ธุตโมซิสที่ 3 ฟาโรห์นักรบสมญานาม "นโปเลียนแห่งอียิปต์"

เมื่อฮัตเซปซุตสิ้นพระชนม์ในปีที่ 22 ในรัชสมัยของพระนาง ธุตโมซิสที่ 3 ก็ขึ้นปกครองอียิปต์ในช่วงปี 1479-1425 ก่อนคริสตกาล มีรูปภาพสลัก และข้อความภาษาอียิปต์โบราณมากมายที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในด้านศึกสงครามของฟาโรห์หนุ่มพระองค์นี้ พระองค์ได้รับชัยชนะเรื่อยมาจนเป็นผู้นำทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอียิปต์ พระองค์นำทหารทำการรบทางตอนเหนือของอียิปต์ถึง 14 ครั้ง จนได้สมญานามว่า “นโปเลียนแห่งอียิปต์”



ฟาโรห์นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) ฟาโรห์ผู้ไม่เคยพ่ายแพ้สงคราม พระองค์ชาญฉลาดทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้า พระองค์เชี่ยวชาญในการขี่ม้า ยิงธนู และล่าสัตว์ รัชสมัยของพระองค์ศัตรูต่างกล่าวขวัญ และยำเกรงกันไปทั่วทุกเม็ดทราย บุรุษผู้น่ายำเกรงนี้เป็นโอรสแห่งฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 (Thutmose ll) ในช่วงวัยเยาว์พระองค์กลับต้องมาสูญเสียพระบิดาไป และตามธรรมเนียมแล้วฟาโรห์องค์ต่อไปที่จะต้องขึ้นครองบัลลังก์ แต่ด้วยวัยที่ยังเยาว์นัก ภาระหน้าที่ทั้งหมดจึงต้องตกเป็นของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) พระมารดาเลี้ยง ที่ต่อมาได้ตั้งตนเป็นฟาโรห์หญิงองค์แรกแห่งแดนไอยคุปต์

สำหรับเรื่องราวของพระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ผมได้เขียนไว้แล้วก่อนหน้านี้นะครับ ลองอ่านดู เพราะเรื่องราว 2 รัชสมัยนี้จะเชื่อมโยงกัน

ในช่วงรัชสมัยของพระนางฮัตเซปซุต ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) ก็ขึ้นปกครองอียิปต์ตามสิทธิ์อันชอบธรรมที่พระองค์ควรได้รับ หรือควรจะได้รับเมื่อนานมาแล้ว ช่วงที่ฮัตเซปซุตครองราชย์อยู่นั้นฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) ไม่ได้ทรงพอพระทัยมากนัก เพราะมีหลักฐานว่าหลังการสิ้นพระชนม์ของฮัตเซปซุต ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) ได้สั่งให้ทำลายรูปเคารพ และรูปสลักของพระนางฮัตเซปซุตเกือบหมดสิ้น ซึ่งตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณว่าการทำลายพระนาม หรือชื่อของผู้ใด เสมือนเป็นการทำให้ผู้นั้นไม่สามารถเดินทางไปยังภพหน้าได้ เหตุใดฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) ถึงได้ตัดสิ้นใจเยี่ยงนั้น

ด้วยอำนาจของฮัตเซปซุตที่ถึงแม้จะเป็นอิสตรีแต่ในช่วงรัชสมัยของพระนางจะด้วยการทูตหรืออย่างไรไม่ทราบศัตรูกลับยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจของอียิปต์ พร้อมส่งเครื่องบรรณาการด้วยเจตจำนงค์ยอมสวามิภักดิ์ต่ออียิปต์



เมื่อฮัตเซปซุตสิ้นพระชนม์ ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) พบว่าตัวเองต้องเผชิญหน้ากับเจ้าชายแห่ง Kadesh และ Megiddo ซึ่งมีกองทัพขนาดใหญ่ พร้อมญาติของพวกเขาที่อาศัยอยู่ในซีเรียกลับปฏิเสธที่จะจ่ายส่วย แถมประกาศว่าตัวเองได้เป็นอิสระจากอียิปต์ ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) ได้รวมพลเดินทัพข้ามทะเลทรายไซนายไปยังเมืองกาซา ซึ่งยังจงรักภักดีต่ออียิปต์เพื่อกดดัน ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้ถูกบันทึกไว้บนผนังของวิหารคาร์นัค เป้าหมายแรกในการจู่โจมคือเมือง Megiddo ทางตอนเหนือ ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) ใช้เส้นทางแคบๆ ระหว่างหุบเขาเพื่อพรางตาศัตรู พระองค์สามารถนำทัพไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย กองทัพฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) สามารถล้อมเมือง Megiddo ไว้ได้จนหมดสิ้น และในที่สุดกษัตริย์ Megiddo ก็สิ้นฤทธิ์ส่งบุตรชายบุตรสาวของตนเพื่อขอเจรจาสงบศึก และยอมสวามิภักดิ์ต่ออียิปต์เช่นเดิม



ในปีที่ 33 แห่งการครองราชย์ ธุตโมซิสทำสงครามไปทางด้านแม่น้ำยูเฟรตีส และได้รับชัยชนะเหนือกษัตริย์ของมินตานนิ ทรงตั้งหลักศิลาจารึกถึงชัยชนะครั้งนี้ไว้ด้วย ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) ได้รับสมญานามจากนักประวัติศาสตร์ว่า "นโปเลียนแห่งอียิปต์" เนื่องด้วยพระปรีชาสามารถในด้านการทำศึกสงครามของพระองค์ ที่ทำให้อียิปต์แผ่แสนยานุภาพยิ่งกว่ารัชสมัยใดๆ ทั้งเหนือ ใต้ ออก ตก ตามหลักฐานพบว่าพระองค์ได้ยกทัพไปทำศึกสงครามกับประเทศต่างๆ เช่น ซีเรีย นูเบีย คานาน มิแทนนี่ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าแต่ละประเทศในดินแดนแถบนี้มีทั้งภูเขา ทะเลทราย แม่น้ำ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคทั้งสิ้น ในยุคที่ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) ปกครองแผ่นดินอียิปต์ต่างร่มเย็นเป็นสุขเป็นอย่างมาก ไร้ซึ่งสัตรูแผ้วพาน เพราะฟาโรห์ผู้เกรียงไกรได้ขับไล้ไปจนหมดสิ้น



ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) สิ้นพระชนม์ในวัย 54 พรรษา มีการขุดค้นพบมัมมี่ของพระองค์ที่เดีย แอล-บาฮารี่ ด้านบนวิหารของพระนางฮัตเซปซุต พระองค์ถูกฝังรวมกับฟาโรห์องค์อื่นๆ แห่งราชวงศ์ที่ 18 และ 19 บนหุบเขากษัตริย์ เช่น ฟาโรห์อาห์โมซิสที่ 1, ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1, ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 1, ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 2 (พระบิดา), ฟาโรห์เซติที่ 1, ฟาโรห์รามเซสที่ 2 เป็นต้น

ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) เวลานั้นอียิปต์มีกองทัพที่ยิ่งใหญ่ จนเป็นที่หวาดกลัวไปทั่วตะวันออกกลาง พระนามฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) เป็นที่กล่าวขานไปอีกชั่วลูกชั่วหลาน หลังจากนั้น พระองค์ได้ยกระดับความรุ่งเรืองให้บ้านเมือง และยกระดับความน่าภาคภูมิใจให้ราชวงศ์ที่ 18 แห่งอียิปต์สืบจากนั้น จวบจนบัดนี้หลักฐานต่างๆ ก็ยังคงหลงเหลืออยู่

Perzius 12/7/2013




Create Date : 12 กรกฎาคม 2556
Last Update : 13 กรกฎาคม 2556 13:00:52 น.
Counter : 3520 Pageviews.

4 comments
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
ชอบอ่านแนวนี้อยู่เหมือนกันค่ะ

โดย: lovereason วันที่: 12 กรกฎาคม 2556 เวลา:22:41:26 น.
  
ด้วยความยินดีครับ ขอบคุณที่ให้ความสนใจนะครับ
โดย: perzius วันที่: 13 กรกฎาคม 2556 เวลา:12:56:03 น.
  
แวะมาเยี่ยมค่ะ ไม่ทราบว่าคุณ perzius ไปอียิปต์มาหรือยัง คงจะดีมากเลยเนอะถ้าเราไปยังสถานที่ๆ เราชอบและศึกษาประวัติศาสตร์
โดย: au_jean วันที่: 26 กรกฎาคม 2556 เวลา:9:17:51 น.
  
ขอรามเสสที่2ด้วยได้ไหมครับ
โดย: Nation12345 IP: 223.204.232.88 วันที่: 14 มกราคม 2562 เวลา:19:59:18 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

seeyoujapan
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]



ใครจะนึกครับว่า Web Designer อย่างผมจะมีอีกมุมของผู้ที่หลงไหลในเรื่องราวของประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประวัติศาสตร์อียิปต์