควรเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน

ลำดับที่ 2 ทฤษฎีความพึงพอใจในสภาพคล่อง (Liquidity Preference) โดยแนวคิดสำคัญของทฤษฎีนี้คือ ตราสารหนี้ระยะยาวมักจะมีสภาพคล่องน้อยกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น ฉะนั้นตราสารหนี้ระยะยาวมักจะถูกซื้อขายด้วยอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสาร หนี้ระยะสั้น แต่ด้วยทฤษฎีเดียวกันนี้ เราสามารถมองอีกมุมก็ได้คือ "ตราสารหนี้ตัวไหนถ้าสภาพคล่องน้อยกว่า จะถูกซื้อขายด้วยอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า จึงไม่แปลกที่ เราไปดูรายงานสรุปการซื้อขายในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือ ThaiBMA จะพบว่า ตราสารหนี้สองตัวที่คุณสมบัติทั่วไปเหมือนกันและมีอายุใกล้กันมาก แต่อัตราผลตอบแทนกลับแตกต่างกันมาก นั่นก็เป็นเพราะปัจจัยเรื่องตราสารที่ขาดสภาพคล่อง"

ลำดับที่ 3 และ ลำดับที่ 4 คือ ทฤษฎีการแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) และ ทฤษฎีส่วนตลาดที่นิยม (Preferred Habitat) โดยทั่วไป 2 ทฤษฎีนี้ มีความคล้ายคลึงกันมาก กล่าวคือ นักลงทุนจะเลือกลงทุนในช่วงอายุตราสารที่สอดคล้องกับภาระ (Assets-Liabilities Matching) ของผู้ลงทุน หรือมองอีกแง่หนึ่ง คือ ความต้องการ (Demand) ของนักลงทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือสั้นๆ และตราสารหนี้อายุคงเหลือค่อนข้างยาวนั้นแยกตลาดกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ข้อแตกต่างของทฤษฎีทั้งสองนี้คือ เรื่องการทดแทนของตราสาร (Substitute product) กล่าวคือ ในทฤษฎี Market Segmentation นักลงทุนจะยึดติดกับช่วงอายุของตราสาร ใครลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวก็จะลงแต่เฉพาะตราสารหนี้ระยะยาวจะไม่มาลงทุน ตราสารหนี้ระยะสั้น หรือคนที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นจะไม่ไปลงทุนตราสารหนี้ระยะยาวเลย ส่วนทฤษฎี Preferred habitat กล่าวว่า ตราสารหนี้ระยะสั้นและตราสารหนี้ระยะยาวสามารถเป็นสินค้าทดแทนกันได้ กล่าวคือ มองในแง่อัตราผลตอบแทนที่มากกว่า หรือความเสี่ยงที่น้อยกว่าในเชิงเปรียบเทียบระหว่างตราสารหนี้ระยะสั้นและ ตราสารหนี้ระยะยาว เช่น นักลงทุนบางกลุ่มอาจมองว่าอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวให้อัตราผลตอบแทน ที่สูงและคุ้มค่า ต่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นักลงทุนกลุ่มนั้นก็จะมีความต้องการซื้อ (Demand) ตราสารหนี้ระยะยาว หรือทางกลับกันตราสารหนี้ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนที่สูงแต่ไม่คุ้มค่าความ เสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต นักลงทุนก็จะไม่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว แต่ลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้นแทน"

30 มิถุนายน 2552

ความคิดเห็นและข้อความต่างๆในบทความนี้เป็นทัศนะของผู้เขียนเท่านั้น
ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย




 

Create Date : 06 สิงหาคม 2552   
Last Update : 6 สิงหาคม 2552 21:30:58 น.   
Counter : 735 Pageviews.  

สรุปการเคลื่อนไหวตลาดตราสารหนี้ไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2552


อัตราเงินเฟ้อที่ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 9 ปี
ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของเดือนมกราคม 2552 ปรากฏว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคม 2552 ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) ซึ่งเป็นอัตราที่ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 9 ปี ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อมีทิศทางชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมันและอาหารสดที่ปรับลดลงรวมถึงฐานเงินเฟ้อปี 2551 ที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง (High-Base Effect) สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.6 (Y-o-Y) ลดลงจากร้อยละ 1.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่อเนื่องจากเดือนมกราคม
เงินเฟ้อที่ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 9 ปีนี้ ส่งผลให้ตลาดเพิ่มการคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอย่างน้อยร้อยละ 0.50 ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (กนง.) จะจัดขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 และทำให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ปรับตัวลดลงตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่รายงานมาดังกล่าว

ตราสารทางเลือกในการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นและข่าวงบประมาณขาดดุลในปี 2553
ในระหว่างช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีอุปทานพันธบัตรใหม่เข้าสู่ตลาดตราสารหนี้เป็นจำนวนมากทั้งพันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และ หุ้นกู้ภาคเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือค่อนข้างดี การเพิ่มขึ้นของอุปทานตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจและหุ้นกู้เอกชนทำให้นักลงทุนบางส่วนเลือกที่จะลงทุนในตราสารเหล่านี้เพื่อได้รับอัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่สูงกว่าการลงทุนพันธบัตรรัฐบาลภายใต้ความเสี่ยงที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การประมูลพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางถึงยาวไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดเท่าที่ควร
นอกเหนือจาก นี้ในระหว่างช่วงปลายสัปดาห์เดียวกัน รัฐบาลได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการจัดทำงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2553 ปรากฏว่า รัฐบาลยังคงมีแนวโน้มจัดทำงบประมาณขาดดุลทางการคลังอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2553นั้น รัฐบาลตั้งใจที่จะขาดดุลเพิ่มเติมจากงบประมาณปี 2552 ถึงร้อยละ 32 ทำให้ทั้งปีงบประมาณ 2553 มีแนวโน้มที่จะขาดดุลงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 390,000 ล้านบาท
โดยสรุปตราสารทางเลือกในการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น (More Substitute products) และข่าวงบประมาณขาดดุลในปี 2553 ส่งผลให้นักลงทุนตอบรับการประมูลพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางถึงยาวในตลาดแรกไม่ดีเท่าที่ควร (อัตราส่วนการประมูล หรือ Bid-Coverage Ratio ของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7.3 และ 15.2 ปี มีระดับที่ต่ำกว่า1เท่า) และยังคงทยอยขายตราสารหนี้ในช่วงอายุดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง


อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่4 ปี2551 หดตัวถึงร้อยละ -4.3
ในระหว่างช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือน กุมภาพันธ์ 2552 หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประกาศตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ปรากฏว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสดังกล่าวนั้นหดตัวถึงร้อยละ -4.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ในเบื้องต้นส่งผลให้ตลาดทวีการคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอย่างน้อยร้อยละ 0.75 ในการประชุมกนง.ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปี ปรับตัวลดลง ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ช่วงอายุสูงกว่านั้นกลับไม่ปรับตัวลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นเนื่องจากแรงกดดันด้านอุปทานพันธบัตรใหม่ที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก


การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์และคำสัมภาษณ์ของรองผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับข้อจำกัดการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ภายหลังที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.50 ต่อปี (ซึ่งต่ำกว่านักลงทุนในตลาดตราสารหนี้คาดการณ์ในเบื้องต้นที่ระดับร้อยละ 0.50-0.75) มาอยู่ที่ระดับร้อยละ จากร้อยละ 2.00 เป็นร้อยละ 1.50 ต่อปี พร้อมทั้งชี้ว่านโยบายการเงินไทยยังมีโอกาสผ่อนคลายได้อีก อย่างไรก็ตามภายหลังดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า “การลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 3 ครั้งที่ผ่านมาร้อยละ 1.00, 0.75, 0.50 รวมร้อยละ 2.25 นั้นถือว่าลดลงมากแล้ว ทำให้ดอกเบี้ยในประเทศลดลงค่อนข้างเร็ว แต่ก็ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไปจึงค่อนข้างจำกัดมากขึ้น การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายต่อไปคงปรับลดลงไม่ได้มากเหมือนที่ผ่านมา เพราะการที่ดอกเบี้ยต่ำก็มีทั้งผลดีผลเสียต่อเศรษฐกิจ” จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ในเบื้องต้นและคำสัมภาษณ์ของดร. บัณฑิต ที่ทำให้ตลาดเพิ่มการคาดการณ์ว่าโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเริ่มลดน้อยลงหรือมีโอกาสที่จะปรับลดในการประชุมครั้งหน้าที่จะจัดขึ้นในวันที่ 8 เมษายน 2552 เป็นครั้งสุดท้ายจากนั้นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปี ด้วยเหตุนี้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้อายุเกิน 3 ปี ปรับตัวสูงขึ้นตามแรงเทขายตราสารหนี้ในช่วงอายุดังกล่าวจากทั้งนักลงทุนภายในประเทศและต่างประเทศ

การเทขายทำกำไรของนักลงทุนต่างชาติภายหลังธปท.ส่งสัญญาณชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
ภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาดคาดการณ์และผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทยยังส่งสัญญาณจะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมในอนาคต นอกเหนือจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังพยายามส่งสัญญาณว่าค่าเงินบาทไทยนั้นแข็.ค่ามากเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินในภูมิภาคเดียวกัน ดังนั้นจากโอกาสที่การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องชะลอตัวลงและการส่งสัญญาณค่าเงินบาทที่ควรอ่อนค่าลงทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยเทขายทำกำไรในตราสารหนี้ไทยอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยอายุตั้งแต่ 3 ปี เป็นต้นไปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น




 

Create Date : 06 มีนาคม 2552   
Last Update : 6 มีนาคม 2552 1:20:06 น.   
Counter : 308 Pageviews.  

แนวโน้มภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยโดยรวมของเดือน มกราคม 2551

ในเดือนมกราคม 2552 เราคาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ในวันที่ 14 มกราคม 2552 และ รายงานตัวเลขเงินเฟ้อประจำเดือนธันวาคม 2551 ที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ค่อนข้างมาก จะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดสำหรับการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้โดยรวม ด้วยเงินเฟ้อเดือนธันวาคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2551 ลดลงร้อยละ 1.6 แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาสูงขึ้นร้อยละ 0.4 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2545 ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.2 ตามราคาน้ำมันตลาดโลกและราคาอาหารลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยรวมทำให้อัตราเงินเฟ้อตลอดปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 จากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนธันวาคม 2551 ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนเดียวกัน ส่งผลให้ตลาดเพิ่มการคาดการณ์ว่าธปท.น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างแน่นอนสำหรับการประชุมกนง.ที่จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 14 มกราคม 2552 นี้ ซึ่งทาง เรา คาดว่าธปท.น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.75 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.00 ผลของปัจจัยข้างต้นแม้จะมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยทุกช่วงอายุ แต่เราคาดว่าน่าจะมีอิทธิพลต่อตราสารหนี้อายุไม่เกิน 3 ปี มากที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้ตราสารหนี้ในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ปรับตัวลดลงมากที่สุดตามปัจจัยเรื่องการคาดการณ์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน ธันวาคม 2551


ส่วนปัจจัยอื่นๆที่เราคาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยในลำดับรองลงมา ก็คือ ทิศทางตลาดตราสารหนี้สหรัฐ, การอนุมัติงบประมาณกลางปีอีก 100,000ล้านบาท, การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 9 ปี และ 19 ปี จำนวนรวมทั้งสิ้น 19,000 ล้านบาทในครึ่งหลังของเดือนมกราคม 2551 และ การทำ Trading ของนักลงทุนบางกลุ่ม ภายหลังจากธนาคารกลางสหรัฐสหรัฐฯปรับลดดอกเบี้ย Fed Funds Rate ลงอย่างมากเหนือความคาดหมาย มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 0 – 0.25 กอปรกับการอัดฉีดงบประมาณภาครัฐของนานาประเทศทั่วโลก ทำให้นักลงทุนบางส่วนเริ่มเทขายสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาล และ โยกเงินไปลงทุนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้นอย่างหุ้น หรือ สินค้าโภคภัณฑ์ จากการเทขายทำไรตราสารหนี้ทั่วโลกและการที่รัฐบาลชุดปัจจุบันอนุมัติงบประมาณกลางปีเพิ่มขึ้นอีก 100,000 ล้านบาทนั้นอาจส่งผลให้แรงซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวในตลาดแรกอาจจะไม่หนาแน่นสักเท่าไหร่ จากสองปัจจัยข้างต้นอาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาลงยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีแรงซื้อมารอรับแรงเทขายทำกำไร จึงทำให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวอาจจะปรับตัวสูงขึ้นไม่รุนแรงมากนัก


โดยสรุปเรามองว่าในเดือนมกราคม 2551 เราคาดว่าอัตราผลตอบแทนจะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเฉพาะตราสารหนี้ที่อายุไม่เกิน 3 ปี แต่สำหรับอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ที่อายุเกินกว่า 3 ปี เราคาดว่าอัตราผลตอบแทนควรจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในระดับที่ไม่รุนแรงมากนัก ส่งผลให้อัตราผลตอบแทน 2 และ 10 ปี น่าจะปรับตัวกว้างขึ้นจากเดือนก่อน




 

Create Date : 26 มกราคม 2552   
Last Update : 26 มกราคม 2552 1:54:09 น.   
Counter : 447 Pageviews.  


teletubbyG
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




I am Funny Manager !

Let's Fun(d) with me :P
[Add teletubbyG's blog to your web]