สัพเพเหระ
Group Blog
 
All Blogs
 

กำจัดขยะในครัวเรือนด้วยจุลินทรีย์

การทำปุ๋ยหมักในเขตชุมชนเมือง

ในชุมชนเมือง บ้านเรือนแต่ละหลัง จะมีพื้นที่จำกัด ขยะจากครัวเรือน อาทิ เศษอาหาร เศษพืชผัก ใบไม้ เศษหญ้า
เมื่อย่อยสลายจะมีกลิ่นเหม็นสร้งความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้อยู่อาศัยและเพื่อนบ้านใกล้เคียง การทำปุ๋ยหมัก
จากเศษอาหารและพืชผักดังกล่าว นอกจาะจะเป็นการลดปริมาณขยะในครัวเรือนแล้วยังสามารถใช้เป็นปุ๋ยสำหรับ
ปลูกพืช ไม้ดอกไม้ประดับหรือพืชสวนครัวในบ้านได้อีกด้วย

พื้นที่สำหรับการทำปุ๋ยหมักนี้จะใช้พื้นที่ประมาณ 1-2 ตารางเมตรเท่านั้น สำหรับบ้านแบบทาวน์เฮ้าส์ขนาดเล็ก
มีสมาชิกในบ้านตั้งแต่ 1 คน จนถึง 6 คน ซึ่งอาจจัดเตรียมพื้นที่ด้านหลังบ้านหรือหน้าบ้านก็ได้ตามแต่สะดวก

วิธีการทำถังปุ๋ยหมักมีดังนี้

1 เอาอิฐ 4 ก้อน จะเป็นอิฐมอญ อิฐบล็อก หรืออิฐประสานก็ได้ วางห่างกันพอรองรับถังซีเมนต์ได้ทั้ง 4 มุม
ถ้าต้องการให้สูงก็วางอิฐเพิ่มให้สูงขึ้นก็ได้
2 วางถังซีเมนต์แบบที่ใช้เป็นท่อพักท่อระบายน้ำวางลงบนอิฐทั้ง 4 ก้อน ถ้าคิดว่ามีขยะมากก็วางซ้อนขึ้นไป
สองชั้นเพื่อให้ใส่เศษอาหารและเศษพืชผักได้มากขึ้น
3 เว้นช่องว่างด้านล่างเอาไว้สำหรับโกยปุ่ยหมักออกไปใช้
4 เอาเศษพืชผัก เศษอาหาร เศษหญ้า ใส่ลงไปในถังหมัก
5 โรยเชื้อจุลินทรีย์และสารเร่งเชื้อ (มีลักษณะเป็นผงแห้งทำจากซังข้าวโพด) ประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะโรยให้ทั่ว
6 โรยทับด้วยหินฟอสเฟต ยูเรีย และ/หรือ ดินร่วน อะไรก่อนหลังก็ได้อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ
7 รดน้ำเพื่อชะล้างเชื้อจุลินทรีย์, สารเร่งเชื้อ, หินฟอสเฟตและยูเรียเพื่อผสมกับเศษวัสดุหมัก
8 เอาเศษวัสดุหมักใส่ลงไปเรื่อยๆจนเต็มถัง แล้วใส่จุลินทรีย์, หินฟอสเฟตและยูเรีย ปริมาณเท่าเดิมลงไปผมสม
อีกครั้ง รดน้ำสม่ำเสมอ ทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ หากมีเศษวัสดุจำนวนมาก และเอาทิ่นไม้กระทุ้งลงไป
เพื่อให้ใส่เศาขยะได้อีก
9 ประมาณ 3-4 เดือน จึงโกยดินเอาปุ๋ยหมักออกตรงช่องที่เว้นไว้ด้านล่างออกไปใช้ ส่วนที่ยังไม่เป็นปุ๋ยจะเลื่อน
ลงมาด้านล่างเองหรืออาจจะใช้ไม้กระทุ้งให้เศษวัสดุเลื่อนลงมาก็ได้

ในระหว่างการหมักปุ๋ย จุลินทรีย์ ชนิดนี้จะช่วยกำจัดกลิ่นของเศษวัสดุหมักทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็น นอกจากนั้น
จุลินทรีย์ยังสร้าง Plant Growth Hormone ช่วยให้ปุ๋ยมีคุณภาพดีในการปลุกพืชได้หลายชนิด โดยไม่ต้อง
ใช้ฮอร์โมนใดๆอีก หากเป็นบ้านเรือนที่มีพื้นที่น้อย ก็ใช้ปุ๋ยหมักนี้ปลูกพืชได้เลย เพียงแต่ต้องผสมขุยมะพร้าว
เพื่อให้ดินมีการระบายน้ำได้ดี

เศษอาหารที่ใช้ใส่ลงไปในถังหมักนั้นใส่ได้ทุกชนิด ไขมันพืช ไขมันสัตว์ เศษข้าวเศษผัก ยกเว้น กระดูกสัตว์
เช่น ซี่โครงหมู , ก้างปลาขนาดใหญ่ , เศษไม้เป็นท่อนๆ เปลือกหมาก เพราะเศษวัสดุเหล่านี้ไมเป็นอาหารของ
จุลินทรีย์ นอกจากนั้น ในระหว่างมีการย่อยสลาย จุลินทรีย์ ไม่ผลิตก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซที่ทำลายโอโซนในชั้น
บรรยากาศที่ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก จึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย




 

Create Date : 30 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 30 พฤษภาคม 2552 21:13:23 น.
Counter : 2815 Pageviews.  

จุลินทรีย์ปีประโยชน์ในบ้านเรือน

จุลินทรีย์มีประโยชน์

จุลินทรีย์แบบแห้ง เป้นการเก็บเชื้อจุลินทรีย์ที่ผสมกับซังข้าวโพดบดแห้งเก็บไว้ใช้ได้นาน
ก่อนนำมาใช้ต้องนำมาเพาะเลี้ยวด้วยการผสมน้ำเพื่อให้เชื่อจุลินทรีย์เติบโตเสียก่อน
ใช้ในการ บำบัดน้ำเสียน้ำเน่า, ลดกลิ่นและแมลงวันในคอกสัตว์เลี้ยง, กำจัดไขมันอุดตันในท่อน้ำทิ้ง,
แก้ปัญหาส้วมตันส้วมเหม็น และ ลดปริมาณยุง

มีวิธีการทำดังนี้

แก้น้ำเน่า : ใช้จุลินทรีย์แห้งหว่านลงไปในแหล่งน้ำได้เลย ถ้าเป็นน้ำไม่ไหล ต้องกวนบ้างเล็กน้อย
ถ้าน้ำไหลวนก็ไม่ต้องกวน จุลินทรีย์ ประมาณ 250 กรัม ใช้แก้น้ำเน่าเสียได้ประมาณ
400 ลูกบาศก์เมตร ถ้าน้ำเสียมีจำนวนน้อยจุลินทรีย์ก็ใช้ลดลงตามส่วน น้ำที่มีสีดำ
จะค่อยๆสขึ้นภายใน 3-4 วัน

ลดกลิ่นและแมลงวันในคอกสัตว์เลี้ยง : ใช้จุลินทรีย์แห้งหว่านลงไปในคอกสัตว์ให้ทั่ว หากสัตว์มากินหรือ
หรือถุกตัวสัตว์บ้างก็ไม่เป็นไร จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อให้จุลินทรีย์เติบโตและทำงาน ปล่อยทิ้งไว้
ประมาณ 12-24 ชั่มโมง กลุ่นเหม็นในคอกสัตว์จะลดลง จุลินทรีย์แห้ง 250 กรัม สามารถดับกลิ่น
ในคอกสัตว์ได้พื้นที่ประมาณ 200-400 ตารางเมตร ภายใน15 วันกลิ่นจะลดลงและแมลงวัน
ก็ลดลงตามไปด้วย

ลดไขมันอุดตันในท่อน้ำทิ้งจากครัวเรือน : ผมเชื้อจุลินทรีย์แห้งประมาณ 2 ช้อนกับน้ำคนให้เข้ากัน
เพื่อเพาะเลี้ยงเชื้อ แล้วผสมหิน ฟอสเฟต 1 ช้อนคนให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
จากนั้นต้องพยายามทำให้น้ำไหลผ่านจากท่อน้ำอ่างล้างจานลงไปในท่อน้ำทิ้งให้ได้ก่อน
แล้วจึงเทจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงไว้ลงไป เปิดน้ำให้ไหลชะจุลินทรีย์ลงไปตามท่อ จุลินทรีย์จะทำงาน
ไปเรื่อยๆ ประมาณ 3-4 ปี จึงเพิ่มส่วนผสมเข้าไปใหม่

ส้วมตันส้วมเหม็น : ส้วมนั้นจะต้องไม้เป็นกรด หรือด่างมาเป็นเวลาประมาณ 3-4 เดือน จากนั้นนำเชื้อจุลินทรีย์
ใส่ลงไปในโถส้วมประมาณ 10-15 กรัม รดน้ำชักโครกลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 12-24 ชั่วโมงกลิ่นเหม็น
ของห้องน้ำจะลดลง

ลดปริมาณยุง : นำเชื้อจุลินทรีย์ใส่ลงไปตามแหล่งน้ำ เช่น ท่อน้ำทิ้ง ชาม โถส้วม แหล่งน้ำเสียใกล้ๆบ้าน
หรือ นำเชื้อจุลินทรีย์ผสมน้ำใส่ภาชนะเล็กๆวางไว้ตามซอกตู้ หรือบริเวณที่มียุงมากๆ
ยุงจะหายไปภายใน 5 วัน




 

Create Date : 30 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 30 พฤษภาคม 2552 21:09:32 น.
Counter : 720 Pageviews.  

Scuba Diving

การปรับตัวให้เข้ากับโลกใต้น้ำ (Adapting to the Under Water World)

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนบก การปรับตัวทั้ง พันธุกรรม Genotype และ กายภาพ Phynotype
ก็จะเป็นแบบสัตว์บก ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและภูมิประเทศ แต่เมื่อ มนุษย์ดันทะลึ่งอยากจะลงไปอยู่ใต้น้ำแบบปลา ก็ต้องมีความรู้ พัฒนาความรู้และเครื่องมือเพื่อให้มนุษย์สามารถใช้ชี วิตในโลกที่ไม่คุ้นเคยให้ได้ แม้เพียงช่วงเวลสั้นๆ เมื่อลงไปอยู่ในน้ำ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเปลี่ยนไปหมด ทั้งบรรยากาศ
การมองเห็น แสง สี เสียง การหายใจ การเคลื่อนที่เคลื่อนไหว อุณหภูมิ และธรรมชาติรอบๆตัวเรา
ทั้งสัตว์ พืช กระแสน้ำ ระดับน้ำ ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจเพื่อที่จะปรัยตัวให้เ ข้ากับโลกใบใหม่
สีน้ำเงินอย่างถูกต้องและปลอดภัย

การมองเห็นใต้น้ำ

มนุษย์มองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างไร หากเราเข้าไปในถ้ำที่มืดสนิท ไม่มีช่องทางให้แสงเข้ามาได้ เราจะไม่สามารถมองเห็นได้ การมองเห็นของมนุษย์ ต้องอาศัยแสง จากดวงอาทิตย์ หรือต้นกำเนิดแสงจาก
ธรรมชาติ และแสงจะอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้น เมื่อแสงเดินทางไปในอากาศจะไม่เกิดการหักเห ต่อเมื่อมันเดินทางผ่านตัวกลาง อาทิ ละอองน้ำ ฝุ่นละออง จะมีการหักเหตามแต่สมบัติของตัวกลางเหล่านั้น

เมื่อเราอยู่ใต้น้ำ น้ำเป็นตัวกลางที่มีสมบัติทำให้เกิดการหักเหของแสง เพราะว่าแสงจะเกิดการหักเหต่อเมื่อเดินทางผ่านตัวกลา งที่มีความหนาแน่นไม่เท่ากัน และน้ำทะเลนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศถึง 800 เท่า การหักเหของแสง จึงเป็นธรรมชาติของโลกใต้น้ำ

เราไม่สามารถดำน้ำโดยไม่มีหน้ากากดำน้ำได้เพราะมวลน้ ำทั้งหมดจะกลายสภาพเป็นเลนส์ขนาดมหึมาจนจนสัญญาณภาพท ี่มากระทบกับจอตาของเราขยายใหญ่เกินกว่าจะมองเห็นได้ แต่เมื่อเราใส่หน้ากากดำน้ำ กระจกจะกั้นกลางป้องกันไม่ให้น้ำกลายสภาพเป็นเลนส์ตา ของเรา เราจึงสามารถมองเห็นภาพใต้น้ำได้ แต่ทว่า การมองเห็นของเราโดยผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นไม่เ ท่ากันคือ น้ำทะเล และอากาศที่อยู่ในหน้ากาก ทำให้เกิดการหักเหและเราจะมองเห็นวัตถุที่อยู่ในน้ำใ หญ่กว่าความเป็นจริง 25 %

การมองเห็นใต้น้ำนอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าความเป็นจ ริงแล้ว สีของวัตถุก็เปลี่ยนไปด้วย เนื่องจาก
แสงอาทิตย์ เป็น สเปคตรัม ผสมแสงสีต่างๆ 7 สี เมื่อแสงเดินทางผ่านน้ำทะเลจากผิวน้ำลงไป
แสงสีแต่ละสี จะถูกดูดซับหายไปในแต่ละช่วงชั้นความลึก โดยสีแดงจะหายไปก่อน เมื่อลึกลงไปเรื่อยๆ สีแสด สีเหลือง เขียว และ สีคราม จะเป็นสีสุดท้าย ก่อนจะมืดมิเมื่อแสงส่องลงไปไม่ถึง
แต่ทั้งนนี้ก็ขึ้นอยู่กับความขุ่น-ใสของน้ำและความโปร่งของท้องฟ้าด้วย

การได้ยินเสียงใต้น้ำ Underwater Hearing

โลกใต้น้ำดูเหมือนว่าจะเงียบ แต่เราก็สามารถได้ยินเสียงแปลกๆใต้น้ำได้ นักดำน้ำบางคนฝีมือแก่กล้า
สามารถพูดคุยกันใต้น้ำได้ด้วย (พี่จกพูดใต้น้ำได้แต่กรูฟังไม่รู้เรื่อง)

คุณสมบัติของเสียง นั้นสามารถเดินทางได้ในตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากได ้เร็วกว่าตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย เสียงจึงเดินทางในของแข็งได้เร็วกว่าในของเหลว และเดินทางในของเหลวได้เร็วกว่าในอากาศ ในน้ำเสียงจะเดินทางได้เร็วกว่าในอากาศ ถึง 4 เท่า (เสียงเดินทางในอากาศ ความเร็ว คือ
1,100 ฟุต ต่อ วินาที) เราจึงได้ยินเสียงในน้ำเร็วกว่าในอากาศและก้องกว่าใน อากาศและเข้ามาทางหูซ้ายและหูขวาของเราเกือบจะพร้อมก ัน แต่ว่ามันเร็วเกินไปสำหรับสัตว์บกที่หูออกแบบไว้ได้ย ินเสียงในอากาศ ทำให้เราไม่สามารถหาแหล่งที่มาหรือต้นกำเนิดเสียงได้ วิธีการหาแหล่งกำเนิดเสียงก็คือ
หมุนวนรอบๆตัว ช้าๆ อย่าเร็วมาก มันจะเหนื่อย

การสูญเสียความร้อนในน้ำ Heat Loss iin Water

อุณหภูมิของน้ำจะเย็นกว่าอากาศ ถ้าเราดำน้ำโดยใส่เพียงชุดว่ายน้ำ ผิวหนังของเราจะสัมผัสกับน้ำโดยตรงน้ำจะพาความร้อนออ กจากร่างกายของเราทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อน ได้มากกว่าในอากาศถึง 20 เท่า ยิ่งลงไปลึกก็ยิ่งหนาว หากเมื่อเรารู้สึกหนาวเมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้ออกแรงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพื่อสร้างความร้อนขึ้นใน ร่างกายจากนั้นความขึ้นสู่ผิวน้ำ อย่าฝืนดำน้ำต่อ กลับขึ้นเรือหรือขึ้นฝั่ง อบอุ่นร่างกาย
ห่มผ้า หรือใส่เสื้อผ้าหนาๆ การดำน้ำจึงมีอุปกรณ์สำหรับป้องกันการสูญเสียความร้อ ยโดยเฉพาะคือ Wet Suit หรือ Exposure Suit เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนขณะอยู่ในน้ำ และยังช่วยป้องกัน
สิ่งมีพิษในทะเล จำพวก แมงกระพรุ่น หรือ แมงหวี่ แมลงวัน ด้วย (ฮ่า ฮ่า)

การเคลื่อนไหวใต้น้ำ Motion in Water

พยายามทำตัวให้เป็นเหมือนรถสปอร์ต ลดแรงเสียดทาน ในน้ำให้มากที่สุด การเตะขาเป็นจังหวะ
สม่ำเสมอ โดยทำตัวลู่น้ำจะช่วยให้เคลื่อนที่ได้ดี การตั้งตัวตรง แล้วพยายามเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
จะทำให้ออกแรงมากเกินไป เหนื่อย ใช้อากาศมาก และมีเวลาดำน้ำน้อย ที่สำคัญก็คือ จะเกิด
คาร์บอนไดออกไวด์สะสม ทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ หรือบางที่ หน้ามืดเป็นลมใต้น้ำ


การหายใจใต้น้ำ Respiration

มนุษย์หายใจด้วยปอด ที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ระหว่างเลือดกับอากาศที่เราหายใจเข้าไป
อากาศที่เราหายใจเข้าไปจะประกอบด้วย ออกซิเจน 20 % ไนโตรเจน 79 % และอื่นๆ 1 %
แต่เมื่อเราหายใจออก อากาศที่อกมาจากปอดของเรา จะประกอบด้วย ไนโตรเจน 79 ออกซิเจน 15
คาร์บอนไดออกไซด์ 5 และอื่นๆ 1 นั่นแสดงว่า เราเอาออซอเจนไปใช้แล้วเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับออกมา จาก คาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่ 5 % นี้ จะทำให้เราเกิดอาการผิดปกติได้ หายเรายัง
กักเก็บไว้ในปอดของเรา อันเนื่องมาจากการหายใจออกไปไม่หมด (มีคำอธิบายต่อ) นอกจากนั้น ไนโตรเจน 79 % ที่กลับออกมาเท่าเดิม นั่นแสดงว่าร่างกายไม่ได้ใช้เลย และเจ้าไนโตรเจนนี้เอง
เปรียบเสมือน หน่อยลอบสังหาร ด้วยการวางยาพิษ โดยที่เราไม่รู้ตัว

การหายใจเมื่อดำน้ำ Underwater Breathing

เมื่อเวลาเราดำน้ำเราหายใจเข้าและออกทางปาก แรกๆอาจจะยังไม่ชินจึงต้องฝึกฝนกันหน่อย ดำน้ำไปเรื่อยๆก็จะชินไปเองจนลางที่หายใจทางจมูกไม่เ ป็นเลยก็มี บางครั้งเราต้องหายใจออกทางจมูกด้วย
เมื่อต้องการไล่น้ำออกจาหน้ากาก หรือเมื่อหน้ากากที่ใส่อยู่โดนแรงดันของน้ำรัดหน้เรา แน่นเกินไปเราก็หายใจออกทางจมูกเล็กน้อย ปรับ สมดุลย์ ( Mask Equalization)

เรารู้กันแล้วว่าอากาศที่เราหายใจออกมา มี คาร์บอนไดออกไซด์ผสมอยู่ 5 % ร่างกายจะขับออกไปไม่หมดจะตกค้างอยู่ตามส่วนต่างๆของ รายหายและอุกรณ์ดำน้ำของเราเอง เราเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า
Dead Air Space ซึ่งมีอยู่ 2 บริเวณคือ
1 Natutal Dead Air Space คือ ภายในหลอดลม ช่องปาก ช่องจมูก ของร่างกายเรานี่เอง
2 Artificial Dead Air Space คือ ตามท่อหายใจ Snprkel สาย Reguulator

การหายใจถี่ สั้นและเร็ว ทำให้เราหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ตกค้างในบริเวณนี้เข้าไปด้วย
จะเกิดอาการ หน้ามืด คล้ายเป็นลม เนื่องจากร่างกายได้รับยออกซิเจนไม่เพียงพอ ดังนั้นการหายใจที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดก็คือ หายใจเข้าลึกๆยาวๆช้าๆ และหายใจออก ลึกๆยาวๆและช้าๆเช่นกัน

กรณีที่มีน้ำค้างอยู่ในท่อหายใจให้หายใจเบาๆยาวๆโดยใ ช้ลิ้นและเพดานปากเป็นกระบังกั้นน้ำไว้เมื่อหายใจเข้ าเต็มปอดแล้ว ให้เป่าท่อหายใจแรงๆ เพื่อไล่น้ำออกไป จากนั้นหายใจตามปกติ หากหายใจเร็วและแรงเกินไปจะทำให้สำลักน้ำได้

การออกแรงมากเกินไปในขณะดำน้ำ Over Exertion
การดำน้ำหรือว่ายนน้ำในบางสถาณการณ์ เช่น กระแสน้ำแรง ไหลเชี่ยว มีคลื่นลมพัดจัด การยกของหรือทำงานใต้น้ำอาจทำให้เหนื่ยและอ่อนล้า เนื่องจากออกแรงมากเกินไป ทำให้เราหายใจหอบสั้น ถี่ และเร็ว ทำให้เราหายใจเอา อากาศเสียจาก Dead Air Space เข้าไปด้วยจะเกิดอาการหน้ามืด
วิงเวียน เป็นลม ควรหยุดกิจกรรมนั้นชั่วขณะ หาที่เกาะหรือพัก ตั้งสติ และควบคุมการหายใจเข้าออกใหม่ ให้ช้าๆ และลึกๆ ควบคุมสติให้ดี คิดหาวิธีการและทิศทางการว่ายน้ำใหม่และทำตามที่คิดไ ว้นั้นอย่างมีสติ อย่าตกใจจนเกินเหตุ แล้วจะปลอดภัยในการดำน้ำ เมื่ออยู่ใต้น้ำแล้วเกิดเหตุอันน่าตกใจ
ให้ระลึกอยู่เสมอว่า เรายังมีอากาศหายใจ เรายังปลอดภัย




 

Create Date : 28 เมษายน 2552    
Last Update : 30 พฤษภาคม 2552 21:11:24 น.
Counter : 3386 Pageviews.  

ดำน้ำ

เมื่อเราดำน้ำแบบ Scuba ในระดับความลึกตั้งแต่ 1 เมตร เป็นต้นไป แล้วเมื่อเรากลับขึ้นมาสู่ผิวน้ำ
สิ่งที่ร่างกายของคนได้รับผลกระทบก็คือ ช่องว่างภายในตัวเราที่เป็นโพรงอากาศ เช่น โพรงไซนัส
ช่องหู หรือแม้แต่ ช่องว่างของรอยอุดฟันของเราเองที่อาจจะห่างจากมือหมอ ฟันมานานแล้ว ทำให้เกิดรอยรั่วเล็กๆอากาศจะเข้าไปอยู่ในนั้นได้ อาการที่ว่านี้ เรียกว่า Reverse Block

นั่นคือ อากาศที่อยู่ตามช่องว่างเลห่านี้ขยายตัว อันเนื่องมาจากแรงดันที่ลดลงเมื่อปรับระดับความลึกแล ะค่อยๆขึ้นสู่ผิวน้ำ อาการ Reverse Block สามารถแก้ไขได้โดยการ ค่อยๆดำกลับลงไปที่ความลึก กว่าเดิมจนกว่าจะหายเจ็บ สั่งน้ำมูก หรือ กำจัดสิ่งอุดตันออกไป แล้วค่อยขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างช้าที่สุด
หากว่าเป็นหวัดคัดจมูก ควรหลีกเลี่ยงการดำน้ำ ส่วนกรณี ที่เกิดขึ้นที่รอยอุดฟันให้ไปหาทันตแพทย์
จัดการอุดให้เรียบร้อยเสียก่อน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความหนาแน่นของอากาศที่เพิ่มขึ ้น
( Effects of Increased Air Density)

คงยังจำกันได้ว่า เมื่ออยู่ในน้ำลึกที่เพิ่มมากขึ้น ความดันบรรยากาศก็จะเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของ
มวลอากาศก็เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น การหายใจหนึ่งครับ จะมีความหนาแน่นตั้งแต่ 1 เท่า 2 เท่า 3 เท่า
และ 4 เท่า (ถ้าลงไปดำไหว) ยิ่งดำลงไปลึกมากเท่าไหร่ อากาศที่หายใจก็จะมีความหนาแน่นมากขึ้นเท่านั้น และนั่นย่อมหมายความว่า ยิ่งดำน้ำลึกมาก ยิ่งใช้อากาศ (ที่มีอยู่จำกัดในถัง) มากขึ้นนั่นเอง

คำถามที่พบบ่อยๆก็คือ อากาศหนึ่งถัง จะดำน้ำได้นานแค่ไหน
คำตอบนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายประการ
1. ระดับความลึก ของการดำน้ำ
2. ความจุของปอด แต่ละคนความจุของปอดไม่เท่ากัน
3. มวลของกล้ามเนื้อ (ง่ายก็คือตัวใหญ่นั่นเอง) ตัวใหญ่มาก กล้ามเนื้อมาก ก็ต้องใช้อากาศมาก
4. การเคลื่อนไหวใต้น้ำ หากเคลื่อนไหวใต้น้ำมากๆ เร็ว ว่ายไปว่ายมาไม่หยุด ร่างกายก็จะต้องการ
อากาศและออกซิเจนมากขึ้น ก็เปลืองมากขึ้น หรือมีกระแสน้ำแรง ต้องว่ายทวนน้ำ ก็ยิ่งเปลือง
5. การควบคุมการหายใจ เข้าช้าๆลึกๆ และหายใจออกช้าๆลึกๆ ลักษณะคล้ายๆการควบคุมการหายใจ
เมื่อเวลานั่งสมาธินั่นเอง




 

Create Date : 27 เมษายน 2552    
Last Update : 28 เมษายน 2552 21:42:06 น.
Counter : 1709 Pageviews.  

ดำน้ำ

บทที่ 1 ธรรมชาติของน้ำ
1.1 แรงลอยตัวในน้ำ (Bouancy)
วัตถุต่างๆที่ตกลงไปในน้ำนั้น บางสิ่งจอมบางสิ่งลอย การจมหรือลอยของวัตถุไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุแ ต่ขึ้นอยู่กับ ความหนาแน่นของวัตถุ ซึ่งทฤษฎีนี้ค้นพบโดย อาร์คีมีดิส ที่เรารู้จักกันดี
การจมลอยของวัตถุนี้ เราเรียกว่า "แรงลอยตัว" หรือ Bouyancy ซึ่งมี 3 สถานะคือ
ก. วัตถุมีปริมาตรเท่ากับน้ำ แต่น้ำหนักน้อยกว่าน้ำ วัตถุนั้นจะลอย หรือเป็น Positive
ข. วัตถุมีปริมาตรเท่ากับน้ำ แต่น้ำหนักมากกว่าน้ำ วัตถุนั้นจะจม หรือ เป็น Negative
ค. วัตถุมีปริมาตรเท่ากับน้ำ แต่น้ำหนักเท่ากับน้ำ วัตถุนั้นจะไม่จมไม่ลอยหรือเป็นกลาง
(Neutral)
1.2 ความหนาแน่น (Density)
ความหนาแน่นหมายถึง น้ำหนักของวัตถุต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ซึ่งโดยทั่วไปนับเป็น
ปอนด์/ลูกบาศก์ฟุต หรือ กิโลกรัม/ลิตร
อากาศ (air) มีความหนาแน่น 0.08 ปอนด์/ลบ.ฟุต หรือ 0.001 กิโลกรัม/ลิตร
น้ำจืด (fresh water) มีความหนาแน่น 62.40 ปอนด์/ลบ.ฟุต หรือ 1 กิโลกรัม/ลิตร
น้ำทะเล (sea warer) มีความหนาแน่น 64 ปอนด์/ลบ ฟุต หรือ 1.02 กิโลกรัม/ ลิตร

จะเห็นได้ว่า อากาศมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจืด และน้ำจืดมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำทะเล
ดังนั้น วัตุถที่เป็นกลางในน้ำจืด หรือ มีน้ำหนักเท่ากับน้ำจืดในปริมาตรที่เท่ากัน ย่อมจะลอยในน้ำทะเล
นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เวลาเราลงน้ำทะเลแล้วมันไ ม่ค่อยจะจม ต้องมีการถ่วงด้วยตะกั่วเวลาดำน้ำ

และด้วยควาที่น้ำมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ เราจึงเคลื่อนไหวในน้ำได้ช้า และลำบากกว่า
ออกแรงมากกว่าด้วย แต่หากว่าเรามีการปรับตัวที่ดีและถูกต้อง จะช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

อุปกรณ์ที่ใช้ปรับแรงลอยตัวมี 2 ชนิด ที่สำคัญ (อันที่จริงมี 3 ชนิด แต่ชนิดที่ 3 ไม่นับรวม)

1 BCD หรือ Bouancy Control Device บางทีเรียกสั้นๆว่า BC ลักษณะคล้ายเสื้อกั๊ก สามารถเติมลมหรือปล่อยลมออกได้ ตามความต้องการให้จมหรือ ลอย
2. Weight หรือ น้ำหนักถ่วง โดยมากทำดัวยตะกั่วหล่อ คาดเป็นเข็มขัดไว้รอบเอว ช่วยมห้นักดำน้ำจมลงใต้น้ำได้
3. Lung หรือ ปอดของเราเอง สามารถปรับแต่งการหายใจของเราเพื่อการจมลอยได้
แต่ไม่นับเป็นอุปกรณ์เพาะว่าเป็นอวัยวะของเราเองครับ

ทั้งสามอย่างนี้หากมีการควบคุมการใช้อย่างถูกต้องและ ถูกวิธีจะช่วยให้เราสามารถควบคุมการจมลอยได้ดี เพราะว่าการควบคุมการจมลอยน้ำ จะทำให้เราดำน้ำอย่างปลอดภัย ไม่ดำดิ่งลงไปลึกจนเกินกว่าร่างกายจะรับได้และไม่ลอย ขึ้นผิวน้ำอย่างพรวดพราด ซึ่งทำให้เกิดอาการ ปอดฉีก และ โรคเบนด์ได้

แรงดันบรรยากาศ

บรรยากาศหมายถึง สภาวะรอบๆตัวเราซึ่งอาศัยอยู่บนผิวโลก นั่นก็คือ มวลอากาศ (Air) ซึ่งมี
แรงกดดัน (Pressure) ที่กระทำต่อตัวเราและวัตถุต่างๆ แต่ที่เราไม่รู้สึกถึงแรงดันที่กระทำต่อตัวเราก็เพรา ะ ร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำ กว่า 70 % จึงสามารถปรับสภาพได้

แรงดันบรรยากาศที่ผิวโลก มีแรงดัน 14.7 ปอนด์/ ตารางนิ้ว หรือ 1.02 กิโลกรัม/ ตารางเซนติเมตร
มีหน่วยเป็น 1 ATM หรือ 1 BAR อากาศจะมีแรงดันลดลงเมื่อขึ้นสู่ที่สูงทีละน้อย จนเมื่อที่ความสูง
2,500 เมตร แรงดันบรรยากาศจะเหลือเพียง 0.75 Bar ซึ่งจะเริ่มส่งผลกระทบต่อเราแล้ว จะเกิดอาการหูอื้อ และในขณะเดียวกันเมื่อเราลงไปในทะเล บรรยากาศรอบๆตัวแทนที่จะเป็นอากาศแต่กลับกลายเป็นน้ำ ทะเล เมื่อเราลงลึกไปเรื่อยๆ น้ำที่มีความหนาแน่นมากกว่าอากาศก็จะเพิ่มแรงดันมากย ิ่งขั้น เมื่อเราลงลึกลงไปที่ 10 เมตร ความดันจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 Bar ที่ 20 เมตร จะเป็น 3 Bar
และจะเพอ่มขึ้น เรื่อยๆเป้นอัตราส่วน ทุกๆ 10 เมตร ละ 1 Bar

ร่างกายของคนเรานั้นสามารถปรับสภาพเข้ากับความดันที่ เพิ่มขึ้นได้ แต่หากว่ามีการเปลี่ยนแปลง
ความดันกระทันหัน โพรงอากาศที่เป็นช่องว่างในร่างกายไม่สามารถปรับได้เ ท่ากับความดันภายนอกได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการปรับความดันภายในร่างกายของเร าเอง เรียกว่า (Equalization)
ด้วยการ บีบจมูกให้แน่นแล้วหายใจออก เป็นระยะๆโดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการเจ็บหูเนื่องจากกา รเปลี่ยนแปลงของความดันขณะดำน้ำ บางคนอาจจะใช้วิธีกลืนน้ำลาย ขยับกราม ก็ช่วยได้เช่นกัน

ปริมาตรและความหนาแน่นเมื่อแรงดันเพิ่มขึ้น

หากเราเอาแก้วน้ำหนึ่งใบคล่ำลงในน้ำ แล้วกดลงให้ลึกลงไปเรื่อยๆ แรงดันของน้ำจะทำให้ปริมาตรของอากาศที่อยู่ในแก้วลดล ง ยิ่งลงลึกมากขึ้นเรื่อยๆ แรงดันอากาศจะเพิ่มขึ้นขณะที่ปริมาตรของอากาศจะลดลงพ ร้อมๆกับความหนาแน่นของอากาศที่เพิ่มขึ้นด้วย

Depth Pressure Air Volume Air Density

0 m 1 ATM 1 x 1
10 m 2 ATM 1/2 x 2
20 m 3 ATM 1/3 x 3
30 m 4 ATM 1/4 x 4

การดำน้ำ คือการที่เราลงไปที่ความลึกใต้น้ำแล้วหายใจเอาอากาศจ ากถังอากาศลงไปหายใจ นั่นย่อมหมายความว่า เราหายใจเอาอากาศที่มีความหนาแน่นมาก แม้ว่า การหายใจแต่ละครั้งจะมีปริมาตร
เท่ากับความจุของปอดเราเท่านั้น นั่นคือ สมมุติ ว่า เราหายใจ อากาศที่ปริมาตร 1 ลิตร ต่อ 1 ครั้ง
แต่มวลอากาศจะหนาแน่นมากกว่าการที่เราหายใจอยู่ที่ผิ วน้ำ นั่นเอง

ปริมาตรและความหนาแน่น เมื่อความดันลดลง
หากเรานำถุงปริมาตร 1 ลิตร ลงไปเติมอากาศใต้น้ำจนเต็มถุง ที่ความลึก 30 เมตร แล้วมัดปากถุงให้แน่นจากนั้นนำกลับขึ้นมาที่ผิวน้ำ แรงดันที่ลกลง 4 เท่า เมื่อเทียบกับ ที่ความลึก 30 เมตรกับผิวน้ำ อากาศภายในถึงจะขายตัวเป็น 4 เท่า และลอยขึ้นอย่างรวดเร็ว หากถุงไม่แข็งแรงพอที่จะรับแรงดันที่เพิ่มขึ้นขนาดนั ้นได้ถุงก็จะแตก ปรากฏการณ์นี้ เปรียบเทียบกับการหายใจกับปอดของเราเวลาดำน้ำ คือ เราเติมอากาศเข้าไปในปอด หากเรากลั้นหายใจขณะที่ขึ้นสู่ผิวน้ำ โดยไม่ระบายออกเลย
อากาศในปอดของเราก็จะมีปริมาตรมีมากขึ้นทำให้ถุงลมปอ ดที่เป็นเนื้อเยื่อบางๆของเราฉีกขาดได้
ดังนั้น กฏข้อหนึ่งของการดำน้ำก็คือ ห้ามกลั้นหายใจ เด็ดขาด เพาะเมื่อเราอยู้ในน้ำ เราอาจพบกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำทำให้ตัวเราลอย ขึ้นหรือ เปลี่ยนแปลงระดับความลึกมากมาที่ลึกน้อย เราจึงต้องค่อยๆระบายลมออกจากปอดของเราไปเรื่อยๆเพื่ อป้องกันอาการปอดฉีกนั่นเอง




 

Create Date : 27 เมษายน 2552    
Last Update : 27 เมษายน 2552 19:13:26 น.
Counter : 9594 Pageviews.  


q_cosmo
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add q_cosmo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.