WW II then and now by google street.





  ในยุคสงครามก็จะมีเหล่าช่างภาพที่ทำหน้าที่ติดตามถ่ายภาพ บันทึกเหตุการณ์ต่างๆเอาไว้
เหตุการณ์ที่บันทึกมีหลากหลายรูปแบบ ในรูปภาพก็ย่อมมีภาพอาคาร บ้านเรือน ซากปรักหักพัง
หลังจากภาพเหล่านี้เผยแพร่ ก็เริ่มมีผู้คนสนใจที่จะกลับไประลึกความหลัง ทั้งทหารที่ผ่านสงคราม หรือคนที่สนใจ
ก็จะตามหาสถานที่ ซึ่งปรากฏในภาพถ่าย และพยายามบันทึกถาพปัจจุบันในมุมกล้องเดียวกัน
หากสมัยนี้ ก็ต้องมีการเช็คอินเพิ่มขึ้นด้วย
จากในลิงค์เว็บต่างๆ ที่ผมแปะไว้นี้ เป็นต้นฉบับ ซึ่งมีภาพถ่ายที่ถูกเปรียบเทียบ อดีตและปัจจุบันอยู่เป็นจำนวนมาก
ท่านที่สนใจก็ขอให้เข้าไปชมได้ตามอัธยาศัย ผมจะไม่นำมาแปะในนี้ทั้งหมดนะครับ
ช่างภาพฝรั่งจะตั้งชื่อภาพชุดนี้ว่า THEN AND NOW
เมื่อผมได้ดูครั้งแรก ภาพหลายภาพมีพลังที่ทำให้เราหดหู่ หรือมีอารมณ์สะท้อนมาจากเหตุการณ์ในอดีตได้เลย

สามลิงค์นี้อาจมีภาพซ้ำกันบ้าง ไม่ซ้ำกันบ้าง ผมเลยนำมาเป็นข้อมูลอ้างอิงในการเริ่มต้นค้นหาครับ

//www.allpics4u.com/places/normandy-1944-then-and-now.html
//www.inthefootsteps.com/Then&Now/NormandyPics.htm
//acidcow.com/pics/3772-normandy_1944_then_and_now_204_pics.html


ผมจะพาย้อนรำลึกเหตุการณ์ในแบบฉบับของกูเกิ้ลสตรีทวิว ภาพเหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหตุการณ์ในเมืองต่างๆ ถัดเข้ามาไม่ลึกมากนัก
ต้องบอกว่ามันเป็นความท้าทายอีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะต้องหาข้อมูลของภาพแล้วไปตามหามัน
พร้อมทั้งถ่ายรูปเปรียบเทียบอดีต และปัจจุบันเหมือนในเว็บลิงค์ที่แปะไว้ บางที่ก็หาที่ตำแหน่งเจอนะครับ แต่สตรีทวิวดันเข้าไม่ถึงอีก
บางที่ก็หามุมแบบเป๊ะไม่มีเลย
















































 

Create Date : 05 มิถุนายน 2559   
Last Update : 5 มิถุนายน 2559 13:43:38 น.   
Counter : 1091 Pageviews.  

สถานีเรดาห์เกาะคา




 ในยุคสงครามเวียดนาม ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการวางกำลังรบของอเมริกา
อาวุธยุทโธปกรณ์ประดามีมาเต็มกำลังรบ

     ลำปางเป็นอีกจุดหนึ่งที่อเมริกามาวางกำลังส่วนที่มีความสำคัญไม่น้อยเช่นเดียวกัน
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับภาพเสาอากาศดักรับสัญญานวิทยุขนาดใหญ่โตที่ค่ายรามสูรมากกว่า
บางคนมองว่าเป็นสถานีเรดาห์  แต่ที่จริงสถานีที่ค่ายรามสูรเป็นสถานีดักจับข้อมูลการสื่อสาร
ค้นหาที่ตั้งสถานีส่งสัญญานวิทยุต่างๆ

     สถานีเรดาห์ ที่มีประสิทธภาพสูงมากในขณะนั้นถูกสร้างขึ้นที่อำเภอเกาะคา บริเวณด้านหลังศูนย์จำหน่ายสินค้าเซรามิค
ริมถนนสายเอเซียบริเวณเกาะคา ลำปางนั่นเอง



U.S. Army - Air Force Radar & Communication Sites - Thailand
สถานีเกาะคามีหน่วยงานทางทหารของอเมริกามาตั้งอยู่หลายส่วนคือ

General Electric
17th Radar Squadron (RADRON) (ADC)
17th Space Surveillance Squadron

1985th Communications Squadron Detachment B (CS)
1985th Communications Squadron Detachment 1
1985th Communications Squadron Detachment 6

621st Tactical Control Squadron (TCS)
6300th Aerospace Support Squadron

6201st Air Base Squadron
6201st Combat Support Group (CSG)
6201st Security Police Squadron (SPS)

46th Special Forces Co (SF)

หากแบ่งเป็นกลุ่มๆ ก็มี

กลุ่มของสถานีเรดาห์ ประจำการปี พ.ศ.2514 - 2519







สถานีเรดาห์นี้ทำหน้าที่ตรวจจับการยิงขีปนาวุธได้ถึงรัสเซียและจีน รวมถึงอากาศยานต่างๆด้วย
(Space Surveillance)

สถานีระบบนำร่องอากาศยาน LORAN-C (LONG RANGE NAVIGATION) ประจำการปี พ.ศ.2509 - 2519
มาก่อนสถานีเรดาห์  หน่วยนี้ดูแลโดย US Coast Guard


เสาส่งสัญญาน LORAN


สถานีทวนสัญญาน
จานไมโครเวฟ

โดยจะทวนสัญญานไมโครเวฟของระบบโทรศัพท์จากเชียงใหม่ผ่านรีพีทเตอร์จังหวัดใต้ลงไปจนถึงกรุงเทพและต่อไปจังหวัดอื่นๆ
ระบบนี้สร้างขึ้นเป็นเครือข่ายเฉพาะของอเมริกาไม่ต้องใช้ของระบบพื้นฐานในไทย หน่วยงานไทยสามารถใช้ได้(แต่ชั้นแอบฟังนะ  )

กลุ่มบังคับการ และ กลุ่มรักษาความปลอดภัย
(รวมทั้งหมดเราเรียกว่า CIA Electronics Stations)
เบ็ดเสร็จมีชาวอเมริกันอยู่ประมาณ 250 ชีวิต และลูกจ้างไทยจำนวนหนึ่ง

สาวเกาะคา น่าฮักแม่นก่อล่ะ


การทำงานของระบบ LORAN คือ ระบบช่วยเดินอากาศของอากาศยาน จะมีสถานีส่งสัญญานเป็นเครือข่าย
ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสถานีอยู่ที่ลำปาง ,สัตหีบ และเกาะ CON SON เวียดนามใต้ สามที่ทำงานร่วมกัน
อากาศยานจะรับสัญญานจากสามสถานี และประมวลผลตำแหน่ง ทิศทางของตนเอง

Con Son Station เวียดนาม



ภาพขณะทีมงานจากบริษัทเจนเนอรอลอีเลคทริค (GE)ติดตั้งระบบเรดาห์


ลงวงจรบนกระดานดำนี่แหละ


ติดตั้ง




ควันจากโรงปั่นไฟนะครับ ไม่ใช่ไฟไหม้เรดาห์


เครื่องติดละ ควันหายไปแล้ว


ทดสอบการทำงาน






เครื่องบันทึกข้อมูลระบบดิจิตอล



เครื่องบันทึกคลื่นสัญญาน






แหล่งกำเนิดพลังงานหรือโรงเจนเนอร์เรเตอร์ผมนำภาพมาจากอีก
สถานีหนึ่งมา ด้านในจะคล้ายๆกัน คือเป็นเครื่องยนต์ไปหมุนเจนเนอเรเตอร์ขนาดใหญ่





Klystron tube อธิบายง่ายๆคือ ตัวขยายพลังงานเหมือนหลอดขยายสัญญานเลย แต่ตัวนี้ขยายสัญญานไมโครเวฟเพื่อส่งสัญญานเรดาห์ออกไปนั่นเอง







ติดตั้งเสร็จขอภาพคู่จานเรดาห์เป็นที่ระทึกหน่อย


ร่วมไว้อาลัยกับ Clystron tube ที่จากไป


เลิกงานก็ปาร์ตี้บ้าง  เอ๊ะ! แม่ญิงเสื้อแดงนี่ของแต้ก่อ


ยามเช้า ท่ามกลางสายหมอก

















































 

Create Date : 04 มิถุนายน 2559   
Last Update : 5 มิถุนายน 2559 13:47:21 น.   
Counter : 7497 Pageviews.  

Bluetooth Logo



Bluetooth มาจากนามของกษัตรย์ไวกิ้งผู้ยิ่งใหญ่นามว่า Harald Bluetooth
ซึ่งการเขียนเดิมของชาวเดนนิสเขียนว่า Harald Bla'ntand แต่เมื่อมาเขียนเป็นภาษาอังกฤษจะเขียนได้เป็น
Harald Bluetooth Gormson

     กษัตริย์องค์นี้เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ รบชนะได้รวบรวมครอบครองดินแดนแถบสแกนดิเนเวียทั้งหมด
คงต้องขอหยุดประวัติของกษัตรย์องค์นี้ไว้ก่อนเดี๋ยวจะกลายเป็นบทความประวัติศาสตร์ไวกิ้งไป
ท่านที่สนใจก็ต้องใช้บริการ google นะครับ

     ต่อมาภายหลังนักวิทยาศาสตร์จากดินแดนนี้ได้คิดค้นระบบที่ทำให้เทคโนโลยีโทรศัพท์และ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันได้เป็นผลสำเร็จ
จึงได้นำนามพระองค์มาใช้ในการเรียกขานเทคโนโลยีใหม่ชนิดนี้

สัญลักษณ์ตัวนี้คือตัวอักษรรูน rune อักษรพวกนี้เป็นอักษรโบราณที่เราจะพบเห็นได้
ตามการ์ตูน ภาพยนต์แนว เวทย์มนต์ อาคม หรือแม้กระทั่งใน lord of the ring ก็มีการนำมาใช้

จากในหลักศิลาแห่งเดนมาร์คที่เขาถือกันว่าเป็น
" Denmark`s Birth Certificate"

     มีการจารึกข้อความเกี๋ยวกับกษัตริย์ Harald Bluetooth ผมได้นำรูปถ่ายหินก้อนนี้และนำภาพที่เค้าถอดความภาษารูนมาแบบชัดๆ มาให้ชมครับ

The front of the big stone




       ผมขอยกมาแค่สองแถวที่เค้าใช้อักษรรูนเขียนถึงกษัตริย์บลูทูจเพื่อให้เห็นตัว Harald
ที่เขียนโดยตัวรูนชัด ดูในวงกลมนะครับ




Haraltr kunukr bath kaurua
Harald konge bød gøre
Harald the king executes




haraltr ias sar uan tanmaurk
Harald som sig vandt Danmark
Harald who won the whole of Denmark

ที่มา //www.kingsofdenmark.dk/king2.htm


    จะเห็นว่าอักษรรูนที่นำมาใช้ในการเขียนตัวH คือ ตัว x ที่มีขีดพาดกลางแนวตั้ง
หรือตัว Hagalaz ในวงกลมสีเหลืองของรูปข้างล่างนี้ครับ





ส่วนตัว B หรือ Bluetooth คงไม่มีปัญหาอะไรคงใช้ตัว B แหลม หรือ Berkano

ที่มา //members.aol.com/tgnfoom/archive/9809Arc_Topic.htm


สรุปได้แล้วครับ
เมื่อนำอักษรรูนตัว B มาทับ H หรือ H มาทับ B
ก็จะได้สัญลักษณ์ Bluetooth ออกมา




 

Create Date : 24 กันยายน 2556   
Last Update : 4 มิถุนายน 2559 21:57:40 น.   
Counter : 1703 Pageviews.  


Furball
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Furball's blog to your web]