ชีวิตนี้ถ้าเลือกได้.................กรูไปโลด ก้อมันเลือกไม่ได้ ก้อเลยไปเรื่อย ๆ
 
ผลงานอัปยศ 3 ปี รัฐบาลชวน หลีกภัย ตอน 5-6

ตอนที่ 5


5.1 รัฐบาลนายกฯชวน ตัวการเศรษฐกิจไม่ฟื้น

นับ ตั้งแต่ที่รัฐบาลนายกฯชวน เข้ามาบริหารประเทศเมื่อปลายปี 2540 และดำเนินงานตามนโยบายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ด้วยการใช้นโยบายเศรษฐกิจที่เข้มงวด ตรึงดอกเบี้ยให้สูง และชะลอการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยอ้างว่าเพื่อต้องการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ได้ส่งผลให้เงินบาทแข็งตัวจริง แต่ผลเสียหายที่ตามมา คือรายได้ประชาชาติ (GDP) หดตัวลงกว่า 10 % ในปี 2541 ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของไทย ภายใต้การบริหารของรัฐบาลชุดนี้ ผู้ที่อาจได้รับประโยชน์บ้างก็คือธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งได้อานิสงส์จากเงินบาทแข็งตัว จนเป็นผลให้ภาระหนี้ต่างประเทศลดลง

ท้าย ที่สุดใช้นโยบายดอกเบี้ยสูง ได้สร้างผลกระทบต่อธุรกิจให้ต้องมีอันล้มละตายหลายหมื่นราย และจำนวนคนว่างงานได้เพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านคน ความเสียหายที่เกิดขึ้นยังเห็นได้จากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่ม ขึ้น จากการที่ NPL ในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับโครงสร้างไปแล้วกลับคืนมาเป็น NPL อีกครั้งถึง 3,965 ล้านบาท และในภาคธุรกิจอีก 1.3759 หมื่นล้านบาท และยังมี NPL ที่เกิดขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นอีกในหลายภาคธุรกิจ

5.2 ถมเงินเข้าสู่ธนาคาร ยิ่งถมยิ่งพัง

ใน ช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แทนที่รัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหาโครงสร้างทางการเงินพร้อมๆกับการแก้ปัญหาโครง สร้างการผลิตหรือการประกอบการโดย ตรง รัฐบาลกลับยืนยันใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงตามการชักจูงของไอเอมเอฟ. และบอกกับประชาชนว่าต้องเร่งให้ธนาคารเพิ่มทุนมากๆ เพื่อสำรองความเสียหายก่อน เมื่อธนาคารเพิ่มทุนแล้วก็จะมีความมั่นคง สามารถปล่อยกู้ให้ธุรกิจฟื้นตัวได้

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ กลับตรงกันข้าม เพราะแม้ว่าธนาคารจะได้เพิ่มทุนไปหลายแสนล้านบาทแล้วก็ตาม ก้ยังไม่สามารถทำให้ธนาคารต่างๆยอมปล่อยกู้เพิ่มให้กับผู้ประกอบการจน กระทั่งทุกวันนี้ เพราะต่างเกรงว่าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวดี ตัวเลข NPL ใหม่อีกรอบนั้น มีมากถึง 3-4 หมื่นล้านบาทต่อเดือนในปัจจุบัน

รัฐบาลได้ พยายามผลักดันให้ธนาคารเพิ่มทุน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงออกมาตรการ 14 สิงหาคม 2541 มูลค่า 300,000 ล้านบาท เพิ่มทุนให้สถาบันการเงิน โดยหวังว่าถ้าสถาบันการเงินแข็งแรงขึ้น ธุรกิจอื่นก็จะดีขึ้นตามมา

นอก จากนี้ในปี 2541 รัฐบาลยังได้เร่งออกพระราชกำหนด 11 ฉบับเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และขออำนาจออกพันธบัตรรัฐบาลขายให้แก่กับต่างประเทศมูลค่า 200,000 ล้านบาท แต่สถานการณ์ก็ยังคงไม่ดีขึ้น

5.3 ปฏิบัติการยึดธนาคาร ยิ่งยึดยิ่งเจ๊ง

หลัง จากที่รัฐบาลพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะให้ธนาคารต่างๆ เพิ่มุทนในช่วงที่เกิดวิกฤตช่วงนั้น ปรากฎว่าเป็นความพยายามที่ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าในการแก้ปัญหาสถาบัน การเงิน ทำให้รัฐบาลตัดสินใจเข้าไปยึดกิจการธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บาง ส่วน โดยมุ่งนำมาควบรวมขายให้กับต่างชาติ

ในการขายธนาคารพาณิชย์แต่ ละครั้งนั้น รัฐบาลอ้างว่าขายแล้วจะไม่ขาดทุน เพราะตั้งราคาขายเท่ากับราคาที่ยึดมา แต่จนถึงวันนี้รัฐบาลยังไม่ยอมเปิดเผยเงื่อนไขการขายธนาคารที่แท้จริงออกมา และไม่เปิดเผยรายละเอียดของสัญญา แต่ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลยอมชดใช้ความเสียหายจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารดังกล่าว (ซึ่งได้แก่ ธนาคารรัตนสิน และธนาคารศรีนคร) ถึง 85% ให้กับผู้ซื้อต่างชาติ นอกจากนั้นยังยอมจ่ายดอกเบี้ยให้กับสินเชื่อที่เป็น NPL ให้กับผู้ซื้อเป้นระยะเวลา 3-5 ปีอีกด้วย

ด้วยเงื่อนไขนี้ การขายธนาคารที่รัฐยึดมาจึงเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ซึ่งเป็นนักลงทุนต่าง ชาติอย่างที่สุด โดยที่ต้องซ่อนการขาดทุนดังกล่าวเอาไว้เป้นภาระของผู้เสียภาษีในอนาคตจำนวน หลายแสนล้านบาท ขณะเดียวกันยังสร้างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างธนาคารที่ขายให้ กับธนาคารที่ยังเป็นของคนไทย เพราะธนาคารคนไทยยังคงต้องแบกภาระแก้หนี้ NPL สูงถึง 35-40 % ของสินเชื่อทั้งหมดด้วยตัวเอง

ปฏิบัติการการยึด ธนาคารครั้งนี้ สร้างความเสียหายแก่ประเทศอย่างมหาศาล จนถึงวันนี้ได้สร้างภาระให้กับกองทุนฟื้นฟูแล้วประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลต้องหาแหล่งเงินมากลบความเสียหายในครั้งนี้

ตอนที่ 6


6.1 มิยาซาวา : ขบวนการกู้มาโกง

หลัง จากรัฐบาลใช้เงินมหาศาลไปใช้ในการฟื้นฟูสถาบันการเงิน รัฐได้ออกมาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมุ่งที่ภาคการผลิต โดยอาศัยเงินกู้จากต่างประเทศ เพื่อเพิ่มรายจ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 2542-2543 อาทิ เงินกู้มูลค่า 53,397.90 ล้านบาทในโครงการมิยาซาวา จากการประเมินผลโดยหน่วยงาน OECF ของญี่ปุ่นเอง สำนักงานงบประมาณกรมบัญชีกลาง ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานประเมิณผลจากภาคเอกชนพบว่า ผลลัพธ์จากโครงการมิยาซาวาได้ผลน้อยมาก และไม่มีแรงส่งพอที่จะทำให้เกิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพได้ เพระมีปัญหาทุจริตคอรัปชันคดโกงในทุกขั้นตอนของการบริหารและการจัดการ ตลอดจนการใช้จ่ายเงินกู้ในโครงการไม่มีกลยุทธ์และทิศทางที่มีประสิทธิภาพ

6.2 ประมูล ปรส. ผลงานอัปยศ

นับ ตั้งแต่ที่รัฐบาลปิดกิจการของบริษัทเงินทุน 56 แห่ง และเร่งให้ ปรส. ประมูลขายทรัพย์ออกอย่างรวดเร็ว โดยไม่พยายามดูแลให้สินทรัพย์ดังกล่าวขายให้ได้ในราคาสูงนั้น ผลปรากฏว่าสินทรัพย์มูลค่า 870,000 ล้านบาท ขายได้เพียง 160,000 ล้านบาทหรือไม่ถึง 20% และผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่เพียงไม่กี่ แห่ง ส่วนสินทรัพย์ที่เหลือประมาณ 100,000 ล้านบาทนั้น รัฐบาลยอมขายให้กับบบส. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยแลกกับพันธบัตรของบบส.

การที่รีบร้อนขายสินทรัพย์ในขณะที่ เศรษฐกิจตกต่ำเต็มที่เช่นนี้ ทำให้ ปรส. ได้ราคาต่ำ มิหนำซ้ำรัฐบาลยังกีดกันมิให้ลูกหนี้หรือรายย่อยเข้าซื้อสินทรัพย์ดังกล่าว ผลคือ บริษัทต่างชาติเหล่านี้สามารถเร่งรัดให้ลูกหนี้ไทยจ่ายคืนเป็นสัดส่วน 60-70 % ของเงินต้น

ความเสียหายประมาณ 600,000 ล้านบาทจากการประมูณของ ปรส. นับเป็นภาระภาษีของประชาชนคนไทยทุกคน ซึ่งรัฐบาลต้องยอมออกพันธบัตรชดใช้ความเสียหายไปแล้ว 500,000 ล้านบาท แต่ก็ยังเหลืออีก 100,000 ล้านบาท

6.3 หมกเม็ดความเสียหาย ตบตาประชาชนทั่งประเทศ

ความ เสียหายซึ่งถูกซุกซ่อนไว้ที่กองทุนฟื้นฟู เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้รัฐบาลต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกองทุน ฟื้นฟูฯ โดยอาศัยเงินงบประมาณซึ่งก้คือเงินภาษีของประชาชน

ที่ผ่าน มากองทุนฟื้นฟูฯ มีเงินกองทุนติดลบกว่า 200,000 ล้านบาท และหากนับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คาดว่าจะมีหนี้ทั้งสิ้น 1 ล้านล้านบาท โดยที่รัฐบาลยังไม่รู้ว่าจะหาเงินที่ไหนมาชดใช้

6.4 รวมบัญชี ทุบคลังหลวงชดเชยความผิดพลาดรัฐบาล

เพื่อ ลดแรงกดดันทางการเมืองจากการที่จะต้องขึ้นภาษีที่เรียกเก็บจากประชาชนในการ หาเงินมาใช้หนี้ นายกฯชวนเอาตัวรอดด้วยการนำเอาเรื่องการรวมบัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทยมา เป็นข้ออ้างในการบังคับให้ธปท. ต้องนำทุนสำรองส่วนเกินมาชดใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ โดยให้เหตุผลว่าหากไม่ใช้วิธีนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องหารายได้เพิ่มโดยการเก็บภาษีจากประชาชน และแม้ว่าในท้ายสุดธปท. จะยอมให้นำเงินทุนสำรองจำนวน 1.3 แสนล้านบาทไปชดใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ แต่ผลที่ตามมาคือ ผู้ประกอบการ นักลงทุน และประชาชนต่างสูญเสียความเชื่อมั่น
การบีบให้ปธท. รับภาระหนี้เงินบาทของกองทุนฟื้นฟูฯ ยังทำให้นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเป็นห่วงว่า อาจมีการพิมพ์เงินเพิ่มขึ้นกว่า 55,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นการเสียวินัยทางการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงในขณะนี้


Create Date : 18 มกราคม 2551
Last Update : 18 มกราคม 2551 16:45:18 น. 0 comments
Counter : 830 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 
 

ไม้โมก
Location :
นครปฐม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยังคงมี.............ความรักจะมอบให้
ยังคงมี.............หัวใจที่เปี่ยมฝัน
ยังคงมี.............ความหมายความผูกพันธ์
ยังคงมี.............ความหวานแม้นานเนาว์
[Add ไม้โมก's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com