ถอดคำบรรยาย เนติ1/70 ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ภาคปกติ) 22 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่1


 ถอดคำบรรยาย เนติ1/70  ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ภาคปกติ)  สมัยที่70
อ.ปัญญาฯ 22 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่1 ครั้งที่1
--------------------------

       ในการบรรยายของอาจารย์จะใช้PowerPoint ถ้อยคำใน Power Point บางภาพจะใช้ภาษาง่ายๆเพื่อสะดวกแก่ความเข้าใจ แต่เวลาถอดออกมาเป็นคำบรรยายจะใช้คำในกฎหมายหรือในคำพิพากษาฎีกาให้มากที่สุด

ยืม

ยืมเป็นสัญญาชนิดหนึ่งที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จัดไว้เป็นเอกเทศสัญญาโดยบัญญัติไว้ในบรรพ๓ ลักษณะ ๙ ตั้งแต่มาตรา ๖๔๐ ถึงมาตรา ๖๕๖

เนื่องจากสัญญายืมเป็นนิติกรรม๒ ฝ่าย จึงต้องนำกฎหมายลักษณะนิติกรรม และหนี้มาใช้ด้วย

เราจะต้องคำนึงถึงกฎหมายที่เป็นบททั่วไปในบรรพ ๑และบรรพ ๒ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง ดังต่อไปนี้

๑. เจตนาของคู่สัญญาสัญญายืมเป็นนิติกรรม ๒ ฝ่าย เกิดขึ้นโดยการ แสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปเมื่อเป็นนิติกรรมก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา ๑๔๙ ที่ว่า “มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล” ดังนั้น การที่พนักงานในหน่วยงานหนึ่งทำใบยืมให้หน่วยงานนั้นเพี่อเบิกเงินไปจ่ายในการงานของหน่วยงานนั้นเองไม่เป็นสัญญายืม เพราะเขามิได้มีเจตนาที่จะยืมเงินของหน่วยงานไปใช้แต่เป็นการทำใบยืมเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงานและเงินตามใบยืมก็น่าไปใช้เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานนั้นเท่านั้น เช่น

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๑๑/๒๕๒๙เรื่องยืมตาม ป.พ.พ. เป็นกรณีที่ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมเพื่อประโยชน์ของผู้ยืมหาใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ให้ยืมไม่การที่โจทก์ผู้ให้ยืมให้จำเลยยืมเงินไปเป็นการทดรองเพื่อให้จำเลยนำไปใช้สอยในกิจการของโจทก์เป็นประโยชน์ของโจทก์ผู้ให้ยืมเอง รูปเรื่องจึงปรับเข้าเรื่องยืมไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่๑๑๔๖/๒๕๓๘ โจทก์ซึ่งเป็นนายอำเภอยืมเงินจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด แล้วมอบเงินนั้นให้จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดการศึกษา เพื่อน่าไปจ่ายเป็นเงินเดือนและค่าจ้างพนักงานในหมวดการศึกษาแต่จำเลยกลับเอาเงินนั้นไปให้สมาชิก สหกรณ์ครูกู้ เมื่อโจทก์ทวงเงินจากจำเลยจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้วไม่ใช้ โจทก์จึงฟ้องคดี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นกรณีที่โจทก์ปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการและเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเท่านั้น หาใช่ทำในฐานะส่วนตัวไม่ การคืนเงินยืมดังกล่าวก็เพียงแต่นำใบสำคัญที่คณะกรรมการจ่ายเงินได้จ่ายไปนำไปเบิกจากงบประมาณแผ่นดินแล้วนำไปชำระแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด หาจำต้องนำเงินส่วนตัวมาชำระคืนไม่ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ยืมตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๐ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้ยืมเงินโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีหนี้ต่อกัน หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์จึงไม่มีผลบังคับ/อ่านต่อ ...




Create Date : 26 พฤษภาคม 2560
Last Update : 26 พฤษภาคม 2560 8:07:12 น.
Counter : 2430 Pageviews.

0 comments

lawsiam
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]



กลุ่มแบ่งปันความรู้ (ลอว์สยาม)
https://www.facebook.com/groups/lawsiam

- ลอว์สยาม Fan Page (กด Like ถูกใจ)
https://www.facebook.com/lawsiamdotcom

- เตรียมสอบเนติบัณฑิต
- เตรียมสอบสรุปรายข้อ เนติบัณฑิต ภาค1
- เตรียมสอบสรุปรายข้อ เนติบัณฑิต ภาค2
- แนะนำLink กฎหมาย ที่น่าสนใจ
- ค้นหาคำพิพากษาฎีกา ใหม่*



แลก Link พันธมิตรเว็บไซต์

- หางาน


All Blog