Goodies and mom
Group Blog
 
All blogs
 

วิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม

วิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม



 สิ่งสำคัญที่ควรรู้


  ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ถูกดูด (หรือปั๊ม/บีบ) ออกไป 


**ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใด  ต้องดูดหรือปั๊มหรือบีบออกให้มากเท่านั้น**



ตัวอย่าง :          ถ้าลูกต้องการน้ำนมวันละ 20 ออนซ์ (ตัวเลขสมมุติ) 


·         กรณีที่ 1       แม่ให้ลูกดูดทั้งวันโดยไม่ใช้นมผสมเลย ร่างกายแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้ 20 ออนซ์เท่าที่ลูกดูดออกไป (พอสำหรับลูก แต่ไม่มีสต็อค)


·         กรณีที่ 2       แม่ให้ลูกดูดทั้งวันและให้นมผสม 1 มื้อ จำนวน 2 ออนซ์  ถ้าทำเช่นนี้ ร่างกายแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้เพียง 18 ออนซ์  ซึ่งไม่พอสำหรับลูก  ถ้าทำเช่นนี้ (ให้นมผสมร่วม) ไปเรื่อยๆ  ร่างกายแม่ก็จะผลิตน้ำนมน้อยลงเรื่อยๆ


·         กรณีที่ 3       แม่ให้ลูกดูดทั้งวัน  และปั๊ม (หรือบีบ) ออกมาได้อีกวันละครั้ง ๆ ละ 2 ออนซ์  แบบนี้ร่างกายแม่จะผลิตน้ำนมได้วันละ 22 ออนซ์  (เหลือวันละ 2 ออนซ์เพื่อเป็นสต็อค)


การทำสต็อคน้ำนม


            ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไรยิ่งง่ายเท่านั้น  (โดยเฉพาะภายใน 1-2 สัปดาห์แรกหลังคลอด)  แต่ถ้าคุณพลาดช่วงเวลานั้นมาแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล เริ่มต้นได้เลยตั้งแต่วันพรุ่งนี้


            เริ่มจากมื้อเช้า (ตี5-6 โมง)  ร่างกายแม่จะผลิตน้ำนมได้มากที่สุดในช่วงนี้ 


            ถ้าตื่นก่อนลูก ให้ปั๊มหรือบีบน้ำนมออกก่อน 1 ข้าง (สมมุติว่าเป็นข้างขวา) ประมาณ 15 นาที ได้เท่าไหร่ (แรกๆ อาจจะไม่ถึงออนซ์  ก็ไม่ต้องกังวล ทำทุกวัน น้ำนมจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)  เก็บเอาไว้  เมื่อลูกตื่นให้ลูกดูดข้างซ้าย  นานจนกว่าลูกจะพอใจ ถอนปากออกจากเต้าแม่เอง  ถ้าไม่หลับ ก็ให้ลูกมาดูดต่อข้างขวาที่เราปั๊มไปแล้ว เมื่อลูกดูดเสร็จ  ให้กลับมาปั๊มข้างซ้าย (ที่ลูกดูดตอนแรก) ต่ออีก 2-3 นาทีเพื่อกระตุ้น


            ถ้าลูกตื่นก่อนก็ให้ลูกดูดก่อนหนึ่งข้าง (สมมุติว่าข้างซ้าย)  ให้ลูกดูดนานเท่าที่ลูกต้องการ เมื่อลูกถอนปากออกจากเต้า  ให้ปั๊มอีกข้างที่เหลือ (ขวา) ประมาณ 15 นาที  แล้วปั๊มข้างซ้าย (ที่ลูกดูดไปแล้ว) อีก 2-3 นาที ทั้งสองข้างได้นมเท่าไหร่ ก็เก็บไว้   ถ้าลูกไม่หลับ อาจจะให้ลูกมาดูดต่อข้างขวา (ที่ปั๊มไปแล้ว) ซ้ำอีกก็ได้


คำแนะนำเพิ่มเติม          


สามารถทำเช่นนี้ได้หลายๆ  มื้อ ต่อวัน  โดยเฉพาะช่วงแรกๆ ที่ต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนม   โดยปกติช่วงที่ร่างกายผลิตน้ำนมได้ดีคือ กลางคืนและตอนเช้า  ช่วงบ่ายและเย็น จะผลิตได้น้อยกว่า


ข้อควรระวัง      


            น้ำนมที่บีบหรือปั๊มออกมาในช่วงที่ทำการเก็บสต็อคนี้  ต้องไม่ นำมาให้ลูกกิน  เพราะการนำนมส่วนนี้มาให้ลูกกิน  ไม่ได้ช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่ม  ไม่ต่างกับการให้ลูกดูดจากเต้าเอง น้ำนมที่เราต้องการสต็อคนี้ควรนำมาใช้หลังจาก 1 เดือนผ่านไปแล้ว  ซึ่งเป็นระยะที่ร่างกายแม่ผลิตน้ำนมได้คงที่แล้ว


ถ้าต้องกลับไปทำงานก็ใช้น้ำนมที่สต็อคไว้นี้ให้ลูก  เมื่อไปทำงาน ก็ปั๊มจากที่ทำงานกลับมาทดแทนสต็อคที่ใช้ไป  ถ้าทำได้เช่นนี้ จะสามารถให้นมลูกได้จนถึงสองปี โดยไม่ต้องพึ่งนมผสม


            การปั๊มนมหลังจากที่ไปทำงานแล้ว ต้องมีวินัยอย่างสม่ำเสมอ เช้าให้ลูกดูดก่อนไปทำงาน และเมื่อถึงที่ทำงาน ขอแนะนำให้ปั๊มเวลา 9.00 – 12.00-15.00 ของทุกวัน แล้วกลับมาให้ลูกดูดทันทีที่กลับถึงบ้าน


            วันเสาร์-อาทิตย์ ควรให้ลูกดูดทั้งวันตามต้องการ



คำเตือน            


ในช่วง 1-4 เดือนแรก  ถ้าให้ลูกดูดสม่ำเสมอ  ร่วมกับการบีบหรือปั๊ม ร่างกายจะผลิตน้ำนมได้มาก  จนอาจทำให้คุณชะล่าใจว่า น้ำนมเหลือเฟือเกินพอ  อยากจะหยุดให้ลูกดูดบางมื้อ  หยุดปั๊มตามเวลา พยายามให้ลูกงดมื้อดึก ฯลฯ   การทำแบบนั้น  อาจทำให้น้ำนมลดลงได้ภายในไม่กี่วัน 


            ในขณะเดียวกัน เมื่อลูกอายุมากขึ้นเรื่อยๆ  (2-6 เดือนขึ้นไป) การบีบหรือปั๊มอาจจะได้ปริมาณลดลง หรือไม่รู้สึกคัดเต้านม  ก็ไม่ใช่เรื่องที่คุณต้องกังวล  ตราบใดที่ลูกยังดูดจากเต้าแม่สม่ำเสมอ  บีบหรือปั๊มออกตามเวลาทุกวัน  น้ำนมก็ไม่มีวันหมดไปจากร่างกายของคุณ   ปริมาณน้ำนมที่ลดลงเมื่อลูกอายุมากขึ้น  เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ  เพราะเมื่ออายุมากขึ้น  ลูกจะต้องเจริญเติบโตจากอาหารอื่นร่วมด้วยแล้ว  ไม่ใช่นมแม่เพียงอย่างเดียว



ข้อมูลจาก :  //www.breastfeedingthai.com





Free TextEditor




 

Create Date : 14 เมษายน 2553    
Last Update : 14 เมษายน 2553 22:23:12 น.
Counter : 2495 Pageviews.  

เตรียมคุณแม่รับมือกับหลากหลายอาการหลังคลอด

Smiley สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณในช่วงหกอาทิตย์แรกหลังคลอดจะได้เตรียมตัวรับมือก่อนล่วงหน้าได้ไง Smiley


Smiley  ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี คือกุญแจสำคัญในการให้นมแม่ได้สำเร็จ วันแรกๆ ทารกยังไม่ได้ต้องการอาหารอะไรมากมาย เพราะยังมีอาหารสะสมจากในท้องแม่ ไม่ต้องกังวลว่าน้ำนมจะไม่พอให้ลูก กระเพาะหนูยังเล็ก แค่สองช้อนชาก็เต็มกระเพาะหนูแล้ว ถ้ารีบให้เกินกว่านั้น กระเพราะหนูอาจจะกางเกินกว่าความจำเป็นได้จ้า.........


Smiley น้ำคาวปลา(Lochia) การให้นมแม่แก่ลูกจะทำให้ร่างกายหลังสารอ็อกซิโทซิน ซึ่งจะลดปริมาณน้ำคาวปลาและช่วยให้มดลูกหดตัวเร็วขึ้น น้ำคาวปลาจะเป็นสีคล้ำในวันที่ 4 และลดปริมาณลงเรื่อยๆ และไม่ควรมีกลิ่นผิดจากประจำเดือนธรรมดา หากมีอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์


Smiley มดลูกหดตัว คุณอาจจะรู้สึกว่ามดลูกหดตัวในระหว่างการให้นม ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ จะรู้สึกมากในอาทิตย์แรก และจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ


Smiley รู้สึกคัดหน้าอก เนื่องจากเริ่มมีการผลิตน้ำนมในช่วงนี้ ถือเป็นระยะที่คุณและลูกกำลังพยายามที่จะจัดระบบการให้นมลูกอยู่ ถ้าคุณแม่กลัวเจ็บและหยุดให้นมลูก ก็จะทำให้หน้าอกยิ่งคัดเพิ่มขึ้นค่ะ บางครั้งลูกจะหงุดหงิดเมื่อดูดนมจากหน้าอกที่คัด เพราะอมลานนมไม่สะดวก ในกรณีเช่นนี้ ให้บีบน้ำนมออกก่อนเพื่อลดอาการคัด แล้วจึงให้ลูกดูดนมค่ะ


Smiley เจ็บหัวนม อย่าลืมว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังวางรากฐานของการให้นมแม่อยู่ เพราะฉะนั้น พยายามให้นมลูกสองเต้าทุกครั้งที่ให้นม อาจจะสลับกันข้างล่ะ 5 นาที ในช่วงแรกๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลานานจน ถึงข้างล่ะ 15 นาที แล้วจึงเริ่มการให้นมด้านใดด้านหนึ่ง การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้หัวนมทนการดูดของลูกได้ดีขึ้น สำหรับกรณีหัวนมแตก ให้เริ่มให้นมข้างที่ไม่เจ็บก่อน เพราะช่วงแรกลูกจะดูดแรงเนื่องจากความหิว แล้งจึงสลับไปให้ด้านที่เจ็บในภายหลัง แต่ขอให้จัดท่าให้ถูกต้องเพื่อช่วยลดอาการเจ็บ


Smiley Smiley สำหรับหัวนมที่แตกนั้น มีวิธีดูแลแบบง่ายๆและแสนจะเป็นธรรมชาติแต่ได้ผลดี คือการบีบน้ำนมแม่นี้แหละค่ะ ทาไว้รอบๆ หัวนมแล้วผึ่งให้แห้ง ไม่ควรปิดไว้ให้อับเพราะจะทำให้หายช้า ไม่ควรใช้ผลิตภันฑ์ที่มีสารจากปิโตรเลียม หรือวาสลิน เวลาอาบน้ำ ล้างด้วยน้ำธรรมดาไม่ต้องล้างด้วยสบู่เพราะจะทำให้หัวนมที่แห้งยิ่งแตกกันไปใหญ่


Smiley รับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นประมาณ 500 แคลลอรี่ในกรณีที่น้ำหนักตัวปกติ ถ้าคุณน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ก็อาจจะต้องเพิ่มจำนวนแคลอรี่ พยายามเพิ่มสารอาหารจำพวกโปรตีนและแคลเซียม เพราะมีความจำเป็นต่อการผลิตน้ำนม ดื่มน้ำประมาณ 8-10 แก้ว รวมทั้งน้ำซุป นม และน้ำผลไม้


Smiley ลูกมีแก๊ส เนื่องจากช่วงแรกระบบย่อยของเด็กทารก ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงมีแก๊สอยู่เสมอ บางคนอาจจะเข้าใจว่าลูกเป็นโคลิก พยายายมสังเกตอาหารที่คุณรับประทานว่าทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายท้องหรือเปล่า อาหารที่มีแก๊สส่วนใหญ่จะเป็นพวกผักดิบ กระหล่ำปลี หอม กระเทียม อาหารนม และช็อคโกแล็ต หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกคาเฟอีน และแอลกอฮอล


Smiley อาการเหนื่อย เป็นเรื่องปกติของครอบครัวที่มีสมาชีกใหม่ เพราะลูกอาจยังดูดนมถื่และตื่นบ่อย ยังนอนไม่เป็นเวลา เพราะกำลังปรับตัวเข้ากับโลกใหม่ของเขาคุณแม่อาจจะหาเวลานอนตอนลูกนอน หรือให้คุณพ่อช่วยดูลูกไปก่อน เพราะถ้านอนไม่พอก็จะมีผลต่อการผลิตน้ำนม เรื่องงานบ้าน หรือการสังสรรค์อาจจะปล่อยวางไปบ้างก็ไม่ว่ากันค่ะพอร่างกายปรับได้แล้วก็จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น หากท้องผูก พยายามอย่าทานยาช่วยถ่าย เพราะจะไปถึงลูกด้วยนะคะ ลองทานอาหารประเภทผักผลไม้ช่วยดีกว่า ถ้าจำเป็นต้องทานยาให้ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งและอย่าลืมระบุด้วยว่ายังให้นมลูกอยู่


Smiley อารมณ์ซึมเศร้าหลังคลอด เป็นเรื่องปกติ พยายามคุยกับคุณพ่อถึงเรื่องนี้ใว้ก่อนและบอกให้คอยให้กำลังใจด้วย อย่าเข้าใจว่าเป็นเรื่องส่วนตัว คุณพ่อจะได้เตรียมตัวรับมือได้ถูก สำหรับตัวคุณแม่ก็พยายามให้คุณพ่อดูแลลูกบ้าง อาจจะออกไปเดินเล่นพร้อมกัน อย่าปฏิเสธความช่วยเหลือจากคนอื่น คุยกับคุณแม่คนอื่นๆบ้าง (เราไม่ได้อยู่ในสภาพการณ์เช่นนี้คนเดียว) ทานอาหารนอกบ้านและอย่าลืมดูแลตัวเองด้วยนะคะ ก่อนคุณพ่อออกไปทำงานฝากดูลูกก่อน ในขณะที่คุณจะได้มีเวลาแต่งหน้าแต่งตัวให้สดชื่น


Smiley เรื่องคำแนะนำที่แตกต่างกัน จากคนรอบข้างที่ผู้ปรารถนาดีเป็นเรื่องปกติค่ะ แทนที่จะรู้สึกหงุดหงิดหรืออึดอัด ให้รู้สึกดีเถอะค่ะ ว่ามีคนรักและห่วงลูกเราและตัวเราเยอะแยะ หากคำแนะนำต่างจากสิ่งที่คุณเชื่อ อย่าเพิ่งถกเถียงไป เงียบใว้เก็บมาคิดดู หากมีโอกาสก็ค่อย ๆ อธิบายเหตุผลของคุณ เรื่องการเลี้ยงลูกมีหลายทางเลือกไม่มีอะไรที่ถูกที่สุด และผิดที่สุดหรอกค่ะ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความสะดวกใจของคุณ ท้ายที่สุดลูกคนนี้ก็ลูกของคุณการตัดสินใจเลือกอะไรให้ลูกอยู่ที่ตัวคุณเอง หากคุณมั่นใจว่าได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดกับเขาแล้ว เวลาจะเป็นสิ่งพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นค่ะ


Smiley ทำตัวให้สบายคลายเครียด เมื่อกลับถึงบ้านพยายามหามุมสงบพิเศษสำหรับคุณและลูกในช่วงให้นม ดูมุมที่ทีบรรยากาศสบายๆ ไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป มีเพลงฟังให้สบายอารมณ์ หาโต๊ะเล็กๆพร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ อาทิ สำลีชุบน้ำต้มสุก กระดาษทิชชู น้ำดื่มสำหรับคุณแม่ หมอนหนุนแขน ถังขยะเล็ก ๆ ฯลฯ มาวางใว้ในระยะเอื้อมมือถึง มีที่ให้คุณพ่อมานั่งให้กำลังใจ คอยจับมือลูก เพราะเวลาให้นมเป็นเวลาพิเศษสำหรับครอบครัว พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนต่าง ๆ


นี่เป็นเพียงบางเหตุการณ์บางความรู้สึกที่อาจเกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ในระยะหลังคลอด ซึ่งเป็นระยะเวลาที่คุณกับลูกน้อยเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเป็นรากฐานสำคัญสำหรับความสัมพันธ์ อันแนบแน่นของครอบครัวใหม่ แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายแต่จะประทับรอยยิ้มใว้ใจหัวใจคุณพ่อคุณแม่ไม่รู้ลืม Smiley


ขอบคุณข้อมูลจาก จุลสาร สายธารรัก กลุ่มนมแม่ Smiley











 

Create Date : 09 กันยายน 2552    
Last Update : 8 เมษายน 2553 12:49:12 น.
Counter : 999 Pageviews.  

ลูกดูดถูกท่า..คุณแม่ไม่เจ็บนม

SmileySmiley เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เพื่อการให้นมอย่างถูกวิธี  SmileySmiley



Smiley หาเก้าอี้ที่นั่งสบายในขณะให้นมได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องเมื่อย หรืออาจจะนอนให้นมก็ได้ซึ่งแม่หลายคนพบว่าเป็นท่าที่สบายที่สุด หลับพักผ่อนไปได้ทั้งแม่ทั้งลูก

Smiley อุ้มลูกในระดับที่เหมาะสม ช่วงแรกๆ ที่ลูกยังเล็กอาจต้องใช้หมอนรองข้อศอกและอีกใบวางบนตัก ปัจจุบันคุณสามารถหาหมอนให้นมโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นรูปตัวยูที่ใช้วางบนตักโอบรอบเอวไปถึงใต้ศอกได้ไม่ยาก
 ขณะให้นม ดูให้แน่ใจว่า คางของลูกแนบชิดที่อกคุณ ศีรษะ คอ และหลังของลูกตรงแนบกับตัวคุณ

Smiley ปากของลูกน้อยจะต้องอมลานนมของแม่มิด ลำตัวแนบชิดกับแม่ ระวังไม่ให้ลูกดูดตรงเฉพาะหัวนม มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุให้หัวนมแตกและลูกดูดน้ำนมแม่ไม่ได้เท่าที่ควร

Smiley หาเครื่องดื่มวางไว้ใกล้มือ อาจเป็นน้ำเปล่า น้ำอุ่น น้ำเต้าหู้ น้ำขิง น้ำนม ฯลฯ ตามที่คุณชอบ แม่หลายคนจะรู้สึกกระหายน้ำหลังจากให้นม

Smiley การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ควรทำให้คุณเจ็บ ถึงแม้ว่าอาจมีการเจ็บหัวนมในช่วงแรกๆ แต่ก็จะหายไปในไม่ช้า หากลูกได้ดูดนมในท่าที่ถูกต้อง

Smiley ไม่ควรจับเวลาให้นมลูกว่า ให้นมข้างละกี่นาที ควรให้ลูกกินนมให้เกลี้ยงเต้าไปทีละข้าง เพื่อที่ลูกจะได้คุณค่าจากน้ำนมครบถ้วนทั้งน้ำนมส่วนหน้าและส่วนหลัง และจะทำให้กระบวนการผลิตน้ำนมของแม่ทำได้อย่างเต็มที่ด้วย

Smiley เมื่อลูกน้อยแสดงว่าได้ดูดนมหมดข้างหนึ่งแล้ว (ปกติจะปล่อยปากจากหัวนม) ให้อุ้มลูกนั่ง มือหนึ่งจับใต้คางลูก อีกมือหนึ่งลูบเบาๆ ที่หลัง เพื่อช่วยให้ลูกเรอไล่ลมที่อาจมีในท้องลูก ก่อนที่จะให้นมอีกข้างหนึ่ง อาจดูว่าถึงเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือยัง เพื่อที่ว่าหากลูกหลับหลังจากนั้น คุณจะได้วางลูกลงนอนได้เลย

เมื่อการให้นมแม่เริ่มลงตัว ท่านั่งของคุณและตำแหน่งของลูกจะปรับให้เข้ากับคุณไปเอง




ขอขอบคุณ Smiley
ข้อมูลจาก
//www.nommae.org







 

Create Date : 08 กันยายน 2552    
Last Update : 8 เมษายน 2553 12:50:00 น.
Counter : 517 Pageviews.  


วับ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เด็กอนุบาลวัย 3 ขวบ ที่เติบโตมาได้ด้วยนมแม่..
Friends' blogs
[Add วับ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.