Good Girl Go GAY !!!
Group Blog
 
All blogs
 

My Favorite Quote From " I can't think straight" movie


ตอนที่เลย์ล่าบอกน้องว่าจะไป oxford กับ ทาร์ล่า น้องของเลย์ล่า ถามถึงทาร์ล่า ว่า
nice แบบไหน

"Nice as in mum's bridge club ladies nice or nice as in...HOT"


ตอนกลับมาจาก oxford เจอท่านแม่ของทาร์ล่าเซอร์ไพส์เข้าให้ ทำให้เลย์ล่าถึงกับปวดเฮดขึ้นมาทันที ขอตัวไปเข้าห้องน้ำ กลับมาเจอทาร์ล่าซึ่งรออยู่ คุยกันๆ เลย์ล่าบอกว่า...

"I don't need your protection.
I want to feel the way I felt last night every day. I want to be with someone that And that someone is you."


ตอนที่ทาร์ล่าและเลย์ล่าถูกจัดฉากให้มาเจอกัน ทาร์ล่าถามเลย์ล่าถึงแฟนของเลย์ล่าว่า รักเจนนิเฟอร์หรือป่าว

เลย์ล่าตอบ.... "There are things I love about her."
(โดนมาก เอาคำพูดทาร์ล่ามาตอบ ตอนที่จะแต่งกับ Hani ชอบสุดๆๆ โดนย้อน 555+)


ตอนที่ทาร์ล่าตามง้อเลย์ล่า ส่งดอกไม้ เขียนจดหมายมาง้อ

"Every night I empty my heart, but by morning it's full again.
Slow droplets of you sip in through
the night, soft caress... At dawn I overflow with thoughts of us
and aching pleasure that gives me no respite
Love cannot be contained, the neat packaging of desire splits us under
spilling crimson through my days. Long,
languishing days set are now bruised tender with yearning
spent searching for a fingerprint, a scent, a breath you left behind..."


สุดท้าย ท้ายที่สุดแล้ว ทาร์ล่าบอกเลย์ล่า ว่าบอกพ่อกับแม่ว่า

"I told them i was in love...
with a beautiful... intelligent... talented... clumsy.... WOMAN"


ชอบสุดๆๆเลยค่ะ ประโยคนี้ อิอิ


ปล. เพลงประกอบหนังเรื่องนี้เพราะทุกเพลงเลยค่ะ






 

Create Date : 22 เมษายน 2553    
Last Update : 24 เมษายน 2553 15:46:00 น.
Counter : 1240 Pageviews.  

"Loving Annabelle" เรื่องราวความรักระหว่างครูกับลูกศิษย์ในโรงเรียนคาทอลิกหญิงล้วน



คอลัมน์ เล่าเรื่องหนัง
โดย ติสตู

ชีวิตบางช่วงนั้นบางทีก็เลือกไม่ได้ การพบกับความรักในจังหวะที่ผิดที่ผิดเวลา และผิดแผกจากสังคมหมู่มากทำให้ถูกตั้งคำถามตามมาคือความเหมาะสม แล้วเราเลือกเหตุผลหรือความรู้สึก นี่คือสิ่งที่ Loving Annabelle พาไปดูความรักของคนคู่หนึ่งที่เข้ากรณีที่ว่า และไม่น่าจะไปด้วยกันได้ (เมื่อดูกันเผินๆ) ด้วยเรื่องราวความรักระหว่างครูกับลูกศิษย์ในโรงเรียนคาทอลิกหญิงล้วน


ทว่า Loving Annabelle ไม่ได้ถูกสร้างมาในเชิงอีโรติคชู้สาว หรือดูต่ำต้อยทางจริยธรรม แต่ดำเนินเรื่องเล่าผ่านภาพ และฉากที่มีนัยยะทางสัญลักษณ์ และบทสนทนาฉลาดที่กินความลึกซึ้ง ครอบคลุมไปถึงเรื่องราว รวมทั้งตัวละครที่ต้องการจะสื่อความรู้สึกที่ปิดกั้นนั้น ในลักษณะที่บทภาพยนตร์บางส่วนราวกับหยิบจับกลิ่นอายจากนวนิยายคลาสสิค "นาร์ซิสซัส กับ โกลด์มุนด์" ซึ่งพรรณนาเรื่องราวของครูกับลูกศิษย์ในโรงเรียนพระคริสต์ที่ต่างได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันผ่านการสนทนาในเชิงปรัชญาเพื่อรู้จักตัวตนอันถ่องแท้ของตัวเอง

เฉกเช่นเดียวกับใน Loving Annabelle ที่ฉากหลังคือโรงเรียนคาทอลิกหญิงล้วน "ซิโมน"
คือครูสอนวรรณคดีอังกฤษ กับ "แอนนาเบล" นักเรียนเจ้าปัญหาที่เพิ่งถูกไล่ออกจากโรงเรียนสองแห่งก่อนจะมาลงเอยโรงเรียนคาทอลิกเพื่อดัดนิสัย

หนังใช้การบอกเล่าความรู้สึกส่วนลึกของตัวละครผ่านกวีนิพนธ์ที่ถูกหยิบยกมาวิเคราะห์ในชั้นเรียนที่ชื่อ Song of Myself ของ วอล์ท วิทแมน โดยอิงการตีความกวีนิพนธ์นี้ผ่านความเข้าใจตัวตนของผู้แต่ง ซึ่งวิทแมนเองก็เป็นนักเขียน ซึ่งเป็นเกย์


การที่ตัวละครสองคนพูดคุยถึงกวีนิพนธ์ชิ้นนี้นอกจากชัดในความรู้สึกของตัวละครแล้ว เนื้อหาของกวีนิพนธ์เอง ที่มีนัยว่านอกจากคู่ตรงข้ามแล้ว โลกนี้ยังมีอีกด้านที่น่าจะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

ธรรมชาติที่ไม่ว่าเพศใดต่างก็มีความเชื่อมโยงถึงกันในทุกสิ่งและทุกคน และในแก่นของมันแล้วเราก็ไม่มีใครต่างกัน เช่น ที่นาร์ซิสซัสเอ่ยกับโกล์ดมุนด์ลูกศิษย์ของเขาว่า จุดหมายของเราไม่ใช่การเป็นซึ่งกันและกัน แต่เราจะต้องรู้จักกันและกัน เราจะต้องเรียนเพื่อจะได้เห็นและให้เกียรติแก่สิ่งที่เราเป็น เราต่างเป็นส่วนตรงข้ามของกันและกัน และสองสิ่งนี้คือความสมบูรณ์ (ในนวนิยายเรื่องนี้มีการถกเถียงตีความถึงประเด็นเพศที่สามที่ทั้งอาจมีหรือไม่มีก็ได้)

Loving Annabelle ยังตั้งใจนำเสนอว่าความรักระหว่างครูกับลูกศิษย์ และยิ่งเป็นเพศเดียวกันนั้นเป็นสิ่งน่าละอายหรือผิดบาปหรือไม่ ซึ่งลักษณะนี้ปรากฏให้เห็นผ่านภาษาหนังที่หลายฉากระหว่างการสนทนาของซิโมนและแอนนาเบล มักจะมีไม้กางเขนเป็นแบ๊คกราวน์ โดยหนังพาเราไปเห็นปมของซิโมนเมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนสาว เธอก็ไม่ต่างจากแอนนาเบล เพียงแต่เมื่อเวลาผ่านไปสถานภาพตำแหน่งหน้าที่การงาน วุฒิภาวะ และสิ่งแวดล้อม ทำให้ซิโมนต้องต่อต้านความรู้สึกของตัวเอง


สัญลักษณ์หลายอย่างในโรงเรียนคาทอลิกได้ตอกย้ำให้ ซิโมนกำลังต่อสู้กับความรู้สึก และเหตุผล
ผ่านประเด็นจริยธรรม อาทิ การให้แอนนาเบลต้องถูกลงโทษด้วยการคล้องลูกประคำ และการให้ตัวละครต้องฟังเทศน์ที่ย้ำถึงทางสู่พระเจ้า และไม่หลงเดินทางบาป (หนังยังแอบแรงด้วยการที่ตัวละครอธิการโรงเรียนมีความน่าสงสัยว่าจะเป็นโฮโมเซ็กชวล แต่พยายามสร้างภาพเป็นโฮโมโฟเบีย)

ภาษาหนังใน Loving Annabelle ทำให้เห็นถึงตัวละครที่กำลังมีความรู้สึกคาบเกี่ยวกับความละอาย
และเป็นคนบาป ซึ่งในสังคมตะวันตกกลุ่มที่เหยียดเพศที่สาม หรือมีลักษณะโฮโมโฟเบียบางคนจะอ้างเรื่องของพระเจ้า และไบเบิ้ลมาเป็นกรอบจำกัดสิทธิของกลุ่มเพศที่สาม ซึ่งแม้หนังเรื่องนี้จะมีประเด็นที่หนัก และพล็อตที่ค่อนข้างแรง แต่การนำเสนอในเชิงโรแมนติกทำให้หนังรอดพ้นประเด็นคำถามด้านจริยธรรม

ด้วยสาระของมันยังมีส่วนที่ทำให้เกิดการมองเห็น และเปิดกว้างผ่านภาษาหนัง และบทสนทนาที่ละเมียดละไม

วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11397 มติชนรายวัน หน้า


---------------------



กลอนท้ายเรื่องก็ประมาณว่า..

การที่คนคนหนึ่งจะรักอีกคนได้เป็นภารกิจที่ยากลำบากที่สุดแล้ว สำหรับการเป็นมนุษย์
เรียกได้ว่ายากจนกระทั่งภาระอื่นๆในชีวิตกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเลย

----------

ชอบตอนท้ายมากเลยค่ะ ตอนที่ simone บอกอธิการว่า..

"I don't expext you to understand. But I love her."

โดนเลยค่ะ 555+

ภาพ/รายละเอียดเพิ่มเติม

Special Thanks. : ภาพสวย ๆ จากที่นี่




 

Create Date : 22 เมษายน 2553    
Last Update : 24 เมษายน 2553 16:17:11 น.
Counter : 4423 Pageviews.  


Maia
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Maia's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.