ประโยชน์ของ www
ประโยชน์ของ //www.

ส่งเสริมศักยภาพทางด้านธุรกิจ
การมีเว็บไซต์สามารถช่วยในการเพิ่มเสริมศักยภาพของธุรกิจของคุณ ให้แข่งแกร่งมากยิ่งขึ้นได้ เนื่องจากเป็นโลกที่เปิดกว้างทางด้านข้อมูล ทำให้สินค้าและบริการของคุณเป็นที่รู้จักในท้องตลาดมากยิ่งขึ้นไปได้
การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ง่ายมากยิ่งขึ้น
คุณสามารถที่จะมีเว็บไซต์เป็นของตนเองและ สามารถที่จะทำให้กลุ่มลูกค้าของคุณค้นเว็บของคุณเจอผ่าน Search Engine โดยกลุ่มคำที่เจาะจงกับธุรกิจของคุณได้ เป็นการเพิ่มกลุ่มลูกค้าที่กำลังสนใจกับสินค้าและบริการของคุณ ให้ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ตลอด 24 ชั่วโมง แม้ว่าจะเป็นวันหยุดก็ตาม
ช่วยให้คุณขายสินค้าได้โดยไม่ต้องมีหน้าร้าน
เว็บไซต์เปรียบเสมอร้านค้าออนไลน์หรือสำนักงาน ที่ใครๆก็สามารถเข้ามาเยี่ยมชมและค้าหาข้อมูลของสินค้าได้ โดยที่คุณไม่ต้องลงทุนเปิดหน้าร้านที่ต้องมีการเช่าห้องและมีค่าใช้จ่ายสูงอีกด้วย
ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรของคุณ
สมัยนี้บริษัทที่ไม่มีเว็บเป็นของตนเองเปรียบเสมือน บริษัทที่มันต่อโลกภายนอก การมีเว็บไซต์บริษัทสามารถแสดงให้กลุ่มลูกค้าของคุณเข้าใจถึงภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทได้ และเว็บไซต์ยังช่วยในการสร้างความรู้สึกประทับใจกับผู้เยี่ยมชมได้อีกด้วย
ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์
จะดีหรือไม่ถ้าคุณไม่ต้องเสียค่าโฆษณาที่แพงๆ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ โดยคุณหันมาสร้างเว็บไซต์เป็นของตนเอง ลงทุนสร้างเว็บแค่ครั้งเดียวแต่ใครๆก็สามารถที่จะเข้ามาเยี่ยมชมได้โดยที่คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มากมาย เสียเพียงค่าบริการรายปีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ช่วยให้คุณเป็นเหมือนที่ปรึกษาของลูกค้า
คุณสามารถให้คำปรึกษาปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ให้กับลูกค้าของคุณ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยอาจจะเป็นการฝากข้อความเอาไว้ก็ได้ โดยที่คุณไม่ต้องมีทีมคอยรับโทรศัพท์ให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาต่างๆ
สามารถอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าได้
จะดีไม่น้อยเลยทีเดียว หากลูกค้าของคุณมีปัญหาหรือข้อสงสัยในสินค้าและบริการ และสามารถที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ ผ่านการอ่านบทความช่วยเหลือบนเว็บไซต์ของคุณ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจในการดูและลูกค้าให้กับกลุ่มลูกค้าของคุณมากยิ่งขึ้นด้วย


ที่มา : //website.jajar.com///website.jajar.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C/




Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2555 11:20:30 น.
Counter : 294 Pageviews.

0 comment
รหัสการสืบค้นแหล่งข้อมูล
รหัสการสืบค้นแหล่งข้อมูล
การท่องเที่ยวในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีเมนูหรือตำแหน่งของการเชื่อมโยง (Link) ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ซึ่งอาจเป็นเว็บไซต์ที่เป็นส่วนย่อยของเว็บไซต์นี้ หรือ เป็นเว็บไซต์ที่ถูกจัดเก็บไว้ในกลุ่มข้อมูลต่าง ๆ เมื่อคลิกเข้าไปแล้วบางครั้งเสมือนกับเราได้เปิดประตูเข้าไปข้างในทีละชั้นจนพบกับข้อมูลที่เราต้องการ เมื่อดูที่ช่องที่อยู่ (Address) จะเห็นว่าชื่อของเว็บไซต์นั้นมีชื่อยาวขึ้นเรื่อย ๆ เช่น
การเชื่อมโยงข้อมูลผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะถูกกำหนดโดยรหัสสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า URL (Uniform Resource Locator) ใช้สำหรับสืบค้นแหล่งข้อมูล
ดังนั้นการใช้ URL ก็เสมือนกับการสั่งให้กระโดดไปยังหน้าที่ต้องการโดยไม่ต้องเปิดเข้าไปหาทีละหน้า เพราะได้ทราบถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการจะจะไปแล้ว
รูปแบบของ URL ที่ใช้กับ Web Server มีดังนี้



//www2.tat.or.th/festival/
u v w

หมายเลข u Protocol คือ ชื่อของมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารของเว็บไซต์ เช่น http, ftp, gopher
หมายเลข v Domain Name คือ ส่วนที่ระบุชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บเพจ
หมายเลข w File Locator คือ ตำแหน่งของไฟล์ในเว็บไซต์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนที่ระบุที่เก็บข้อมูลในเครื่อง
2. ชื่อไฟล์ข้อมูลที่อ้างถึง


ที่มา : //uraipornkunchansee.blogspot.com/2011/11/5-world-wide-web.html



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2555 11:19:30 น.
Counter : 589 Pageviews.

0 comment
วิธีการจดทะเบียน Domain Name
วิธีการจดทะเบียน Domain Name
วิธีการจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name) นั้น สามารถกระทำผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือสามารถขอจดทะเบียนผ่านทางบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ โดยถ้าต้องการจดโดเมนเนมแบบ Geographical Domains ก็จะสามารถจดทะเยียนผ่านทาง //www.thnic.net แต่ถ้าต้องการจดทะเบียนเป็นแบบ Organization Domains ก็สามารถเลือกจดทะเบียนได้ตามเว็บไซต์ที่เป็นตัวแทน เช่น //www.netdesignhost.com

ตัวอย่าง : ขั้นตอนในการจดทะเยียนโดเมนเนมแบบ Organization Domains มีดังต่อไปนี้
1. พิมพ์ //www.whois.net
2. เลือกเมนู Domain Name
3. พิมพ์ชื่อโดเมนเนมที่ต้องการ เพื่อตรวจสอบว่าชื่อนี้มีการจดทะเยียนหรือยัง ถ้ามีการจดทะเยียนไปแล้ว เราจะต้องใช้ชื่อใหม่เพราะไม่สามารถที่จะจดทะเยียนด้วยชื่อที่ซ้ำกันได้
4. ถ้าชื่อโดเมนเนมที่เราได้ขอตรวจสอบไปนั้นยังไม่มีผู้ใดใช้อยู่จะแสดงชื่อ เพื่อให้เลือกประเภทขององค์กรที่ต้องการ เช่น kulrapee.com,kulrapee.org,kulrapee.net
5. ให้กำหนด Username และ Password ที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียนโดเมนเนม
6. กรอกข้อมูลการลงทะเบียน
7. แสดงข้อมูลการลงทะเบียนมาให้ตรวจสอบอีกครั้ง
8. แสดงรายละเอียดการชำระเงินค่าจดทะเยียนโดเมนเนม เมื่อชำระเงินเรียนร้อยแล้วก็จะมีโดเมนเนมตามที่ได้ขอจดทะเบียนไว้


ที่มา : //uraipornkunchansee.blogspot.com/2011/11/5-world-wide-web.html



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2555 11:18:48 น.
Counter : 441 Pageviews.

0 comment
ลักษณะของ Domain Name
ลักษณะของ Domain Name
ส่วนที่ 1 ชื่อของการให้บริการ //www.คือ การให้บริการแบบเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงเอกสารไปได้ทั่วโลก
ส่วนที่ 2 ชื่อของเว็บไซต์ โดยส่วนมากมักจะใช้ชื่อของหน่วยงาน องค์กร หรือชื่ออื่นใดก็ได้ตามความต้องการ
ส่วนที่ 3 ประเภทของโดเมนเนม (Domain Name)
โดเมนเนม (Domain Name) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. Organization Domains โดเมนเนม 2 ระดับ แสดงถึงองค์กร หรือหน่วยงาน
มีลักษณะดังนี้ เช่น //www.thai2learn.com , //www.berkeley.edu , //www.pladib.net
2.Geographical Domains โดเมนเนม 3 ระดับ มีลักษณะดังนี้ //www.google.co.th ,www.nvc-korat.ac.th ซึ่งจะแตกต่างจากรูปแบบของ 2 ระดับ คือ หลังจากบอกประเภทขององค์กรแล้วจะตามด้วยชื่อประเทศที่ตั้งขององค์กรนั้น


ที่มา : //uraipornkunchansee.blogspot.com/2011/11/5-world-wide-web.html



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2555 11:18:01 น.
Counter : 509 Pageviews.

0 comment
โครงสร้างของระบบ Domain Name
โครงสร้างของระบบ Domain Name
DNS ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คนนั้นก็จะเปิดสมุดโทรศัพท์ดู เพื่อค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ของคนที่ต้องการติดต่อ คอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการสื่อสารด้วยกับ DNS server วึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าวในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้โฮสต์ดังกล่าว ทราบ ระบบ DNS แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1. Name Resolvers : ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าจุดประสงค์หลักของ DNS คือการแปลงชื่อคอมพิวเตอร์ ให้เป็นหมายเลข IP ในเทอมของ DNS แล้วเครื่องไคลเอนท์ที่ต้องการสอบถามหมายเลข IP จะเรียกว่า "รีโซล์ฟเวอร์ (resolver)" วอฟแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นรีโซล์ฟเวอร์นั้นจะถูกสร้างมากับแอพพลิเคชันหรืออาจจะเป็นไลบรารีที่มีอยู่ในเครื่องไคลเอนท์
2. Domain Name Space : ฐานข้อมูลระบบ DNS มีโครงสร้างเป็นต้นไม้ ซึ่งจะเรียกว่า "โดเมนเนมสเปซ (Domain Name Space)" แต่ละโดเมนจะมีชื่อและสามารถมีโดเมนย่อยหรือซับโดเมน (Subdomain) การเรียกชื่อจะใช้จุด ( .) เป็นตัวแบ่งแยกระหว่างโดเมนหลักและโดเมนย่อย
3. Name Servers : เนมเซิร์ฟเวอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมที่จัดการฐานข้อมูลบางส่วนของระบบ DNS เนมเซิร์ฟเวอร์จะตอบกลับการร้องขอทันทีโดยการค้นหาข้อมูลในฐานของมูลตัวเอง หรือจะส่งต่อการร้องขอ ไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์อื่น ถ้าเนมเซิร์ฟเวอร์มีเร็คคอร์ดของส่วนของโดเมน แสดงว่า เนมเซิร์ฟเวอร์นั้นเป็นเจ้าของโดเมนนั้น (Authoritative) ถ้าไม่มีก็จะเรียกว่า Non-Authoritative

รูปภาพ โครงสร้างของระบบ Domain Name
ที่มา : //uraipornkunchansee.blogspot.com/2011/11/5-world-wide-web.html



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2555 11:16:44 น.
Counter : 1325 Pageviews.

0 comment
1  2  

ท่วงทำนองของภาพวาด
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]