พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ฟาโรห์หญิงองค์แรกแห่งอียิปต์
กษัตริยาแห่งอาณาจักรใหม่ พระนางฮัตเซปซุตทำหน้าที่สำเร็จราชการแทน พระโอรสแห่งธุตโมซิสที่ 2 (พระสวามี) ซึ่งเกิดจากพระชายา "ธุตโมซิสที่ 3" เป็นเวลาเกือบ 7 ปี พระนางได้เปลี่ยนตำแหน่งของตัวเองจาก "ราชินี" เป็น "กษัตริย์" และทรงราชกกุธภัณฑ์เสมือนผู้ชาย ซ้ำยังมีหนวดเคราอีกด้วย รัชสมัยของพระนางถือว่าเป็นอีกยุคหนึ่งที่อียิปต์ มีความเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก...


ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 ตามประเพณีการสืบราชสมบัติแล้ว ทายาทซึ่งเป็นโอรสองค์โตของฟาโรห์จะต้องขึ้นครองราชย์แทนฟาโรห์องค์ก่อน แต่เนื่องจากทายาทที่มีสิทธิ์และศักดิ์ในขณะนั้น ซึ่งก็คือ "ธุตโมซิสที่ 3" พระโอรสแห่งฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 ที่เกิดจากพระชายาอีกพระองค์ ยังทรงพระเยาว์มาก ครั้นจะให้นั่งบัลลังก์ว่าราชการบ้านเมืองปกป้องประชาชนก็คงจะไม่ได้ ภาระจึงต้องตกเป็นของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ผู้เป็นพระราชินีแห่งฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 ต้องขึ้นบัลลังก์ว่าราชการบ้านเมืองแทนฟาโรห์องค์น้อยไปก่อน

จากพระราชินีเคียงข้างองค์ฟาโรห์ กลายเป็นฟาโรห์องค์ที่ 4 แห่งราชวงค์ที่ 18 ของปฐพีไอยคุปต์ คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และยิ่งเป็๋นหญิงการจะขึ้นนั่งบัลลังก์เสมือนฟาโรห์ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นเสมือนสมมุติเทพคงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ ที่จะให้ประชาชนยอมรับถึงการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ประสูติเมื่อช่วง 1508 ปีก่อนคริสตกาล เป็นพระราชธิดาแห่งฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 1 กับพระชายาองค์แรก อาห์เมส (Ahmes) มีพี่ชาย 2 คน และได้เสียชีวิตไปทั้งคู่ ต่อมาได้สมรสกับเจ้าชายธุตโมซิสที่ 2 ซึ่งเป็นพระโอรสของฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 1 ที่เกิดจากพระชายาองค์รองชื่อ มัตเนเฟอร์เรต (Mutneferet) สรุปคือ พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) และ ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 เป็นพี่น้องต่างมารดา ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกครับสำหรับอียิปต์โบราณที่พี่น้องจะครองคู่กัน สำหรับพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) และฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 มีพระราชธิดาด้วยกันเพียงพระองค์เดียวคือ เนเฟอร์รู (Neferure) ส่วนฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 นั้นเป็นพระโอรสที่เกิดจากพระชายาอีกองค์ครับ ซึ่งเมื่อเกิดเป็นชายก็ย่อมมีสิทธิ์ในบัลลังก์ตามธรรมเนียม

ภายหลังฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 พระสวามีสิ้นพระชนม์ หลังครองราชย์ได้เพียงประมาณ 4 ปี พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ก็ขึ้นนั่งบัลลังก์แทนฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 เป็นเวลาเกือบ 7 ปี จากนั้นได้ตั้งตนเป็นฟาโรห์หญิงองค์แรก พระนางได้ปกครองดินแดนแห่งแม่น้ำไนล์ให้ร่มเย็นได้ไม่แพ้ฟาโรห์องค์อื่นๆ ตามหลักฐานด้านประติมากรรมค้นพบรูปสลักพระนางทรงราชกกุธภัณฑ์เหมือนผู้ชาย ซ้ำยังมีหนวดเคราอีกด้วย รัชสมัยของพระนางถือว่าเป็นอีกยุคหนึ่งที่อียิปต์ มีความเฟื่องฟูเป็นอย่างมากอีกยุคหนึ่งเลยทีเดียว ด้วยความฉลาดหลักแหลมพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) บวกการการเป็นนักการเมืองที่ได้ต้นแบบมาจากพระบิดา พระนางข้ามพ้นข้อกังขาทั้งหมดไปได้ และสามารถปกครองอียิปต์ได้ยาวนานกว่า 20 ปี



วิหารแห่งฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ในช่วงรัชสมัยของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) พระนางได้สร้างวิหารศักดิ์สิทธิ์เพื่อเตรียมไว้สำหรับฝังศพของตนเองเอาไว้ชื่อ เดียร์ เอล-บาฮารี Deir el-Bahari ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นการสการะเทพอามุน (Amun) แต่พระนางจะทรงทราบไหมว่าหลังสิ้นพระชนม์จะได้พระศพจะได้เก็บไว้ที่แห่งนี้หรือไม่

ช่วงปลายของรัชสมัยของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) เริ่มมีความดึงเครียดทั้งภายในและภายนอกประเทศ เรื่องภายในก็เกิดจากฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 ที่เติบใหญ่ขึ้น และแน่นอนพระองค์ย่อมทวงถึงความชอบธรรมที่พระองค์ควรได้รับในนามของกษัตริย์ และจะทำอะไรได้มากในขณะที่อำนาจทั้งหมดยังตกอยู่ภายได้การปกครองของพระมารดาเลี้ยง ส่วนปัญหาภายนอกประเทศแน่นอนเมื่อชาติศัตรูต่างทราบว่าจริงๆ แล้วฟาโรห์หาใช่ชายชาตรีไม่ ความโอ้อวดในอำนาจ และความต้องการจะยึดอียิปต์ก็ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน ฟาโรห์หญิงย่อมมีความเชี่ยวชาญด้านศึกสงครามน้อยกว่าบุรุษเป็นแน่นอน

ในช่วงความวุ่นวายของบ้านเมือง พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ก็สิ้นพระชนม์ไปอย่างปริศนา ไม่มีใครล่วงรู้ได้ว่าพระศพได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่แห่งใด ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 อัดอั้นความรู้สึกทั้งหมดไว้มานาน พระองค์แสดงออกด้วยการสั่งให้ทำลายรูปสลักเสมือนพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ตลอดจนการสลักชื่อต่างๆ ของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ตามฝาผนังวิหารออกเกือบทั้งหมด น่าเสียดายที่การกระทำนี้ทำให้เราไม่สามารถทราบถึงความปรีชาสามารถของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) มากเท่าที่ควร พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ก็ได้ค่อยๆ หายจากความทรงจำของชาวไอยคุปต์โบราณนับจากบัดนั้น



จากอดีตกาลความรุ่งเรืองในยุคการปกครองของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) จวบจนปัจจุบันกว่า 3,500 ปีมาแล้ว ไม่มีใครทราบได้ว่ามัมมี่ของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ถูกเก็บไว้ที่แห่งใด ไม่มีใครค้นพบ จนกระทั้งวันที่ 27 เดือนมิถุนายน ปี 2007 มีการขุดค้นพบร่างมัมมี่ของสตรีที่หุบเขากษัตริย์ และจากการตรวจสอบพบว่ามัมมี่ร่างนี้มีอายุราวๆ 3,500 ปีซึ่งใกล้เคียงกับยุคสมัยของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) และผลจากการตรวจ DNA พบว่ามีความใกล้ชิดกับยายของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ที่ชื่อ อามอส เนเฟอเทอรี (Amos Nefreteri) ทำให้ผู้ค้นพบมีความมั่นใจว่ามัมมี่ร่างนี้คือพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ที่หายสาบสูญไปกว่า 3,500 ปี

ขอบพระคุณที่อ่านจนจบ พบกันใหม่คราวหน้า สวัสดีครับ

Perzius 7/11/2013



Create Date : 11 กรกฎาคม 2556
Last Update : 13 กรกฎาคม 2556 17:35:31 น.
Counter : 8878 Pageviews.

6 comment
ฟาโรห์เซติที่ 1 (Seti I)

พาย้อนกลับไปสู่ยุครุ่งเรืองที่สุดอีกยุคหนึ่งของอียิปต์โบราณประมาณ 1290-1279 ปีก่อนคริส์ตกาลความสงบสุขของชาวอียิปต์ภายใต้การปกครองของ "ฟาโรห์เซติที่1" บุตรของฟาโรห์รามเซสที่ 1 (Ramesses I) และพระราชินีซีทรี (Sitre) และเป็นบิดาของฟาโรห์รามเซสที่ 2 (Ramesses II)

ถ้ากล่าวถึงฟาโรห์อันเลื่องชื่อในยุคก่อนๆ หลายคนคงจะรู้จักฟาโรห์ตุตันคาเมนเป็นอย่างดีแต่สำหรับผมแล้วมีฟาโรห์อีกหลายองค์เลยทีเดียวครับที่ประวัติน่าสนใจไม่น้อยน่าเสียดายที่บางพระองค์หลักฐานการค้นคว้าข่อนข้างหายาก เพราะบ้างก็โดนขโมยบ้างก็เจอภัยพิบัตทางธรรมชาติ ทำให้หลักฐานชิ้นสำคัญสูญหายไปไม่น้อย

สำหรับฟาโรห์เซติที่ 1พระราชประวัติของพระองค์ที่เด่นชัดก็คือด้านการทำสงครามอียิปต์โบราณก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านเหมือนกันนะครับ ด้วยดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำไนล์ซึ่งทอดตัวไหลผ่านทั้งประเทศ แน่นอนใครๆ ก็อยากครอบครองดินแดนนี้ครับ และศัตรูตลอดการของอียิปต์ก็คือพวกฮิตไทส์Hittites ในยุคราชวงศ์ที่ 18 ตอนปลายเป็นช่วงที่อียิปต์เจอมรสุมมากมายทั้งภายในประเทศก็คือ การขาดฟาโรห์ที่เข็มแข็งพอในการจะปกครองประเทศ เกิดการก่อกบฏประชาชนก็ขาดที่พึง ซ้ำร้ายยังถูกรุกรานจากศัตรูอีกแต่ก็ถือว่าเป็นปกติของอียิปต์อยู่แล้วครับสำหรับช่วงต่อของแต่ละราชวงศ์ก็มักจะเกิดเหตุการณ์เหล่านี้อยู่เสมอมันเหมือนกับว่าพอบ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายก็มักจะมีวีระบุรุษที่มากู้ชาติไว้อยู่ร่ำไปและฟาโรห์เซติที่ 1 ก็ถือได้ว่าเป็นฟาโรห์องค์หนึ่งที่ช่วยทำให้แผ่นดินไอยคุปต์เกิดความร่มเย็นขึ้นได้อีกครั้งพระองค์ทำศึกสงครามขับไล่พวกฮิตไตส์ให้พ้นจากดินแดนอียิปต์

ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1 พระองค์ได้สร้างสถานที่อันสำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้ อาทิเช่นวิหารเก็บพระศพเซติที่ 1 (Moryuary Temple of Seti I) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองQurna ฝั้งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ตรงข้ามกับเมือง Luxorถัดมาคือ วิหารแห่งอบิดอส (Temple at Abydos) พระองค์ได้ริเริ่มสร้างวิหารแห่งนี้ขึ้นด้วยหินอ่อนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองอบิดอส ทางตอนบนของอียิปต์วิหารแห่งนี้สร้างเสร็จในรัชสมัยของฟาโรห์องค์ต่อมา ทายาทของพระองค์เองนั่นคือฟาโรห์รามเซสที่ 2 อีกสถานที่สำคัญนั่นคือ HypostyleHall แห่งเมือง Karnak สุดบรรยายจริงๆ ครับสำหรับสถานที่แห่งนี้ แท่นเสาขนาดมหึมาที่สร้างขึ้นยังเหลือร่องรอยประติมากรรมเรื่องราวของการทำศึกสงครามของฟาโรห์เซติที่ 1 เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการทำศึกกับเอเชีย ตะวันตก, ลิเบีย,นูเบีย ในช่วงต้นๆ ของรัชกาลของพระองค์ ในช่วงสมัยที่สร้างเสร็จผมว่ามันคงจะสวยงามมากๆเลยครับ

วิหารแห่งอะบิดอส


Hypostyle Hall

แต่ระยะเวลาการครองราชสมบัติของพระองค์เพียงประมาณ 10 กว่าปีชาวอียิปต์ก็พบกับความเศร้าโศกอีกครั้ง ฟาโรห์เซติที่ 1 สวรรคต ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าพระองค์สวรรคตด้วยเหตุอันใด ทันทีที่ฟาโรห์ขึ้นครองราชคนงานจะเริ่มทำการขุดสร้างสถานที่เพื่อเตรียมไว้สำหรับฝังพระศพของฟาโรห์เอาไว้ทันทีและสถานที่ฝังพระศพฟาโรห์เซติที่ 1ถูกเลือกสร้างไว้ที่หุบเขากษัตริย์ (The Valley of the King) หุบเขากษัตริย์ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำไนล์ตรงข้ามเมืองธีบ (Thebes) หรือเมืองลักซอ (Luxor) ในปัจจุบันทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าพระศพของฟาโรห์เซติที่ 1จะถูกเก็บไว้อย่างดี คนงานจะต้องขุดสร้างไว้อย่างดีการขุดสุสานในยุคแรกจะขุดลงไปเป็นรูปตัว L แล้วทำการแบ่งเป็นห้องๆ ไว้เพื่อเก็บสมบัติของฟาโรห์ ของใช้ที่จำเป็นสำหรับฟาโรห์ และห้องเก็บพระศพของฟาโรห์ ชาวอียิปต์จะให้ความสำคัญกับชีวิตหลังความตายมากเพราะพวกเขาเชื่อในวันฟื้นคืนชีพอีกครั้งและเพื่อให้แน่ใจว่าฟาโรห์อันเป็นที่รักยิ่ง ผู้เป็นเสมือนเทพของพวกเขาจะเดินไปสู่ดินแดนของพระเจ้าได้อย่างปลอดภัยแล้ว พวกเขาจะต้องสร้างสุสานไว้อย่างดีส่วนยุคหลังๆ ด้วยความแออัดของสุสานทำให้ต้องปรับเปลี่ยนเป็นการขุดแบบแนวตรงหลังจากคนงานได้ทำการขุดและแบ่งไว้เป็นห้องๆ แล้วก็จะเป็นภาพประติมากรรมบนฝาผนังภายในสุสานครับซึ่งภาพเหล่านี้มักจะเป็นเรื่องราวของชีวิตหลังความตายบ้างก็เป็นเรื่องราวของฟาโรห์องค์นั้นๆ บ้างก็มีเวทมนต์คาถาที่จารึกเป็นภาษาเฮียโรกลีฟิคยากที่จะมีใครอ่านได้อย่างถูกต้องแต่ก็ดีแล้วครับถ้ารู้ว่าเป็นคาถาคงไม่มีใครกล้าอ่านแน่ๆ

ภายในสุสานฟาโรห์เซติที่ 1

ในขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังดูแลความเรียบร้อยของสุสานฝังพระศพฟาโรห์เซติที่1 ผู้มีหน้าทีทำมัมมี่ของฟาโรห์เซติที่ 1 มีเวลาประมาณ 70 วันในการเตรียมร่างอันไร้วิญญาณของฟาโรห์เซติที่1หน้าที่สำคัญของคนทำมัมมี่คือทำอย่างไรก็ได้ใช้มัมมี่ของฟาโรห์สมบูรณ์แบบที่สุดในวันที่พระองค์ฟื้นคืนชีพมาเริ่มต้นก็ทำมัมมี่ผมพอจะทราบคร่าวๆ ก็คือว่าเขาจะเอาอวัยวะภายในออกมาจนหมดและเก็บเอาไว้ที่โถคาโนปิ (Kanopy) โดยแยกอวัยวะไว้ในโถ 4ใบ สาเหตุที่ต้องควักอวัยวะออกมาเพราะเนื่องจากว่าอวัยวะภายในมีความชื้นสูง ซึ่งจะทำให้พระศพอาจเสียหายได้ขั้นตอนหลังจากนั้นก็จะมีอีกเยอะครับ ล้วนแล้วเกี่ยวกับเวทมนต์คาถา ไสยศาสตร์ส่วนขั้นตอนสุดก็จะเป็นการพันพระศพด้วยผ้าลลินินเจ้าหน้าที่จะพิถีพิถันอย่างมากในการพันพระศพ และพวกเขาจะวางเครื่องลางที่ทำจากทองคำไว้ก่อนพันผ้าลินินทับไว้ในแต่ละชั้นทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าฟาโรห์จะได้เดินทางไปยังชีวิตหลังความตายได้สมบูรณ์แบบที่สุดเมื่อเสร็จขั้นตอนการทำมัมมี่แล้ว พวกเขาก็จะนำร่างพระศพใส่ไว้ในโลงหินศิลาประดับด้วยทองคำ และภาพประติมากรรมอันสวยงาม ก่อนนำโลงพระศพฟาโรห์เซติที่ 1 ในเก็บไว้ยังสุสานที่ได้เตรียมเรียบร้อยแล้วภายในสุสานนอกจากมีสมบัติที่จำเป็นสำหรับฟาโรห์เซติที่ 1แล้วพวกเขายังวางพวกอาหาร เครื่องดื่มไว้ภายในอีกด้วยครับหรือแม้แต่มัมมี่ของสัตว์เลี้ยงก็ยังทำเก็บไว้ภายในสุสานของฟาโรห์เลยละครับเมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมต่างๆ สุสานที่จะถูกปิดไว้ชั่วนิรันดร์

แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ก็คงดีนะครับ ถ้าเวทมนต์มีจริงโจรคงไม่กล้าขโมยสุสานของฟาโรห์เป็นแน่เพราะหลังจากฟาโรห์เซติที่ 1สวรรคตได้ไม่นานนักสุสานของพระองค์ก็ได้ถูกโจรปล้นสุสานขโมยทรัพย์สมบัติไปจนเกือบหมดสิ้นพวดเขาให้วิธีการเผาสุสานเพื่อหลวมละลายทองคำ โดยไม่ยำเกรงฟาโรห์เซติที่ 1 แม้แต่นิดเดียว พวกที่ถูกจับได้บางคนก็ถูกทรมานอย่างหนักก่อนที่จะประหารชีวิตเคราะห์ซ้ำยังเกิดภัยพิบัติอุทกภัยที่ทำให้สุสานได้รับความเสียหายไปไม่น้อยและหลังจากนั้นจวบจนกว่า 3 พันปีให้หลังไม่มีผู้ใดกล้าย้ำกายไปยังสุสานของฟาโรห์เซติที่ 1 อีกเลย จนกระทั้งปี 1817นักล่าสมบัติชื่อ Giovanni Battista Belzoniถ้าผมจำไม่ผิดเขาคนนี้เป็นชาวอิตาลีนะครับ เป็นคนแรกในช่วง 3 พันปีที่ค้นพบสุสานฟาโรห์เซติที่ 1ซึ่งในขณะที่เขาค้นพบนั้นภายในสุสานของฟาโรห์เซติที่ 1ไม่มีสมบัติมีค่าใดๆ เหลืออยู่ พวกโจรยุคโบราณทิ้งไว้เพียงแต่รูปสลักข้ารับใช้ที่ถูกค้นและทิ้งไว้กระจัดกระจาย แต่ก็ยังดีที่พวกเขายังเก็บร่างของฟาโรห์เซติที่ 1 เอาไว้

มัมมี่ฟาโรห์เซติที่ 1

และสิ่งที่น่าทึ่งที่สุดนั่นคือเมื่อทำการแกะผ้าที่พันร่างฟาโรห์เซติที่1 เอาไว้เผยพระพักตร์ฟาโรห์เซติที่ 1 อีกครั้งในรอบกว่า 3 พันปี ฟาโรห์เซติที่ 1 ในร่างมัมมี่ที่สมบูรณ์แบบมากๆเห็นแล้วแทบไม่น่าเชื่อว่าพระองค์เสียชีวิตมาแล้ว 3 พันปีนะครับ เพราะพระพักตร์ที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นตา หู จมูก ปาก สมบูรณ์แบบมากและก็ยังตค้นพบชิ้นส่วนพวกเครื่องลางของขลังที่ซ่อนอยู่ใต้มัมมี่ของฟาโรห์เซติที่ 1 อย่างที่เห็นในภาพนะครับภายในสุสานของฟาโรห์เซติที่ 1 สวยงามมากๆ เลยใช่ไหมครับ ลองจินตนาการเล่นๆ ดูว่าในช่วงที่สร้างเสร็จใหม่ๆ ว่าจะสวยงามขนาดไหนโชคยังดีที่ภาพประติมากรรมอันทรงคุณค่ายังเหลือทิ้งไว้ให้ศึกษาอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์ จะมีถูกทำลายไปบ้างโดยฝีมือของพวกโจร และพวกโรมัน ที่มาถูกรุกรานแต่โดยรวมก็ยังถือว่าสมบูรณ์แบบครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับฟาโรห์เซติที่ 1 น่าสนใจไม่น้อยเลยใช่ไหมครับสำหรับใครที่สนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์อียิปต์ก็มาแชร์ความรู้กันบ้างก็ได้นะครับข้อมูลที่ผมอ่านมาอาจจะมีขาดตกบกพร่องไปบ้าง เพราะอ่านและจดจำมาจากหลายตำรายังไงก็ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะครับ ไว้คราวหน้ามาใหม่ครับ


Perzius, 29/09/12




Create Date : 29 กันยายน 2555
Last Update : 11 กรกฎาคม 2556 14:52:46 น.
Counter : 11455 Pageviews.

1 comment
ชาติพันธุ์อียิปต์ ฟาโรห์เปรียบดังพระเจ้า
ประวัติศาสตร์อียิปต์

ประเทศอียิปต์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทิศใต้ติดกับประเทศนูเบีย หรือซูดานในปัจจุบัน ทิศตะวันตกติดทะเลทราย ทิศเหนือติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีแม่น้ำสายยาวที่สุดในโลกอย่างแม่น้ำไนท์ไหลผ่านประเทศ เป็นระยะทางกว่า 600 ไมล์ หรือประมาณ 970 กิโลเมตร ผ่านหุบเขาแคบๆ ก่อนที่จะแยกออกเป็นสาขาตรงสามเหลี่ยมแม่น้ำไนท์ โดยดูจากแผนที่แล้วคล้ายกับดอกบัวที่กำลังบานก่อนจะไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน



รวมชาติอียิปต์

ประเทศที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย แต่กลับมีแม่น้ำสายยาวไหลผ่านอย่างอียิปต์ ถือว่าเป็นของขวัญอันล้ำค่าจากพระเจ้าที่ประทานให้ชนชาติอียิปต์ แถมแม่น้ำไนท์ที่ไหลผ่านมาจากซูดานนี้ ยังพัดพาเอาดินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์อย่างมากในการเพาะปลูกของเกษตรกร หล่อเลี้ยงชีวิตชาวอียิปต์มานับพันๆ ปี ตั้งแต่สมัยยุคก่อนฟาโรห์ และจวบจน 3100 ปีก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์ผู้ทรงอำนวจจากทางใต้นามว่า "นาร์เมอร์ (Narmer)" ได้ทำศึกจนกษัตริย์ทางตอนเหนือปราชัย นาร์เมอร์รวมอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าด้วยและตั้งตนเป็นกษัตริย์ หรือฟาโรห์ปกครองประเทศอียิปต์

ฟาโรห์คือพระเจ้า

บุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุดของชาวอียิปต์คือ ฟาโรห์ ผู้ทรงอยู่เหนือกฏทุกๆ อย่างทั้งบ้านเมือง และกองทัพ ฟาโรห์เปรียบดังพระเจ้าที่ชาวอียิปต์เชื่อว่าเป็นผู้บันดาลทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างให้พวกเขา แม้หลังจากที่ฟาโรห์สิ้นพระชนแล้ว ชาวอียิปต์ก็ยังให้ความเคารพเสมือนเป็นพระเจ้าเช่นเดิม จากหลักฐานด้านโบราณวัตถุ หรือโบราณสถาน ศิลปินชาวอียิปต์ในยุคนั้น วาดฟาโรห์ของพวกเขาให้ดูหนุ่ม ทรงพลัง อยู่เสมอ แม้ในยุคราชวงศ์ใหม่ที่อียปต์มีฟาโรห์ผู้หญิงองค์แรกอย่างพระนางฮัตเซปซุส นางยังสั่งให้สร้างวิหารและรูปเสมือนของพระนางที่แต่งองค์เป็นชายอยู่เสมอ



ยุคราชวงศ์แห่งอียิปต์

ราชวงศ์อียิปต์ช่วง 3000 ถึง 4000 ปีที่ผ่านมา แบ่งออกเป็นยุคราชวงค์เก่า ราชวงศ์กลาง และราชวงค์ใหม่ ปกครองโดยเหล่าฟาโรห์ทั้งหญิงและชาย ผู้ทรงอำนวจมากมาย ก่อนจะเข้าสู่ยุคการขยายอาณาเขตของโรมาเนีย กรีก โรมัน อียิปต์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของยุคปโตเลเมีย ก่อนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของกรีก โดยถูกอเล็กซานเดอร์มหาราชยึด และวาระสุดท้ายของฟาโรห์คือ 30 ปีก่อนคริตส์ศักราช ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์ก็คือ พระนางคลีโอพัตรา ที่ 7 ทรงฆ่าตัวตาย ก่อนอียิปต์จะตกเป็นของโรมัน และสิ้นสุดยุคราชวงค์นับแต่นั้นมา



Create Date : 10 กันยายน 2554
Last Update : 11 กรกฎาคม 2556 16:38:50 น.
Counter : 7645 Pageviews.

0 comment
ฟาโรห์องค์แรกแห่งไอยคุปต์
ดินแดนที่เปี่ยมล้นไปด้วยอารยธรรมโบราณอันลึกลับน่าค้นหาที่สุดในโลกนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคือดินแดน "ไอยคุปต์" หรือ "อียิปต์" พอพูดถึง อียิปต์ ภาพที่ทุกคนเห็นคงหนีไม่พ้น พีระมิด, ฟาโรห์, ทะเลทราย, พระนางครีโอพัตรา, อูฐ จริงไหมครับ

แต่ความจริงแล้วอียิปต์มีมากกว่าที่เราเห็น และที่เรายังไม่เห็นก็อาจจะยังมีซ้อนเร้นอยู่อีกมากมายรอให้เราได้ค้นหา อียิปต์โบราณก่อนรุ่งเรืองจนกลายเป็นชนชาติโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก จุดเริ่มต้นก็คล้ายกับอารยธรรมทั่วไป คือ เริ่มจากความเป็นสัตว์สังคมของมนุษย์ ที่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จนกลายเป็นเผ่า หมู่บ้าน แคว้น หรือแม้ประเทศ อียิปต์โบราณก็ไม่ต่างกันครับ เมื่อมีเผ่าก็ย่อมต้องมีหัวหน้าเผ่า ในสมัยโบราณอียิปต์ถูกแบ่งออกเป็น อียิปต์บน และอียิปต์ล่าง และก็มีผู้นำของแต่ละชนเผ่า หรือเรียกว่า โนมส์ (Nomes) แต่ละโนมส์ ก็จะมีผู้นำที่พร้อมจะทำศึกสงครามแผ่ขยายดินแดนของตนได้ทุกเมื่อ

จวบจนมีชื่อผู้นำที่แข็งแกร่งที่ได้ชื่อว่า ราชาแมงป่อง Scorpion King เริ่มคุ้นหูกันบ้างแล้วนะครับ ราชันองค์นี้เป็นผู้กวาดต้อนเหล่าโนมส์ทั้งหลายเข้าด้วยกัน และตั้งตนเป็นผู้นำแห่งดินแดนไอยคุปต์ยุคโบราณ ส่วนตัวผมหากจะพูดถึงฟาโรห์องค์แรกก็คงหนี้ไม่พ้น ราชาแมงป่อง เพียงแต่ว่าตามหลักฐานที่ค้นพบแล้ว เราแทบจะไม่ทราบประวัติของราชันองค์นี้มากนัก

ตามประวัติศาสตร์อียปต์โบราณเริ่มมีคำว่า ฟาโรห์ (Pharaoh) นำหน้ากษัตย์ก็ในยุคแรกที่มีการตั้งตนเป็นกษัตย์ หรือฟาโรห์ ก็คือยุคของนาเมอร์ ผู้ผนวกเอาอียิปต์บนและล่างเข้าด้วยกัน และตั้งตนเป็นฟาโรห์ครองดินแดนทั้งหมดแห่งอียิปต์โบราณ



ตามภาพคือนาร์เมอร์พาเลต หนึ่งในวัตถุโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งอียิปต์ มีรูปแสดงให้เห็นถึงชัยชนะของฟาโรห์นาเมอร์ในการรวมชาติอียิปต์ และฉลองความสำเร็จยิ่งใหญ่ครั้งนี้

นาร์เมอร์พาเลตขนาดมหึมานี้ มีความสูงเกือบ 3 ฟุต แกะสลักจากจากแผ่นหินเป็นวัตถุใช้แนะนำตัวกษัติย์นาร์เมอร์ว่าเป็นฟาโรห์องค์แรกของอียิปต์



Create Date : 08 กันยายน 2554
Last Update : 11 กรกฎาคม 2556 16:38:21 น.
Counter : 2943 Pageviews.

6 comment
1  2  

seeyoujapan
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]



ใครจะนึกครับว่า Web Designer อย่างผมจะมีอีกมุมของผู้ที่หลงไหลในเรื่องราวของประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประวัติศาสตร์อียิปต์