lean into it
Group Blog
 
All Blogs
 
เพลงติดดาว

fdgsf


Create Date : 05 กันยายน 2553
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2554 12:07:24 น. 16 comments
Counter : 792 Pageviews.

 
jhlh


โดย: hjg IP: 125.25.69.76 วันที่: 27 มกราคม 2554 เวลา:22:16:40 น.  

 
wefwewe


โดย: srga (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:01:02 น.  

 
หนังสือ ดารา Starpics ปีที่ 17 ฉบับที่ 17 10 พ.ย.
2516 (S.P. 75)

ชีวิตในฮาวายและโฉมใหม่ของ THE
IMPOSSIBLES
สิ่งที่แต้มความคึกคักให้กับวงการ
เพลงบ้านเรา ในระยะ 2 เดือนที่ผ่านมาคือ การ
กลับมาจากฮาวายของคณะดนตรียอดนิยม THE
IMPOSSIBLES หลังจากทิ้งให้ประดาแฟนคิดถึงอยู่
เกือบปี พวกเขาก็หอบรูปโฉมและลีลาใหม่มาฝาก...
บางคนชอบใจในขณะที่บางคนส่ายหน้าหนี
The Impossibles อันประกอบด้วย
เศรษฐา, ปราจีน, วินัย, สิทธิพร, พิชัย, อนุสรณ์
และยงยุทร ได้ตกลงทำสัญญาไปเล่นที่ฮาวายเป็น
เวลา 1 ปี ชายหนุ่มทั้ง 8 (รวมทั้งผู้จัดการ) ได้รับ
การต้อนรับและความอบอุ่นจากนักเรียนไทยที่นั่น
(ซึ่งมีอยู่ประมาณ 200 คน) เป็นอย่างดี และเพราะ
หตุที่ไม่ได้สืบเสาะเกี่ยวกับรสนิยมของคนที่นั่น
ระยะ 1 เดือนแรกที่เข้าไปเล่นประจำใน
Hawaiian Hush ด้วยเพลงแบบ Bubblegum
Music (ที่เราเคยได้ยินพวกเขาเล่นตอนอยู่เมือง
ไทยนั่นแหละ) คลับจึงเงียบเหงาเหมือนป่าช้า หา
คนไปเที่ยวแทบไม่ได้เลย พวกเขาหนักอกเหมือน
แบกภูเขาไว้ทั้งลูก ทุกคนวุ่นวายใจแทบคลั่ง คิดว่า
เดือนต่อไปคงอยู่ไม่ได้ ต้องเผ่นกลับเมืองไทยให้
ขายขี้หน้าประชาราษฏร์แน่ๆ แต่ก่อนม้วนเสื่อต้อง
ลองสู้ดูสักครั้งก่อน พวกเขาจึงเริ่มถามไถ่จาก
บรรดาแขกที่พลัดหลงเข้าไปเที่ยวบ้าง นักเรียน
ไทยบ้าง รวมทั้งคนในวงการธุรกิจบันเทิง ซึ่งได้
ความว่าคนที่นั่นแทบจะเต้นรำกันเป็นกิจวัตร
ประจำวัน เขาจึงไม่นิยม Bubblegum Music เพราะ
ไม่ดุเดือด, ไม่หนักแน่น, เต้นรำไม่มันส์ ต้อง
Jazz Rock จึงจะถึงใจ คณะ Chicago กำลังยิ่งใหญ่
ที่สุดสำหรับคนที่นั่น และที่ไล่หลังมาติดๆ คือ
Tower Of Power นัยว่าจะแซงขึ้นหน้าในเร็ววันนี้
เสียด้วย เท่าที่ถามความรู้สึกหนุ่มไทยทั้ง 8 ของเรา
เห็นว่า Tower Of Power เหนือกว่า Chicago จึงไม่
ต้องสงสัยพวกเขาเปลี่ยนทิศทางดนตรีเสียใหม่
ระดมต่อเพลงของทั้งสองคณะนี้พัลวันไม่ใช่ง่ายๆ
เลย สำหรับการเริ่มต้นใหม่ พวกเขาต้องทำงาน
หนักมาก ซ้อมเพลงวันละหลาย ช.ม. ในตอนกลาง
วัน จนแทบไม่มีเวลาไปไหน กลางคืนต้องเริ่ม
แสดงตั้งแต่ 5 ทุ่มถึงตี 3.45 จึงได้กลับไปนอนใน
อพาร์ตเมนท์ ที่เช่าไว้ 4 ห้อง แบ่งกันอยู่ห้องละ 2
คน ค่าเช่าเดือนละ 650 เหรียญ ก็ตกประมาณ
13,000 บาท
สำหรับอาหารการกินพักแรกๆ
ลำบากเหมือนกัน อาหารฝรั่งไม่ค่อยถูกปากเท่า
ไหร่ ดีที่ยังมีนักเรียนไทยเอื้อเฟื้ออาหารไทยให้
บ้างในบางครั้ง อยู่นานเข้ารู้จักตลาดสด รู้ที่ๆจะซื้อ
ของที่ต้องการได้ จึงลงมือทำอาหารกันเอง โดยผลัด
เปลี่ยนกันสำแดงฝีมือ ปรากฏว่าถูกปากกว่าและ
ประหยัดค่าอาหารไว้มากทีเดียว
ในวันหยุดพวกเขามักไปพักผ่อน
ตามสวนสาธารณะ หรือเที่ยวตามสถานที่ที่ไม่ไกลนัก อยู่ที่นั่นคิดถึงบ้านเหมือนกัน บางทีรู้สึกเหงา
แต่มีอิสระดี คนที่นั่นไม่มีใครสนใจใคร ทุกคนมี
สิทธิเสรีภาพที่จะทำอะไรได้เต็มที่ ถามวินัย
ว่า “สนุกไหม, ที่นั่น ?” เขายิ้มกว้างแล้วพูดเสียง
กลั้วหัวเราะ “โอ้ยมันส์ ครบเครื่องเลยครับ” ก็ไม่
เข้าใจเหมือนกันว่า ครบเครื่องนี่มันเป็นยังไง
พวกเราได้ประสบการณ์ใหม่ๆ มาก
มาย จากการดูและพบปะสังสรรค์กับนักดนตรีดังๆ
Frank Zappa ยอดนักดนตรีคนหนึ่งเคยมาคลุกคลี
อยู่ด้วยถึง 3 วันเพราะความถูกคอ Frank ได้เชิญ
พวกเขาไปเที่ยวที่บ้านด้วย และถามถึงอังกะลุงที่
เขาคิดจะนำไปประดิษฐ์ใหม่ ให้คนเดียวเล่นได้ทั้ง
วง โดยเปลี่ยนรูปให้คล้ายออร์แกน สิ่งที่ทำให้
Frank ดีใจที่สุด คือ แผ่นเสียงเพลงพระราชนิพนธ์
ที่พวกเขามอบให้ ส่วนนิโกรแก่ๆ ที่อ้างว่าเป็น
Chuck Berry แล้วเข้ามาร่วมเล่นดนตรีด้วยนั้น
เศรษฐาว่าไม่รู้จะเป็นตัวปลอมหรือเปล่า เพราะเขา
ไม่ค่อยสนใจอยู่แล้ว จึงจำหน้าตาจริงๆ ของ
Chuck ไม่ได้
หลังจากกัดฟันอยู่ด้วยกันได้ 3
เดือน พิชัย ทองเนียม ก็ขอลาออกจากคณะด้วยเหตุผลส่วนตัว และบินเดี่ยวกลับบ้าน ทางคณะจึง
จดหมายมาเรียก เรวัต พุทธินันทน์ ไปเล่นเบส
แทน ระหว่างนั้น
เศรษาฐา โดดมาจับเบสและร้องนำไปก่อน เรวัต
ไปถึงใช้เวลาปรับตัวหนึ่งสัปดาห์ ก็สามารถขึ้นไป
เล่นเบส, ออร์แกน และร้องนำสลับกับเศรษฐาได้
ฐานะของพวกเราเริ่มดีขึ้น เมื่อการเล่นเข้าที่ดี
แล้ว สามารถเรียกคนเข้าคลับจนแน่นตึงทุกคืน
Hawaiian Hush แทบแตก เพราะนักเที่ยวทั้งหลาย
ต่างแห่กันมาที่นี่ แน่นอน ส่วนแบ่งรายได้ของพวก
เขาจะต้องดีขึ้นด้วย แต่มีอะไรบางอย่างผิดปกติที่
พวกเขาสังเกตเห็น จึงมีการเจรจากันกับผู้ว่าจ้าง
ปรากฏว่าตกลงกันไม่ได้ พวกเขาจึงขอเลิกสัญญา
ก่อจะครบกำหนด (ขณะนั้นอยู่ได้ 11 เดือนกว่า
แล้ว) ตัดสินใจกลับบ้าน
ประดาแฟนๆ ในบ้านเราที่ตั้งหน้า
ตั้งตาคอยอยู่ ออกจะตื่นเต้นมาก เมื่อพวกเขาออก
แสดงทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก หลังจากกลับมา
ถึง อยากดูว่า พวกเขาจะมีอะไรใหม่ๆมาฝากบ้าง
อย่างที่
เห็นกันแล้ว Jazz Rock ผสม Soul คือรูปแบบใหม่
ของ The Impossibles
ในวันต่อมา มีเสียงโจมตีกันใหญ่ว่า
The Impossibles แต่งตัวรุงรังเหมือนไอ้บ้า บ้างก็
ว่าเป็นวัวลืมตีนไปอยู่เมืองฝรั่งเพียงไม่กี่เดือน ทำ
เป็นพูดภาษาไทยไม่ชัด พวกเขาก็ไม่ได้ตอบโต้
กล้ำ
กลืนความขมขื่นเข้าไปเก็บไว้ในหัวใจ เมื่อถูก
ถาม เศรษฐาชี้แจงว่าเรื่องที่ว่าแต่งตัวรุงรังนั้น
พวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะคืนนั้น (ที่
ออกโทรทัศน์) ทุกคนแต่งชุดราตรีทักสิโด้ ผมที่ยาม
ประ
บ่าก็ให้ช่างทำผมรวบไว้ข้างหลัง จนมองไม่เห็นเขา
ไม่เข้าใจเลยว่าพวกเขารุงรังที่ตรงไหน ส่วนเรื่อง
พูดไทยไม่ชัด ไม่ใช่เรื่องแกล้งคืนนั้นผู้จัดการของ
วง จรัล ปันท์สุนานันท์ มีโอกาสพูดเพียงคนเดียว
เขาเป็นคนภาคใต้และเป็นคนจีน พูดภาษาไทยไม่
ค่อยชัดมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมาพูดไม่
ชัดเมื่อกลับจากเมืองฝรั่ง
ด้านดนตรีนั้น พวกเขาเชื่อว่าได้
เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นไม่ใช่เลวลงอย่างที่ใครบาง
คนว่า และไม่เชื่อว่าคนไทยจะฟังไม่รู้เรื่องหรือหู
ไม่ถึง คนที่เขาชอบมีมากมาย พวกเขามีเจตนาโดย
สุจริตที่จะช่วยยกระดับดนตรีในบ้านเราให้สูงขึ้น
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักดนตรีรุ่นหลัง ที่จะทำ
ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และเพื่อให้ดนตรีสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
พวกเขาตัดสินใจเพิ่ม (สมชาย กฏษณะเศรณี) มือ
เบสชั้นเยี่ยมคนหนึ่งของเมืองไทยเข้ามาเสริม
กำลัง...ไม่มากเลย 8 คน สำหรับดนตรี แจ๊ส ร็อค
ฝรั่งมือแน่ๆเขายังเล่นกันตั้ง 11 คน

ขณะนี้ The Impossibles ยังไม่ได้เล่นประจำที่ไหน
แต่ก็มีงานจรมากจนล้นมือทีเดียว(ส่วนมากเดิน
ทางไปเล่นต่างจังหวัด) และคิดว่าในปลายปีนี้คงจะ
เข้าเล่นประจำที่ไหนสักแห่ง
สำหรับงานด้านแผ่นเสียง พวกเขา
วางแผนจะลงทุนอัดแผ่นเสียงเองสักชุดหนึ่ง คาด
ว่าจะออกจำหน่ายในเดือนธันวาคมนี้ เพลงส่วน
ใหญ่ประพันธ์โดย สุรพล โทณวนิก และจะมีเพลง
เก่าๆ สมัยคุณปู่ที่นำมาเรียบเรียงเสียงประสาน
ใหม่สัก 2-3 เพลง ท่านที่เป็นแฟนโปรดอดใจรอสัก
นิด แล้วจะได้พบกับมิติใหม่ที่หนักแน่นกว่าเดิม
ของพวกเขาอย่างแน่นนอน
เพื่อให้คุณได้รู้จักกับสมาชิก The
Impossibles ดีพอสมควรทุกคน จะเขียนถึงประวัติ
ย่อๆของสมาชิกที่เป็นพลังใหม่ของวงนี้ ส่วนคนเก่า
ต้อย, แตง ฯลฯ...อย่าเอาเลย คุณรู้เสียจนแทบจะรู้
ว่าพวกเขามีไฝมีปานที่ไหนแล้ว จึงไม่มีอะไรจะ
บอกอีก

ยงยุทธ มีแสง ชื่อเล่น “เล็ก” เกิด
เมื่อ 10 มกราคม 2488 เรียนจบชั้น ม.6 จาก ร.ร.
อยุธยาอนุสรณ์มูลนิธิ เล่นทรัมเป็ตมาตั้งแต่ยัง
เรียนหนังสือ จบแล้วก็ยึดอาชีพนี้เรื่อยมา เคยเล่น
ร่วมกับวงของ นริศ ทรัพย์ประภา ที่ “ดาราคลับ”
และวง “เมธารัตน์” ของ วัชัย เอื้อมพร ที่ “สตา
ร์คลับ” ถึง 6 ปี แล้วมาเล่นอยู่วง ม.ส. 2 ปี ก่อนมา
ร่วมกับ The Impossibles โดยการชักชวนของ
เพื่อนเก่า ปราจีณ และเศรษฐา ซึ่งเป็นชาวอยุธยา
ด้วยกัน เมื่อตอนประกวดสตริงคอมโบ้ครั้งที่ 3
(ก่อนไปฮาวาย)
นักดนตรี เขาชอบ Mike David,
Frank Zappa, คณะ Tower Of Power และ Chase
แผนการอนาคต ยังไม่คิดอะไร อยู่
ยังงี้สบายดีแล้ว

เรวัต พุทธินันทน์ ชื่อเล่น “เต๋อ”
เกิดเมื่อ 5 กันยายน 2491 เคยเล่นมากับวง
Mosrite ตั้งแต่เรียนอยู่เซ็นต์คาเบรียล เมื่อเข้า
เรียนธรรมศาสตร์ก็เล่นกับ Dynamics จนได้
ปริญญาเศรษฐศาสตร์ แล้วคิดจะเลิกเล่น ไปสมัคร
เป็นสจ๊วต เพื่อนๆ จากวง Thanks ชวนไปร่วมวง
แรกๆเขาปฏิเสธ บังเอิญสอบสจ๊วตไม่ได้จึง โอ.เค.
ยอมเป็นหัวหน้าวงให้คณะ Thanks โดยดี จนต้อง
ล้มวงเพราะหลายคนในคณะติดเรียน เขาไปสมัคร
ทำงานธนาคารแต่ “ดวงผมมันจะเป็นนักดนตรี”
ขณะที่กำลังรองานอยู่ เศรษฐาก็ร่อนสาส์นมาให้ไป
แทนพิชัย เขานอนคิดอยู่หลายวัน แต่เห็นเป็น
โอกาสที่จะสร้างตัวได้ จึงแพ้คกระเป๋าบินไปฮาวาย
เขาชอบดนตรีคณะ Tower Of
Power
อนาคต อยากมีธุรกกิจของตนเอง จะ
เป็นอะไรก็ได้

สมชาย กฤษณะเศรณี ชื่อเล่น “ปี๊ด”
เกิดเมื่อ 25 มกราคม 2494 เขาร่วมหัวจมหางมา
กับ Dynamics จนต้องยุบคณะเพราะทุกคนต้อง
เรียนหนังสือ ขณะนี้เขาก็ยังเรียนอยู่ปีสุดท้ายของ
คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เขารักดนตรีมาก
แม้ยังไม่เข้าร่วมวงกับใครก็หมั่นฝึกซ้อม แกะ
เพลงที่บ้านทุกวันเป็นประจำ เต๋อ ชวนเขาเข้าวง
The Impossibles ตั้งแต่ก่อนกลับจากฮาวาย 1
เดือน
ทั้งที่มีฝีมือฉกาจฉกรรจ์ ขนาดเล่น
เบสในสไตล์ของ Lee Dorman แห่ง Iron Butterfly
ได้สบาย เขายังว่าเล่นกับ The Impossibles หนัก
ใจเหมือนกัน เพราะ “คุณปราจีณเก่งมาก มั่วไปได้
เลย แกรู้”
เขาชอบวิธีการเล่นเบส ของ Chris
แห่ง Yes และ Peter แห่ง Chicago
แผนการอนาคต ยังไม่รู้จะทำอะไรดี
แต่คงไม่ใช่เล่นดนตรีตลอดชีวิตแน่ๆ


โดย: กดฟดฟ (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:15:54:33 น.  

 
"แอ๊ด คาราบาว เปิดใจทำไม ท.ทหารถึงต้องอด
ทน ทำไมเยาวชนถึงดมทินเนอร์"
โดย กะลาขัด
วัยหวาน ปักษ์หลัง มีนาคม 2527 ฉบับที่ 12

มีถ้อยคำอยู่มากมาย แต่เป็นการยากยิ่งนักที่เราจะ
รวบรวมมันมาถ่ายทอดความรู้สึกในหัวใจบางคำ
ให้คนที่เราใฝ่ฝันได้รับรู้อย่างครบถ้วนความ
หมาย
เอาเถอะ…เรามาคุยกับคนที่ทำสิ่งนั้นได้แทนดีกว่า
มาคุยกับคนแต่งเพลงสักคนผู้ทำให้ถ้อยคำบางคำ
ของเขาในบทเพลงคึกคักหรือเศร้าสร้อยเหมือนมี
ชีวิต ทั้งยังสามารถถ่ายทอดความคิดต่อยุคสมัยต่อ
ผู้คนในสังคมได้อย่างที่หวังและเข้าถึงจิตใจของคน
ทุกชั้นทุกวัย
มาฟัง "ยืนยง โอภากุล" แห่ง คาราบาว พูดถึง "ท.
ทหารอดทน" กับ "ทินเนอร์" กันเถอะ
เริ่มที่ "ท.ทหารอดทน" เพลงที่มีจังหวะกลองที่
แปลกออกไปแต่คุ้นหูและเหมาะเจาะกับเนื้อเพลง
กับการร้องที่เหมือนกับใครมาบ่นอย่างติดตลก
เกี่ยวกับชีวิตทหารและเคลีอบแฝงความหมาย
บางอย่างไว้
"สำหรับ ท.ทหารอดทน ได้แรงใจจากทหารตั้งแต่
ใต้จรดเหนือ ภาพต่างๆที่เราได้เห็นเวลาแสดง
เหมือนกับว่าเขาขาดบทเพลงที่เป็นของเขา มัน
เลยออกมาจากวัตถุดิบที่เราได้"
คุณยืนยง บอกถึงความเป็นมาและเลยพูดถึงความ
หมายในเนื้อเพลงว่า
"จริงๆแล้วมันอาจจะเฉียดไปทางด้านการเมือง
อาจเป็นเพราะว่าคนเขียนเป็นคนร่วมสมัย อยู่ใน
โลกปัจจุบัน ผมไม่ติดกับปัญหาอะไร ไม่ต้องเกรง
กลัวใดๆทั้งสิ้น ทำไปตามความรู้สึกและก็รับผิด
ชอบได้ จริงๆแล้วแต่งให้ทหารตามชายแดน ทำให้
เขาคิดว่าเขาจำต้องอดทนเพื่อความรุ่งโรจน์ของเขา
ในวันข้างหน้า"
เกี่ยวกับความคิดต่างๆ ที่ใส่ไว้ในเนื้อเพลงเขา
บอกว่า
"เราก็ทำภายในระบบที่เขากำหนด แต่เราคิดเรา
ทำได้ถูกต้องพอสมควร คำตอบมันอยู่ที่คนฟัง"
สำหรับความชื่นชมที่คนฟังมีต่อ ท.ทหารอดทน เขา
กล่าวว่า
"อาจจะเป็นเพราะว่าเราเริ่มจากที่เราฟังเขาก่อน
ผมฟังจากทุกคน สร้างงานให้คนฟังและเขียนออก
มาเมื่อรวบรวมได้ อาจจะขาดตกบกพร่องไปบ้าง"
สิ่งที่เขาประทับใจในบทเพลงชื่อ ท.ทหารอดทน
ของตัวคือ
"ภาษาท้องถิ่น เพราะทหารเป็นคนท้องถิ่น นั่นเป็น
ตัวแทนว่าทหารมาจากประชาชน เป็นลูกหลานของ
ประชาชน ซึ่งไม่ผิดกับชาวนาเพียงแต่เขามีอาชีพ
ถือปืน ผมไม่แยกว่าใครเป็นอะไร ไม่ยากว่าเขา
เป็นทหาร เขาก็มีหัวใจเหมือนกับคนประกอบ
อาชีพอื่น"
แล้วก็มาถึง "ทินเนอร์" เพลงที่สะท้อนความจริง
บางมุมที่มืดมนของสังคม..วัยรุ่นกับยาเสพติด..คา
ราบาวเคลือบความขมของมันไว้ด้วยดนตรีจังหวะ
สนุกๆ ยืนยง พูดถึงเพลงนี้ของเขาว่า
"เราทำออกมาเช่นเดียวกับ ท.ทหารอดทน ได้เห็น
จากเวที จากเด็กๆที่เราได้เห็น เป็นเพลงที่เรา
ลำบากมากมันมีทำนองคึกคักจึงต้องอาศัยผู้รู้จริง
เป็นพ่อเป็นแม่ที่ต้องเตือนเขา สังคมจะดีขึ้นต้อง
ช่วยกันทุกคน ไม่ว่าด้านไหนก็ตาม เน้นให้
เยาวชนมีการศึกษา มีคุณภาพ แต่เยาวชนมาจาก
ครอบครัวที่ยากจน ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้อง
เหลียวแลต้องเทคแคร์"
เขาบอกถึงสิ่งที่ชอบในเพลง ชื่อนี้ว่า คือ
"ท่อน…ย่างก้าวของเยาวชน ทุกคนมีสิทธิ์ติดยา..ผม
กำลังจะบอกว่าสังคมทุกวันนี้มันขาดการเหลียวแล
คนยากจน เพราะฉะนั้นทำให้เยาวชนที่อยู่ในชน
ชั้นเช่นนี้มีสิทธิ์จะติดยาได้ มันเป็นประชาธิปไตย
แบบผิดพลาด"
ยืนยงพูดถึงการแต่งเพลงของตนว่า
"ผมเป็นมนุษย์เศษกระดาษคนหนึ่ง นึกอะไรได้ก็
เขียน บางโอกาสก็ได้จากการที่เราอยู่ร่วมกับ
เพื่อน เราไม่ได้อยู่แค่ในกรุง เราไปทั่วตามบ้าน
นอกคอกนา แล้วอาศัยเพื่อนช่วยกันกลั่นกรอง"
เขาปฏิเสธว่าไม่ได้ตั้งตัวเป็นศาสดา แต่เป็นเพียง
ตำราเล่มหนึ่งที่ใครจะอยากอ่านก็ได้
"เราให้เขาเรียนรู้ ให้เขารู้ว่าถ้าทำอย่างนี้มันจะ
เป็นอย่างนี้ แล้วคุณเลือกเอาเอง"
เขาเชื่อในความหมายของเพลงทุกเพลงที่แต่ง
พร้อมกับบอกว่าทุกคนมีเนื้อร้าย ถ้าเริ่มจากการ
กำจัดเนื้อร้ายในตัวเองก็เป็นการเดินทางไปสู่สันติ
สุขอันแท้จริง...
นั่นคือที่มาของสองเพลงอันตราย "ท.ทหารอดทน"
ตามมาด้วย"ทินเนอร์" สองเพลงแรกในม้วนเทป
ชุดที่ 4 ของคณะคาราบาว
จากที่มาของเพลงก็มาถึงที่ต้องห้ามบ้าง ทางคณะ
กรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ
โทรทัศน์ (กบว.) ได้ออกคำสั่งห้ามเผยแพร่บท
เพลงทั้งสองบทเพลงผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดย
ห้ามเพลง "ท.ทหารอดทน" เนื่องจากรับไม่ได้กับ
ท่อน "ดาวเดือนลอยเกลื่อนท้องฟ้า ยิงให้ตกลงมา
ติดบ่าได้สบาย ดาวเดือนลอยเกลื่อนนภา ยิงไม่
ตกลงติดบ่าก็มากมาย" สำหรับเพลง "ทินเนอร์" ก็
มีเหตุผลคล้ายคลึงกับเพลงกัญชา ในอัลบั้มก่อน
หน้า (ข้อมูลจากวีกิพีเดีย)


(คัดลอกจากเวปwww.carabao.net
กระทู้คุณคุณ : [MC] ประชาชี ณ หลักสี่
บทความต้นฉบับวัยหวาน
ปักษ์หลัง มีนาคม 2527 ฉบับที่ 12 )


โดย: แอเืป (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:16:07:51 น.  

 
ความเป็นมาของวง เยื่อไม้
เป็นที่ยอมรับกันว่าเพลงไทยสมัยนี้
เป็นเพลงที่บันทึกเสียงด้วยระบบใหม่ มีการใช้
เครื่องไฟฟ้าแทนเสียงเครื่องดนตรีจริง รวมไปถึง
การนำเอาคอมพิวเตอร์มามีส่วนในการสร้างเพลง
และบันทึกเสียงนับเป็นวิวัฒนาการทางดนตรีอย่าง
หนึ่ง
ในขณะเดียวกัน เสียงของเครื่อง
ดนตรีจริงๆ (Acoustic) ได้ถูกใช้น้อยลงมากจน
แทบไม่ได้ยินเลยในวงการเพลงปัจจุบัน นอกเสีย
จากในวงออเคสตร้าใหญ่ๆ
ความคิดที่จะทำวงดนตรีที่ใช้เครื่อง
ดนตรีจริงๆ มาบรรเลงเพลงไทยสากลในวงการ
เพลง ทุกวันนี้จึงเกิดขึ้นกับ ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์
นักเปียโนผู้คลุกคลีกับดนตรีมานาน ประจบเหมาะ
กับทางบริษัทคีตาฯ ได้มอบหมายให้คุณทรงวุฒิ
ผลิตผลงานเพลงในลักษณะบรรยากาศเก่าๆ โดย
ให้เน้นความละเมียดละไมเป็นหลัก คุณทรงวุฒิ จึง
ชักชวนนักดนตรีที่ได้ชื่อว่าเด่นเฉพาะทางมา
บันทึกเสียงเพลงชุดแรก โดยขออนุญาติเอาเพลง
ของคณะสุนทราภรณ์เป็นประเดิม
เหตุที่เลือกเพลงของคณะสุนทรา
ภรณ์ก่อน ก็ด้วยเหตุผลที่ตัวคุณทรางวุฒิใกล้ชิดกับ
งานของสุนทราภรณ์ เพราะเคยเป็นศิษย์ของครู
เอื้อ สุนทราสนาน อย่างหนึ่ง อีกเห็นว่าเพลงของสุ
นทราภรณ์มีลักษณะ ๒ อย่าง ผสมกันอยู่คือ ท่วง
ทำนองอย่างไทย และท่วงทำนองอย่างสากล ซึ่งจะ
ทำให้การเรียบเรียงเสียงประสานได้แสดงการใช้
เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นอย่างเต็มที่อีกอย่างหนึ่ง
ขณะนั้นนักดนตรีและนักร้องที่รวม
ตัวขึ้นเพื่อบันทึกเสียงงานนี้ ได้ตั้งชื่อกันว่า “เยื่อ
ไม้” จากความคิดที่ว่า เพลงเก่าๆ ที่เรานำมา
บรรเลงใหม่ เป็นงานของครู ซึ่งเปรียบไปแล้วผล
งานของท่านก็เหมือนกับต้นไม้ใหญ่ที่ยังยืนต้นอยู่
เยื่อไม้ก็เป็นเพียงเยื่อบางๆ ของต้นไม้ใหญ่เท่านั้น


โดย: ดะเั้กะ้ (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:16:11:55 น.  

 
วงเยื่อไม้
วงดนตรี “เยื่อไม้” นำวงโดย คุณ
ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์ ผู้เล่นเปียโน กลองโดย
คุณวีระชัย เขียวขจี ซึ่งหลายเพลงต้องใช้แส้ตีหนัง
กลอง เพื่อให้ได้เสียงแผ่วเบาละมุนละไม เสียง
ไวโอลินนั้นได้รับเกียรติจาก ครูนพ โสตถิพันธ์ ซึ่ง
เป็นนักดนตรีอาวุโสที่มีฝีมือการเล่นเป็นที่ยอมรับ
กันทั่วไปในวงการนักดนตรี ดับเบิ้ลเบสโดย เจน
เฉลยกาย จากวงยามาฮ่าซาวด์ วงดนตรีวงใหญ่
ของไทย ผู้เล่นฟลุตคือ สมชาย เฟี้ยวสำอางค์ ซึ่ง
นับได้ว่าเป็นแนวหน้าสุดคนหนึ่งของคนฟลุต
เพราะชื่อเสียงเกียรติประวัติเมื่อครั้งร่วมงาน
ดนตรีอาเซียนที่ได้รับเลือกให้เป็น “ฟลุตลำดับ
หนึ่ง” ยังเป็นที่กล่าวขานอยู่
ส่วนสำคัญที่ทาง “เยื่อไม้” ได้คัด
เลือกแล้วคัดเลือกอีกคือรักร้อง ครูเพลงหลายคน
ให้ข้อคิดว่า กับนักดนตรีอย่างนี้นักร้องนอกจาดจะ
มีแก้วเสียงที่ดีแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับงาน
ชิ้นนี้คือ จะต้องมีการร้องที่พิเศษไปจากเพลงไทย
สมัยนี้คือ การเอื้อน และต้องมีความรักและเคารพ
ในเพลงเก่า “วิระ บำรุงศรี” และ “อรวี สัจจาน
นนท์” จึงถูกคัดเลือกจากนักร้องหลายสิบคนให้ทำ
หน้าที่สำคัญนี้
จากงานชุดแรกผ่านไปสู่งาน “เยื่อ
ไม้ลำดับที่ ๒” ได้เปลี่ยนเพลงมาเป็นเพลงของครู
เพลงคนอื่นๆ ที่มีผลงานเป็นที่รู้จักกันทั่วไป อัน
ได้แก่ พยงค์ มุกดา, นคร มงคลายน, ชาลี อินทร
วิจิตร, สมาน กาญจนผลิน, สุรพล โทณะวณิก, ป.
ชื่นประโยชน์ และเกษม ชื่นประดิษฐ์ ซึ่งจะเห็นว่า
ลีลาการร้องเพลงและดนตรีจะไม่เหมือนกับชุด
แรกทีเดียวกัน ด้วยลักษณะเพลงต้นฉบับเป็นคน
ละแบบกัน และทุกครั้ง “เยื่อไม้” ทำงานเพลงของ
ครูเพลงเหล่านี้ สิ่งหนึ่งที่ยังจับใจอยู่เสมอคือ ความ
งดงามของภาษา ความงดงามของท่วงทำนองที่สอด
คล้องกับชีวิตไทย ซึ่งความดีเหล่านี้ต้องยกให้กับผู้
ประพันธ์ทั้งหมด


โดย: แอร์ฟอร์ซ วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:16:12:38 น.  

 
งานอนุรักษ์เพลงเก่าของเยื่อไม้
นักร้องชุดเยื่อไม้ ทั้ง ๑ และ ๒ มียืนโรงอยู่สองคน
เท่านั้นคือ ฝ่ายหญิงชื่อ อรวี สัจจานนท์ อายุเพิ่งจะ
เลย ๒๐ ไปเล็กน้อย และฝ่ายชายชื่อ วิระ บำรุงศรี
คนบ้านนอก ทำงานอยู่นครสวรรค์
น่าแปลกใจความสามารถ และความสนใจของรัก
ร้องใหม่สองคนนี้ตรงที่ เขาไม่ได้ยึดเพลงของนัก
ร้องคนหนึ่งคนใดเท่านั้นมาร้องใหม่ ไม่ใช่ว่ายึด
รวงทอง หรือยึด ชรินทร์ ทว่ากระจายความสนใจ
ไปทั่วทุกค่าย ไม่ว่าจะเป็นค่ายสุนทราภรณ์ อัน
เกือบจะเป็นคลาสสิกสากล ไปจนถึงค่ายชื่นชุมนุม
ศิลปิน และค่ายอื่นๆ ที่วางแนวไว้กึ่งกลางทาง
ระหว่างลูกกรุงกับลูกทุ่ง
แต่ก่อนมา เรามักได้ยินได้ฟังนักร้องหลายคน
เลียนเสียงนักร้องที่ดังมาแล้ว จนเกือบจะเรียกได้
ว่าทุกคนพยายามหาจุดยืนให้เหมือนใครสักคน
เพื่อจะได้เด่นดังขึ้นมา
มาถึงยุคนี้ ถึงนักร้องเยื่อไม้สองคนนี้ บอกได้ทันที
ว่าเรื่องยึดคนเก่าเป็นเกณฑ์นั้น มีน้อยลง แต่ยึด
เทคนิคการร้องนั้นก็ยังพอมีให้เห็นบ้าง โดย
เฉพาะเพลง “ท่าฉลอม” กับเพลง “รอยไถ” ของ
คุณวิระ บำรุงศรี นั้น ถอดแบบชรินทร์ออกมาได้งด
งามอย่างน่าพิศวงยิ่งนัก ในขณะเดียวกัน คุณวิระ
ยังร้องแนวของสุนทราภรณ์ ในเพลง “รักฉันสัก
ครึ่งหัวใจ” ได้ และร้องแนวเรียบแต่กระจ่างเด่น
ชัดอย่งวินัย จุลละบาปะในเพลง “ห่วงอาลัย” ได้ดี
อีกด้วย สำหรับคุณอรวี สัจจานนท์ นั้นไม่ต้องกล่าว
ถึงมาก เพราะร้องดีไปหมดทุกเพลงจนคนทุกวัย
ติดใจกันทั่วไปหมด
ทำไมเยื่อไม้จึงดีมากนั้น ก็เห็นจะต้องใช้หลักวิชา
เข้ามาอธิบายสักนิด


โดย: แอร์ฟอร์ซ วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:16:13:23 น.  

 
เพลงที่จะไพเราะถูกใจคนฟังได้นั้น จะต้องมีองค์
ประกอบหลายประการ คือ ประพันธ์มาดีทั้งทำนอง
และคำร้องอย่างหนึ่ง บรรเลงและขับร้องดีโดยนัก
ดนตรี นักร้องและผู้แยกประสานเสียงฝีมือดีเป็น
เรื่อที่สอง เพลงนั้นให้อารมณ์สมจริงและต้องใจคน
ฟังเป็นประการที่สาม และประการที่สี่ คือ คนฟังมี
ภูมิหลังหรือประสบการณ์เก่าในการติดเพลงนั้นอยู่
ก่อนเคนได้ยินชินหูมาก่อน หรือเคยร้องเพลงนั้น
ได้มาก่อน หัวข้อที่ ๔ นี้ เป็นตัวส่งให้เกิดความ
สนใจเมื่อได้ยินเพลงที่ตนเคยชอบแล้วนำมาร้อง
อัดเสียงใหม่ โดยนักร้องและสมาชิกวงดนตรีกลุ่ม
ใหม่
คนที่ติดเพลงเก่านั้น ถ้าคนใหม่นำ
มาร้องและบรรเลงไม่ถึงใจเขา เชื่อเถิดว่า จะมีแต่
คำติเตียนออกมาให้ฟัง น้อยรายจะประสบความ
สำเร็จ ยกตัวอย่างมีเห็นชัดอยู่อย่างคนที่นำเพลง
ของคุณชายถนัดศรีมาร้อง หรือเพลงของครูเอื้อ สุ
นทราสนาน มาร้อง บางเพลงไม่เอาไหนเลย เห็น
ชัดๆ ก็เพลงหวงรัก ฟังไม่ได้ และทนฟังไม่ไหวเอา
เลยจริงๆ
ผู้เขียนฟังเยื่อไม้หนึ่ง และเยื่อไม้
สองมาแล้วหลายครั้งหลายตลบ พยายามอย่างยิ่งที่
จะอธิบายกับตัวเองว่าเรานี้ ก็เป็นนักฟังเพลงมา
แต่เก่าก่อน รู้จักเพลงมามาก เคยวิจารณ์เพลงมา
มาก เหตุไฉนฟังเพลงของเยื่อไม้ทั้งสองชุดนี้แล้ว
จึงชอบในทันที และยิ่งฟังก็ยิ่งชอบทั้งที่ตัวเองก็
เป็นคน “ติดเพลงเก่าและติดลีลาเก่า” ในที่สุดก็
อธิบายได้ดังนี้
ข้อหนึ่ง ทั้งสองคนของเยื่อไม้นี้ เป็น
คนร้องเพลงชัดทุกคำ ชัดอักขรวิธี ชัดเสียง และ
ร้องได้ถึงจุดแห่งตัวโน้ตคือ ชัดทุกเสียงที่ผู้
ประพันธ์เพลงได้กำหนดไว้ และใช้เสียงแท้ๆ อีก
ทั้งเป็นคนมีพรสวรรค์คือเสียงไพเราะ
ข้อสอง ทั้งสองคนนี้ เป็นคนที่ฝึกมา
ดี รู้ช่องหายใจได้ถูกที่ รู้วิธีการใช้วัยวะในการร้อง
เพลง และสามารถใช้อวัยะต่างๆ เหล่านั้น อัน
ประกอบด้วย ลำคอ จมูก เพดานปาก ริมฝีปาก การ
กัก และผ่อนลมหายใจ การเปิดทางให้เสียงออก
โดยแบ่งให้ออกทั้งทางปากและจมูกได้อย่างพอ
เหมาะพอดี การใช้เสียงสั่น ลูกคอ ได้อย่างเหมาะ
สมยิ่งนัก กว่าจะร้องได้อย่างนี้ต้องฝึกนานทีเดียว
เว้นเสียแต่ว่าจะมีพรสวรรค์พิเศษเท่านั้น จึงจะ
ร้องได้ในเวลาอันรวดเร็ว


โดย: กะเำพ (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:16:14:08 น.  

 
ข้อสาม เพลงที่จัดมานี้ บรรเลงโดยนักดนตรีฝีมือดี
จริงๆ ไวโอลินของอาจารย์นพ โสตถิพันธ์ นั้นแนบ
เนียน นุ่มนวลเหลือหลาย เสียงฟลุต ของคุณสม
ชาย เฟี้ยวสำอางค์ นั้นอย่าให้บรรยายเลย มันช่าง
เกลี้ยงเกลา ออกอารมณ์ออดอ้อน คละเคล้าไปกับ
จังหวะที่ไม่ดังสะเทือนจนรำคาญหู เสียงเปียโนของ
คุณทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์ นั้นก็วิเศษ น่าฟังมากๆ
ทุกนิ้วชัดและมีอารมณ์ ปกติผู้เขียนเกลียดจังหวะ
เพลงวิทยาศาสตร์ ไม่นิยมเสียงไฟฟ้าของเครื่อง
ซินธิไซเซอร์ ไม่ชอบเสียงอิเล็กโทน เพราะโทนคัล
เลอร์ (หรือบางท่านเรียนกว่าสีเสียง) ของเครื่อง
ประกอบจังหวะก็ดี เครื่องซินธิไซเซอร์ และ
อิเล็กโทนก็ดีเป็นเสียงที่ใช้ไฟฟ้ามากกว่าการใช้
ศิลปะของมือและสมองของมนุษย์ที่ได้ฝึกฝนมาแล้ว
นั้น เมื่อดนตรีไพเราะ มาพบกับเพลงเพราะที่เขา
แต่งมาดี พบกับคนเสียงไพเราะ ร้องเพลงดี เพลง
นั้นก็ดีไปหมด เมื่อมาพบกับคนที่ฟังเพลงเป็น ติด
เพลงเป็นทุนอยู่แล้ว ความสำเร็จก็ตามมา
ผู้เขียนชอบคุณอรวี สัจจานนท์ ตรง
ที่เธอมีเสียงที่ไพเราะเป็นธรรมชาติ และใช้ความ
ปกติตามธรรมชาตินั้น รวมกับการฝึกอย่างดี
สำแดงออกมาเป็นความไพเราะอันสมบูรณ์แบบ
คุณอรวีไม่ใช่คนที่เสียงสูงพิเศษ ไม่ใช่คนที่เสียง
ทุ้มพิเศษ พละกำลังที่จะเปล่งเสียงให้ดังเด่น ก็ไม่
ได้มีมากมายอย่างนักร้องมหาอุปรากร แต่เธอใช้
ความสามารถที่มีอยู่ได้เต็มที่และเหมาะสม ไม่ต้อง
เค้นเสียง ไม่ต้องบีบเสียงให้ผ่านจุดที่สูงมาก รู้จักที่
จะ “พลิก” สายเสี่ยงให้เกิดเป้นโน้ตหลายตัวบนคำ
ร้องเพลงคำเดียว เช่นในเพลง “สักวันหนึ่ง” ตรง
วรรคที่ “เจ็บจำช้ำใจ คงได้กับเธอสักวัน” นั้นคำว่า
ได้สามารถพลิกกล้ามเนื้อควบคุมการร้องได้เป็น
โน้ตถึงสามเสียงต่อเนื่องกัน ซึ่งนักร้องวัยรุ่นสมัยนี้
ทำไม่ได้ ต้องรุ่นเก่าๆ อย่างคุณชายถนัดศรีละก็
ท่านพลิกได้ฉับไวน่าฟังยิ่งนัก
อีกอย่างหนึ่ง คุณอรวี ไม่ถือโอกาสที่
สอดใส่ความรกรุงรังลงไปในการเอื้อนเสียงเพลง
ไทยสากล พูดอย่างภาษาตลาดก็คือ เธอไม่ดัดจริต
ร้องเพลง เพลง “นกขมิ้น” นั้นเป็นเพลงไทยเก่า
แก่โบราณ ที่ร้องได้หลายแบบ ฟังมาแล้ว
ไม่ว่าพูนศรี เจริญพงษ์ หรือนงลักษณ์ โรจน
พรรณ ร้องไปต่างแบบกัน และคนอื่นๆ อีกหลาย
คนที่ร้องนกขมิ้นแล้วใส่ลูกเอื้อนรุงรังจนกลายเป็น
ดัดจริต เพลงนกขมิ้นนี้ คนร้องดัดจริตต่างกันได้
มากๆ คุณอรวีมีโอกาสหลายตอนที่จะดัดจริตได้ แต่
เธอไม่ทำเลย ตั้งแต่ต้นจนจบ เพลงนกขมิ้นนี้จึง
ร้องสี่เที่ยวเต็มฟังแล้วอิ่มอกอิ่มใจ บอกได้ว่าไม่
เคยได้ยินใครร้องเพลงนี้ได้เพราะให้อารมณ์สูงสุด
ได้เท่านี้มาก่อนเลย
เพลง “บางปะกง” นั้น เพ็ญศรีเคย
ร้องมาก่อนคุณอรวีแม้จะขาดความสดใสไม่เท่า
เพ็ญศรี แต่เธอก็เอาตัวรอดด้วยลีลาอันงดงามพา
เพลงไปอย่างไพเราะชัดเจนชื่นใจได้ไม่แพ้แผ่น
เก่าของเพ็ญศรีเลย เพลง “กว่าจะรักกันได้” นั้น
อยากจะบอกว่าดีกว่าแผ่นเก่าเสียด้วยซ้ำ เพราะ
ความราบรื่นของน้ำเสียงรวมทั้งการบรรเลงแยก
เสียงและฝีมือของนักดนตรีทั้งกลุ่มนั้นเอง ส่งให้
เพลงนี้ดียิ่งนัก
คุณวิระ บำรุงศรี นั้นเสียงดีน่าฟัง
แต่ก็มีบางเพลงที่เกร็งอยู่ในลีลาขับร้อง ไม่ลื่นไหล
อย่างสบายเท่าที่ควร โดยเฉพาะเพลง “ขอพบใน
ฝัน” ที่ครูเอื้อร้องไว้รื่นนัก เรื่องนี้เป็นข้อคิด
สำหรับ
นักร้องใหม่ที่จะไปเลือกเพลงของครูเอื้อ กับเพลง
ของคุณชายถนัดศรีมาร้องใหม่ ทั้งสองท่านที่กล่าว
มานี้ ท่านเป็นผู้ชายเสียงสูงทั้งคู่ ท่านมีกล้ามเนื้อ
รอบลำคอที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า Very Fine
Movement คือสามารถผลิตเสียงที่กลมกล่อมทั้งสูง
ทั้งเรียบร้อยหมดจดและแถมชัดเจน โดยเฉพาะ
คุณชายถนัดศรีมากกว่าครูเอื้อ บางเพลงครูเอื้อก็มี
ไม่ชัดเหมือนกัน แต่ท่านกลิ้งลูกคอท่านเก่งจน
เคล้ากันสนิทผ่านไปได้งดงาม ถ้าผู้เขียนไม่เคย
ติดเสียงครูเอื้อ ในเพลงขอพบในฝันมาก่อนแล้ว
จะไม่มีทางตำหนิติเตียนคุณวิระได้เลย ก็เพราะติด
ของเก่าอยู่มาก จึงบอกได้ว่า ที่ร้องใหม่นี้เกร็งไป
นิดหนึ่งจริงๆ คนที่จะคอยจับผิด คอยเปรียบเทียบ
เช่นที่ผ่านมาแล้วนั้น
เพลง “รักฉันสักครึ่งหัวใจ” นั้นเคย
ได้ยินเลิศประสมทรัพย์ ร้องแต่ไม่ได้อัดแผ่นเสียง
มาก่อน แล้วต่อมาดำรง สุทธิพงษ์ ดาวรุ่งสุ
นทราภรณ์ก็มาร้องอัดเสียง เรียกว่าดังเหมือนกัน
แต่ที่คุณวิระ ร้องคราวนี้ได้รับคำชมเชยว่า ร้องดี
ทั้งดนตรีก็ดีมากด้วย หลายคนว่าดีกว่าต้นฉบับเก่า
ทีเดียว
ขอปรบมือให้แก่เยื่อไม้ที่ได้ผลิตงาน
ที่มีค่าออกมาในคราวนี้ อันที่จริงยังไม่คำวิจารณ์อีก
มากแต่เกรงผู้อ่านจะรำคาญ เป็นอันสรุปว่าผล
งานอนุรักษ์คราวนี้ดีมาก ดีที่ให้โอกาสวัยรุ่นได้
เรียนรู้ว่า เพลงที่ดี ที่เรียกว่าเข้าขั้นไพเราะน่าฟัง
นั้นเป็นอย่างไร ที่เคยร้องกันมาในชุดวัยรุ่นสัก
สองสามปีมาแล้ว เช่น เพลงอ้อยใจ เพลงหวงรัก
ฯลฯ นั้นเหลือจะทนจริงๆ แล้วก็ร้องผิดเนื้อ ผิด
ทำนองมหาศาล จนต้องปิดวิทยุมาหลายหนแล้ว มา
ครวนี้สบายใจที่ได้ยินงานของเยื่อไม้จึงขอสนับ
สนุน และขอให้ดำรงความละเอียดอ่อน ความพิถี
พิถันไว้เช่นนี้ตลอดไป

คัดลอกบทความมาจาก หนังสือ เยื่อไม้
บทความโดย นพ. พูนพิศ อมาตยกุล


โดย: พำเำำ (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:16:15:02 น.  

 
เพลง: ยังจำได้ไหม
ขับร้องโดย :รวงทอง ทองลั่นทม
....ยังจำได้ไหม ถึงใคร คน หนึ่ง
ซึ่งเคยบอกว่ารัก รัก รัก ยิ่งนัก
ยังจำได้ไหม ถึงใคร คน หนึ่ง
ซึ่งคุณ สมัคร เป็น ทาส ดวง ใจ
เพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนอง ตลิ่ง
อกคุณ แอบอิง อก หญิง คนไหน
ยังชมว่าสวย เหมือนดั่ง เดือน ผ่อง
เฝ้าปอง รัก ใคร่ จำ ได้ ไหม คุณ
คุณชมดวงตา ว่าสุก เหมือน ดาว
คุณชม ผิวสาว ว่า ขาว เหมือน นุ่น
คุณชมกลิ่นแก้ม ว่าหอม ละมุน
ซ้ำ ชม ว่า อุ่น ยาม หนุน อุรา
ยังจำได้ไหม ถึงใคร คน หนึ่ง
ซึ่งคุณเคยบอกว่ารัก รัก รัก เท่าฟ้า
ยังจำได้ไหม ถึงใคร คน หนึ่ง
ซึ่งคุณเพ้อว่า เป็นยอดบูชา ของ คุณ
.คุณชมดวงตา ว่าสุก เหมือน ดาว
คุณชม ผิวสาว ว่า ขาว เหมือน นุ่น
คุณชมกลิ่นแก้ม ว่าหอม ละมุน
ซ้ำ ชม ว่า อุ่น ยาม หนุน อุรา
ยังจำได้ไหม ถึงใคร คน หนึ่ง
ซึ่งคุณเคยบอกว่ารัก รัก รัก เท่าฟ้า
ยังจำได้ไหม ถึงใคร คน หนึ่ง
ซึ่งคุณเพ้อว่า เป็นยอดบูชา ของ คุณ...


โดย: ะั้กะพ (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:16:16:03 น.  

 
เบื้องหลังของอัลบั้ม Hot Pepper-
ปี 2518 ระหว่างการกลับไปตะเวนแสดงในยุโรป
ครั้งที่ 2 ดิ อิมพอสสิเบิ้ล ได้ทำการบันทึกเสียง
เพลงสากลเป็นครั้งแรกของวง ในชื่ออัลบั้ม Hot
Pepper มีทั้งหมด 10 เพลง เป็นเพลงแต่งใหม่
6 เพลง แต่งคำร้องและทำนองโดย Robert
Newton (ช่างบันทึกเสียงของบริษัทไนท์สปอ
ตในขณะนั้น และเคยเล่นดนตรีมาก่อน) 5 เพลง
และอีก 1 เพลงเป็นเพลงบรรเลง คือเพลง Hot
Pepper แต่งโดย ปราจีน ทรงเผ่า และมีเพลง
สากลที่เป็นที่รู้จักอีก 4 เพลง อัลบั้มชุดนี้บันทึก
เสียงที่เมือง โกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน ใน
ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม 2518
โดยมีโปรดิวเซอร์ชื่อ Jan Jin Gryd ชาวสวีดิช
เป็นผู้ควบคุมการบันทึกเสียง อัลบั้มชุดนี้เป็น
ความหวังชิ้นหนึ่งของวงที่จะโกอินเตอร์ แต่ก็ไม่
สามารถทำได้ แม้ในเมืองไทยเองก็ไม่ได้รับ
ความสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น
ต้นปี 2519 ดิ อิมพอสสิเบิ้ล เดินทางกลับเมือง
ไทยหลังจากจบทัวร์ยุโรปครั้งที่สอง ทันทีที่
ทราบว่าเพลงชุด Hot Pepper ผ่านขั้นตอนสุด
ท้าย สำเร็จเป็นแผ่นเสียงพร้อมที่จะออก
จำหน่าย ทางวงก็ได้นัดสื่อมวลชนทุกแขนงเพื่อ
ที่จะแถลงข่าว งานแถลงข่าวผ่านไปเรียบร้อย
แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นหลังจากนั้น โดยเฉพาะ
รายการเพลงสากลทางวิทยุ ซึ่งทางวงหวังจะได้
รับความร่วมมือเปิดเพลงจากงานชุดนี้ สาเหตุ
สำคัญที่ ดิ อิมพอสสิเบิ้ล มาทราบในภายหลังก็
คือ ขณะที่ทางวงยังเล่นอยู่ต่างประเทศนั้น เพลง
ชุดนี้บางเพลงได้รับการเปิดออกอากาศไปบ้าง
แล้ว โดยผ่านทางรายการวิทยุในสังกัดบริษัท
ไนท์สปอต ซึ่งก็คือเพลงที่ Robert บันทึก
เทปกลับมาก่อนหน้านั่นเอง เป็นสาเหตุที่ทำให้
เหล่านักจัดรายการเพลงทั้งหลายคิดว่าวงมีความ
ลำเอียง มอบเพลงให้ทางไนท์สปอตมาก่อน จึง
เกิดการแอนตี้ ไม่ให้ความร่วมมือในการเปิดเพลง
ชุดนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้นแผนการโกอินเตอร์ก็เลยล่ม
สลาย มีแฟนเพลง ดิ อิมพอสสิเบิ้ล สักกี่คนที่ยัง
จำได้ว่าครั้งหนึ่งพวกเขาเคยมีอัลบั้มเพลงสากล
เพื่อเป็นการระลึกถึงความเหนื่อยยากในการทำ
อัลบั้มชุดนี้ ปราจีน ทรงเผ่า ได้นำเอาชื่ออัลบั้ม
ชุดนี้ มาตั้งชื่อวงดนตรีและคณะนักร้องประสาน
เสียง เพื่อเตือนความทรงจำ ซึ่งทั้งสองคณะก็
ประสบความสำเร็จพอสมควร

ปัจจุบันกลายเป็นอัลบั้มหายากอีกชุดหนึ่ง
ของวงการเพลงไทย

ขออนุติคัดลอกข้อความเพื่อเผยแพร่จาก
//www.oknation.net/blog/print.php?
id=55477


โดย: ปดเ้ (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:16:38:07 น.  

 
อีกเพลงหนึ่ง ที่ "จรัล มโนเพ็ชร" นำเอามาเล่าเป็น
บทเพลง บอกถึงวิถีชีวิตของ คนแก่ คนหนึ่ง ที่เขา
ประทับใจมาตั้งแต่เด็ก คือ เพลงอุ้ยคำ นั่นเอง
...
เพลงอุ้ยคำ
คำร้อง / ทำนอง / ขับร้อง จรัล มโนเพ็ชร
อุ้ยคำ อุ้ยคำ อุ้ยคำ
อุ้ยคำ คนแก่ ท่าทางใจดี ลูกผัวบ่มี อยู่ตั๋วคน
เดียว
เมื่อแลงแดดอ่อน อุ้ยคำ กำคียว
เกี่ยวผักบุ้ง ใส่บุงกล๋างหนอง

ต๋าก่ฝ้าก่อฟาง หลังก่งุ้มก่ก้อง
อยู่กล๋างหนอง จนมืดจนค่ำ
แล้วแกก็แบ่ง ผักบุ้งเป๋นก๋ำ
ส่งขาประจำ เลี้ยงตั๋วสืบมา

อุ้ยคำ เคยบอก เล่าความเป็นมา
ลูกผัวก่อนหน้า นั้นอยู่ต๋วยกัน
แล้วมาวันหนึ่ง ผัวแกก่พลัน
มาต๋ายละกั๋น เหลือเพียงลูกสาว

แต่แล้วแห็มบ่เมิน มีเรื่องอื้อฉาว
ลูกสาวหนีตวย ป้อจาย
อุ้ยคำ เลยอยู่ คนเดียวเปลี่ยวดาย
ตุ๊กใจ ตุ๊กกาย ปี้น้องบ่มี

อุ้ยคำ อุ้ยคำ อุ้ยคำ

อุ้ยคำ คนแก่ ท่ทางใจดี
ลูกผัวบ่มี เป๋นดีเอ็นดูล้ำ
แลงนี้แดดอ่อน บ่หันอุ้ยคำ
เกยมาประจำ อุ้ยคำไปไหน

หมู่ผักบุ้งยอดซม ซบเซาบ่ไหว
เป็นจะได ไปแล้วอุ้ยคำ
ฟ้ามืดมัวหม่น เมฆฝนครึ้มดำ
เสียงพระอ่านธรรม อุ้ยคำ ไปดี

อุ้ยคำ อุ้ยคำ อุ้ยคำ

สิเหร่ เขียนเอาไว้ใน ชีวิตและงาน ในเบื้อง
ความคิดของศิลปินคนหนึ่ง เอาไว้ว่า
“...บทเพลงอมตะบทหนึ่งของ จรัล มโนเพ็ชร
ศิลปินแห่งลานนา นับได้ว่าเป็นงานคลาสสิกของวง
การเพลงไทยในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา และยังคงอยู่
ในความรู้สึกของผู้ฟังตลอดกาล

ย่อมไม่มีใครปฏิเสธ ความดีเด่นทั้งด้าน
เนื้อหาและท่วงทำนอง ตลอดจนความรู้สึก กระทั่ง
เสียงสะท้อนของระฆังกังวานในช่วงสุดท้ายของบท
เพลง ซึ่งทำให้ความรู้สึกยะเยือกอยู่ในอารมณ์ของ
ผู้ฟังตลอดกาล

นับเป็นงานสูงส่งที่สุดเท่าที่คนหนุ่มคนหนึ่ง
ได้สร้างขึ้นจากใจ...”

เบื้องหน้าเบื้องหลังของ เพลงอุ้ยคำ ของ จรัล
มโนเพ็ชร เพลงนี้ ใน หนังสือ ซึงสุดท้าย มานิด อัช
วงศ์ เขียนเล่าเอาไว้อย่างน่าอ่านว่า

“ อุ้ยคำ คงเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้ จรัล
มโนเพ็ชร มากที่สุด

วันนั้นเวลาเย็นแล้ว เรานั่งอยู่บนรถไฟชั้น
สองตู้นอน เพื่อกลับบ้านเชียงใหม่ รถไฟกำลังวิ่ง
ผ่านย่านทุ่งรังสิต ตะวันกำลังตกดิน ที่หนองน้ำมี
คนเฒ่าคนหนึ่ง กำลังพายเรือเกี่ยวยอดผักบุ้ง เป็น
ภาพชีวิตที่งดงาม


จรัล มโนเพ็ชร ล้วงมือลงไปในกระเป๋าสะพาย แต่
คงไม่ทันใจ จึงบอกผมว่า...“คุณมานิด ขอกระดาษ
ผม สักแผ่น”

ผมใจร้อนพอกัน ด้วยรู้ว่า คงเป็นเรื่องด่วน
สำคัญ ผมได้เลือกฉีกเนื้อที่กระดาษสีขาวของ
หนังสือพิมพ์จากนั้นไม่นาน จรัล มโนเพ็ชร ได้ยื่น
กระดาษแผ่นนั้นให้ พลางก้มลงหยิบกีตาร์ แล้ว
เล่นเพลงให้ฟัง


โดย: หกดเก (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:17:12:27 น.  

 
นอกจากผมแล้ว คงมีผู้โดยสารที่นั่งอยู่ใกล้ๆ
กันในโบกี้นั้น ได้ยิน เพลงอุ้ยคำ เป็นครั้งแรกใน
โลกนี้...

“คุณมานิด อุ้ยคำ มีชีวิตจริงๆ นะ แต่ชีวิตแก
ไม่ได้เศร้าอย่างในเพลงนะ แกเป็นอุ้ยที่มีความ
สุข ลูกผัวไม่มี ทุกวันในตอนสาย แกจะ
หาบกระจาดสองใบ ออกตระเวนไปตามบ้านเพื่อ
รับอาหารไปถวายที่วัด

เมื่อพระฉันเพลแล้ว อาหารที่เหลือ จะประทัง
ชีวิตแกไปอีกวันหนึ่ง จากนั้นก็จะล้างจานชาม ทำ
ความสะอาดก่อนที่จะกลับบ้าน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัด
และไม่ห่างจากบ้านผม ที่ประตูเชียงใหม่เท่าไร”

“แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ ผักบุ้ง” ผมถามด้วย
ความสนใจ

“บ้านที่แกอาศัยอยู่ มีหนองน้ำ แกก็อาศัย
เก็บยอดผักบุ้งไปขายบ้าง แจกบ้าง บางวันตอน
เย็นๆ หลังเลิกเรียน ผมมักจะไปหาแก ไปนั่งคุย
กัน แกมักจะเล่าเรื่องเก่าๆ ให้ฟัง อุ้ยคำ เป็นคนมี
ความสุขครับ”

“สองสามวันแล้ว ไม่มีใครเห็นหน้าแก ผมบุก
ไปถึงบ้าน จึงพบว่าแกนอนตายไปแล้ว ผมเป็นคน
บอกผู้ใหญ่ให้รู้เรื่อง และช่วยกันทำศพให้”

“ทำนองเพลงล่ะ มันเกิดเมื่อไร” ผมทราบว่า
จรัล มโนเพ็ชร มักจะแต่ทำนองเพลงก่อนแต่งคำ
ร้อง

“พระเจ้า แต่งไว้นานแล้ว...”

ผมทำหน้างงๆ

“สมัยเด็กๆ ผมชอบไปโบสถ์ศาสนาคริสต์
ชอบไปเที่ยวเล่น หาเพื่อนและชอบฟังเพลงสวด
ในโบสถ์ รู้จักทำนองนี้มาตั้งแต่เด็กๆ เป็น เพลงฮิ
ม เพลงสวดในโบสถ์ เป็นเพลงประกอบศาสนกิจ
ของชาวคริสต์ และรู้ด้วยว่า เป็นเพลงที่ ปีเตอร์
แอนด์ พอล แมรี่ สร้างเป็นเพลง เพลงหนึ่ง

แต่ อุ้ยคำ ของผม ผมดัดแปลงทำนองบ้าง ถ้า
ไม่ดัดแปลง ก็จะไม่มีทางเข้ากับ วรรณยุกต์ของ
ภาษาคำเมืองได้หรอก”

เพลงอุ้ยคำ ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ไม่
มีสักครั้งที่ จรัล มโนเพ็ชร อยู่บนเวทีจะไม่ได้ร้อง
เพลงอุ้ยคำ และไม่มีสักครั้ง ที่ จรัล มโนเพ็ชร จะ
ไม่พูดประโยคนี้

“กลับบ้านไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ ไปเยี่ยมอุ้ย ที่
บ้านเน้อ”

การบันทึกเสียงครั้งแรก บันทึกเสียงโดย
จรัล มโนเพ็ชร และ เกษม มโนเพ็ชร ที่ห้องอัด
โซนิค ของท่าน สว.อยุธยา ดำรง พุฒตาล ไม่มีสียง
ระฆัง

การบันทึกเสียงครั้งที่สอง ที่ห้องบันทึกเสียง
ศรีกรุง จรัล มโนเพ็ชร สั่งการให้ผมไปหาซื้อระฆัง
หนึ่งใบ เพื่อตีประกอบเพลง

ในห้องบันทึกเสียง ทุกคนมีงานต้องทำ ทั้ง
เล่นดนตรีและร้องเพลง ผมคนเดียวที่ว่างอยู่

“คุณมานิด เป็นคนตีระฆัง นะ” เป็นคำสั่ง
ของ จรัล มโนเพ็ชร

นายมานิด อัชวงศ์ กลายเป็น นักดนตรี
ประจำ คณะจรัล มโนเพ็ชร ทุกครั้งทุกที่ ทุกเวที ที่
เป็นงานคอนเสิร์ต

ผมจะเป็นคนตีระฆังอยู่ที่หลังเวที

เดินทางกลับถึงเชียงใหม่ ระฆังใบนั้นถูกนำ
ไปถวายวัดที่วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ เพื่ออุทิศส่วน
กุศลให้ อุ้ยคำ ผมต้องซื้อระฆังใบใหม่ เป็นเครื่อง
ดนตรีประจำตัว

ระฆังใบใหม่ถูกตีในงานแสดงครั้งเดียว

“เสียงระฆัง ไม่เหมือนใบที่บันทึกเสียง” เป็น
คำบอกกล่าวของ จรัล

“เราไปขอบูชาใบเก่าคืนจากวัด แล้วถวายใบ
ใหม่”

งาน คอนเสิร์ต 25 ปี โฟล์คซอง คำเมือง จรัล
มโนเพ็ชร วันที่ 25-26 ตุลาคม 2544 ที่หน้าเวที
เกษม มโนเพ็ชร กิจจา มโนเพ็ชร และ ธนิต
ศิลปกิจ ทำหน้าที่ร้อง เพลงอุ้ยคำ

ที่ข้างหลืบหลังเวที ผมทำหน้าที่ เป็นคนตี
ระฆัง

ผมตั้งใจ ตั้งสมาธิอย่างดีที่สุด ผมพร้อมที่สุด
ผมจะตีระฆังให้ดีที่สุด เพราะเป็นการตีระฆัง
ประกอบเพลงอุ้ยคำ ครั้งสุดท้ายของชีวิตผม ผมขอ
วางมือจากการตีระฆัง ผมจะไม่ตีระฆังประกอบ
เพลงนี้ เช่นเดียวกับ...“ผมจะไม่เป็น ผู้จัดการส่วน
ตัว ให้ใครอีก” (อ่านต่อสัปดาห์หน้า)


โดย: ปเกเห (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:17:13:40 น.  

 
นอกจากจะแต่งเพลง เล่นดนตรี เรียบเรียงเสียง
ประสาน และขับร้อง ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่
แล้ว นักร้องสาวที่เป็นเพื่อนสนิทชาวเชียงใหม่
ด้วยกัน อีกคนหนึ่ง ที่มีผลงานร่วมกับ จรัล มโน
เพ็ชร ในงานแสดงคอนเสิร์ตและบันทึกเทป ซีดี ที่
ได้รับความนิยมชื่นชอบจาก บรรดาแฟนเพลง
แนวโฟล์คซองคำเมือง คู่กับ จรัญ มโนเพ็ชร มา
ตลอด ก็คือ สุนทรี เวชานนท์ จาก เพลงน้อย ไจยา
สาวเชียงใหม่ ที่เป็นเพลงสัญลักษณ์ประจำตัว
...
เพลงสาวเชียงใหม่
คำร้อง / ทำนองจรัล มโนเพ็ชร ขับร้อง สุนทรี
เวชานนท์
ข้าเจ้า เป็นสาวเจียงใหม่
แหมบ่เต้าใด ก็จะเป็นสาวแล้ว
ตึงวัน มีบ่าวมาแอ่ว
มาอู้มาแซว เป็นคนหละปูน

ข้าเจ้า จะเลือกเอาไผ
อ้ายบ่าวเจียงฮาย จื้อแก้วมาลูน
อ้ายก๋อง คนแป้เขี้ยวซูน
อ้ายคำอ้ายมูล อ้ายสมอ้ายมี

เปิ้นบอก ว่าจะมาขอ
ข้าเจ้าก็รอ มาแล้วเป๋นปี
ป้อแม่ ท่าปูสะลี
อ้ายบ่าวตัวดี หายแซบ หายสอย

ข้าเจ้า บ่เจื้อแหมแล้ว
จะแต่งกับแม้ว ไปอยู่ป๋ายดอย
ขายผ้า ขายเพชร ขายพลอย
ขายแหวน ขายสร้อย อยู่บนดอยปุย

มานิด อัชวงศ์ เขียนถึง เพลงสาวเชียงใหม่
เอาไว้ ใน หนังสือ ซึงสุดท้าย ว่า





"...เพลงสาวเชียงใหม่ ถูกแต่งและสร้างขึ้นมา
เพื่อ สุนทรี เวชานนท์ จริงๆ และไม่ว่า เวลาจะผ่าน
มานานปีแล้ว สุนทรี เวชานนท์ ยังได้ร้องเพลงนี้
อยู่ ร้องแล้วร้องอีก

ผมหมายถึงร้องสดๆ บนเวที หรือ ร้องบันทึก
เสียง

...นักร้องที่ร้องเพลงที่ตนเองเคยร้องไว้บ่อย
ครั้งที่สุด คือ สุนทรี เวชานนท์ กับ การร้อง เพลง
สาวเชียงใหม่ บันทึกเสียงครั้งแรก เมื่อปี 2520
และครั้งสุดท้าย ในปี 2546..."

"...เทปเพลง โฟล์คซอง คำเมือง จรัล มโน
เพ็ชร ถูกผสมปนเปกับ แหนมป้าย่น และ ท้อแสง
ทอง ออกเดินทางจากเชียงใหม่ กระจายไปทั่ว
ประเทศ
หลายๆ คนกล่าวว่า "มานิด เป็น ผู้สร้าง จรัล"
แต่ผม นายมานิด อัชวงศ์ มักจะชี้แจงว่า "เปล่า
เราทำงานด้วยกัน"

จรัล มโนเพ็ชร เกิดจากการเป็นนักร้องโฟล์ค
ซองเดี่ยว ต่อมา สุนทรี เวชานนท์ คือนักร้องคู่

จรัล มโนเพ็ชร - สุนทรี เวชานนท์ กลายเป็น
ชื่อคู่ที่ถูกเรียกขานในฐานะ นักร้องคู่ขวัญ

น้องๆ ในตระกูล มโนเพ็ชร กลายเป็นนัก
ดนตรีทุกคน รวมตัวกันเป็น วงดนตรีพี่น้องมโน
เพ็ชร


โดย: กดเำ (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:17:14:52 น.  

 
วงดนตรีพี่น้องมโนเพ็ชร เป็นการรวมตัว
เฉพาะกิจ รวมกันเพื่อทำงาน แยกกันเพื่อทำงาน
ของตัวเอง ไม่เคยมีการยุบวงหรือแยกวง...”

สุนทรี เวชานนท์ เป็นเจ้าของร้านอาหาร
เรือนสุนทรี ที่เติบโตมาจากร้านเล็กๆ ริมแม่น้ำปิง
เชียงใหม่ เจ้าของบ้านยังคง ขับขานเพลงไพเราะ
ให้ลูกค้าได้ฟังอยู่เป็นประจำ เพราะเธอมีความ
ผูกพัน กับ จรัล มโนเพ็ชร มาตั้งแต่แรก

สุนทรี เวชานนท์ ได้รับ รางวัลผู้ใช้ภาษาไทย
ถิ่นดีเด่น จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติ ใน วันภาษาไทยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29
กรกฎาคม 2551

มานิด อัชวงศ์ เขียนไว้ใน หนังสือ ซึงสุดท้าย
ว่า

"...สุนทรี เวชานนท์ ผมได้พบเธอครั้งแรก ที่
ห้องอาหารแห่งหนึ่ง ทำงานในหน้าที่ รีเซฟชั่น

จากวันนั้น ถึงวันนี้ เราต่างยังคงมีความรู้สึกที่
ดีต่อกัน ค้ำจุนกันและกัน มีการเว้นวรรคบ้างเล็ก
น้อย ก็ด้วยวิถีทางทำงานที่ต่างกันออกไป

ในช่วงแรกๆ ตอนนั้น ทุกธุรกิจ ทุกเรื่องราว
เรามักจะช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เช่น เธอเปิดผับ
เล็กๆ เป็นที่ขายเหล้า ผมก็เป็นเสมือนหนึ่งลูกค้า
เจ้าประจำทุกค่ำคืน ราวกับเป็นห้องรับแขกในบ้าน
ของผมเอง

เทปเพลงที่ผมสร้างสรรค์งานขึ้นมาเอง จำ
เป็นต้องมีผู้ที่ไว้ใจได้ และควบคุมอย่างใกล้ชิดใน
ส่วนของการผลิต สุนทรี เวชานนท์ ก็ได้อาสาเป็น
คนทำงานส่วนนี้

สรุปว่า เป็นคน ก๊วนเดียวกัน เพื่อนของ
สุนทรี เวชานนท์ ก็กลายเป็นเพื่อนของพวกเรา
เช่นเดียวกันกับ เพื่อนของผม หรือ จรัล มโนเพ็ชร

ทุกเรื่องราว ทุกขั้นตอน ของการวางแผนการ
ทำงานให้ จรัล มโนเพ็ชร มักจะเป็นที่รับรู้ของ
สุนทรี เวชานนท์ ด้วย

ต่อมาเมื่อผมรับงานให้ จรัล มโนเพ็ชร ใน
การแสดงภาพยนตร์ และต้องทำเพลงประกอบ
ด้วย เพลงประกอบส่วนหนึ่ง ต้องใช้เสียงร้องของ
นักร้องหญิง ใส่เสียงแทนนักแสดงหญิง

โดยที่ผมไม่ต้องรู้ว่า เจ้าตัวจะร้องเพลงเป็น
หรือไม่ ผมบอกกับ จรัล มโนเพ็ชร ว่า "ยาย แอ๊ด
ไง"

ในช่วงที่ สุนทรี เวชานนท์ ร้องเพลงแทน
เสียงนักแสดง นิภาพร นงนุช ในภาพยนตร์ เรื่อง
ดอกไม้ร่วงที่แม่ริม ไม่มีใครรู้ว่าเป็นเสียงของ
สุนทรี เวชานนท์

ตอนที่เริ่มออกตระเวนร้องเพลงตามร้าน
อาหาร หรืองานการกุศลของนักเรียน นักศึกษา ผู้
คนต่างยอมรับ ในเพลง น้อยไจยา

...การเกิดในวงการของ สุนทรี เวชานนท์ ก็
เช่นเดียวกับ จรัล มโนเพ็ชร คือ ดังชั่วข้ามคืน

...เพลงเอกที่เขาทั้งสองคนจะต้องร้องทุกงาน
คือ น้อยไจยา

นักร้องคู่นี้ ทำงานด้วยกันอย่างดีมาก ได้ออก
เดินทางไปทั่วประเทศ เราสามคนเป็นเหมือนคน
เดียวกัน เป็นเพื่อนกัน ไม่มีใครเป็นแฟนใคร"

เธอเคยปรารภกับ มานิด อัชวงศ์ไว้ว่า

"เฮีย...แอ๊ด ไม่สนใจอะไรหรอก ทุกวันนี้
แอ๊ด ทุ่มแรงกาย แรงใจ ทั้งหมดให้ร้าน และทำ
ร้านก็ไม่ใช่เพื่อใคร แอ๊ดทำเพื่อลูก และที่สำคัญ
แอ๊ด ต้องสืบสานงาน เพลงคำเมือง

ถามจริงๆ เหอะ ถ้า แอ๊ด วางมือแล้ว ใครล่ะ
จะมารับภาระ นี้...

แอ๊ด จะเก็บความรู้สึกดีๆ ในวัยหนุ่มสาวของ
แอ๊ด กับ เจอาร์ ( ชื่อย่อของ จรัล มโนเพ็ชร) ไว้ให้
นานที่สุด ช่วงนั้น ไม่มีใครมาขโมยหรือแย่งชิงไป
ได้ และเป็นช่วงที่เราทำงานกันอย่างไม่ต้องคิดถึง
อะไร ลุยน้ำลุยไฟ เหาะเหินเดินอากาศได้ทั้งนั้น

วันนี้ แอ๊ด หวังเพียงว่า แอ๊ด ยังจะรักษา
ความเป็นคนดี ของ แอ๊ด ได้ เท่านั้นเอง"


โดย: หหกดำพเพ (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:17:16:00 น.  

 
' รักกันหนอ ' เป็นเพลงของดิอิมพอสซิเบิ้ล ที่ใช้
ประกอบภาพยนตร์เรื่อง ' รักกันหนอ ' ในปี2513
(1970) นำแสดงโดย สมบัติ - อรัญญา

ต้นฉบับของเพลงนี้นำมาจากเพลง
Good Night ,Baby ของวง The King Tones
วงซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2503 (1960) มีสมาชิก 4 คน
โดยเพลงนี้ยังสามารถขึ้นถึงอันดับ 48 หมวด
R&B ของชาร์ตบิลบอร์ด อเมริกา ได้อีกด้วย....

( ข้อมูลประกอบจากคุณ booska แห่ง
www.kamoman.com ขอขอบคุณมา ณ.ที่นี้
ด้วยครับ )
สมัยก่อนวงการเพลงไทยบ้านเรา ก็มักหยิบ ทำนองต่างประเทศเข้ามาเป็นไกด์เพลง สำหรับทำทำนอง ไม่ต่างจากวงการ เพลงสมัยนี้เลย ผิดกันที่กาลเวลา กับภาษาไทยที่สวยสดงดงามกว่าสมัยนี้มาก บทเพลงมันจึงมีความลึกซึ้งกว่ากัน ช่วงปี 2511 เรื่อยๆมา วงการสตริงฯไทยเริ่มก่อรูปวงเป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น หลังจากที่แต่ละคนเข้าไปมีบทบาทกับวงดนตรีลูกทุ่ง ผมยกตัวอย่าง ขบวน มุกดา ที่มักเล่นดนตรีให้ลูกทุ่งหลายๆคน ลองฟัง กิ่งดาว จันทร์สวัสดิ์ ใน บ้าน สาวโสด ซิครับ โซโลมาในแบบสตริงฯจ๋า ผมเข้าใจว่านักดนตรีที่ผสมผสานกัน นี่ เข้าๆออกๆกันซ้ำหน้านี่แหล่ะครับ พี่ๆน้องๆกันทั้งนั้น ก่อนที่จะพัฒนาการเป็น สตริงคอมโบในแบบฉบับของดิอิมฯ มาจากวงดนตรีลูกทุ่งทั้งนั้นเลย เขาใส่ชื่อผู้แต่ง คำร้อง/ทำนอง คุณสมโภชน์ ล้ำพงษ์ กับเพลง รักกันหนอ เสร็จ สรรพ ซึ่งก็คงเหมารวมไปให้มันง่ายๆ คำร้องน่ะใช่แน่นอนครับ แต่ทำนองก็นับ ปีเอา ไล่หลังจากต้นฉบับญี่ปุ่น 2-3 ปี อย่างเพลง กระต่ายเพ้อ ในภาพยนตร์ โทน ฝีมือคุณรักษ์ รักพงษ์ นี่ทั้งคำร้อง/ ทำนอง แต่ท่านใช้จินตนาการของท่าน ลอกปรากฏการณ์สากลที่ทันสมัยใน ตอนนั้น มาใส่ในเนื้อเพลงท่อนกลาง "โอ้ดวงจันทร์นั้นคนก็เหยียบแล้ว แต่ดวงแก้วสูงลอยแล้วอยู่ไกล โอ้แม่นางเห็นใจกระต่ายไพร โปรดจงได้โน้มต่ำอย่าทรมาน " เพลงนี้แต่งไล่หลังอพอลโล่11 ไปสู่ดวงจันทร์ เป็นครั้งแรกที่คนไทยตื่นเต้นกัน มาก ที่ได้ชมถ่ายทอดสดด้วย ผู้ประพันธ์ในสมัยนั้นลึกซึ้งไม่ต่างกัน ครูพักลักจำ ทั้งนั้นครับ ขึ้นอยู่กับพรสวรรค์อย่างแท้จริง ว่ากันไม่ได้ตรงนี้ครับ สำคัญว่า เพลงมันโดนไหมนี่แหล่ะ


โดย: พะ้ะพ้ (แอร์ฟอร์ซ ) วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:17:23:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แอร์ฟอร์ซ
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add แอร์ฟอร์ซ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.