คำเฉพาะและคำย่อ


Break ขอขัดจังหวะการติดต่อระหว่างคู่สถานีที่กำลังติดต่ออยู่
Clear เลิกใช้ความถี่ที่กำลังใช้อยู่
Contact ขอเข้าร่วมใช้ความถี่ที่คู่สถานีกำลังติดต่ออยู่
Copy ท่านสามารถรับข้อความได้ทั้งหมดหรือไม่
CQ เป็นการเรียกสถานีไม่เจาะจง
DX การติดต่อระยะไกลๆ ด้วยวิทยุ, ระยะทางไกล
Go Ahead เริ่มส่งได้
HAM นักวิทยุสมัครเล่น
Harmonic บุตร, ลูกชาย หรือลูกสาว
Land Line Or Lima Lima โทรศัพท์
Log Book สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร
MAYDAY แจ้งเหตุ, ขอความช่วยเหลือ, เหตุฉุกเฉิน
Negative ไม่ใช้, ขอปฏิเสธ
Over ให้สถานีที่ถูกเรียกเปลี่ยนเป็นฝ่ายส่ง
QSL Card บัตรยืนยันการติดต่อสื่อสาร
Roger รับข้อความที่ส่งมาได้ครบถ้วน และเข้าใจแล้ว
Stand By อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมรับการติดต่อ
Two Meter เครื่องรับ-ส่งวิทยุย่าน 144-146 MHz
UTC, Z UNIVERSAL COORDINATED TIME เวลามาตรฐานสากล
With The Group การติดต่อสื่อสารเป็นกลุ่ม (ไม่เจาะจง)
XYL ภรรยา
YL หญิงสาว หรือนักวิทยุสมัครเล่นเพศหญิง
73 ด้วยความปรารถนาดี
88 กล่าวอำลาระหว่างนักวิทยุต่างเพศ

ขอบคุณ pootai.com




 

Create Date : 08 ธันวาคม 2548   
Last Update : 8 ธันวาคม 2548 16:55:49 น.   
Counter : 928 Pageviews.  

ประมวลรหัส Q

ประมวลรหัส Q
(Q Code) ที่นิยมใช้ (เรียงลำดับตามอักษรภาษาอังกฤษ) Q Code คำถาม คำตอบ หมายเหตุ
QRA สถานีของท่านชื่ออะไร ? สถานีของข้าพเจ้าชื่อ..........
QRB ท่านอยู่ห่างจากสถานีของข้าพเจ้าเท่าใด ? ข้าพเจ้าอยู่ห่างสถานีของท่านประมาณ.....
QRD ท่านจะไปที่ไหน และมาจากไหน ? ข้าพเจ้าจะไปที่..... ข้าพเจ้ามาจาก.....
QRE ท่านจะมาถึงเวลาใด ? ข้าเจ้าจะไปถึงเวลา..........
QRG ท่านจะบอกความถี่แท้จริงของข้าพเจ้าได้ไหม? ความถี่แท้จริงของท่านคือ.........
QRH ความถี่ของข้าเจ้าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ? ความถี่ของท่านเปลี่ยนแปลง..........
QRK ท่านรับฟังข้อความของข้าพเจ้าได้ชัดเจนเพียงใด ? ข้าพเจ้ารับฟังข้อความของท่านได้......
1.ไม่ได้เลย
2.ไม่ค่อยดี
3.พอใช้
4.ดี
5.ดีเยี่ยม
QRL ท่านกำลังมีธุระหรือ ? ข้าพเจ้ากำลังมีธุระ.....
QRM ท่านกำลังถูกรบกวนหรือ ? ข้าพเจ้ากำลังถูกรบกวนในระดับ.....
1.ไม่ถูกรบกวน
2.เล็กน้อย
3.ปานกลาง
4.ค่อนข้างรุนแรง
5.รุนแรง
QRN
ท่านถูกรบกวนจาก ประจุไฟฟ้าในบรรยากาศหรือ ?
ข้าพเจ้าถูกรบกวนโดยประจุไฟฟ้า ในบรรยากาศระดับ....
1.ไม่ถูกรบกวน
2.เล็กน้อย
3.ปานกลาง
4.ค่อนข้างรุนแรง
5.รุนแรง การรบกวนโดย ประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ
QRO ข้าพเจ้าจะเพิ่มกำลังส่งได้หรือไม่ ? เพิ่มกำลังส่งขึ้นอีก กำลังส่งสูง
QRP ข้าพเจ้าจะลดกำลังส่งได้หรือไม่ ? ลดกำลังส่งลง กำลังส่งต่ำ
QRQ ข้าพเจ้าจะส่งเร็วขึ้นได้หรือไม่ ? ส่งเร็วขึ้น (......คำต่อนาที)
QRS ข้าพเจ้าจะส่งให้ช้าลงได้หรือไม่ ? ส่งช้าลง (.....คำต่อนาที)
QRT ข้าพเจ้าจะหยุดส่งได้หรือไม่ ? หยุดการส่ง
QRU ท่านมี(ข้อความ) สำหรับข้าพเจ้าหรือไม่ ? ข้าพเจ้าไม่มี (ข้อความ) อะไรสำหรับท่าน
QRV ท่านพร้อมหรือยัง ? ข้าพเจ้าพร้อมแล้ว
QRW จะให้ข้าพเจ้าแจ้งเขาไหมว่าท่าน กำลังเรียกอยู่ที่ความถี่.....KHz(MHz) โปรดแจ้งเขาว่า ข้าพเจ้ากำลังเรียกเขาที่ความถี่.....KHz(MHz)
QRX เมื่อใดท่านจะเรียกข้าพเจ้าอีก ? ข้าพเจ้าจะเรียกท่านอีกเวลา........น.
QRZ ใครกำลังเรียกข้าพเจ้า ? .....(ชื่อสถานี)กำลังเรียกท่าน
QSA ความแรงสัญญาณของข้าพเจ้าเป็นอย่างไร? ความแรงของสัญญาณท่านอยู่ในระดับ.....
1.อ่อนมาก จนรับสัญญาณแทบจะไม่ได้
2.อ่อน
3.แรงพอใช้ได้
4.ดี
5.ดีมาก
QSB สัญญาณของข้าพเจ้าจางหายหรือไม่ ? สัญญาณของท่านจางหาย
QSL ท่านรับข้อความได้หรือ ไม่ ? ข้าพเจ้ารับข้อความได้แล้ว
QSM จะให้ข้าพเจ้าทวนซ้ำข้อความสุดท้ายอีกหรือไม โปรดทวนข้อความสุดท้าย ซ้ำอีกครั้ง
QSN ท่านได้ยินข้าพเจ้า ที่ความถี่.....KHz (MHz) หรือไม่? ข้าพเจ้าได้ยินท่าน (ชื่อสถานี)
QSO ท่านสามารถติดต่อกับ......ได้โดยตรง หรือไม ข้าพเจ้าสารถติดต่อกับ...... ได้โดยตรง
QSP ท่านจะถ่ายทอดข้อความถึง.....ได้หรือไม่? ข้าพเจ้าจะถ่ายทอดข้อความไปถึง.....ได้
QSX ท่านจะรับฟัง.... ที่ความถี่..... KHz (MHz) ได้หรือไม่? ข้าพเจ้ากำลังรับฟัง....ที่ความถี่....KHz(MHz)
QSY ข้าพเจ้าจะเปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่น ได้หรือไม่ ? ให้เปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่น
QTH ตำแหน่งสถานีของท่านอยู่ที่ใด ? ตำแหน่งของสถานีของข้าพเจ้าอยู่ที่.....
QTR ขณะนี้เวลาเท่าใด ? ขณะนี้เวลา.....

RST
RST เทียบเท่ารหัส Q คือ QRK R = readability ความชัดเจนในการฟัง
S = signal strength ความแรงสัญญาณที่รับได้ T = tone ความแจ่มใสของเสียง
1. รับไม่ได้เลย 1. อ่อนมากรับแทบไม่ได้ 1. เสียงพร่ามากคลื่นความถี่ต่ำ
2. รับแทบไม่ได้ 2. อ่อนมาก 2. เสียงพร่ามาก
3. รับได้ยากลำบาก 3. อ่อน 3. เสียงพร่าเหมือนแรงดันไฟไม่มีการกรองให้เรียบ
4. รับได้ดี 4. พอใช้ได้ 4. เสียงพร่าและยังกระเพื่อมอยู่
5. รับได้ดีมาก 5. ดีพอใช้ 5. เสียงยังกระเพื่อมอยู่อีกมาก
6. ดี 6. เสียงยังกระเพื่อมเล็กน้อย
7. แรงปานกลาง 7. เกือบดียังกระเพื่อมอยู่บ้าง
8. แรงดี 8. เกือบดีแล้ว
9. แรงดีมาก 9. ดีมากไม่มีตำหนิ
เนื่องในการติดต่อระบบวิทยุโทรศัพท์ไม่มีสัญญาณวิทยุโทรเลข สัญญาณมอร์ส จังตัดตัว T ทิ้งไปเรียกว่าระบบ RS จากเข็ม S-METER ของเครื่องรับวิทยุ ซึ่งจะมีสเกลจาก 1 ถึง 9 ส่วนที่เกินจาก 9 ก็จะแสดงว่าเป็น dB เช่น +10dB, + 20dB ตัวอย่างในระบบ RSTถ้ารับฟังข้อความได้ดีเยี่ยมและอ่าน S-METER ได้ 6 จะตอบค่าเป็น 56 (จะตอบ 5 นำเสมอ )

ขอบคุณ pootai.com




 

Create Date : 08 ธันวาคม 2548   
Last Update : 8 ธันวาคม 2548 16:52:39 น.   
Counter : 435 Pageviews.  

สายอากาศ สายนำสัญญาณ

สายนำสัญญาณTRANSMISSION LINE (ภาษาทั่วไป= สายอากาศ)
สายนำสัญญาณที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้ คือ มีความต้านทานต่ำ นำสัญญาณด้วยความเร็วใกล้เคียงแสง มีกำลังสูญเสียต่ำหรือลดทอนกำลังสัญญาณวิทยุต่ำ และในการเลือกสายนำสัญญาณต้องมีค่าอิมพีแดนซ์เท่ากับค่าอิมพีแดนซ์ของเครื่องรับ-ส่งด้วยหรือที่เรียกว่า MATCHING ถึงจะนำสัญญาณได้ดี ตัวอย่างสายนำสัญญาณ



TWIN LEAD มีค่า IMPEDANCE ประมาณ 300 โอห์ม
สานนำสัญญาณ COAXIAL มีค่า IMPEDANCE ประมาณ 50 โอห์ม โดยทั่วไปเครื่องรับ-ส่งวิทยุ จะใช้สายชนิดนี้เพราะมีชีลด์เป็นตัวป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก
เทคกะนิคช่าง

สายอากาศ (ภาษาทั่วไป = แผงอากาศ)
ขณะรับทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่วิทยุเข้าเครื่อง และขณะส่งเปลี่ยนความถี่วิทยุจากเครื่องส่งให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแผ่ออกอากาศ ในการเลือกสายอากาศ สายอากาศต้องมีค่าอิมพีแดนซ์เท่ากับค่าอิมพีแดนซ์ของเครื่องรับ-ส่งด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องรับ-ส่งวิทยุ เพื่อให้แผ่กระจายคลื่นได้ไกลและใช้งานเครื่องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่างสายอากาศ



ศัพท์
DIRECTIONAL ANTEANA เป็นลักษณะการแผ่กระจายคลื่นออกได้ดีในทิศทางที่กำหนด (แบบทิศทาง) ซึ่งจะมี ANTENNA ROTATOR ติดตั้งอยู่กับเสาเพื่อหมุนปรับเปลี่ยนทิศทางของสายอากาศ
ISOTROPIC หมายถึง สายอากาศที่สามรถแผ่กระจายคลื่นได้ทุกทิศทางและแรงเท่ากัน
OMIDIRECTIONAL ANTENNA เป็นลักษณะการแผ่กระจายคลื่นออกรอบทิศในแนวขนานพื้นโลก
RADIATION PATTERN หมายถึงรูปแบบการกระจายคลื่นของสายอากาศ
ตัวอย่างสายอากาศแบบทิศทาง เช่น YAGI ซึ่งมีค่า GAINมาก และมีค่า RADIATION RESISTANE 300 โอห์ม ซึ่งสายอากาศนี้ยังใช้ในการหาสถานีที่กำลังออกอากาศได้ด้วย




1. รีเฟลกเตอร์ 2. ไดรเว่นอีลีเมน 3. ไดรเวกเตอร์ 4. บูม

...*.. ในการติดตั้งสายอากาศของเครื่องรับ-ส่ง ต้องขนานกันถึงจะรับ-ส่งได้ดี ดังนั้นต้องรู้ว่าอีกฝ่าย ติดตั้งแบบไหน HOR หรือ VER HORIZONTAL ขนานพื้นโลก, VORTICAL ตั้งฉากพื้นโลก

ขอบคุณ pootai.com




 

Create Date : 08 ธันวาคม 2548   
Last Update : 8 ธันวาคม 2548 16:43:47 น.   
Counter : 1583 Pageviews.  

การทำงานของเครื่องวิทยุ



TUNER เลือกความถี่ โดยใช้ CAPACITOR ในการเลือก

RF AMPLIFIER ขยายสัญญาณความถี่วิทยุอ่อนๆที่รับเข้ามาให้แรงขึ้น

MIXER ผสมสัญญาณความถี่วิทยุกับความถี่จากภาค LOCAL OSCILATOR ให้เป็นความถี่กลาง

LOCAL OSCILATOR กำหนดความถี่ขึ้นมาเพื่อนำไปผสมกับความถี่ที่รับเข้ามาที่ MIXER

IF AMPLIFIER ขยายความถี่กลางให้แรงขึ้น

DETETOR (DISCRIMINATOR) แยกสัญญาณความถี่ออกจากสัญญาณวิทยุ

AF AMPLIFEIER ขยายสัญญาณสียงให้แรงก่อนส่งออกลำโพง

LOUND SPEAKER ลำโพง แปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียง

POWER SUPPLY แหล่งจ่ายไฟ

ขอบคุณ pootai.com




 

Create Date : 08 ธันวาคม 2548   
Last Update : 8 ธันวาคม 2548 16:35:22 น.   
Counter : 1326 Pageviews.  

คลื่นวิทยุ....


คลื่นวิทยุ หมายถึง คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำกว่า 3000 GHz ลงมาแพร่กระจายในอากาศโดยปราศจากสิ่งนำเทียม คลื่นจะเดินทางเป็นเส้นตรงโดยมีทิศทางตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า มีความเร็วเท่าแสง (3 x108 เมตร/วินาที) เดินทางผ่านสุญญากาศได้ และหักเหได้ ความยาวคลื่น wave length คืออัตราส่วนระหว่างความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นต่อความถี่
คลื่นแฮรตเซี่ยน หมายถึง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ 10 กิโลไซเกิลต่อวินาที และ 3,000,000 เมกกาไซเกิลต่อวินาที
คลื่นความถี่ระบบ MF ส่วนใหญ่จะมีการแผ่กระจายคลื่นแบบ คลื่นดิน (GROUND WAVE)
คลื่นความถี่วิทยุระบบ AM ที่ความถี่ 525-1605 kHz ซึ่งอยู่ในย่าน MF
คลื่นความถี่ระบบ HF หมายถึงย่านความถี่ 3 MHz-30MHz เป็นคลื่นที่แผ่กระจายแบบคลื่นฟ้า (SKY WAVE) คือคลื่นจะแผ่สะท้อนชั้นบรรยากาศชั้นไอโดโนสเฟียร์และกลับลงมาสู่พื้นโลกดังนั้นส่วนโค้งของโลกจึงไม่เป็นอุปสรรคในการติดต่อ
คลื่นความถี่ระบบ VHF หมายถึงย่านความถี่ 30 MHz-300MHz เป็นคลื่นที่แผ่กระจายแบบคลื่นอวกาศ (SPACE WAVE) ซึ่งย่านความถี่วิทยุสมัครเล่น 144-146 MHz จะใช้การแผ่กระจายคลื่นแบบนี้ ความถี่ระบบ VHF มีอุปสรรคคือภูมิประเทศ หากต้องการให้รับหรือส่งได้ไกลต้องเพิ่มความสูงของสายอากาศและเพิ่มความไวของเครื่องรับ
คลื่นความถี่ระบบ FM ใช้ที่ความถี่ 88-108 MHz ซึ่งอยู่ในย่าน VHF
คลื่นความถี่ระบบ UHF หมายถึงย่านความถี่ 300 MHz-3GHz แผ่กระจายคลื่นแบบคลื่นตรง (DIRECT WAVE) และคลื่นสะท้อน (REFLECTED WAVE)
วัตถุที่คลื่นวิทยุเดินทางผ่านยากที่สุด คือ โลหะ
Simplex การติดต่อสื่อสารโดยวิธีการผลัดการรับ-ส่ง และใช้ความถี่เดียวกัน
Duplex การติดต่อสื่อสารโดยการใช้ 2 ความถี่ พูดโต้ตอบสวนทางกันได้ทันที ไม่ต้องผลัดกันรับและส่ง
Semi duplex การติดต่อสื่อสารโดย repeater ใช้ 2 ความถี่ เครื่องรับส่งวิทยุใช้ 1 ความถี่




 

Create Date : 08 ธันวาคม 2548   
Last Update : 8 ธันวาคม 2548 16:26:26 น.   
Counter : 6486 Pageviews.  

1  2  

surkha
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add surkha's blog to your web]