ธงคำตอบวิอาญา .pdf เนติ ข้อ1 ภาค2 สมัยที่ 70



Create Date : 10 เมษายน 2561
Last Update : 10 เมษายน 2561 21:20:31 น.
Counter : 222 Pageviews.

ถอดคำบรรยาย เนติ1/70 ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ภาคปกติ) 22 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่1


 ถอดคำบรรยาย เนติ1/70  ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ภาคปกติ)  สมัยที่70
อ.ปัญญาฯ 22 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่1 ครั้งที่1
--------------------------

       ในการบรรยายของอาจารย์จะใช้PowerPoint ถ้อยคำใน Power Point บางภาพจะใช้ภาษาง่ายๆเพื่อสะดวกแก่ความเข้าใจ แต่เวลาถอดออกมาเป็นคำบรรยายจะใช้คำในกฎหมายหรือในคำพิพากษาฎีกาให้มากที่สุด

ยืม

ยืมเป็นสัญญาชนิดหนึ่งที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จัดไว้เป็นเอกเทศสัญญาโดยบัญญัติไว้ในบรรพ๓ ลักษณะ ๙ ตั้งแต่มาตรา ๖๔๐ ถึงมาตรา ๖๕๖

เนื่องจากสัญญายืมเป็นนิติกรรม๒ ฝ่าย จึงต้องนำกฎหมายลักษณะนิติกรรม และหนี้มาใช้ด้วย

เราจะต้องคำนึงถึงกฎหมายที่เป็นบททั่วไปในบรรพ ๑และบรรพ ๒ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง ดังต่อไปนี้

๑. เจตนาของคู่สัญญาสัญญายืมเป็นนิติกรรม ๒ ฝ่าย เกิดขึ้นโดยการ แสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปเมื่อเป็นนิติกรรมก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา ๑๔๙ ที่ว่า “มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล” ดังนั้น การที่พนักงานในหน่วยงานหนึ่งทำใบยืมให้หน่วยงานนั้นเพี่อเบิกเงินไปจ่ายในการงานของหน่วยงานนั้นเองไม่เป็นสัญญายืม เพราะเขามิได้มีเจตนาที่จะยืมเงินของหน่วยงานไปใช้แต่เป็นการทำใบยืมเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงานและเงินตามใบยืมก็น่าไปใช้เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานนั้นเท่านั้น เช่น

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๑๑/๒๕๒๙เรื่องยืมตาม ป.พ.พ. เป็นกรณีที่ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมเพื่อประโยชน์ของผู้ยืมหาใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ให้ยืมไม่การที่โจทก์ผู้ให้ยืมให้จำเลยยืมเงินไปเป็นการทดรองเพื่อให้จำเลยนำไปใช้สอยในกิจการของโจทก์เป็นประโยชน์ของโจทก์ผู้ให้ยืมเอง รูปเรื่องจึงปรับเข้าเรื่องยืมไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่๑๑๔๖/๒๕๓๘ โจทก์ซึ่งเป็นนายอำเภอยืมเงินจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด แล้วมอบเงินนั้นให้จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดการศึกษา เพื่อน่าไปจ่ายเป็นเงินเดือนและค่าจ้างพนักงานในหมวดการศึกษาแต่จำเลยกลับเอาเงินนั้นไปให้สมาชิก สหกรณ์ครูกู้ เมื่อโจทก์ทวงเงินจากจำเลยจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้วไม่ใช้ โจทก์จึงฟ้องคดี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นกรณีที่โจทก์ปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการและเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเท่านั้น หาใช่ทำในฐานะส่วนตัวไม่ การคืนเงินยืมดังกล่าวก็เพียงแต่นำใบสำคัญที่คณะกรรมการจ่ายเงินได้จ่ายไปนำไปเบิกจากงบประมาณแผ่นดินแล้วนำไปชำระแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด หาจำต้องนำเงินส่วนตัวมาชำระคืนไม่ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ยืมตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๐ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้ยืมเงินโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีหนี้ต่อกัน หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์จึงไม่มีผลบังคับ/อ่านต่อ ...




Create Date : 26 พฤษภาคม 2560
Last Update : 26 พฤษภาคม 2560 8:07:12 น.
Counter : 2429 Pageviews.

ถอดไฟล์เสียง 1/70 กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท อ.สุประดิษฐ์ฯ สมัยที่70 วันที่ 23 พ.ค 60 ครั้งที่1


  ถอดเทปไฟล์เสียง เนติฯ กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท อ.สุประดิษฐ์ฯ สมัยที่70 
---------------------------------------------------------------------
สกัดหลักกฎหมาย สรุป เจาะประเด็น ฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ* คำบรรยายเนติฯ ภาค 1 สมัยที่70
วิชา หุ้นส่วน-บริษัท (อ.สุประดิษฐ์ หุตะสิงห์) ครั้งที่1
วัน อังคาร ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สัปดาห์ที่ 1

สวัสดีครับวันนี้เป็นการศึกษาครั้งแรกในการศึกษาชั้นมหาวิทยาลัย เป็นการศึกษาเพื่อให้รู้และออกความจำเป็นส่วนใหญ่ แต่การศึกษาในชั้นเนติบัณฑิตนั้นท่านต้องรู้แล้วว่ากฎหมายมีอะไรบ้าง กฎหมายที่มีอยู่อย่างนั้นจะใช้ได้เมื่อใดใช้กับกรณีอย่างไรบ้าง แล้วมีผลอย่างไร

การศึกษาในชั้นเนติบัณฑิตส่วนใหญ่จะอยู่ที่การฟังบรรยายการอ่านและศึกษาคำพิพากษาฎีกาการจับกลุ่มกันระหว่างนักศึกษาเนติบัณฑิตด้วยกันและโต้เถียงปัญหาซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสำคัญ

เกริ่นนำภาพรวมความเป็นมา

การตั้งหุ้นส่วนในประเทศไทยมีมานานแล้วกฎหมายตราสามดวง มีอัยการ เบ็ดเสร็จบทที่ ๑๐๑,๑๐๒ต่อมาถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีคนตั้งบริษัทขึ้นโดยเอาแบบอย่างมาจากประเทศตะวันตก จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะกู้ยืมหนี้สิน รศ.๑๑๐ ซึ่งใน มาตรา ๒และมาตรา ๓ ได้กำหนดเอาไว้ ๒ ลักษณะ มาตรา ๒ กำหนดเป็นลักษณะของบริษัท คือ ผู้ที่มาลงหุ้นรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนหุ้นที่ตัวมาลงส่วนมาตรา ๓ พูดถึงว่าถ้าเผื่อเกิดกิจการที่มารวมกันไว้นั้นแล้วเกิดขาดทุนก็จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาจัดการทรัพย์สินนั่นคือการล้มละลาย

ต่อมาในประเทศไทยเราได้เจริญขึ้นมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกันมากขึ้นห้างหุ้นส่วนกับบริษัทก็จำเป็นต้องมีกฎหมายควบคุมให้รัดกุมยิ่งขึ้นจึงได้โปรดเกล้าให้ตรา พรบ.ลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัท รศ.๑๑๐ โดยได้แบ่งหุ้นส่วนและบริษัทออกเป็น ๓ ประเภท

๑. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ๒.ห้างหุ้นส่วนจำกัดสินใช้ ๓. บริษัทจำกัดสินใช้

ในต่างประเทศมีระบบกฎหมายอยู่ ๒ ระบบ คือระบบ CivilLaw กับระบบ Lommon Law ระบบ Civil Lawถือตัวบทเป็นหลักเหมือนกับประเทศเรา มีปัญหาดูตัว บทก่อน แต่ระบบ LommonLaw นำโดยอังกฤษ อเมริกา มีปัญหาต้องดูคำพิพากษาฎีกาก่อนตัวบทมาทีหลังประเทศไทยเราได้รับอิทธิพลมาจากของทั้งสองระบบ แต่ส่วนใหญ่จะมาจากระบบ CivilLaw คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ป่น กฎหมายในระบบ Civil Law จะแบ่งห้างหุ้นส่วนและบริษัทออกเป็น ๒ ทางคือ หุ้นส่วนบริษัททางแพ่งและหุ้นส่วนบริษัททางพาณิชย์ ส่วนระบบคอมมอลลอว์นั้น ได้แบ่งบริษัทออกเป็น ๒ประเภท คือ บริษัทเอกชนและบริษัทมหาชน คนไทยเราเอามาทั้งสองแบบ แต่เราไม่ได้แบ่งเป็นทางพาณิชย์ หุ้นส่วนบริษัทเรามีแต่ทางแพ่ง แต่บริษัทมหาชนและบริษัทเอกชนนั้นเราเอามาใช้ในระบบของเราด้วยเพราะเห็นว่าเหมาะกับสภาพการณ์ซึ่งประเทศไทยจะต้องเจริญขึ้น  / อ่านต่อ.....


 >> ดาวน์โหลด ถอดไฟล์เสียง กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท อ.สุประดิษฐ์ฯ ครั้งที่ 1




Create Date : 26 พฤษภาคม 2560
Last Update : 26 พฤษภาคม 2560 8:02:00 น.
Counter : 968 Pageviews.

ถอดเทป เนติ แพ่ง 1/70 กฎหมายครอบครัว (ภาคปกติ) อ.ประสพสุขฯ สมัยที่ 70 วันที่ 23 พ.ค 60 ครั้งที่ 1




ถอดเทป+เน้นประเด็นสำคัญ** กฎหมายครอบครัว (ภาคปกติ) อ.ประสพสุขฯ สมัยที่ 70  
---------------------------------------------------------------------
สกัดหลักกฎหมาย สรุป เจาะประเด็น ฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบเนติบัณฑิต ภาค 1 สมัยที่ 70
ข้อ 8. วิชา กฎหมายครอบครัว-มรดก (ภาคปกติ) อ.ประสพสุข บุญเดช  ครั้งที่1
วัน อังคาร ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560  สัปดาห์ที่1


กฎหมายครอบครัวจะบรรยายครบทุกมาตราในบรรพ๕ ซึ่งมีอยู่ ๒๐๐ กว่า มาตรา

เรื่องแรกที่อาจารย์จะบรรยายคือ การใช้กฎหมายอิสลามเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช้บรรพ ๕และบรรพ ๖ บังคับในเรื่อง ครอบครัวและมรดก แต่ใช้กฎหมายอิสลามบังคับแทนโดยการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาสยะลา และสตูล พ.ศ. ๒๔๘๙ ออกมาใช้บังคับ ตามพระราชบัญญัตินี้ในมาตรา ๓ และมาตรา ๔

การวินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกอิสลามคาสนิกของศาลชั้นต้นในสี่จังหวัดคือ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล ซึ่งอิสลามคาสนิกเป็นทั้งโจทก์จำเลยหรือเป็นผู้เสนอคำขอในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เว้นแต่บทบัญญัติว่าด้วยอายุความมรดกในการพิจารณาคดีให้ดะโต๊ะยุติธรรมหนึ่งนายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา

ดะโต๊ะยุติธรรม มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาส่วนปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายอื่นเป็นอำนาจของผู้พิพากษาคำวินิจฉัยของดะโต๊ะยุติธรรมในข้อกฎหมายอิสลามเป็นอันเด็ดขาดจะอุทธรณ์ฎีกาปัญหาดังกล่าวไม่ได้ / อ่านต่อ....




Create Date : 26 พฤษภาคม 2560
Last Update : 26 พฤษภาคม 2560 8:08:08 น.
Counter : 859 Pageviews.

เตรียมสอบเนติบัณฑิต 1/70


  เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค 1/70 กลุ่มแพ่ง และอาญา อัพเดท ฎีกาเด่น 5 ดาว ฎีกาเก็งจากห้องบรรยาย ถอดเทปคำบรรยายเนติบัณฑิต สรุปเจาะประเด็นพร้อมสอบ เนติบัณฑิต ที่  https://เนติบัณฑิต.blogspot.com/



Create Date : 17 พฤษภาคม 2560
Last Update : 17 พฤษภาคม 2560 18:17:02 น.
Counter : 1392 Pageviews.

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  

lawsiam
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]



กลุ่มแบ่งปันความรู้ (ลอว์สยาม)
https://www.facebook.com/groups/lawsiam

- ลอว์สยาม Fan Page (กด Like ถูกใจ)
https://www.facebook.com/lawsiamdotcom

- เตรียมสอบเนติบัณฑิต
- เตรียมสอบสรุปรายข้อ เนติบัณฑิต ภาค1
- เตรียมสอบสรุปรายข้อ เนติบัณฑิต ภาค2
- แนะนำLink กฎหมาย ที่น่าสนใจ
- ค้นหาคำพิพากษาฎีกา ใหม่*



แลก Link พันธมิตรเว็บไซต์

- หางาน


All Blog