ว่ากันว่าการวัดมูลค่าหุ้นที่ดีที่สุด คือ การ DCF
การวัดมูลค่าหุ้นนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แต่โดยรวมแล้วแบ่งได้ 2 แบบ
คือ วัดแบบสัมบูรณ์(Absolute) กับ วัดแบบสัมพัทธ์(Relative) ซึ่ง P/E, P/BV ที่นักลงทุนนิยมใช้นั้น คือแบบ สัมพัทธ์(Relative) แต่วิธี DCF ที่จะนำเสนอนั้นเป็นแบบ สัมบูรณ์(Absolute) วิธีนี้่จะต้องมองกระแสเงินสดอนาคตของบริษัท วิธีการอาจจะดูไม่ยาก สิ่งที่ยากก็คือ จะ พยากรณ์การเติบโต ให้แม่นยำ หรือ คาดเคลื่อนน้อยที่สุดได้อย่างไร
...............................................................................................
เราลองมาดูตัวอย่างการวัดมูลแบบ DCF กัน โดยเราใช้ TUF เป็นตัวอย่าง
(โปรดคลิ๊กที่ภาพ เพื่อขยายให้ชัดเจน)


เราวัดมูลค่าได้ 91.02 บาท ต่อมาปรับค่า Error ไป 5% จะได้ 86.46 บาท ถามว่าใกล้เคียงไหม ลองมาเปรียบเทียบกับ SAA Consensus กัน


SAA Consensus เฉลี่ยอยู่ที่ 83.35 บาท ถือว่าใกล้เคียงเลยทีเดียว

แต่สิ่งที่ Blog นี้อยากจะนำเสนอ คือ ปัญหามีอยู่ว่า Model นี้ผู้เขียนทำไว้ ตั้งแต่ปลายเดือน ตุลาคม หรือ ประมาณ เดือน 10-11 ตอนนั้นราคา TUF อยู่แถว 74-75 บาท แล้วก็ร่วงลงไปถึง ประมาณ 70 บาท เป็นระยะเวลาเกือบ 3 เดือนราคาหุ้นยังไม่ฟื้น (นี่ขนาดวัดแล้วมูลค่ายังต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงนะเนี่ย) ภาษา VI ก็คือ ราคาตอนนั้นมี MoS เกือบ 20% เลยทีเดียว แต่จะดีกว่าไหม ถ้าคุณเลือกได้ถูกตัว แล้วยังถูกเวลาอีกด้วย ลองคิดดูนะครับ ถ้าหากคุณถือมาเกือบ 3 เดือนแล้ว(นับจากปัจจุบัน) ราคายังไม่กลับมาที่เดิม ในขณะที่ ตัวอื่นๆวิ่งไปไกลแล้ว ทำกำไรได้แล้ว

บทความโดย : Admin Investmentory
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางไปสู่ Financial Freedom กับเราได้ที่
https://www.facebook.com/I2invest?ref=hl




Create Date : 11 มกราคม 2556
Last Update : 11 มกราคม 2556 17:27:22 น.
Counter : 1642 Pageviews.

1 comment
อายุกับเงินออมที่ควรมี(เทียบกับตัวคุณเอง)
วันนี้ Investment Basic มีคำแนะนำในการออมเงิน ให้กับผู้เริ่มต้นอยากออมเงิน หรือ ผู้ที่มีคำถามว่า อายุเท่านั้น เท่านี้ หรือ รายได้เท่านั้น เท่านี้ ควรมีเงินออมเท่าไรดี เพื่อให้เหมาะสมกับรายได้และการทำงานของเรา วันนี้เลยมีแนวคิดการออมเงินมาฝากกันค่ะ

สูคร ความมั่งคั่งสุทธิที่เหมาะสม = 1/3 x(อายุปัจจุบัน - อายุเริ่มงาน) x [(เงินได้ต่อปีปัจจุบัน + เงินได้ต่อปีเมื่อเริ่มทำงาน)/2]

ตัวอย่าง สมมติว่า เริ่มทำงานตอน อายุ 22 ปี รายได้เริ่มต้น 15,000 x 12 = 180,000 บาท ทำงานมาได้ 8 ปี รายได้ปัจจุบัน 50,000 x 12 = 600,000 บาท
ควรมีเงินออมเท่าใด

ความมั่งคั่งที่เหมาะสมสุทธิ = 1/3 x (30-22) x [(600,000-180,000)/2] = 560,000 บาท เพราะฉะนั้น ควรมีเงินออมอย่างน้อย 560,000 บาท ค่าาาา

ทีนี้เราก็ไม่ต้องเอาเงินออมของเรา ไปเทียบกับคนอื่นแล้วนะคะ เทียบกับตัวเราเองได้เลยค่าาาา ^____^

ถ้าเป็นนักลงทุนอาจเป็นการออมไว้ในหุ้นก็ได้นะคะ หรือนำเงินออมส่วนเกินนั้นไปลงทุนต่อเพื่อต่อยอดความมั่งคั่ง

มาร่วมเดินทางไปสู่ Financial Freedom กับเราได้ที่

https://www.facebook.com/I2invest?ref=hl



Create Date : 06 มกราคม 2556
Last Update : 6 มกราคม 2556 19:23:32 น.
Counter : 945 Pageviews.

1 comment
การจับจังหวะการลงทุน VS. การคัดเลือกหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน
วันนี้ Investment Basic มีแนวทางการปฏิบัติ สำหรับนักลงทุนทั้ง 4 ประเภทมาให้ดูกัน นักลงทุนแต่ละประเภทเป็นอย่างไร และ ควรปฏิบัติอย่างไรไปดูกันเล้ยยย



ประเภทแรก เลือกหุ้นถูกตัว แถมยัง เลือกจังหวะถูก ด้วย
ประเภทที่สอง เลือกหุ้นถูกตัว แต่ จังหวะอาจจะไม่ถูก
ประเภทที่สาม เลือกผิดตัว แต่ ยังดีจับจังหวะเป็น
ประเภทสุดท้าย เลือกผิดแถมยัง จับจังหวะผิดอีก (ต้องหมั่นศึกษาเยอะๆแล้วล่ะ)

สุดท้ายมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ The Move Of Financial Freedom กับเราได้ที่

https://www.facebook.com/I2invest?ref=hl




Create Date : 04 มกราคม 2556
Last Update : 4 มกราคม 2556 19:36:14 น.
Counter : 882 Pageviews.

2 comment
กลยุทธ์การบริหารพอร์ตแบบ CPPI
..นักลงทุนบางคนคงเคยนึกสงสัยว่า การลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงเช่นนี้ เราควรมีการบริหารพอร์ตอย่างไรดี สำหรับป้องกันความเสี่ยงหรือลดความเสี่ยงให้น้อยลง เพื่อไม่ให้เกิดการเสียหายของพอร์ตที่มากเกินกว่าเราจะรับได้
..วันนี้เรามีกลยุทธ์ที่สามารถป้องกันความเสี่ยง มาแบ่งปันให้เพื่อนๆชาวสินธรกันค่ะ ชื่อว่า "กลยุทธ์การประกันความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนด้วยสัดส่วนคงที่ (Constant proportion portfolio insurance หรือ CPPI)" ซึ่งกำหนดให้ลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วน ตามสูตร
"มูลค่าลงทุนในหุ้น = ตัวคูณ x (มูลค่าพอร์ตรวม – มูลค่าพอร์ตขั้นต่ำ)"

โดยตัวคูณนั้น แนะนำให้มีค่ามากกว่า 1 เช่น 2.5 ฯลฯ (ถ้าค่าตัวคูณสูงขึ้นเท่าใด จะทำให้ปรับพอร์ตเร็วขึ้นเท่านั้น) ส่วนมูลค่าขั้นต่ำก็คือ ระดับที่เราจะต้องการทำประกันนั่นเอง เช่น ถ้าคุณมีเงินลงทุน 1 ล้านบาท และไม่ต้องการให้มูลค่าพอร์ตลดลงต่ำกว่า 8 แสนบาท(20 %) คำนวณได้ 2.5 x ( 1,000,000-800,000) = 500,000 บาท
หมายความว่า ณ จุดเริ่มต้น คุณจะถือเงินสดไว้ 500,000 บาท ลงทุน 500,000 บาท หลังจากนั้นเมื่อมูลค่าพอร์ตเปลี่ยนไปตามราคาตลาด เราจะค่อยๆปรับพอร์ตตามสูตรดังกล่าวไปเรื่อยๆ เรามาดูกันเลยดีกว่านะคะ


ซึ่งจากตารางสามารถอธิบายได้ดังนี้
- ในวันที่ 1 ก.พ. เงินลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้น 4.82% ซึ่งเท่ากับ 524,100 บาท ทำให้มูลค่า พอร์ตเพิ่มเป็น 1,048,200 บาท จากสูตรเราต้องถือหุ้นเท่ากับ 2.5 x (1,048,200– 800,000) = 620,500 บาท ดังนั้น จึงต้องนำเงินสดมาซื้อหุ้นเพิ่มอีก 120,500 บาท ทำให้เงินสดในมือเหลือ 379,500 บาท
- ต่อมาในวันที่ 1 มี.ค. เงินลงทุนในหุ้นลดลง 8.00% ซึ่งเท่ากับ 482,172 บาท ทำให้มูลค่าพอร์ตลดลงเป็น 964,344 บาท เราต้องถือหุ้นเท่ากับ 2.5 x (964,344– 800,000) = 410,860 บาท ดังนั้นจึงต้องขายหุ้นออกมา 209,640 บาท ทำให้เงินสดในมือเพิ่มขึ้นเป็น 589,140 บาท
- ในวันที่ 1 เม.ย. เงินลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้น 20.3% ซึ่งเท่ากับ 580,053 บาท ทำให้มูลค่าพอร์ตเพิ่มขึ้นเป็น 1,160,106 บาท เราต้องถือหุ้นเท่ากับ 2.5 x (1,160,106– 800,000) = 900,265 บาท ดังนั้นจึงต้องนำเงินสดมาซื้อหุ้น เพิ่มอีก 489,405 บาท


จากกลยุทธ์จะเห็นได้ว่า
• กลยุทธ์แบบ CPPI เป็นกลยุทธ์ที่เกาะไปตามแนวโน้ม (Trend Following Strategy) เมื่อหุ้นขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะแนะนำให้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งสูตรนี้ช่วยให้เรามีวินัยในการลงทุนได้มากขึ้น
• กลยุทธ์นี้อาจแนะนำให้เราถือหุ้นในช่วงที่กว้างมาก คือ ตั้งแต่ 0% ถึง 100% ก็ได้ คือ ถ้าหลุด 800,000 บาท(มูลค่าพอร์ตขั้นต่ำที่กำหนดไว้) จะขายหุ้นทิ้งหมด ไปถือเงินสด 100% ทันที แต่ถ้ามูลค่าหุ้นในพอร์ตขึ้นไปถึง 1.33 ล้านบาทจะแนะนำให้อัดหุ้นเต็มพอร์ต 100% ทันที

มีหนังสือ E-Book มาแบ่งปันให้อ่านกันนะคะ เพื่อความสะดวกของนักลงทุน เผื่อใครไม่สะดวกทีจะพกพาข้อมูลหรือหนังสือไปไหนมาไหน เป็นฉบับทดลองอ่านนะคะ เนื้อหามีไม่เยอะ

//www.ebooks.in.th/ebook/10203/

Credit : Investmentory

ท่านนักลงทุนที่สนใจสามารถนำแนวคิดไปต่อยอดความรู้ด้วยตนเองกันได้นะคะ

เนื้อหาใน Blog เป็นการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนเท่านั้น มิได้มีเจตนาที่จะเป็นการชี้นำราคาแต่อย่างใด
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
........................................................................................
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางไปสู่ Financial Freedom ได้กับเราที่

https://www.facebook.com/I2invest?ref=hl

หรือจะแนะนำพูดคุยกันก็ได้นะคะ



Create Date : 03 มกราคม 2556
Last Update : 3 มกราคม 2556 22:37:22 น.
Counter : 1798 Pageviews.

1 comment

แมวกลมจัง
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



New Comments